สิ่งที่เกิดขึ้นบนโซเชียลมีเดียในปี 2021 ที่ผ่านมา นั้นถือว่าน่าสนใจมากสำหรับนักการตลาดดิจิทัล เพราะต้องถือว่าเป็นปีที่มีการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลเป็นอย่างมาก จากการที่คนต้องอยู่กับวิกฤติโควิด-19 มามากกว่า 1 ปี
การจะทำการตลาดดิจิทัล องค์ประกอบหลัก 3 นั้นยังไม่เปลี่ยนแปลงไป นั่นคือเรื่องของ Consumer เข้าใจพฤติกรรมลูกค้าทั้ง ลูกค้าปัจจุบัน ลูกค้าคนอื่น ลูกค้าทั่วไป Technology เครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆ ที่ทำให้แบรนด์เข้าถึงลูกค้าได้ และ Value Proposition คุณค่าที่ส่งให้ผู้บริโภคซึ่งเป็นสิ่งที่แบรนด์ต้องสร้างเอง
ขณะที่กลยุทธ์ดิจิทัลอย่าง ตัวเลือกสำหรับการบรรลุเป้าหมาย การจะทำหรือไม่ทำอะไร เลือกใช้เครื่องมืออะไร เพื่อไปให้ถึงเป้าหมาย เป็นสิ่งที่มีความเปลี่ยนแปลงไปตามพฤติกรรมของลูกค้าที่แบรนด์ต้องตามให้ทัน
–Metaverse ปี 2022 กับก้าวต่อไปของ Meta และการวิ่งตามเทคโนโลยีของประเทศไทย
–ส่อง 7 เทรนด์ “ออกแบบโปสเตอร์” ให้ถูกใจลูกค้า
ลองมาดูกันว่าสิ่งที่เกิดขึ้นในปี 2021 นั้นมีอะไรน่าสนใจบ้าง และในปี 2022 นั้น ลูกค้ามีแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางใด และแบรนด์ควรจะปรับตัวอย่างไร
Digital Landscape ที่เกิดขึ้นในปี 2021
-มีคนใช้อินเทอร์เน็ต 77.8% ของประชากรไทย และคนส่วนมากเข้าถึงโซเชียลมีเดีย
-ความเร็วอินเทอร์เน็ตเฉลี่ย 49.37 Mbps ซึ่งต่ำกว่าค่ามาตรฐานของโลกเล็กน้อย แต่ถ้าเป็นอินเทอร์เน็ตบ้าน ความเร็วของไทยเร็วเป็นอันดับ 5 ของโลก เฉลี่ยอยู่ที่ 221 Mbps
-คนไทยใช้การค้นหาด้วยเสียง 19.6% ขณะที่คนค้นหาด้วยรูปภาพ 37.2% อนาคตการทำ Search แบรนด์จะต้องทำ Text, Image และ Voice Search ไปพร้อมกัน ใครที่ปรับตัวได้ก่อนจะเป็นประโยชน์
–19.7% ฟังพอดแคสต์ ซึ่งเริ่มทรงตัวแล้ว คอนเทนต์ความรู้และบันเทิง มีแฟนฟังประจำ และพฤติกรรมส่วนมากคนจะฟังบนรถ
–48.8% ใช้โซเชียลมีเดียทำ Brand Reseaech หมายความว่า เวลาคนจะซื้อสินค้า จะหาข้อมูลผ่านอินฟลูเอนเซอร์ หรือคอมมูนิตี้ ในโซเชียลมีเดีย
การใช้ Social Media
-มีคนลงทะเบียนบนโซเชียลมีเดีย 55 ล้านหมายเลข ในประเทศไทย คิดเป็น 78.7% ของประชากรไทย
–54.62 ล้านหมายเลขที่ลงทะเบียน ใช้งานโซเชียลมีเดียผ่านมือถือ หรือคืดเป็น 99.3%
-คนใช้เวลา 8.44 ชม. อยู่บนโลกอินเทอร์เน็ต โดยใช้โซเชียลเฉลี่ยวันละ 2.48 ชม. ซึ่งลดลงจากปีก่อน ซึ่งคาดว่าคนใช้เวลากับ Streaming มากขึ้น
-คนอายุ 25-34 ปี ใช้โซเชียลมีเดียมากที่สุด ประมาณ 17% รองลงมาคือกลุ่มคนอายุ 18-24 ปี ใช้โซเชียลมีเดียที่ 11.3%
–YouTube เป็นแพลตฟอร์มที่คนเข้ามากที่สุดถึง 94.2% รองลงมาคือ Facebook 93.3% ตามาด้วย LINE 86.2 ขณะที่ Tiktok แพลตฟอร์มวิดีโอสั้น ติดที่อันดับ 7 อยู่ที่ 54.8%
Online VDO
99% ของคนสมัยนี้ ชอบดูวิดีโอออนไลน์ และชอบดู Vlog มากถึง 51.4% ด้านเนื้อหาจากอินฟลูเอนเซอร์ที่ได้รับความนิยมใน 3 แพลตฟอร์ม มีดังนี้
-Facebook มี 6 หมวด คือ อาหาร ทำอาหาร สัตว์เลี้ยง ศิลปะ ท่องเที่ยว และ ความงาม
-Instagram มี 7 หมวด คือ อาหาร ท่องเที่ยว สุขภาพ ศิลปะ การเลี้ยงลูก รถยนต์ และ สัตว์เลี้ยง
-YouTube มี 7 หมวด คือ เกม การเลี้ยงลูก อาหาร การทำอาหาร ความสวยควางาม รถยนต์ และ แกดเจ็ต
ปี 2021 สิ่งที่เปลี่ยนไปคือ
Humanity หรือความเป็นมนุษย์ จะมีเรื่อง ความเป็นปัจเจกบุคคล ความถูกต้องของการแสดงความเห็นทางการเมือง ความหลากหลายของสังคม และเรื่องสิ่งแวดล้อม การทำคอนเทนต์ควรจะหลีกเลี่ยงดราม่า และใส่ใจกับสิ่งที่คนสนให้คุณค่า เพราะโลกมันเปลี่ยนไปตลอดเวลา
Life Appreciation คนอยากมีความสุขกับชีวิตมากขึ้น คนคิดว่าจะทำอย่างไรให้ทำงานได้มีความสุข และอยู่กับสถานการณ์โลกระบาดได้ จนเกิดเทรนด์การ Staycation หรือทำงานตามโรงแรม รีสอร์ทสวยๆ ต่างๆ นอกจากนี้ยังมีเทรนด์ทำให้คนอยู่บ้านได้อย่างมีความสุขมากขึ้น เพราะจากความเครียดที่เกิดขึ้นรอบตัว ไว่าจะเป็นโรคระบาด การเมือง เศรษฐกิจ ทำให้คนมีความเครียดสูงมากขึ้น
Digital Transformation คนหันไปซื้อสินค้าออนไลน์มากขึ้นถึง 69.2% ที่ซื้อสินค้าทุกสัปดาห์ ซึ่งมากที่สุดในโลก ขณะที่การเรียนออนไลน์ ทำงานออนไลน์ และดูคอนเสิร์ตออนไลน์ โตทั้งหมด ด้าน Subscription Content อย่าง Netflix Disney+ Spotify และแพลตฟอร์มอื่นๆ เติบโตขึ้น 70.3% ของคนไทย ยอมจ่ายเพื่อเข้าถึงคอนเทนต์เหล่านี้ ส่วน Digital Asset อย่างคริปโทเคอร์เรนซี ก็เติบโคขึ้นมาก ซึ่งส่วนมากเกิดจากการเก็งกำไร
ปี 2022 เทรนด์จะเปลี่ยนไปอย่างไร
การทำการตลาดดิจิทัลของแบรนด์ในปี 2022 เพื่อส่งไปให้ถึงกลุ่มลูกค้าจะต้องเข้าใจ 3 ข้อ คือ Diversity คนยอมรับความแตกต่างของคนมากขึ้น Life Enhancement การทำให้ชีวิตมีความสุขขึ้นทั้งทางกายและใจ และ Hybrid Life มีทั้งช่องทางออฟไลน์ และออนไลน์ พร้อมกัน
ขณะที่คอนเทนต์ และเทรนด์เทคโนโลยีในปี 2022 คนไทยสนใจเรื่องบันเทิง ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง ลิซ่า มิสยูนิเวิร์ส ซีรีส์เกาหลี และกระแสที่ทีเป็นปรากฏการณ์ ทั้งเรื่อง 2 พส. พิมรี่พาย น้องเทนนิสได้เหรียญทองโอลิมปิก และ แม่น้ำหนึ่ง นอกจากนี้จะเป็นเรื่อง Issue เช่น การเมือง โควิด-19 และภัยพิบัติต่างๆ
คอนเทนต์ไลฟ์ขายของกลายเป็นเรื่องปกติ คอนเทนต์ของคนที่มีน้ำใจ ช่วยเหลือผู้คนที่เดือดร้อน เป็นอีกหนึงประเภทที่คนสนใจ นอกจากนี้ยังสนใจคอนเทนต์ Localized ที่เกิดขึ้นในพื้นที่ภาคต่างๆ ในประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็นอีสาน เหนือ หรือภาคใต้ การใช้ภาษาถิ่นในการสื่อสารออกมาเป็นคอนเทนต์ VDO หรือสิ่งที่คนไม่เคยรู้มาก่อน
คอนเทนต์เสียงยังได้รับความนิยม ไม่ว่าจะเป็น Clubhouse, Twitter Space และ Podcast ขณะที่ Community จะได้รับความสำคัญมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นช่องทาง Facebook Group หรือ LINE OpenChat
Influencer Trend จะเปลี่ยนไป คือ การจ่ายตังให้เท่าที่ทำได้ (คล้ายกับการจ่ายคอมมิชชั่น) นอกจากนี้ยังต้องเป็นบุคคลที่มีความน่าเชื่อถือ มีความพิเศษรู้เรื่องเฉพาะทาง
Short Form Video ยังคงเป็นกระแสต่อไป ทั้ง Tiktok, Instagram Reels ซึ่งแพลตฟอร์มต่างๆ จำเป็นต้องทำวิดีโอสั้น เพื่อส่งต่อคอนเทนต์มากขึ้น ขณะที่ด้าน Content Monitization แพลตฟอร์มจะให้ค่าตอบแทนกับครีเอเตอร์มากขึ้น เพิ่มช่องทางทำรายได้ เพราะไม่ต้องการให้ครีเอเตอร์หนีออกไปอยู่ที่แพลตฟอร์มอื่น
ซึ่ง Tiktok ทำให้เกิดกระแส Snackable Content คือคอนเทนต์ที่เสพง่าย และใช้เวลาน้อย จะต้องเข้าถึงกลุ่มลุกค้าใหม่ โดยรักษาลูกค้าเดิม ซึ่งเป็นโจทย์ที่ยากในการเปลี่ยนแนวคอนเทนต์
สุดท้ายคือ AR/VR จะมาแน่นอน จะมีแพลตฟอร์มสนับสนุนมากขึ้น นอกจากนี้ยังมีพวก Social Shopping, Live Content จะเป็นเทรนด์คอนเทนต์ในปี 2022
การตลาดดิจิทัล กับ ผู้บริโภคในปี 2022
สำหรับการตลาดดิจิทัลผู้บริโภคในปี 2022 นี้จะคุยกัน 4 แกน คือ สิ่งที่กระทบกับตัวเอง สิ่งที่เกิดขึ้นข้างนอก สิ่งที่คุ้นเคย และเรื่องที่มีความพิเศษ
ทั้งนี้สิ่งสำคัญของการทำคอนเทนต์อยู่ที่ความคิดสร้างสรรค์ ถึงแม้ตัวเลขจะบอกว่าคนเสพคอนเทนต์สั้น แต่ก็เห็นว่าคอนเทนต์ที่ยาวก็มีคนสนใจเป็นจำนวนมาก เพราะฉะนั้นแบรนด์จะต้องส่งมอบคุณค่าของคอนเทนต์เป็นหลัก สร้างคอนเทนต์ในแพลตฟอร์มที่ถูกต้อง และใช้ภาษาที่ตรงกับกลุ่มเป้าหมาย
ขณะที่อัลกอริทึมของแพลตฟอร์ม จะมองที่ความสดใหม่ มีความเกี่ยวข้องกับคอนเทนต์ที่คนชอบ และรูปแบบที่คนชม ซึ่ง VDO ได้รับคามนิยมมากที่สุดในปี 2022
นอกจากนี้แบรนด์ยังรู้เทรนด์ที่ลูกค้ากำลังค้นหาผ่านโลกอินเทอร์เน็ต เช่นการหาเทรนด์ผ่าน Google Trend หรือใช้ Social Listening
สำหรับการเลือกแพลตฟอร์ม จะต้องดูว่าคนติดตามเราอยู่ที่ไหน สไตล์ที่ถนัด และความพร้อมของทรัพยากรที่มีอยู่
สุดท้ายนี้ แบรนด์จะต้องเข้าใจ Insight ของลูกค้าผ่านฐานข้อมูล ต้องรู้ว่าคนชอบอะไร ลูกค้าอยู่ที่แพลตฟอร์มไหน และทำคอนเทนต์ให้ถูกใจผู้ติดตาม
ที่มาข้อมูล งาน Tech-in-Trend Media Workshop by GWM โดย Wisesight ประเทศไทย