ปัญหาสภาพภูมิอากาศ อาจสร้างความเสียหายกับเศรษฐกิจโลกถึง 178 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ภายในปี 2070

ปัญหาสภาพภูมิอากาศ อาจสร้างความเสียหายกับเศรษฐกิจโลกถึง 178 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ภายในปี 2070

Deloitte Center for Sustainable Progress (DCSP) ได้เผยแพร่รายงานฉบับใหม่ในการประชุมประจำปีของสภาเศรษฐกิจโลก (World Economic Forum) โดยรายงานดังกล่าวระบุว่าหากปัญหาด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศไม่ได้รับการแก้ไข เศรษฐกิจโลกอาจได้รับความเสียหาย คิดเป็นมูลค่าถึง 178 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐในอีก 50 ปีข้างหน้า หรือในปี 2070 เพียงแค่ปีเดียว ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ทั่วโลกจะลดลงถึง 7.6% หากภาวะโลกร้อนในช่วงปลายศตวรรษมีอุณหภูมิสูงขึ้นอีกประมาณ 3 องศาเซลเซียส จะส่งผลให้อัตราการเสียชีวิตของมนุษย์เพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก โดยจะส่งผลกระทบต่อผู้ที่อ่อนแอที่สุดเป็นวงกว้าง และนำไปสู่การสูญเสียผลผลิตแรงงานและการจ้างงาน การขาดแคลนอาหารและน้ำ สุขภาพและความเป็นอยู่แย่ลง และลดระดับมาตรฐานการครองชีพโดยรวมทั่วโลก

รายงาน Global Turning Point ของดีลอยท์จัดทำขึ้นตามข้อมูลจากการวิจัยโดย สถาบันเศรษฐกิจดีลอยท์ (Deloitte Economics Institute) รายงานฉบับนี้ทำการวิเคราะห์ข้อมูลจาก 15 ประเทศในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ยุโรป และอเมริกา และพบว่า หากผู้นำระดับโลกร่วมมือกันในการเปลี่ยนแปลงไปสู่เป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์แล้ว อาจส่งผลให้เศรษฐกิจโลกมีมูลค่าเพิ่มขึ้นในรอบ 50 ปี เป็นมูลค่าถึง 43 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ จะส่งผลให้ GDP โลกเพิ่มขึ้น 3.8% ในปี 2070

ผนึกกำลังหน่วยงานพลังงานฯ Kick off “Sensor for All” ตรวจวัดคุณภาพอากาศทั่วประเทศ มุ่งจัดการปัญหาฝุ่นควัน
บ๊อช สรุปผลโครงการ “บลู สกาย” ความร่วมมือช่วยบรรเทาปัญหามลภาวะทางอากาศในประเทศไทย

“หมดเวลามานั่งถกเถียงกันแล้ว ตอนนี้ เราต้องดำเนินการอย่างรวดเร็ว เข้มงวด และครอบคลุมในทุกภาคส่วน” พูนิต เรนเจน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ดีลอยท์ โกลบอล กล่าว “เมื่อถามว่าเรื่องนี้จำเป็นต้องมีการลงทุนจำนวนมากจากชุมชนธุรกิจทั่วโลก จากรัฐบาลของประเทศต่าง ๆ และจากกลุ่มธุรกิจไม่แสวงหาผลกำไรหรือไม่ คำตอบคือใช่ครับ และการเพิกเฉยไม่ลงมือทำอะไรในทางกลับกันเป็นทางเลือกที่มีราคาสูงกว่ามาก ข้อมูลที่มีอยู่เป็นข้อยืนยันที่ชัดเจน สิ่งที่เรามีอยู่ตรงหน้าตอนนี้คือโอกาสครั้งสำคัญในการปรับทิศทางเศรษฐกิจโลกใหม่ไปสู่การเติบโตในระยะยาวอย่างยั่งยืน ยืดหยุ่น และเท่าเทียมกัน ประเด็นสำคัญในมุมมองของผม คำถามจึงไม่ใช่ ทำไมเราจึงควรลงทุนในเรื่องนี้ แต่ต้องถามว่า ทำไมเราถึงไม่ลงทุนไม่ได้ ต่างหาก”

การเปลี่ยนแปลงไปสู่เศรษฐกิจคาร์บอนต่ำนั้นต้องอาศัยการประสานงานและความร่วมมือทั่วโลกทั้งในระดับอุตสาหกรรมและภูมิภาค รัฐบาลจะต้องทำงานอย่างใกล้ชิดกับภาคการเงินและเทคโนโลยีเพื่อผลักดันให้เกิดความก้าวหน้าผ่านนโยบายระดับโลก การลงทุนเพิ่มในระบบพลังงานสะอาด และเทคโนโลยีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมในธุรกิจต่าง ๆ จากการวิจัยที่จัดทำโดยสถาบันเศรษฐกิจดีลอยท์ การเปลี่ยนแปลงโดยรวมจากเศรษฐกิจที่พึ่งพาเชื้อเพลิงฟอสซิลไปเป็นเศรษฐกิจที่ใช้พลังงานหมุนเวียนเป็นหลักจะส่งเสริมแหล่งใหม่ของการพัฒนาและการจ้างงาน การกำหนดกรอบการทำงานสำหรับการเปลี่ยนแปลงที่ประสบความสำเร็จต้องอาศัยความร่วมมือและกฎระเบียบระดับโลก

“สิ่งสำคัญในการรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศคือ เศรษฐกิจโลกที่ต้องพัฒนาไปด้วยเช่นกัน” ดร.ประทีป ฟิลิป จากสถาบันเศรษฐศาสตร์ดีลอยท์ กล่าว “การวิเคราะห์ของเราแสดงให้เห็นว่าโลกอนาคตที่คาร์บอนต่ำลงไม่ได้จำเป็นต่อสังคมเท่านั้น แต่ยังจำเป็นต่อเศรษฐกิจด้วยเช่นกัน ตอนนี้เรามีเทคโนโลยี โมเดลธุรกิจ และนโยบายสำหรับต่อสู้กับวิกฤตการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศและปลดล็อกการเติบโตที่สำคัญทางเศรษฐกิจไปพร้อมกัน แต่เราจำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากรัฐบาล กลุ่มธุรกิจและชุมชนทั่วโลก เพื่อดำเนินการสู่อนาคตที่การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์”

“ในการหาแนวทางแก้ไขแบบใหม่และยั่งยืนเพื่อจัดการความท้าทายทางสังคมเหล่านี้ เราต้องสร้างรูปแบบความร่วมมือใหม่และดำเนินตามแนวทางแบบองค์รวมจากหลายฝ่าย การวิเคราะห์จาก Turning Point ได้วางรากฐานสำคัญในเรื่องผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจและการเติบโตให้กับผู้มีอำนาจตัดสินใจ ผู้มีอิทธิพล และผู้เข้าร่วม เพื่อความมั่งคั่งส่วนบุคคลและส่วนรวม” ศ.ดร. เบอร์นาร์ด ลอเรนซ์ ผู้ก่อตั้ง DCSP และ Deloitte Global Consulting Sustainability & Climate Strategy Leader กล่าว

รายงานระบุสี่ขั้นตอนสำคัญในการกำจัดคาร์บอนให้เหลือศูนย์ทั่วโลก

1.ภาครัฐและเอกชนผนึกกำลังกัน เพื่อร่วมกันสร้างกรอบและนโยบายที่มีประสิทธิผลและเป็นรากฐาน ในการขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงที่สามารถนำไปปฏิบัติได้จริง

2.ผู้นำทางธุรกิจและรัฐบาลทำการลงทุนครั้งสำคัญ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างต่อเศรษฐกิจโลกที่ให้ความสำคัญกับอุตสาหกรรมที่ปล่อยมลพิษต่ำและเร่งการเปลี่ยนผ่านสู่เป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์

3.ภูมิภาคต่าง ๆ ของโลกเข้าใกล้ “จุดเปลี่ยน” เมื่อความสำคัญจากประโยชน์ของการเปลี่ยนผ่านไปสู่เป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์เริ่มมีความสำคัญนำหน้าต้นทุน และท้ายที่สุดสามารถขับเคลื่อนการเติบโตและมูลค่าการสร้างผลกระทบเชิงบวกสุทธิในระดับภูมิภาคได้

4.เมื่อเกิด “จุดเปลี่ยน” แล้ว สังคมจะตระหนักถึงอนาคตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ซึ่งระบบคาร์บอนต่ำที่เชื่อมต่อถึงกันเป็นรากฐานของเศรษฐกิจสะอาดที่เติบโตในอัตราที่เร็วกว่าเศรษฐกิจที่ใช้คาร์บอนเป็นหลัก

การวิเคราะห์แสดงให้เห็นว่า เส้นทางสู่การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์นั้นย่อมแตกต่างกันไป แต่ละภูมิภาคย่อมมีเส้นทางในแบบของตนโดยพิจารณาจากปัจจัยต่าง ๆ เช่น วิธีการจัดโครงสร้างองค์กรและสังคม การเปิดรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและความเสี่ยงโดยรวม ตลอดจนจุดแข็งและความสามารถของตลาด ในทำนองเดียวกัน แต่ละภูมิภาคจะมีจุดเปลี่ยนที่แตกต่างกันออกไป ตัวอย่างเช่น มีการคาดการณ์ว่า เอเชียแปซิฟิก จะได้รับผลประโยชน์จากการเปลี่ยนแปลงไปสู่เศรษฐกิจคาร์บอนต่ำในช่วงต้นปี 2020 ในขณะเดียวกัน ยุโรปจะไม่ได้รับผลตอบแทนจากการลงทุนจนกว่าจะถึงปี 2050 การเปลี่ยนแปลงนี้อาจเกิดขึ้นในช่วงเวลาที่แตกต่างกัน แต่หากมีการดำเนินการอย่างรวดเร็ว คาดว่า พื้นที่ทั้งหมดจะถึงจุดเปลี่ยนภายในปี 2070 และยังคงเก็บเกี่ยวผลประโยชน์ต่อไปอีกหลายปีหลังจากนั้น

Scroll to Top