ศุภชัย เจียรวนนท์ ยันเดินหน้าควบรวม ทรู-ดีแทค

ศุภชัย เจียรวนนท์ ยันเดินหน้าควบรวม ทรู-ดีแทค

ศุภชัย เจียรวนนท์ ประธานคณะผู้บริหาร เครือเจริญโภคภัณฑ์ และประธานกรรมการบริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด(มหาชน) พร้อมด้วย ซิกเว่ เบรคเก้ ประธานและซีอีโอ เทเลนอร์ กรุ๊ป ตั้งโต๊ะแถลงข่าวร่วมกันเพื่อให้รายละเอียดและความคืบหน้าการควบรวมกิจการระหว่าง ทรู และ ดีแทค โดยย้ำว่า การควบรวมกิจการ มีความแตกต่างจากการเข้าซื้อกิจการ หรือ เทคโอเวอร์ ซึ่งตาม พ.ร.บ. ปี 61 กำหนดให้การเข้าซื้อกิจการ ต้องทำการขออนุมัติจาก กสทช. แต่สำหรับการควบรวมกิจการนั้น เมื่อพิจารณาทางกฎหมายแล้วสามารถดำเนินการได้เลย

โดย กสทช. มีอำนาจในการกำหนดเงื่อนไขให้บริษัทที่จะควบรวมกิจการพิจารณาปฏิบัติตาม เพื่อลดผลเสียหาย หรือ เพิ่มประโยชน์ให้กับสาธารณะเท่านั้น ซึ่งหากบริษัทไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไข ที่ กสทช.กำหนด ก็สามารถไปยื่นฟ้องต่อศาลได้ แต่หาก กสทช.ต้องการยับยั้งการควบรวม ต้องใช้อำนาจของศาลปกครองเท่านั้น โดยทั้ง 2 บริษัท พร้อมที่จะทำงานร่วมกับ กสทช.เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด

ศุภชัย เจียรวนนท์ กล่าวว่า การควบรวมเป็นการเสริมศักยภาพการแข่งขัน จะทำให้ผู้บริโภคและประเทศ ได้รับประโยชน์สูงสุด แม้จะไม่สมบูรณ์แบบ แต่เป็นโอกาสที่จะลดค่าใช้จ่ายจากการควบรวมกิจการ เช่น การเปิดโครงข่าย ความครอบคลุมสูงขึ้น ข้อจำกัดการลงทุนเรื่อง 5G จะหายไป รวมถึงลูกค้าจะได้รับนวัตกรรม การบริการที่ดียิ่งขึ้น ขณะที่ค่าบริการมีการควบคุมอยู่แล้ว ซึ่งปัจจุบันก็ยังต่ำที่สุดในโลกรองจากประเทศอินเดียเท่านั้น

การตลาดที่ถูกแย่งส่วนแบ่งจากธุรกิจอื่นๆ OTT ที่ต้นทุนต่ำมากๆ ค่าบริการอย่างข้อความ SMS กำลังจะหายไป ทำให้โทรคมนาคมไม่รู้จักลูกค้าอีกต่อไป กระทั่งกฎระเบียบ-ความเท่าเทียมในการกำกับดูแล กลับกันหากมีการควบรวมในครั้งนี้ คาดว่าจะทำให้ทั้งสองบริษัทกลายเป็นบริษัทมหาชนที่สมบูรณ์แบบ ไม่มีผู้ถือหุ้นใหญ่

ขณะที่ ซิคเว่ เบรคเก้ กล่าวเสริมว่า ภาพรวมอุตสาหกรรมโทรคมนาคมไทยเปลี่ยนไปแล้ว แต่ประเทศไทยยังเป็นดิจิทัลแชมเปียนส์อยู่ ทั้งการซื้อของออนไลน์ พ่อค้าแม่ค้าออนไลน์มีอัตราเติบโตสูงมากๆ ขณะที่ 9 ใน 10 คนเข้าถึงเศรษฐกิจดิจิทัล ทำให้การแข่งขันของประเทศไทยยังไปต่อได้ในระดับโลก แต่การแข่งขันยังมีช่องว่างที่ห่างจากหลายประเทศ เช่น อินโดนีเซีย สิงคโปร์ เวียดนาม ดังนั้นการควบรวมกิจการจึงจะช่วยเพิ่มศักยภาพการแข่งขันของประเทศได้ หากรวมกันเชื่อว่าประเทศไทยจะพร้อมสำหรับเศรษฐกิจดิจิทัลอย่างแน่นอน

ศุภชัย เจียรวนนท์ ยันเดินหน้าควบรวม ทรู-ดีแทค

AIS 5G ชวนคนไทยเคาท์ดาวน์สู่การแข่งขันนัดประวัติศาสตร์ แมนยูฯ ปะทะ ลิเวอร์พูล พร้อมเต็มที่ ทั้งเครือข่าย และระบบการถ่ายทอดสดบน AIS PLAY
Ericsson เผยยอดผู้ใช้งาน 5G จะพุ่งแตะ 1 พันล้านบัญชีในปีนี้ และจะเพิ่มเป็น 4.4 พันล้านบัญชี ในปี 2570

พร้อมเผยความคืบหน้าการควบรวม ในส่วนการพิจารณาของบอร์ดทั้ง 2 บริษัท ได้ข้อสรุปแล้ว และ อยู่ระหว่างการศึกษาแนวทางต่าง ๆ ระหว่าง 2 บริษัท ก็คืบหน้าเกือบ 100% แล้ว แต่ขั้นตอนที่ยังสะดุด คือการพิจารณาเงื่อนไขของ กสทช. ที่ ซึ่งทั้ง 2 บริษัท ได้ยื่นแผนธุรกิจให้ทางกสทช. แล้วตั้งแต่ มกราคม 65 และตาม กฏหมาย กสทช.จะต้องทำการพิจารณาภายใน 90 วัน เนื่องจากเป็นรูปแบบของการควบรวม เพราะใบอนุญาตต่างๆ ยังอยู่เหมือนเดิม ซึ่งแตกต่างจากการซื้อกิจการ ที่ต้องขออนุญาตในการเข้าซื้อก่อน

แต่เข้าใจว่า เนื่องจากเป็น กสทช. ชุดใหม่ ต้องการเวลาศึกษาเพิ่มเติม แต่อยากให้เร่งพิจารณาโดยเร็ว เพราะขณะนี้เลยกรอบเวลาตามกฎหมายมามากแล้ว ขณะเดียวกันยอมรับว่ากดดันเพราะกรอบเวลาทำข้อเสนอนักลงทุน (เทนเดอร์ ออฟเฟอร์) เดิมกำหนดไว้คือเดือนกันยายน ซึ่งความล่าช้าของการพิจารณาจะส่งผลต่อตลาดทุน และสิทธิประโยชน์ต่อผู้ใช้บริการ และสุญเสียโอกาสการร่วมกันขับเคลื่อนประเทศไทยสู่ดิจิทัลฮับของอาเซียน

ส่วนความกังวลว่าหากควบรวมกันแล้ว บริษัทใหม่ของ ทรูและดีแทค จะมีผู้ใช้บริการเกิน 50% ซึ่งยืนยันว่าไม่จริง เนื่องจากแต่ละปีมีลูกค้าข้ามค่ายกว่า 30% ซึ่งเมื่อควบรวม แล้วการทับซ้อนจะหายไป จำนวนลูกค้าจะลดลงและน่าจะใกล้เคียงกับเอไอเอสที่มีอยู่กว่า 40%

นอกจากนี้ยังเปิดเผยว่าหลังจากการควบรวมกิจการเรียบร้อย บริษัทใหม่ที่จัดตั้งขึ้นจะมีสัดส่วนของผู้ถือหุ้นของทั้ง 2 บริษัทในสัดส่วนที่เท่ากัน คือบริษัทละ 30% ที่เหลือจะเปิดให้นักลงทุนมาร่วมลงทุน จึงไม่เป็นการครอบงำธุรกิจ ส่วนทิศทางของธุรกิจที่จะดำเนินการหลังควบรวม คือ การมุ่งเน้นไปยังการเปลี่ยนผ่านเทคโนโลยี Tech Transformation โดยเบื้องต้นจะมีการตั้งกองทุนสนับสนุนสตาร์ทอัพ ด้วยเงินลงทุนกว่า 7,300 ล้านบาท สนับสนุนสตาร์ทอัพไทยทั้งอีโคซิสเต็ม และอาจดึงนักลงทุนอื่นๆ จากทั่วโลกเข้ามาลงทุนในไทย เพื่อผลักดันไทยเป็น ดิจิทัล เนชั่น

“หลังจากการควบรวมแล้วเหลือผู้ประกอบการ 3 รายหรือ 2 รายนั้นเป็นการบิดเบือน เพราะการแข่งขันในปัจจุบัน มากกว่าแค่ผู้ประกอบการโทรคมนาคม ด้วยเส้นแบ่งอุตสาหกรรมเปลี่ยนไปนานแล้ว ซึ่งคู่แข่งในตลาดยังมีทั้ง NT หรือรายอื่นๆ เหมือนกับทีวีดิจิทัลที่ต้องแข่งกับสตรีมมิ่ง หรือการควบรวมแม็คโคร-โลตัส ที่ยอดขาย 4 แสนล้าน แต่ลาซาด้า-ช้อปปี้ แค่สองรายยอดขายเกิน 5 แสนล้านไปแล้ว” ศุภชัย กล่าวทิ้งท้าย

Scroll to Top