ศูนย์ฯ สิริกิติ์ เตรียมพร้อมอัตลักษณ์ไทยและเทคโนโลยี รับผู้จัดงาน-ผู้ใช้บริการ 12 ก.ย. นี้

ศูนย์ฯ สิริกิติ์ เตรียมพร้อมอัตลักษณ์ไทยและเทคโนโลยี รับผู้จัดงาน-ผู้ใช้บริการ 12 ก.ย. นี้

“ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์” พร้อมกับการเป็น “ที่สุดของอีเวนต์แพลตฟอร์ม” เดินหน้าถ่ายทอดอัตลักษณ์ความเป็นไทยสู่สายตานานาชาติภายใต้แนวคิด “สืบสาน รักษา ต่อยอด” และจัดเต็มเทคโนโลยีด้านเครือข่ายเพื่อรองรับผู้จัดงาน และผู้เข้ามาใช้บริการ ตั้งแต่วันที่ 12 กันยายน 2565 เป็นต้นไป

สุทธิชัย บัณฑิตวรภูมิ รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท เอ็น.ซี.ซี. แมนเนจเม้นท์ แอนด์ ดิเวลลอปเมนท์ จำกัด ผู้บริหารศูนย์ฯ สิริกิติ์ เผยว่า จุดมุ่งหมายสำคัญที่ทำให้ตัดสินใจปรับปรุงศูนย์ฯ สิริกิติ์ คือ ความต้องการแสดงศักยภาพและผลักดันประเทศไทยให้เป็นผู้นำในธุรกิจอีเวนต์ในเอเชียและระดับโลก ในการพัฒนาโครงการนี้ได้ใช้ผู้เชี่ยวชาญจำนวนมาก ซึ่งรวมถึงบริษัทแถวหน้าในประเทศไทยหลายๆ ด้าน หนึ่งในนั้นได้แก่ ทีมออกแบบ หรือ “The Creator” ซึ่งประกอบไปด้วย สถาปัตยกรรมภายนอก สถาปัตยกรรมภายใน และภูมิสถาปัตย์

โดยเป็นการร่วมกันปรับพื้นที่ ภายใต้แนวคิด ‘สืบสาน รักษา ต่อยอด’ เพื่อให้ศูนย์ฯ สิริกิติ์โฉมใหม่เป็น “ที่สุดของอิเวนต์แพลตฟอร์ม”ที่สามารถรองรับการจัดงานได้ทุกรูปแบบ และเป็นตัวแทนของประเทศไทยในการเป็นสถานที่รองรับแขกบ้านแขกเมือง ที่สะท้อนความเป็นไทยสากลสู่สายตานานาชาติได้อย่างเต็มภาคภูมิ

ศูนย์ฯ สิริกิติ์ เตรียมพร้อมอัตลักษณ์ไทยและเทคโนโลยี รับผู้จัดงาน-ผู้ใช้บริการ 12 ก.ย. นี้

เป็นมากกว่า ‘ศูนย์การประชุม’

นพดล ตันพิวัฒน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ดีไซน์ 103 อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด และหัวเรือใหญ่การออกแบบสถาปัตยกรรมของศูนย์ฯ สิริกิติ์โฉมใหม่ เล่าว่า “ศูนย์ฯ สิริกิติ์ ถือเป็นศูนย์การประชุมแห่งแรกของประเทศไทย และเป็นสถานที่จัดงานสำคัญๆ ระดับชาติและนานาชาติกว่า 20,000 งาน ดังนั้น ตัวอาคารโฉมใหม่จึงต้องสามารถเก็บเรื่องราวในอดีต และสะท้อนภาพลักษณ์แห่งอนาคต เราจึงได้วางแกนหลักไว้ 3 เรื่อง ได้แก่ แรงบันดาลใจ (Inspiration) บูรณาการ (Integration) และนวัตกรรม (Innovation) เริ่มจากดึงคอนเซ็ปต์ ‘สืบสาน รักษา ต่อยอด’ มาตีความ เป็นความอ่อนน้อมอันเนื่องมาจากพระจริยวัตรอันงดงามของพระองค์ท่าน สู่การใช้เส้นโค้ง เติมความสมบูรณ์ให้พื้นที่นำความเป็นไทยผสานกับสากลมากขึ้น”

ศูนย์ฯ สิริกิติ์ เตรียมพร้อมอัตลักษณ์ไทยและเทคโนโลยี รับผู้จัดงาน-ผู้ใช้บริการ 12 ก.ย. นี้
ศูนย์ฯ สิริกิติ์ เตรียมพร้อมอัตลักษณ์ไทยและเทคโนโลยี รับผู้จัดงาน-ผู้ใช้บริการ 12 ก.ย. นี้

สถาปัตยกรรมไทยร่วมสมัย ผสานความเป็นสากล

อริศรา จักรธรานนท์ สถาปนิกผู้ร่วมก่อตั้ง บริษัท ออนเนียน จำกัด รับหน้าที่ วางคอนเซ็ปต์และตกแต่งภายในเล่าว่า “ความโดดเด่นของพื้นที่ภายในศูนย์ฯ สิริกิติ์ เรียกได้ว่าเป็นภาพจำใหม่ที่ไม่ว่าใครก็ต้องพูดถึงด้วยรายละเอียดที่สามารถเล่าความเป็นไทยได้อย่างชัดเจน โดยมีแรงบันดาลใจจากฉลองพระองค์ของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง พระองค์ทรงเป็นแบบอย่างที่ดีในการอนุรักษ์ศิลปะวัฒนธรรมของชาติอย่าง ‘ผ้าไทย’ ที่มักทรงสวมใส่ด้วยพระองค์เอง เราจึงนำไอเดียดังกล่าวมาต่อยอด ดึงอัตลักษณ์ของผ้าไทยในหลากหลายแบบมาเป็นแกนหลักในการออกแบบ โดยประยุกต์ให้เข้ากับพื้นที่ต่างๆ อย่างมีเอกลักษณ์”

ศูนย์ฯ สิริกิติ์ เตรียมพร้อมอัตลักษณ์ไทยและเทคโนโลยี รับผู้จัดงาน-ผู้ใช้บริการ 12 ก.ย. นี้
ศูนย์ฯ สิริกิติ์ เตรียมพร้อมอัตลักษณ์ไทยและเทคโนโลยี รับผู้จัดงาน-ผู้ใช้บริการ 12 ก.ย. นี้

เชื่อมโยงเข้ากับสังคมเมือง

ยุทธพล สมานสุข ผู้ช่วยรองผู้อำนวยการและผู้อำนวยการฝ่ายออกแบบ จาก บริษัท ฉมา จำกัด ผู้ออกแบบภูมิสถาปัตยกรรม กล่าวว่า “ภูมิสถาปัตยกรรม หมายถึง ศาสตร์ที่ว่าด้วยการออกแบบ วางแผน และใช้ประโยชน์จากพื้นที่โดยรอบตัวอาคาร ดังนั้น ศูนย์ฯ สิริกิติ์โฉมใหม่ จึงได้มีการปรับปรุงภูมิสถาปัตยกรรมให้เข้ากับอัตลักษณ์ที่เปลี่ยนไปเช่นกัน ผ่านการวางแผนให้ศูนย์ฯ สิริกิติ์สอดรับกับสภาพสังคมเมืองในยุคปัจจุบันมากขึ้น ยังคงรักษาพื้นที่สีเขียวและการเชื่อมต่อกับพื้นที่โดยรอบ มีการวางระบบให้คนสามารถสัญจรได้ง่าย ไม่หลงทาง ปรับปรุงลานหน้าศูนย์ฯ สิริกิติ์ ซึ่งเป็นที่ตั้งของโลกุตระให้มีความกว้างขวางเพื่อเพิ่มจุดเด่น และเป็นพื้นที่สาธารณะที่ใช้งานได้หลากหลาย รวมถึงองค์ประกอบเล็กน้อยต่างๆมีการจัดเรียงใหม่ให้สวยงามสบายตา เปิดมุมมองสู่สวนเบญจกิติทั้งยังนำพื้นที่จำกัดมาใช้ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ”

ศูนย์ฯ สิริกิติ์ เตรียมพร้อมอัตลักษณ์ไทยและเทคโนโลยี รับผู้จัดงาน-ผู้ใช้บริการ 12 ก.ย. นี้

เสริมเทคโนโลยีสู่การเป็น Smart Building

นอกจากด้านอัตลักษณ์แล้วนั้น ศูนย์ฯ สิริกิติ์ ยังวางโครงสร้างพื้นฐานด้านเครือข่ายทั่วอาคาร ทั้งแต่การติดตั้งเสาเพื่อรองรับสัญญาณ 5G อุปกรณ์ขยายสัญญาณอินเทอร์เน็ต (Access Point) ที่ทันสมัยที่สุดในตลาด นอกจากนี้ยังวางระบบ ไฟเบอร์ออฟติก ที่ความเร็ว 10 Gbps และวางโครงสร้างให้ขยายแบนด์วิดธ์ได้ โดยเป็นการร่วมลงทุนกับ AIS

มีระบบ People Counting เป็น IoT ที่ติดไว้ทั่วอาคาร ทำให้รู้ว่าคนอยู่ในศูนย์ฯ สิริกิติ์เท่าไร อยู่ในแต่ละชั้นเท่าไร ทำให้สามารถบริหารจัดการพลังงานได้ เช่น เมื่อมีคนรวมตัวกันมากในพื้นที่หนึ่ง ก็จะสั่งให้เปิดแอร์เพิ่มได้ ซึ่งระบบถูกใช้งานอยู่ภายใต้เงื่อนไขของ PDPA คือไม่มีการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล

ศูนย์ฯ สิริกิติ์ เตรียมพร้อมอัตลักษณ์ไทยและเทคโนโลยี รับผู้จัดงาน-ผู้ใช้บริการ 12 ก.ย. นี้

ขณะที่ตัวอาคารถูกออกแบบให้ประหยัดพลังงาน ฝั่งที่ต้องรับความร้อนถูกออกแบบเป็นผนังทึบ เพื่อไม่ให้ความร้อนเข้ามาในอาคาร ส่วนฝั่งที่ไม่ได้รับความร้อนออกแบบให้เปิดรับแสงส่องเข้ามาได้ นอกจากนี้ยังใช้กระจกที่เป็น Double Glass เพื่อลดความร้อนที่เข้ามา ทำให้ลดการใช้พลังงานได้ มีโซลาร์รูฟ บนดาดฟ้าเพื่อเข้ามาช่วยลดการใช้พลังงาน

นอกจากนี้ภายในอาคารยังมีระบบหมุนเวียนอากาศ และกำลังวางแผนจะติดระบบฆ่าเชื้อโรคภายในระบบหมุนเวียนอากาศอีกด้วย

ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์โฉมใหม่ พร้อมเปิดให้บริการตั้งแต่วันที่ 12 กันยายน 2565

ศูนย์ฯ สิริกิติ์ เตรียมพร้อมอัตลักษณ์ไทยและเทคโนโลยี รับผู้จัดงาน-ผู้ใช้บริการ 12 ก.ย. นี้
ศูนย์ฯ สิริกิติ์ เตรียมพร้อมอัตลักษณ์ไทยและเทคโนโลยี รับผู้จัดงาน-ผู้ใช้บริการ 12 ก.ย. นี้

ศูนย์ฯ สิริกิติ์ เผยโฉมใหม่ เดินหน้าดึงงานระดับโลกเข้าไทย ดัน MICE กลับมาโตอีกครั้ง

Scroll to Top