ภาคเอกชนรวมตัวทำ สมุดปกขาว 6 ประเด็นปัญหาเศรษฐกิจ ยื่นพรรคการเมืองแก้ปัญหาประเทศ

  1. Competitiveness
    การยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ สนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยให้สามารถเติบโตอย่างยั่งยืน ประกอบด้วย
    1.1 Energy
    จากสถานการณ์ราคาพลังงานทั่วโลก มีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง ขอให้เร่งแก้ไขปัญหาค่าไฟฟ้าแพง เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้กับภาคครัวเรือนและภาคธุรกิจสามารถอยู่รอดได้ในสถานการณ์เศรษฐกิจและภาวะเงินเฟ้อในปัจจุบัน โดย
    o คงระยะเวลาการคืนหนี้ให้ กฟผ. เป็นระยะ 3 ปี ตามงวด 1/2566 และควรพิจารณาปรับวิธีประมาณการราคาต้นทุนเชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติและราคา LNG ที่ใช้คำนวณต้นทุนค่าไฟฟ้า โดยใช้ราคาที่สะท้อนแผนการนำเข้า LNG ในช่วง พฤษภาคม- สิงหาคม 2566 แทนการใช้ข้อมูลราคาของเดือน มกราคม 2566 ซึ่งมีราคาที่สูง กว่าเพื่อบรรเทาผลกระทบราคาไฟฟ้าของทุกภาคส่วนลงได
    o ขอให้ภาครัฐเร่งจัดตั้ง กรอ.พลังงาน เพื่อเปิดโอกาสให้ภาคเอกชนเข้าไปมี ส่วนร่วมให้ความเห็นในการกำหนดนโยบายด้านพลังงาน รวมถึงมาตรการช่วยเหลือด้านพลังงานต่างๆ เพื่อให้สามารถบรรเทาผลกระทบต่อทุกภาคส่วนได้อย่างแท้จริง
    o เร่งศึกษาโครงสร้างของต้นทุนด้านพลังงานของไทย เพื่อนำมาแก้ไขปรับปรุงให้ต้นทุน ด้านพลังงานของประเทศให้สามารถแข่งขันกับนานาชาติ และยังคงไว้ซึ่งเสถียรภาพด้านพลังงานของประเทศ รวมทั้ง มีการส่งเสริมให้มีการใช้ระบบ Third Party Access (TPA) และระบบ Net Metering ในการซื้อขายพลังงานที่ผลิตได้ เพื่อสร้างกลไกเสรีด้านพลังงานอย่างเป็นรูปธรรม
    o มีมาตรการรับมือในช่วงที่ราคาพลังงานมีความผันผวน และส่งผลทำให้ต้นทุนเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้าเพิ่มสูงขึ้น โดยการจัดหาเชื้อเพลิงประเภทอื่นทดแทนเชื้อเพลิงที่มีต้นทุนสูงในการผลิตไฟฟ้า เพื่อบรรเทาผลกระทบจากการปรับค่าไฟฟ้าโดยอัตโนมัติ (Ft) สำหรับผู้ใช้ไฟฟ้าทุกกลุ่ม รวมทั้งมีการส่งเสริมให้ผู้ประกอบการมีการปรับตัวในการบริหารจัดการพลังงานให้มีประสิทธิภาพ
    o ส่งเสริมการใช้พลังงานหมุนเวียนให้มากขึ้นโดยเฉพาะพลังงานแสงอาทิตย์ (Solar Cell) ด้วยการปลดล็อคเรื่องใบอนุญาต รง.4 ให้โรงงานเดิมสามารถผลิตไฟฟ้าใช้เองได้มากกว่า 1 เมกะวัตต์ พร้อมทั้งอำนวยความสะดวกและมีการกำหนดกรอบเวลาที่ชัดเจนในการพิจารณาเกี่ยวกับการขอใบอนุญาตติดตั้ง Solar Cell

1.2 โครงสร้างพื้นฐานและการกระจายความเจริญสู่ภูมิภาค
การยกระดับโครงสร้างพื้นฐานและการกระจายความเจริญสู่ภูมิภาค มี 3 เรื่องสำคัญเร่งด่วน ดังนี้
1.2.1 โครงสร้างพื้นฐานด้านการบริหารจัดการน้ำ
o ผลักดันการจัดทำแผนบริหารจัดการน้ำของประเทศอย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ สามารถขับเคลื่อนได้อย่างเป็นรูปธรรม
o ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคเอกชนในคณะกรรมการบริหารจัดการน้ำทุกระดับ สร้างความตระหนักรู้ ปรับเปลี่ยนแนวคิด (Mind set) ในการใช้น้ำอย่าง รู้คุณค่า และมีความรับผิดชอบต่อสังคม ควรมีการศึกษาและพัฒนานวัตกรรมเพื่อนำน้ำที่ใช้แล้วมาบำบัดและนำกลับมาใช้ใหม่
1.2.2 โครงสร้างพื้นฐานด้านการขนส่งสินค้า บริการ และโลจิสติกส์
o เร่งรัดโครงการลงทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานให้เป็นไปตามแผนดำเนินงาน โดยเฉพาะระบบรางให้เชื่อมโยงกับโครงข่ายรถไฟจีน-ลาว รองรับการขนส่งสินค้าและบริการให้มีต้นทุนเหมาะสม แข่งขันได้
o นำระบบ IT มาใช้บริหารจัดการโครงสร้างพื้นฐาน พร้อมทั้ง ศึกษาข้อมูลและผลกระทบการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่อย่างรอบด้าน เพื่อให้การใช้โครงสร้างพื้นฐานที่ลงทุนไปเกิดประโยชน์สูงสุด
o ปรับปรุงกฎระเบียบด้านกระบวนการขนส่งสินค้าและบริการ รองรับการกระจายสินค้าและบริการไปยังพื้นที่ต่างๆอย่างสะดวก สนับสนันให้เกิดการเติบโตทางเศรษฐกิจ โดยควบคู่ไปกับการรักษาสิ่งแวดล้อม
1.2.3 โครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัล
o จัดให้มีระบบอินเทอร์เน็ตที่ครอบคลุมทุกภูมิภาคโดยเฉพาะพื้นที่ห่างไกล และ ส่งเสริมความรู้ด้านดิจิทัล (Digital literary) ให้กับประชาชนทุกระดับ พร้อมกับกำหนดมาตรการป้องกันและปราบปรามภัยคุกคามทางไซเบอร์ การหลอกลวง และอาชญากรรมในรูปแบบต่างๆ
1.3 สิทธิประโยชน์ด้านการลงทุน
o ส่งเสริมการลงทุนในอุตสาหกรรม High Technology และนวัตกรรมใหม่ที่มี มูลค่าสูงและไม่มีมลภาวะ
o ส่งเสริมสิทธิประโยชน์สูงสุดให้แก่ผู้ประกอบการไทยให้ทัดเทียมกับสากล โดยเฉพาะการจัดทำแผนสิทธิประโยชน์ดึงดูดการลงทุนที่ตอบโจทย์ความต้องการของนักลงทุนแต่ละประเทศที่แตกต่างกัน
o ส่งเสริมให้ประเทศไทยเป็น Hub ที่มีความพร้อมด้านสาธารณูปโภคระดับสูงและความสะดวกในการออกใบอนุญาตการประกอบธุรกิจทุกประเภท
o สนับสนุนมาตรการเงินกู้ให้แก่ผู้ประกอบการไทยในอัตราดอกเบี้ยที่ทัดเทียมกับต่างประเทศ เพื่อเป็นเครื่องมือให้แก่ผู้ประกอบการไทยสามารถแข่งขันได้
o สนับสนุนงบประมาณเพื่อศึกษาโครงการส่งเสริมการลงทุนของต่างประเทศที่ประสบความสำเร็จ เช่น ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา เป็นต้น

1.4 FTA
เร่งการเจรจา FTA ระหว่างไทยกับนานาชาติให้มากขึ้น เพื่อขยายตลาดใหม่ ๆ สำหรับสินค้าไทย และเป็นการกระจายความเสี่ยงในตลาดเดิมที่มีอยู่ และสร้างโอกาสใหม่ในตลาดที่มีศักยภาพ เช่น กลุ่มประเทศยุโรป, GCC, แอฟริกา, และลาตินอเมริกา ซึ่งประเทศไทยจะเกิดการปรับตัวเพื่อเข้าสู่มาตรฐานใหม่ของ FTA ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต รวมถึง เปรียบเทียบ FTA กับประเทศคู่แข่งขันทางการค้าของไทย เพื่อแสดงให้เห็นความแตกต่างและจุดเด่นของประเทศไทย นอกจากนั้นยังมีอีกหลายประเด็นที่ต้องดำเนินการเพื่อส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ อาทิ การขนส่ง อัตราแลกเปลี่ยน อัตราดอกเบี้ย ซึ่งควรทำให้เป็นไปตามกลไกตลาด ไม่ฝืนและสวนทางคู่แข่งทางการค้าของประเทศไทย

1.5 พัฒนาและต่อยอดโครงสร้างพื้นฐานทางการเงินของประเทศเพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของภาคธุรกิจ เชื่อมโยงข้อมูลการค้า ข้อมูลการชำระเงิน และข้อมูลในระบบภาษีของภาครัฐอย่างครบวงจร โดยเฉพาะการสนับสนุนให้ภาคธุรกิจเข้ามาอยู่ในระบบ Smart Financial and Payment Infrastructure for Business หรือ PromptBiz ที่เป็น Common Utility เพื่อช่วยให้การทำธุรกรรมทางการเงินมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ช่วยลดต้นทุนในการดำเนินธุรกิจ ยกระดับการบริหารความเสี่ยง และเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงเงินทุนอย่างเท่าเทียมให้กับธุรกิจทุกขนาด ผ่านบริการ Digital Supply chain Financing
1.6 มีมาตรการแก้ไขปัญหาต้นทุนวัตถุดิบราคาแพง และปัญหาการหยุดชะงักของห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain Disruption) โดยมีการจัดทำแผนพัฒนารองรับปัญหาการหยุดชะงักของห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain Disruption) โดยเฉพาะสินค้าจำเป็นของประเทศ มีการทบทวนปรับลดโครงสร้างอัตราภาษีนำเข้าในกลุ่มสินค้าวัตถุดิบที่ไม่กระทบต่อผู้ผลิตในประเทศ ส่งเสริมการใช้วัตถุดิบในประเทศผ่านมาตรการสิทธิประโยชน์ทางภาษี และให้เกิดการจับคู่ความต้องการของผู้ประกอบการไทยและผู้ผลิตวัตถุดิบภายในประเทศ รวมทั้งขยายตลาดการค้าใหม่ๆ เพื่อเป็นทางเลือกในการเพิ่ม Market Access ให้กับประเทศไทยในการเข้าถึงแหล่งวัตถุดิบมากขึ้น
1.7 พัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานรองรับการพัฒนาและลงทุนในภาคอุตสาหกรรม โดยการวางแผนพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานควบคู่ไปกับการวางผังเมือง อนุญาตให้โรงงานแปรรูปสินค้าเกษตรสามารถตั้งใกล้กับแหล่งวัตถุดิบได้เพื่อลดต้นทุนในการขนส่ง รวมทั้งเร่งสนับสนุนให้เกิดการเชื่อมโยงการขนส่งหลายรูปแบบ (Multi-Model Transport) และมีการเชื่อมต่อการขนส่งกับประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อให้ต้นทุนด้านโลจิสติกส์สามารถแข่งขันได้

  1. Ease of Doing Business
    2.1 ปฏิรูปกฎหมายที่ล้าสมัยเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ โดยเร่งปรับปรุงกฎหมายลำดับรองที่เกี่ยวข้องกับการอนุมัติอนุญาตภาครัฐ และที่เป็นอุปสรรคต่อการประกอบธุรกิจ
    o ขับเคลื่อนแนวทางแก้ไขกฎหมายที่เป็นอุปสรรคต่อการประกอบธุรกิจของประชาชนอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะด้านการขออนุมัติ/อนุญาตและการจดทะเบียน รวมถึง การอำนวยความสะดวกวีซ่าพำนักระยะยาวสำหรับชาวต่างชาติเพื่อดึงดูดการลงทุนจากต่างชาติ ให้มากขึ้น พร้อมทั้ง ประเมินผลสัมฤทธิ์การดำเนินงานเพื่อต่อยอดและขยายผลไปยังกระบวนงานอำนวยความสะดวกต่างๆ ในระยะต่อไป
    o สนับสนุนและประชาสัมพันธ์ระบบการให้บริการภาครัฐแบบเบ็ดเสร็จ ณ จุดเดียว ให้ครอบคลุมทุกภาคส่วนเพื่ออำนวยความสะดวกแก่ภาคประชาชนและภาคธุรกิจ ในการติดต่อกับทางราชการอย่างรวดเร็ว เปิดเผยและโปร่งใส

2.2 สนับสนุนการเจรจากับประเทศคู่ค้าให้เกิดการเชื่อมโยงระบบโครงสร้างทางการเงินและการค้าระหว่างกันในภูมิภาค โดยเฉพาะโครงการ National Digital Trade Platform (NDTP) ซึ่งต้องพัฒนามาตรฐานและกฎหมายให้ครอบคลุมเพื่อนำไปสู่การเชื่อมโยงกับกลุ่มประเทศคู่ค้าในทุกด้าน (Cross-border interoperability) อาทิ ด้านการชำระเงิน และระบบเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ (e-Document) แทนการใช้กระดาษ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ช่วยลดต้นทุนและระยะเวลาในการทำธุรกรรมการค้าระหว่างประเทศ

  1. Digital Transformation
    3.1 ส่งเสริมการเป็น Technology hub ของประเทศไทย เพื่อให้เป็นศูนย์กลางด้านเทคโนโลยีซึ่งจะมีโอกาสสูงที่จะดึงเอาเม็ดเงินและทุนระดับโลกเข้าสู่ประเทศไทย

3.2 ส่งเสริมให้เกิด Digital Transformation ในภาคธุรกิจอย่างกว้างขวาง ทั้งขนาดเล็กและขนาดกลาง (SMEs)

3.3 ส่งเสริมการก้าวสู่ Cashless society และ Digital economy ที่อยู่บนโครงสร้างพื้นฐานการชำระเงินระบบ PromptPay โดยต่อยอดใช้เทคโนโลยีและโครงสร้างพื้นฐานการชำระเงินที่เป็น Common Utilityอย่างมีประสิทธิภาพ ยึดแนวคิดที่ลดความซ้ำซ้อน และลดต้นทุนการใช้เงินสดให้กับทุกภาคส่วน

3.4 เร่งขับเคลื่อนนโยบายรัฐบาลดิจิทัล และเตรียมความพร้อมหน่วยงานภาครัฐทุกหน่วย ให้พร้อมเข้าสู่การดำเนินการตามพระราชบัญญัติการปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2565 พร้อมทั้งพัฒนาระบบให้บริการออนไลน์หรือ e-Service เพื่ออำนวยความสะดวกให้ภาคเอกชนและประชาชนเข้าถึงบริการของรัฐได้ทันทีทุกที่ทุกเวลา ลดภาระค่าใช้จ่ายประชาชน และลดปัญหาทุจริตคอร์ปชัน

  1. Human Development
    4.1 การปรับอัตราตอบแทนค่าจ้างหรือค่าจ้างขั้นต่ำ โดยปรับอัตราค่าตอบแทนให้เป็นไปตามสถานการณ์เศรษฐกิจและสังคมของประเทศ โดยใช้กลไกการพิจารณาจากคณะอนุกรรมการพิจารณาอัตราค่าจ้างขั้นต่ำจังหวัด และคณะกรรมการค่าจ้าง (ไตรภาคี) และใช้หลักเกณฑ์ การปรับขึ้นอัตราค่าจ้างตามมาตรา 87 แห่ง พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 และองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO)

4.2 การแก้ไขปัญหาการขาดแคลนแรงงานไทย ควรกำหนดทิศทางของประเทศไทยในการเจริญเติบโตของภาคธุรกิจเพื่อผลิตกำลังคนในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ พร้อมทั้ง บูรณาการหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน จัดทำข้อมูลฐานแรงงานของประเทศไทย (Big Data) เพื่อนำมาใช้ในการวางแผนพัฒนากำลังคนทั้งด้านอุปสงค์และอุปทาน และสนับสนุนนโยบายกองทุนเพื่อการปรับปรุงเครื่องจักรและองค์ความรู้ (Knowhow) สำหรับผู้ประกอบการ ตลอดจนมีการเจรจานำเข้าแรงงานจากประเทศอื่นๆ เพื่อมาทดแทนแรงงานต่างด้าวที่ขาดแคลน

4.3 การแก้ไขปัญหาแรงงานต่างด้าวของประเทศไทย ควรจัดทำยุทธศาสตร์และแผนงานนำเข้าแรงงานต่างด้าวระยะยาว พร้อมทั้ง จัดระเบียบการขึ้นทะเบียนแรงงานต่างด้าวระบบใหม่ผ่านศูนย์บริการเบ็ดเสร็จด้านแรงงาน (OSS) และลดขั้นตอนและค่าใช้จ่ายการนำเข้าแรงงานต่างด้าวในอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานเข้มข้น เพื่อป้องกันการค้ามนุษย์ด้านแรงงานและการคุ้มครองสิทธิ

4.4 การเพิ่มผลิตภาพแรงงาน (Labor Productivity) ควรกำหนดให้เป็นวาระแห่งชาติ โดย การสนับสนุนระบบการจ่ายค่าจ้างแรงงานตามทักษะฝีมือ (Pay by Skill) และการยกระดับมาตรฐานฝีมือแรงงานให้ได้มาตรฐานสากลเพิ่มศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานให้ครบทุกจังหวัดทั่วประเทศ พร้อมทั้งขยายมาตรฐานฝีมือแรงงาน และอัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือให้ครอบคลุมทุกสาขาอาชีพ และสอดรับกับอัตราตอบแทนค่าจ้าง และส่งเสริมนโยบาย “คูปองฝึกทักษะ Re-Skill & Up-Skill” เพื่อสามารถนำไปรับการ ฝึกทักษะที่ต้องการได้จากผู้ให้บริการฝึกอบรมที่มีคุณภาพ อีกทั้ง ควรทำให้เกิดการบูรณาการ การพัฒนาบุคลากรทั้งระบบ มีจัดสรรงบประมาณดำเนินโครงการฝึกอบรม Up-skill/Re-skill/Multi-skill/Future-skill และการพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนให้ตรงกับความต้องการของตลาดแรงงาน และแก้ไขปัญหา Skill Mismatch โดยเฉพาะด้านการผนวกและใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีได้อย่างลงตัวและมีประสิทธิภาพ รวมถึงมาตรการในการดึงดูดและการถ่ายทอดองค์ความรู้จาก Global tech talents เพื่อให้ประเด็นด้านแรงงานไม่เป็นอุปสรรคของประเทศในการดึงดูดการลงทุน รวมถึงให้แรงงานไทยมีทางรอดจาก Technology Disruption

4.5 สร้างข้อมูลภาครัฐให้เป็นข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) เพื่อใช้ในการวางแผนและออกแบบนโยบายที่ตอบโจทย์ประชาชน ส่งเสริมให้ประชาชนเข้ามาอยู่ในระบบ เพื่อที่จะทำให้ภาครัฐสามารถใช้ Big data นี้ในการจัดสรรทรัพยากรสำหรับสวัสดิการด้านต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตรงจุด ถูกกลุ่มเป้าหมาย ลดความซ้ำซ้อน ป้องกันการรั่วไหลของเม็ดเงิน

4.6 รัฐควรปรับปรุงระบบสวัสดิการแรงงานเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงาน เช่น ค่าใช้จ่ายพื้นฐานของครัวเรือน ค่าเล่าเรียนบุตร เป็นต้น เพื่อลดภาระให้กับแรงงานสามารถดำรงชีพโดยไม่กระทบต่อการปรับอัตราค่าจ้าง

  1. SME
    5.1 การเข้าถึงแหล่งทุน
    มาตรการช่วยเหลือกลุ่ม SMEs ให้เข้าถึงแหล่งเงินทุนได้อย่างสะดวกและรวดเร็วมีความจำเป็นมาก รัฐบาลควรมีมาตรการให้ความช่วยเหลือด้านสภาพคล่อง มาตรการบรรเทาภาระหนี้ของลูกหนี้ การเลื่อนการชำระหนี้ ลดภาระหนี้ และการปรับโครงสร้างหนี้ มีความจำเป็น เพื่อผู้ประกอบการมีโอกาสกลับมาแข่งขันได้อย่างเข้มแข็ง

5.2 การปรับโครงสร้างหนี้ ที่สอดคล้องกับทิศทางรายได้ของธุรกิจและสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนและทำให้ SMEs สามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้ บนพื้นฐานของการส่งเสริมการรักษาวินัยทางการเงินอย่างต่อเนื่อง

5.3 ปลดล็อกให้ SMEs เข้าถึงผลิตภัณฑ์และบริการทางการเงินได้มากขึ้น รวมถึงลดความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงแหล่งเงินทุน ซึ่งจะช่วยลดความเหลื่อมล้ำในความสามารถในการแข่งขันกับธุรกิจรายใหญ่ ผ่านการส่งเสริมการใช้ข้อมูลทางเลือกในการพิจารณาสินเชื่อ (Alternative credit scoring) บนหลักคิดของ Information-based lending มากขึ้น และสนับสนุนวงเงินและเพิ่มสัดส่วนการชดเชยความเสียหาย ผ่านการค้ำประกันสินเชื่อของ บสย. ในกลุ่มเป้าหมาย ตลอดจนช่วยอุดหนุนค่าธรรมเนียมค้ำประกันสินเชื่อยาวนานขึ้น เพื่อส่งเสริมการเข้าถึงสินเชื่อในระบบอย่างทั่วถึงมากขึ้น (Financial Inclusion)

5.4 จัดตั้งกองทุนพัฒนาผู้ประกอบการ SME เพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันทางธุรกิจและเตรียมความพร้อมในการปฏิบัติตามมาตรการต่างๆ ที่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจ เช่น มาตรการด้านสิ่งแวดล้อม เป็นต้น

5.5 สนับสนุนงบประมาณในการช่วยให้ผู้ประกอบการ SME สามารถพัฒนาและเข้าถึงบริการด้าน Digital service เช่น การสนับสนุนเงินอุดหนุน 50% ของค่าใช้จ่ายในการลงทุนพัฒนาระบบ Digital service ในองค์กร เพื่อปรับตัวเข้าสู่ยุค Digital Transformation

5.6 ออกมาตรการช่วยลดภาระต้นทุนการผลิตให้แก่ SME ที่อยู่ในระบบภาษี เช่น ลดค่าน้ำ ค่าไฟฟ้า ลดค่าธรรมเนียมต่างๆ เป็นต้น เพื่อส่งเสริมและจูงใจให้ SME เข้าระบบภาษี

  1. Sustainability
    6.1 ขับเคลื่อนโมเดลเศรษฐกิจสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน หรือ BCG อาทิ การขับเคลื่อนเศรษฐกิจหมุนเวียน โดยส่งเสริมยกระดับการพัฒนาการประกอบธุรกิจ โดยคำนึงถึงการใช้ประโยชน์ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า พัฒนากระบวนการผลิต การจัดการของเหลือทิ้ง (Waste to Value) การขับเคลื่อนเศรษฐกิจสีเขียวผ่านส่งเสริมการพัฒนาตามแนวทาง ESG และขับเคลื่อนนโยบายส่งเสริมสังคมรีไซเคิลทั้งระบบตั้งแต่ผู้ผลิต ผู้บริโภค ผู้รับรีไซเคิล และการจัดการองค์รวม มีการส่งเสริมมาตรฐาน Circular Economy ของไทย และผลักดันให้เป็นที่ยอมรับในสากล รวมทั้งมีการสนับสนุนเพื่อให้เกิดการลงทุนเพื่อจูงใจสำหรับผู้ประกอบการรีไซเคิลที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง และการผลิตพลาสติกชีวภาพ (Bioplastics) ตลอดจนมาตรการสนับสนุนพลาสติกชีวภาพทั้งระบบ นอกจากนี้ควรมีมาตรการช่วยลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศอย่างชัดเจน เช่น มาตรการสนับสนุนการลงทุนใน Green Technology ของประเทศ อาทิ เทคโนโลยี Carbon Capture, Utilization and Storage (CCUS) เทคโนโลยี Green Hydrogen และ Infrastructure ต่างๆ รวมไปถึงมาตรการสำหรับช่วย SMEs ในการปรับตัว ตลอดจนสนับสนุนการใช้กลไกตลาดที่ช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เช่น ตลาดคาร์บอนเครดิต ในวงกว้างขึ้น และให้มีแผนงานและมาตรการที่ชัดเจนโดยเฉพาะมาตรการในการอนุรักษ์หรือเพิ่มพื้นที่สีเขียว โดยสร้างความร่วมมือภาคธุรกิจเอกชนในการขับเคลื่อนความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) และขยายเครือข่ายความร่วมมือไปยังผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดเล็ก (SMEs) เป็นแกนกลางสำคัญของเศรษฐกิจโดยถ่ายทอดองค์ความรู้ มีมาตรการสนับสนุน และช่วยเหลือเพื่อให้ SMEs พัฒนากระบวนการดำเนินธุรกิจ โดยมีข้อเสนอ ดังนี้
    1) ภาคธุรกิจขนาดใหญ่หรือมีความเข้มแข็งอยู่แล้ว กลุ่มนี้ต้องเข้าไปช่วยเรื่องสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับภาษี การจูงใจให้เกิดการลงทุนเพิ่มในธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับ BCG
    2) ภาคธุรกิจขนาดกลาง ที่ต้องเข้าไปสนับสนุนทั้งในแง่แหล่งเงินทุน เทคโนโลยีต่าง ๆ ที่จะช่วยเปลี่ยนผ่านการดำเนินธุรกิจแบบเดินสู่แนวทางที่คำนึงถึง BCG รวมถึงกองทุน หรือ แหล่งเงินทุน ที่สามารถเข้าถึงได้ง่าย
    3) ภาคธุรกิจขนาดเล็ก ทั้ง SME และ Micro SMEs ที่เป็นผู้ประกอบการที่มีจำนวนมากสุดของประเทศที่ส่วนใหญ่ยังขาดความรู้ความเข้าใจเรื่อง BCG ดังนั้น จำเป็นต้องสร้างการรับรู้ และหากรณีความสำเร็จ (Success Case) ที่จะเป็นโมเดลต้นแบบให้เดินตามได้ รัฐบาลต้องมีมาตรการจูงใจให้ภาคธุรกิจขนาดใหญ่ที่มีความพร้อม ทั้งด้านบุคลากร ทรัพยากรต่าง ๆ เพื่อเข้ามาช่วยถ่ายทอดองค์ความรู้ เพื่อช่วยให้ธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็กสามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น นอกเหนือจากแหล่งเงินทุนที่รัฐบาลต้องมีมาตรการสนับสนุนที่ชัดเจน เพราะถือเป็นกลุ่มที่ยังไม่เข้มแข็งและต้องการความช่วยเหลือเป็นพิเศษ รวมทั้งการอำนวยความสะดวกเกี่ยวกับกฎระเบียบต่าง ๆให้สอดคล้องกับ BCG Model

6.2 แก้ปัญหาหนี้ครัวเรือนอย่างยั่งยืน ยกระดับมาตรการทั้งก่อน ขณะ และหลังเป็นหนี้ เน้นการมีวินัยด้านเครดิต และการเสริมความรู้ด้านการเงิน (Financial Literacy) โดยให้ความสำคัญกับการจัดทำศูนย์กลางข้อมูลเครดิตให้สมบูรณ์ ซึ่งจะรวบรวมข้อมูลเครดิตจากหน่วยงานต่างๆ ทั้ง Bank, Non-bank และสหกรณ์ออมทรัพย์ รวมไปถึงการปรับมาตรการและแรงจูงใจให้คนไทยโดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ ให้ความสำคัญกับการออมก่อนเกษียณมากขึ้น รองรับภาวะสังคมสูงวัย

6.3 ส่งเสริมการรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน (Renewable Energy) ที่มีศักยภาพเพิ่มเติม เช่น การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม เป็นต้น รวมทั้งพิจารณาปรับเพิ่ม Incentive ราคารับซื้อวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรที่เป็นเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าชีวมวล เพื่อลดการเผาวัสดุทางการเกษตร ซึ่งจะช่วยลดการปลดปล่อย CO2 และปัญหาฝุ่น PM 2.5

6.4 ส่งเสริมและสนับสนุนการอนุรักษ์พลังงานหรือการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานครอบคลุมทุกอุตสาหกรรม โดยมี Incentive จูงใจให้ผู้ประกอบการนำเทคโนโลยีมาปรับปรุงกระบวนการผลิต เพื่อบรรลุเป้าหมายการประหยัดพลังงานและลดการปลดปล่อย CO2

Scroll to Top