‘การนอนหลับ’ หลายคนคงพอทราบกันมากันว่า การนอนที่มีคุณภาพควรนอนให้ได้วันละ 7-8 ชั่วโมง บางคนตื่นพาพร้อมกับเล่าความฝันที่มากมาย และความเพลียที่ตามมา ฟังดูอาจจะสนุกที่ได้ฝัน แต่ความจริงแล้ว นี่คือสัญญาณที่บอกว่า ร่างกายพักผ่อนไม่เพียงพอ และอาจนำมาสู่ภาวะและโรคต่าง ๆ ได้ในอนาคต หากไม่รีบแก้ไข
ปัจจุบันกัญชาโดยเฉพาะสาร CBD ได้ถูกนำมาใช้ทางด้านการแพทย์กันอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะเรื่องความผ่อนคลายและการนอนหลับ ผ่านผลิตภัณฑ์น้ำมัน CBD ที่มีคุณภาพ
กัญชามีสรรพคุณมากมาย โดยเฉพาะในเรื่องการผ่อนคลาย การนอนหลับ และทำให้ความฝันลดลง กัญชาทำให้ความฝันลดลงได้อย่างไร และมีกลไกการทำงานในร่างกายอย่างไร วันนี้เราจะนำสาระทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับกัญชาและความฝันมาย่อยและอธิบายให้ทุกคนได้เข้าใจกันแบบง่าย ๆ ไปเริ่มกันเลย
ภาวะเกี่ยวการนอนหลับและความฝัน
สรรพคุณของกัญชาเป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางโดยเฉพาะทางด้านการแพทย์ที่เกี่ยวข้องกับการนอนหลับ ดังนี้
- REM Sleep คืออะไร
REM (Rapid eye movement) Sleep หรือเรียกว่า “ช่วงหลับฝัน” เป็นหนึ่งในวงจรการนอนหลับ (Sleep Cycle) ที่อยู่ในระยะที่ 2 ซึ่ง REM Sleep นี้เป็นช่วงที่ลูกตาของเรากรอกไปมาอย่างรวดเร็วในขณะที่หนังตาปิดสนิท อัตราของหัวใจจะเร็วขึ้น การหายใจไม่สม่ำเสมอ สมองยังคงทำงานเหมือนตอนตื่น
- PTSD (Post-traumatic stress disorder) คืออะไร
PTSD หรือ post-traumatic stress disorder คือ ภาวะความผิดปกติทางอารมณ์ที่เกิดขึ้นภายหลังจากที่ประสบกับเหตุการณ์ความรุนแรง เกิดได้ทั้งทางตรงและทางอ้อม เกิดได้กับผู้ที่ประสบเหตุด้วยตัวเอง เกิดกับญาติ หรืออาจเป็นผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์ จนเกิดเป็นความเครียด มีบาดแผลทางใจอย่างรุนแรง ส่งผลต่อการนอนหลับ การหลับ ๆ ตื่น ๆ และฝันร้ายที่ส่งผลต่อการนอนหลับนั่นเอง
การใช้กัญชาเป็นทางเลือกธรรมชาติในการรักษาภาวะนอนไม่หลับ ผลที่ได้จะต่างกันไปในแต่ละบุคคล ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับ ‘ระบบเอ็นโดแคนนาบินอยด์’ ในร่างกายของแต่ละคนที่ตอบรับต่อสารของกัญชาได้ไม่เท่ากัน
สารประกอบในกัญชา
ในกัญชาจะมีสารประกอบ cannabinoids หลัก ๆ ที่นำมาใช้ในทางการแพทย์ ได้แก่
- THC (Tetrahydrocannabinol) – สารประกอบที่มีผลออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท เสี่ยงต่อการเสพติด และประสาทหลอน หากใช้อย่างไม่มีความรับผิดชอบ
- CBD (Cannabidiol) – เป็นสารที่ไม่ออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท ไม่มีฤทธิ์ให้เกิดการเสพติด
ระบบ ระบบเอ็นโดแคนนาบินอยด์ (ESC)
ระบบเอ็นโดแคนนาบินอยด์ (Endocannabinoid System: ECS) คือ ระบบที่สามารถพบได้ทั่วไปในร่างกาย ทั้งในระบบประสาทส่วนกลางและระบบประสาทส่วนปลาย ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานทั้งหมดของร่างกาย คุมความสมดุลผ่านระบบการทานอาหาร และการสร้างไขมัน
ระบบเอ็นโดแคนนานบินอยด์ (ESC) ทำงานอย่างไร
สารประกอบ cannabinoids ในกัญชาจะทำงานผ่าน cannabinoid receptor 2 ชนิด หลัก ๆ คือ
- CB1 receptor – พบมากในสมองและทั่วร่างกาย เกี่ยวกับความจำและอารมณ์
- CB2 receptor – พบในระบบภูมิคุ้มกันและระบบประสาทส่วนปลาย เช่น ม้าม ทอนซิล กระดูก และผิวหนัง เป็นต้น
อธิบายการทำงานง่าย ๆ ก็คือ ระบบ ESC เป็นตัวที่คอยควบคุมสมดุลให้กับร่างกาย เช่น เมื่อร่างกายรู้สึกอ่อนเพลียจากการนอนไม่หลับ ระบบ ESC จะแสดงอาการง่วงและร่างกายต้องการการพักผ่อน หากร่างกายได้รับสาร CBD หรือ THC เข้าไป ตัว receptor ทั้ง CB1 และ CB2 โดยจะคอยตรวจจับและมีการตอบสนองต่อสารในกัญชา เพื่อให้นอนหลับได้ลึกขึ้นและทำให้ส่วนต่าง ๆ ทำงานได้อย่างปกติ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของความจำ, การนอนหลับ, ความอยากอาหาร, ความเครียด และความเจ็บปวด เป็นต้น
ทั้งนี้ ก็ยังมีการวิจัยอย่างต่อเนื่องเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างสาร CBD และ ESC โดยบางกลุ่มมีความเชื่อว่า CBD ทำให้สาร THC มีประสิทธิภาพต่อร่างกายลดลง ขณะที่บางกลุ่มเชื่อว่า CBD ช่วยรักษาประสิทธิภาพของระบบ ESC ให้มีความสมดุล
กัญชา การนอนหลับ กับ ความฝัน
CBD เป็นสารกลุ่ม cannabinoids ในกัญชาที่ไม่ออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท และไม่เสี่ยงต่อการเสพติด และที่สำคัญยังสามารถช่วยในเรื่องการนอนหลับได้ดังนี้
- ช่วยลดช่วงเวลา REM Sleep
ได้มีการศึกษาแล้วว่าการใช้กัญชาก่อนนอน จะช่วยลดช่วงเวลา REM (Rapid Eye Movement) ได้ เพราะสารในกัญชาจะทำให้หลับลึกจนไม่ได้ฝันหรือฝันน้อยลง และโดยเฉพาะกับ CBD ที่ช่วยเพิ่มระยะเวลาการนอนให้นานขึ้น จึงทำให้ร่างกายได้พักผ่อนอย่างเต็มที่
- ช่วยให้หลับง่ายขึ้นจากภาวะ PTSD
จากงานวิจัยในกลุ่มผู้ที่มีภาวะ PTSD ระบุว่าหลังใช้กัญชา ทำให้อาการนอนไม่หลับนั้นดีขึ้น จำนวนครั้งการตื่นกลางดึก รวมถึงฝันร้ายลดลง โดยเฉพาะหากใช้ CBD ในปริมาณที่สูงขึ้น จะช่วยให้อาการที่เคยตื่นเช้ามาก ๆ และบ่อย ๆ ลดลงได้ ทำให้ระบบการนอนหลับกลับเข้าสู่ภาวะปกติ แต่อย่างไรก็ตามยังคงมีการวิจัยในเรื่องนี้กันอย่างต่อเนื่อง
การนอนที่มีคุณภาพไม่ได้จำกัดว่าจะต้องนอนให้ครบ 7-8 ชั่วโมง บางคนนอนได้ครบตามชั่วโมงนี้ แต่หลับไม่ลึกก็ไม่ถือว่าเป็นการนอนหลับที่มีคุณภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งบางคนมีภาวะหลับ ๆ ตื่น ๆ กลางดึกบ่อย ๆ พบมากในผู้ที่มีภาวะเครียดและ PTSD เหล่านี้จะส่งผลให้คุณภาพชีวิตลดลง
ทั้งหมดที่ได้กล่าวมาเป็นการสรุปความรู้ทางวิทยาศาสตร์โดยย่อเกี่ยวกับกัญชาและความฝันในบางมุมที่บางคนอาจยังไม่รู้และต้องการต่อยอด เพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับสรรพคุณของกัญชาโดยเฉพาะ CBD
สรรพคุณของ CBD ที่มีส่วนช่วยในเรื่องความผ่อนคลาย และการนอนหลับ ส่งผลให้วงการแพทย์ได้นำสรรพคุณในส่วนนี้มาใช้ประโยชน์ เพื่อการรักษาผู้ป่วยที่เผชิญกับปัญหาเรื่องการนอนหลับได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ หากใครต้องการใช้ CBD เพื่อการรักษา แนะนำว่าควรเข้ารับคำแนะนำจากแพทย์ก่อน เพื่อผลลัพธ์ที่ดีที่สุดในแต่ละบุคคลข้อมูลอ้างอิง sikarin.com, ncbi.nlm.nih.gov, oncb.go.th, chulalongkornhospital.go.th
–รู้จักกับ “O-GA” และ “Radiostent” เด็กไทยทั้ง 2 ทีม ที่คว้ารางวัล James Dyson Award ปี 66