บางจาก ยืนยันค่าการตลาดน้ำมันเบนซินทั่วไป ไม่เคยพุ่งสูงถึง 4 บาทต่อลิตร

บางจาก ยืนยันค่าการตลาดน้ำมันเบนซินทั่วไป ไม่เคยพุ่งสูงถึง 4 บาทต่อลิตร

นายชัยวัฒน์ โควาวิสารัช ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด(มหาชน) เปิดเผยกรณีที่สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน(สนพ.) ขอความร่วมมือผู้ค้าน้ำมันปรับลดค่าการตลาดให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม ประมาณ 2 บาทต่อลิตร หลังจากที่ผ่านมาพบว่าผู้ค้าน้ำมันมีค่าการตลาดอยู่ในระดับสูงเกินกว่าระดับที่เหมาะสมมาอย่างต่อเนื่อง โดยปัจจุบันค่าการตลาดน้ำมันแบนซินอยู่ที่ 4.8 บาทต่อลิตร

โดยนายชัยวัฒน์ กล่าวว่า ค่าการตลาดน้ำมันในกลุ่มเบนซินและดีเซลทั่วไปไม่ว่าจะเป็น ดีเซลบี7 ,แก๊สโซฮอล์95 E10 ไม่เคยมีค่าการตลาดสูงถึง 4 บาท โดยเฉลี่ยจะเคลื่อนไหวที่ระดับ 1-2 บาทต่อลิตรเท่านั้น ส่วนจะมีการใช้กฎหมายเข้ามาควบคุมค่าการตลาดขณะนี้ยังไม่ทราบเรื่อง แต่ส่วนตัวเห็นด้วยกับการปรับโครงสร้างราคาน้ำมัน เช่นโครงสร้างภาษีต่าง ๆ ที่จะเห็นผลกระทบต่อราคาเป็นหลักบาท ซึ่งค่าการตลาดที่เคลื่อนไหวขึ้นลงอยู่ในหลักสตางค์เท่านั้น และหากมีการปรับค่าการตลาดลงมามากอาจจะส่งผลกระทบต่อซัพพลายเชน เพราะว่าปั้มน้ำมันส่วนใหญ่เป็นดีลเลอร์ เป็นผู้ประกอบการเอสเอ็มอีที่มีการลงทุน ซึ่งหากค่าการตลาดอยู่ในระดับที่ต่ำมากก็อาจได้รับผลกระทบอยู่ไม่ได้

ขณะเดียวกันวันนี้ บางจากฯ ได้จัดงานสัมมนา Greenovative Forum ซึ่งเป็นสัมมนาใหญ่ประจำปีของบางจากฯ โดยในปีนี้จัดขึ้นในหัวข้อ Regenerative Fuels:Sustainable Mobility เพื่อนำเสนอประเด็นเกี่ยวกับเชื้อเพลิงอนาคตเพื่อตอบโจทย์การเดินทางอย่างยั่งยืน โดยนายชัยวัฒน์ ได้นำเสนอพลังงานที่เป็น “คลีนโมเลกุล” หรือ “เชื้อเพลิงในรูปของเหลวที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ไม่ว่าจะเป็น Biofuel ,Sustainable Fuel,E-Fuel และ Green Ammonia โดยระบุว่าพลังงานในรูปของเหลว ที่เป็นคลีนโมเลกุล จะเป็นทางเลือกที่ตอบโจทย์การเดินทางมากกว่าเมื่อเทียบกับพลังงานในรูปอิเล็คตรอน​(ไฟฟ้า) และจะช่วยให้การเข้าสู่ NET ZERO ทำได้รวดเร็วมากขึ้น โดยมีผลการศึกษาจาก EIA ที่ระบุคาดการณ์สัดส่วนการใช้เชื้อเพลิงภาคการขนส่งในรูปแบบต่างๆ ที่พบว่า ในปี 2022 เชื้อเพลิงในรูปของเหลวมีสัดส่วน 94% ก๊าซ 5% และ ไฟฟ้า 1 % และจะค่อยๆ ปรับตัวเป็นรูปของเหลวลดลงเหลือสัดส่วน 91% ก๊าซ 4% และ ไฟฟ้า 5 % ในปี 2030 และปรับเป็นของเหลวที่ยังมีสัดส่วน 65% ก๊าซ 9% และ ไฟฟ้า 27 % ในปี 2050 สะท้อนให้เห็นว่าในอีก 28 ปีข้างหน้า ภาคการขนส่งยังคงมีสัดส่วนการใช้เชื้อเพลิงในรูปของเหลวในสัดส่วนที่มากกว่าครึ่ง โดยมองว่า การใช้คลีนโมเลกุลที่เป็นของเหลวจะมีต้นทุนที่ต่ำกว่า ขนส่งได้ง่ายและปริมาณที่มากกว่า ซึ่งขณะนี้บางจากฯ ได้เดินหน้าเรื่อง Sustainable Fuel เช่น โครงการทอดไม่ทิ้ง เพื่อนำน้ำมันปรุงอาหารที่ใช้แล้วนำมาผลิตเป็น SAF หรือ เชื้อเพลิงอากาศยานยั่งยืนแล้ว โดยล่าสุดการสร้างโรงกลั่นน้ำมันใช้แล้วสำหรับผลิต SAF มีความคืบหน้าราว 30% และคาดว่าจะแล้วเสร็จภายในสิ้นปี 2567 และเริ่มเดินเครื่องได้ภายในต้นปี 2568

กฟผ. ชู Smart Energy Solutions นวัตกรรมจัดการพลังงานเพื่อเนรมิตเมือง Smart City

Scroll to Top