“เซ็นทรัลพัฒนา” ขับเคลื่อนสังคมสีเขียวอย่างยั่งยืน จับมือพันธมิตร SCG นำกรีนโซลูชันพัฒนาโครงการมิกซ์ยูสระดับประเทศ

“เซ็นทรัลพัฒนา” ขับเคลื่อนสังคมสีเขียวอย่างยั่งยืน จับมือพันธมิตร SCG นำกรีนโซลูชันพัฒนาโครงการมิกซ์ยูสระดับประเทศ

เซ็นทรัลพัฒนา อสังหาริมทรัพย์ไทยยั่งยืนระดับโลกบน DJSI World 2023 และผู้บริหารศูนย์การค้าเซ็นทรัล, โครงการที่อยู่อาศัย, อาคารสำนักงาน และโรงแรมทั่วประเทศ ขับเคลื่อนธุรกิจภายใต้วิสัยทัศน์ ‘Imagining better futures for all’ มุ่งพัฒนา ‘พื้นที่’ ที่ช่วยยกระดับคุณภาพชีวิต สังคม และสิ่งแวดล้อม พร้อมเดินหน้าเป้าหมาย NET Zero 2050 อย่างต่อเนื่อง โดยเมื่อเร็วๆ นี้ เข้าร่วมรับรางวัลโล่เกียรติคุณกลุ่ม Developer ชั้นนำของเมืองไทยร่วมสร้างอุตสาหกรรมก่อสร้างสีเขียว ในงาน Inclusive Green Growth Days Empowered by SCG: เติบโตและยั่งยืนไปด้วยกัน โดยมี คุณชาตรี โกวิทานุพงศ์ Executive Project Director, Regional Development 1 บมจ.เซ็นทรัลพัฒนา เข้ารับรางวัลจาก นายสุรชัย นิ่มละออ กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธุรกิจเอสซีจี ซีเมนต์แอนด์กรีนโซลูชัน

ชาตรี โกวิทานุพงศ์ Executive Project Director Regional Development 1 บมจ.เซ็นทรัลพัฒนา กล่าวว่า “ทางเซ็นทรัลพัฒนารู้สึกยินดีอย่างยิ่งที่ได้รับรางวัลอันทรงเกียรติจาก Cement and Green Solution Business ภายใต้ SCG ในครั้งนี้ โดยที่ผ่านมาเราได้จับมือเป็นพันธมิตรกันเพื่อผลักดันสร้างสังคมคาร์บอนต่ำ นำร่องโครงการต้นแบบ Framework Pathway to Net Zero Building Guideline นับเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีขององค์กรที่มีทิศทางด้านความยั่งยืน โดยเราได้เลือกใช้ผลิตภัณฑ์รักษ์โลกในกลุ่มซีเมนต์ คอนกรีต และกรีนโซลูชันในการพัฒนาและก่อสร้างโครงการมิกซ์ยูสสำคัญของเราคือ โครงการเซ็นทรัล นครสวรรค์ และโครงการ เซ็นทรัล นครปฐม ที่เตรียมเปิดอย่างเป็นทางการในวันที่ 30 มี.ค.67 โดยเลือกใช้ปูน Low Carbon รวมถึงมีการรีไซเคิลเสาเข็มที่ได้ริเริ่มมาตั้งแต่การพัฒนาโครงการเซ็นทรัล ศรีราชา และเซ็นทรัลจันทบุรี และการดำเนินงานภายใต้ Green Standard ต่างๆ ซึ่งถือเป็นความร่วมมือที่ช่วยให้เราเดินหน้าสู่เป้าหมาย NET Zero 2050 ได้อย่างเป็นรูปธรรมและต่อเนื่อง”

ทั้งนี้ เซ็นทรัลพัฒนา มีแผนการดำเนินงานเพื่อมุ่งสู่ NET Zero 2050 หรือการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ในปี 2593 แบ่งได้ 3 หมวดหลัก คือ หมวดที่ 1: Decarbonized operational emissions ผ่านการดำเนินงาน ได้แก่ 1) ลดการใช้พลังงานไฟฟ้า 2) เพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานสะอาด (solar) 3) ลดขยะฝังกลบ 4) ลดการใช้น้ำ 5) ชวนร้านค้าผู้เช่าลดการใช้พลังงานและแยกขยะ; หมวดที่ 2: Decarbonized embodied emission ผ่านการดำเนินงาน ได้แก่ 1) การนำมาตรฐานอาคารเขียวระดับสากล Green building เช่น LEED, TREES, EDGE มาเป็นแนวทางในการก่อสร้าง 2) การวัด LCA-Life cycle assessment ของการก่อสร้าง 3) ร่วมมือกับ supplier และ contractor ในการเพิ่มปริมาณรีไซเคิลในวัสดุก่อสร้าง และ หมวดที่ 3: Carbon removal โดยการปลูกป่าทดแทน และ R&D เพื่อหานวัตกรรม Sustianovation มาช่วย capture carbon

เปิดแนวทางปฏิบัติปรับธุรกิจสู่ความยั่งยืน โดย 4 อุตสาหกรรมหลักของไทย พร้อมชี้โอกาสของนักลงทุนจากการเปลี่ยนแปลง จากงาน ‘RETHINK SUSTAINABILITY: A Call to Action for Thailand’

Scroll to Top