อายิโนะโมะโต๊ะ (ประเทศไทย) พร้อมอัปเดตแผนการดำเนินงานด้วยพันธกิจยืดช่วงอายุขัยของการมีสุขภาพดีให้กับคนทั่วโลกด้วย “ศาสตร์แห่งกรดอะมิโน” และการดำเนินงานมุ่งสู่องค์กรธุรกิจคาร์บอนต่ำ เพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมลง 50% ได้สำเร็จ ภายในปี 2573 เจาะลึก “โรงงานอายิโนะโมะโต๊ะ กำแพงเพชร” ต้นแบบโรงงานสีเขียว ตอกย้ำความมุ่งมั่นในการทุ่มเท เพื่อพิชิตเป้าหมาย Net Zero พร้อมการเปิดตัวธุรกิจใหม่ อายิโนะโมะโต๊ะ เอฟ ดี กรีน เพื่อพัฒนาและสนับสนุนการเกษตรอย่างยั่งยืน ดูแลคนไทยให้ “อยู่ดี มีสุข” ตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ
เค็นจิ ฮะระดะ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท อายิโนะโมะโต๊ะ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า “เพื่อเป็นไปตาม ยุทธศาสตร์ด้านความยั่งยืนปี 2573 ของกลุ่มบริษัทฯ ในระดับโลก อายิโนะโมะโต๊ะ (ประเทศไทย) มุ่งนำ “ศาสตร์แห่งกรดอะมิโน” (AminoScience) มาสร้างสรรค์นวัตกรรมเกี่ยวกับอาหารและสุขภาพ ด้วยการสร้าง Well-being หรือ “การอยู่ดีมีสุข”
ตามพันธกิจในการยืดช่วงอายุขัยของการมีสุขภาพดีให้กับผู้คน 1 พันล้านคนทั่วโลก โดยนำ 4 หน้าที่หลักของกรดอะมิโน ได้แก่ 1) การปรุงรสชาติอาหารให้อร่อย 2) การนำสารอาหารไปสู่ร่างกาย 3) การส่งเสริมสุขภาพที่ดี และ 4) การตอบสนองที่นำไปสู่การสร้างฟังก์ชันใหม่ มาสร้างสุขภาพที่ดีให้กับผู้คน โดย “กรดอะมิโน” ถือเป็นหัวใจสำคัญของผลิตภัณฑ์หลักของบริษัทฯ คือ ผงชูรสอายิโนะโมะโต๊ะ พร้อมต่อยอดไปจนถึงผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร คือ อะมิโนไวทัล (BCAAs) ที่ช่วยฟื้นฟูและเสริมความแข็งแรงให้กล้ามเนื้อสำหรับนักกีฬาและผู้ที่รักการออกกำลังกาย และอะมิโนมอฟ (ลิวซีน) ซึ่งช่วยเรื่องการสร้างกล้ามเนื้อและข้อต่อเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเคลื่อนไหวในผู้สูงอายุ โดยบริษัทฯ ยังคงมีการวิจัยและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อส่งมอบผลิตภัณฑ์ที่จะช่วยส่งเสริมความอยู่ดี มีสุขให้แก่ผู้คนทั่วโลกผ่านองค์ความรู้ในด้านศาสตร์แห่งกรดอะมิโนของเรา
พร้อมกันนี้ บริษัทฯ ก็ได้มีแผนการดำเนินงานที่คำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ เริ่มตั้งแต่กระบวนการผลิตในโรงงาน การจัดหาวัตถุดิบอย่างยั่งยืน การต่อยอดสู่ภาคครัวเรือน และภาคเกษตรกรรม ภายใต้แนวคิด “Ajinomoto Biocycle” เพื่อมุ่งสู่องค์กรธุรกิจคาร์บอนต่ำ บรรลุเป้าหมายในการลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมลง 50% ได้สำเร็จ ภายในปี 2573”
แผนการดำเนินงานสู่เป้าหมายด้านความยั่งยืนในปี 2573
เปิด 5 แนวทางดำเนินงานเพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากการดำเนินธุรกิจ ประกอบด้วย 1) ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลง 50% 2) ดูแลรักษาแหล่งน้ำ 80% 3) ลดขยะพลาสติกให้เป็นศูนย์ ด้วยการใช้พลาสติกรีไซเคิล 4) ลดการสูญเสียอาหารและขยะอาหารจากกระบวนการผลิต 5) จัดหาวัตถุดิบอย่างยั่งยืนทั้ง 100% จึงเกิดเป็นผลการดำเนินงานเพื่อความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อมที่เป็นรูปธรรม ดังนี้
- ภาคการผลิตในโรงงาน อาทิ ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ด้วยการใช้พลังงานทางเลือกและพลังงานหมุนเวียนต่าง ๆ ในกระบวนการผลิตแทนการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล ซึ่งสามารถลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้กว่า 380,000 ตันต่อปี การลดใช้น้ำและพลาสติกจากการดำเนินงาน การปรับเปลี่ยนบรรจุภัณฑ์พลาสติกให้เป็นวัสดุที่สามารถนำไปรีไซเคิลได้ ลดปริมาณการสูญเสียอาหารและขยะอาหาร ได้ถึง 70% หรือประมาณ 1,300 ตัน นอกจากนี้ ยูนิฟอร์มของพนักงานอายิโนะโมะโต๊ะยังถูกผลิตขึ้นจากขวดน้ำพลาสติกที่ใช้แล้ว นับเป็นการช่วยลดปริมาณขยะพลาสติกที่เกิดขึ้น ทั้งหมดนี้คือการดำเนินงานของเราอย่างต่อเนื่อง เพื่อบรรลุเป้าหมายสู่การเป็นองค์กรธุรกิจคาร์บอนต่ำ
- ภาคการจัดหาวัตถุดิบอย่างยั่งยืน โดยมุ่งเน้นในการพิจารณาเพื่อลดความเสี่ยงและผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม ที่เกี่ยวเนื่องกับการได้มาซึ่งวัตถุดิบหรือสินค้าในห่วงโซ่อุปทาน โดยช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ประสบความสำเร็จในการดำเนินการเลือกใช้กระดาษที่ผ่านการรับรอง FSC ได้ทั้งหมด 100% การเลือกใช้น้ำมันปาล์มและผลิตภัณฑ์จากปาล์ม ที่ผ่านการรับรอง RSPO กว่า 100% และการเลือกใช้เนื้อหมูที่ได้จากการเลี้ยงที่คำนึงถึง Animal welfare
- ภาคครัวเรือน จัดโครงการ “Too Good To Waste กินหมดลดโลกร้อน” เพื่อสร้างความตระหนักรู้ในการร่วมลดขยะอาหารแก่ผู้บริโภคผ่าน “สูตรอาหารรักษ์โลก”
- ภาคเกษตรกรรม ต่อยอดองค์ความรู้ด้านกรดอะมิโนของเรา ผ่านผลิตภัณฑ์ร่วมที่ได้จากกระบวนการผลิตผงชูรส เข้าไปสนับสนุนเกษตรกรให้สามารถผลิตผลผลิตได้อย่างยั่งยืน ภายใต้แนวคิด “Ajinomoto Biocycle” ซึ่งเป็นแนวทางวัฏจักรชีวภาพในกระบวนการผลิต
นัฏทพนธ์ พานิชดี ผู้จัดการโรงงานอายิโนะโมะโต๊ะ จังหวัดกำแพงเพชร เผยว่า “โรงงานอายิโนะโมะโต๊ะ กำแพงเพชร” เป็นฐานการผลิตสำคัญในการดูแลด้านกินดีของคนไทยทั่วประเทศ และ 40 ประเทศทั่วโลก ซึ่งถือเป็นต้นแบบโรงงานสีเขียวเพื่อสิ่งแวดล้อม ด้วยการใช้พลังงานทดแทน เพื่อลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เช่น “เทคโนโลยี
หม้อต้มไอน้ำพลังงานชีวมวล” การก่อสร้าง “โรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนร่วมจากชีวมวล” ที่นำแกลบและชานอ้อยที่เหลือจากภาคการเกษตรมาเป็นเชื้อเพลิงสำหรับกระบวนการผลิตภายในโรงงาน การติดตั้งระบบหลังคาโซลาร์บนหลังคา การจัดการน้ำในโรงงานอย่างมีประสิทธิภาพ โดยนำหลัก 3Rs (Reduce, Reuse, Recycle) มาใช้ในการจัดการในโรงงาน การลดปริมาณการใช้พลาสติกระหว่างกระบวนการผลิต เพื่อลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมแบบบูรณาการ และสร้างวงจรเชิงบวกอย่างยั่งยืน”
ดร.โคะเฮ อิชิกะวะ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท อายิโนะโมะโต๊ะ เอฟ ดี กรีน (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวเพิ่มเติมว่า “ในฐานะที่อายิโนะโมะโต๊ะเป็นบริษัทชั้นนำของโลกในธุรกิจเกี่ยวกับอาหาร การดูแลวัตถุดิบให้มีคุณภาพตั้งแต่ต้นน้ำ ครอบคลุมไปจนถึงการดูแลทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกับวัฏจักรแห่งห่วงโซ่คุณค่าของเราจึงเป็นสิ่งที่บริษัทฯ
ให้ความสำคัญ จากความมุ่งมั่นนี้ จึงได้มีการเปิดตัวบริษัท อายิโนะโมะโต๊ะ เอฟ ดี กรีน (ประเทศไทย) จำกัด เพื่อเป็น “บริษัทต้นแบบทางธุรกิจเพื่อสิ่งแวดล้อม” ของกลุ่มบริษัทฯ ตั้งเป้าหมายรุกภาคการเกษตร เพื่อสร้างความยั่งยืนในการจัดการกับ “ผลิตภัณฑ์ร่วม” ที่ได้จากกระบวนการผลิตผงชูรสและพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อประโยชน์ทางการเกษตร ปัจจุบันผลิตภัณฑ์ของบริษัทฯ มี 11 ผลิตภัณฑ์ แบ่งเป็น 2 หมวดหมู่ ได้แก่ 1) ผลิตภัณฑ์ด้านการเกษตร เช่น กระเทียม เมล็ดกาแฟ 2) ผลิตภัณฑ์เพื่อการเกษตร ประกอบด้วยผลิตภัณฑ์สำหรับพืช และอาหารสำหรับสัตว์ ซึ่งตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา เราได้ต่อยอดองค์ความรู้เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่จะช่วยสนับสนุนประสิทธิภาพการเพาะปลูกที่ดีขึ้นของเกษตรกรอย่างต่อเนื่อง โดยล่าสุดได้แนะนำผลิตภัณฑ์ใหม่ ‘ปุ๋ยอามินา’ ที่มาจากความเชี่ยวชาญในด้านเทคโนโลยีการหมักของบริษัทอายิโนะโมะโต๊ะ มาพัฒนาเป็นปุ๋ยชีวภาพอันอุดมด้วยแบคทีเรียที่ดีต่อพืช มีคุณสมบัติในการส่งเสริมการเจริญเติบโตของรากและเพิ่มสารอาหารในดิน จึงทำให้ผลผลิตของเกษตรกรเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน”
“เราเชื่อว่าถ้าเกษตรกรอยู่ดีมีสุข ธุรกิจของเราก็มั่นคงไปด้วย เราจึงดำเนินกิจกรรมเพื่อตอบโจทย์ความยั่งยืน ด้วยการดูแล เกษตรกรไทยกว่า 1,376 ครอบครัวในจังหวัดกำแพงเพชรและนครสวรรค์ ซึ่งเป็นแหล่งเพาะปลูกมันสำปะหลังแหล่งใหญ่ของประเทศไทย ในการทำการเกษตรอย่างยั่งยืนทุกขั้นตอน โดยมี 2 โครงการหลัก ได้แก่
1) โครงการ Thai Farmer Better Life Partner ยกระดับความความอยู่ดีมีสุขให้กับเกษตรกรพร้อมสร้างวงจรเชิงบวกอย่างยั่งยืน ทั้งไร่มันสำปะหลัง ซึ่งเป็นวัตถุดิบในการผลิตผงชูรสอายิโนะโมะโต๊ะ ต่อยอดมาสู่ไร่กาแฟ ซึ่งเป็นวัตถุดิบในการผลิตกาแฟเบอร์ดี้ ภายใต้แนวคิด Ajinomoto Bio-cycle โดยนำเอาน้ำหมักที่เหลือจากกระบวนการผลิตมาต่อยอดเป็นปุ๋ยอินทรีย์ที่ดีกับสิ่งแวดล้อม พร้อมร่วมมือกับภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ความรู้ แนะนำ และดูแลการรับซื้อในราคาเป็นธรรม
2) โครงการ Green Coffee Bean (GCB) Farmer Sustainability ด้วยการสนับสนุนปุ๋ยเคมีอินทรีย์ที่พัฒนามาจากศาสตร์แห่งกรดอะมิโนให้แก่เกษตรกร เพื่อลดปริมาณการใช้สารเคมีในการเพาะปลูก รวมทั้งช่วยพัฒนาความรู้ ตั้งแต่การปลูกต้นกาแฟ การดูแล ไปจนถึงการเก็บเกี่ยว เพื่อให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพ โดยตั้งเป้าเติบโตในธุรกิจภาคการเกษตร 2.5 เท่า และพัฒนาระบบการตรวจสอบย้อนกลับแหล่งที่มา (traceability) ของมันสำปะหลังที่เข้าร่วมในโครงการ Thai Farmer Better Life Partner 100% เพื่อให้สามารถบรรลุเป้าหมายในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางอ้อมอื่น ๆ ได้สำเร็จภายในปี พ.ศ. 2573”