Huawei จัดงาน Digital Sustainable University Day อัพเดทเทรนด์เทคโนโลยีและโซลูชันไฮไลต์เพื่อการเตรียมพร้อมโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีสำหรับปรับตัวในยุคดิจิทัลของสถานศึกษา โดยได้รับความร่วมมือจากมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย และลานนาคอม จัดขึ้นเป็นครั้งแรก ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
วิลเลี่ยม จาง ประธานธุรกิจเอ็นเตอร์ไพรส์ บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า เทคโนโลยีเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้สำหรับภาคธุรกิจต่างๆ โดยเฉพาะหน่วยงานด้านการศึกษา ซึ่งเป็นรากฐานสำคัญของการพัฒนาในทุกๆด้าน และยังมีแนวโน้มที่จะมีพัฒนาการด้านความอัจฉริยะมากขึ้นทั้งการเรียน การสอน การวิจัยทางวิทยาศาสตร์ ตลอดจนถึงการจัดการระบบ ซึ่งเป็นช่วงเวลาแห่งการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่
กิจกรรมการเรียนการสอนได้เปลี่ยนจากการใช้กระดานดำแบบดั้งเดิมมาเป็นเครื่องมือมัลติมีเดีย จากการเรียนรู้เริ่มทำได้ไร้ข้อจำกัด และจากการบรรยายแบบทางเดียวไปสู่การเรียนรู้ที่เน้นนักเรียนเป็นศูนย์กลางมากขึ้น
ในฐานะผู้ให้บริการด้าน ICT ชั้นนํา หัวเว่ยมุ่งมั่นที่จะนําเครือข่ายแคมปัสอัจฉริยะ ศูนย์ข้อมูล การประมวลผลคลาวด์ ห้องเรียนอัจฉริยะ และเทคโนโลยีอื่น ๆ มาใช้ในการพัฒนาบุคลากรด้านนวัตกรรมในการศึกษาระดับอุดมศึกษาและอาชีวศึกษา เร่งให้เกิดนวัตกรรมในการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ และลดความเหลื่อมล้ำทางดิจิทัล
โดยจากการจัดอันดับของ QS World University Rankings มหาวิทยาลัยกว่า 30 แห่งจาก 100 อันดับแรกของโลกได้เลือกให้หัวเว่ยเป็นพันธมิตรในการนำเทคโนโลยีเข้าไปประยุกต์ใช้เพื่อเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลในการปรับปรุงคุณภาพการศึกษา ประสิทธิภาพในการวิจัย และความสามารถด้านนวัตกรรม
“การจัดงานเทคโนโลยีในครั้งนี้ ไม่เพียงแต่เป็นงานด้านเทคโนโลยีแบบฮาร์ดคอร์เท่านั้น แต่ยังเป็นโอกาสอันดีที่เราจะได้พบปะกันเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและรับฟังสิ่งที่ผู้ใช้ต้องการจริงๆ เพื่อพัฒนาความร่วมมือให้ดียิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย ซึ่งเป็นสถานที่สําหรับการขับเคลื่อนการพัฒนาอย่างยั่งยืนในระดับแถวหน้าของโลก หากเราสามารถใช้ข้อได้เปรียบของเทคโนโลยีสมัยใหม่เพื่อสร้างคุณค่ามากมาย“ วิลเลี่ยม จาง กล่าว
ในโอกาสนี้ยังได้จัดให้มีพิธีลงนามความร่วมมือในโครงการหัวเว่ย ไอซีที อะคาเดมี่ (Huawei ICT Academy) เพื่อร่วมกันผลักดันการพัฒนาความรู้ความสามารถในด้านเทคโนโลยีขั้นสูง ตลอดจนเตรียมความพร้อมในเทคโนโลยีเฉพาะทาง เพื่อเป็นการบ่มเพาะบุคลากรในอนาคตให้มีทักษะความสามารถด้านดิจิทัลตรงกับความต้องการของอุตสาหกรรม
โดยผู้ที่ได้รับการฝึกอบรมผ่านโครงการหัวเว่ย ไอซีที อะคาเดมี่ จะได้รับประกาศนียบัตรมาตรฐานวิชาชีพของหัวเว่ย ซึ่งเป็นการรับรองที่ได้รับการยอมรับในอุตสาหกรรมระดับโลก อีกทั้งยังช่วยเพิ่มโอกาสในการสมัครงานของนิสิตนักศึกษา รวมไปถึงโอกาสฝึกงานกับบริษัท หัวเว่ย ประเทศไทย ตลอดจนอาจได้เป็นพนักงานของหัวเว่ยหรือบริษัทในเครือพันธมิตร ซึ่งปัจจุบัน มีมหาวิทยาลัยและวิทยาลัยเข้าร่วมในโครงการหัวเว่ย ไอซีที อะคาเดมี่แล้วมากกว่า 2,200 แห่งทั่วโลก
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศรชัย มุ่งไธสง อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย กล่าวว่า “มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย มีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้ร่วมมือกับหัวเว่ย ซึ่งก็ถือเป็นผู้พัฒนาเทคโนโลยีที่ได้รับการยอมรับในระดับโลก เพื่อร่วมกันพัฒนาอุตสาหกรรมที่ไม่ได้โฟกัสเพียงเทคโนโลยีเท่านั้น แต่ยังให้ความสำคัญกับการพัฒนาทักษะของบุคลากรและนักศึกษา รวมถึงโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยี ซึ่งสอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาของมหาวิทยาลัยในการขับเคลื่อนสู่การเป็น CRRU Smart University อีกด้วย และเชื่อว่าความร่วมมือดังกล่าวจะช่วยส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนในยุคดิจิทัล และเกิดประโยชน์แก่ทั้งนักศึกษา อาจารย์ บุคลากร รวมถึงการให้บริการสังคมแก่พี่น้องประชาชนทุกคนอย่างแน่นอน”