AIS เปิดผลดัชนีชี้วัดสุขภาวะดิจิทัลของคนไทย Thailand Cyber Wellness Index 2024 พร้อมส่งเครื่องมือด้านเทคโนโลยี Digital Health Check ช่วยยกระดับการป้องกันภัยไซเบอร์คนไทย

AIS เปิดผลดัชนีชี้วัดสุขภาวะดิจิทัลของคนไทย Thailand Cyber Wellness Index 2024 พร้อมส่งเครื่องมือด้านเทคโนโลยี Digital Health Check ช่วยยกระดับการป้องกันภัยไซเบอร์คนไทย

AIS อุ่นใจ CYBER เปิดผลดัชนีชี้วัดสุขภาวะดิจิทัลของคนไทย Thailand Cyber Wellness Index 2024 ต่อเนื่องปีที่ 2 ชี้คนไทยมีสุขภาวะเฉลี่ยแค่ระดับพื้นฐาน เดินหน้านำเทคโนโลยีเช็กภูมิคุ้มกันภัยทางไซเบอร์แบบรายบุคคล หรือ Digital Health Check มุ่งยกระดับการป้องกันภัยไซเบอร์ให้กับลูกค้าและคนไทย

สายชล ทรัพย์มากอุดม หัวหน้าหน่วยธุรกิจประชาสัมพันธ์และงานธุรกิจสัมพันธ์ AIS กล่าวว่า ในยุคที่ชีวิตประจำวันของคนไทยผูกติดกับโลกดิจิทัล การป้องกันภัยไซเบอร์เป็นประเด็นที่ไม่สามารถมองข้ามได้ AIS ในฐานะผู้ให้บริการดิจิทัล มุ่งส่งเสริมการอยู่บนโลกออนไลน์อย่างถูกต้องและปลอดภัย ใน 2 ด้าน คือ เทคโนโลยี และ ภูมิปัญญา (Wisdom) ที่ผ่านมา AIS ได้พัฒนาหลักสูตรอุ่นใจไซเบอร์ (Aunjai Cyber) และในปีที่ผ่านมาได้ สร้าง Thailand Cyber Wellness Index ขึ้นมาเพื่อศึกษาทักษะทางดิจิทัลของคนไทย ซึ่งตอบโจทย์เป้าหมายของ AIS ในด้าน Cyber Wellness เพื่อสร้างสังคมดิจิทัลที่ปลอดภัยและยั่งยืน โดยมุ่งเน้นการพัฒนาทักษะและความรู้ด้านความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ให้กับประชาชนคนไทยทุกกลุ่ม เพื่อให้สามารถใช้งานอินเทอร์เน็ตและเทคโนโลยีดิจิทัลได้อย่างปลอดภัย

โดยในปีที่ผ่านมา AIS ร่วมกับ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี และนักวิชาการ ได้เปิดตัวดัชนีชี้วัดสุขภาวะดิจิทัลของคนไทย หรือ Thailand Cyber Wellness Index ฉบับแรกของไทยที่ทำให้เห็นถึงระดับทักษะการรับรู้และความเข้าใจการใช้งานดิจิทัลในด้านต่างๆ ที่คนไทยยังคงต้องพัฒนาทักษะความรู้เพื่อรับมือกับภัยไซเบอร์ในรูปแบบต่างๆ ทำให้หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนหยิบเอาผลการศึกษาของเราไปต่อยอดในการเสริมสร้างทักษะดิจิทัลให้ได้ตรงกลุ่มอายุ อาชีพ หรือแม้แต่พื้นที่อย่างสอดคล้องกับกลุ่มเป้าหมายของแต่ละหน่วยงาน โดยได้ดำเนินการเก็บข้อมูลดัชนีชี้วัดสุขภาวะทางดิจิทัลของคนไทยทั่ว เพื่อวัดผลใน 7 ด้าน คือ ด้านการใช้ดิจิทัล ด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ ด้านการกลั่นแกล้งทางไซเบอร์ ด้านการรู้เท่าทันดิจิทัล ด้านความเข้าใจสิทธิทางดิจิทัล ด้านการสื่อสารและการทำงานรวมกันกับดิจิทัล และ ด้านการแสดงความสัมพันธ์ทางดิจิทัล

AIS เปิดผลดัชนีชี้วัดสุขภาวะดิจิทัลของคนไทย Thailand Cyber Wellness Index 2024 พร้อมส่งเครื่องมือด้านเทคโนโลยี Digital Health Check ช่วยยกระดับการป้องกันภัยไซเบอร์คนไทย

ส่วนการวัดผลนั้น จะวัด 3 มิติหลัก คือ 1.ความรู้ คือ ผู้ทำแบบทดสอบมีองค์ความรู้เพียงพอหรือไม่ 2.ทักษะ คือ มีการคิดวิเคราะห์อย่างมีวิจารณญาณ (Critical Thinking) หรือไม่ และเรียนรู้ที่จะตั้งคำถามหรือไม่ รวมถึงทักษะความรู้ด้านดิจิทัล (Digital Literacy) และ 3.ทัศนคติ คือ เป็นคนมีเหตุมีผล มีสติ มองความเป็นจริงมากกว่าความรู้สึกหรือไม่ โดยระดับของดัชนีชี้วัดสุขภาวะทางดิจิทัล จะแบ่งออกเป็น 3 ระดับ ได้แก่ Improvement (ระดับต้องพัฒนา) เป็นกลุ่มที่ยังมีความรู้ด้านดิจิทัลไม่เพียงพอ, Basic (ระดับพื้นฐาน) เป็นกลุ่มที่มีความรู้ความเข้าใจเทคโนโลยีอย่างถูกต้องเหมาะสม และ Advance (ระดับสูง) เป็นกลุ่มที่สามารถใช้งานและส่งเสริมให้ผู้อื่นใช้งานดิจิทัลได้เป็นอย่างดี สามารถแนะนำคนรอบข้างได้

ซึ่งผลการศึกษาในปีที่ผ่านมา กลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 50,965 ตัวอย่าง จากทั้ง 77 จังหวัดทั่วประเทศ และจากทุกเจเนอเรชัน พบว่า คนไทยยังมีค่าเฉลี่ยสุขภาวะทางดิจิทัลอยู่ที่ระดับ Basic ส่วนกลุ่มที่ยังมีปัญหามีคะแนนต่ำกว่าค่าเฉลี่ย และต้องการการพัฒนาทักษะทางดิจิทัล คือ กลุ่มวัยเด็ก อายุ 10-12 ปี เยาวชน อายุ 13-15 ปี และ วัยเกษียณ อายุ 60 ปีขึ้นไป

“การทำให้เห็นถึงระดับทักษะการรับรู้และความเข้าใจการใช้งานดิจิทัลในด้านต่างๆ ที่คนไทยยังคงต้องพัฒนาทักษะความรู้เพื่อรับมือกับภัยไซเบอร์ในรูปแบบต่างๆ ทำให้หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนหยิบเอาผลการศึกษาของเราไปต่อยอดในการเสริมสร้างทักษะดิจิทัลให้ได้ตรงกลุ่มอายุ อาชีพ หรือแม้แต่พื้นที่อย่างสอดคล้องกับกลุ่มเป้าหมายของแต่ละหน่วยงาน” สายชล กล่าวเสริม

ซึ่งจากผลการศึกษา Thailand Cyber Wellness Index 2024 ทำให้ AIS ประกาศยกระดับสร้างความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ (Cyber Security and Safety) ให้กับคนไทย ที่สอดคล้องกับนโยบายความยั่งยืน ด้าน Cyber Wellness

AIS เปิดผลดัชนีชี้วัดสุขภาวะดิจิทัลของคนไทย Thailand Cyber Wellness Index 2024 พร้อมส่งเครื่องมือด้านเทคโนโลยี Digital Health Check ช่วยยกระดับการป้องกันภัยไซเบอร์คนไทย

สายชล กล่าวว่า วันนี้คนไทย เกินครึ่ง ยังไม่รู้ว่า Ransomware คืออะไร การตั้งวัน เดือน ปีเกิด หรือเบอร์โทรศัพท์ เป็นรหัสผ่านมีความเสี่ยงจะโดนล้วงข้อมูล หรือ การใช้ Wi-Fi สาธารณะทำธุรกรรมทางการเงินนั้นไม่ปลอดภัย

AIS จึงเปิดเครื่องมือ Digital Health Check เพื่อให้คนไทยทุกคนได้มีโอกาสเข้าถึงแบบทดสอบด้านสุขภาวะดิจิทัลทั้ง 7 ด้านอย่างเท่าเทียม โดยหลังจากทำแบบทดสอบและรู้ผลคะแนนประเมิน ระบบจะแสดงข้อมูลให้เห็นว่าเรามีสุขภาวะดิจิทัลอยู่ในระดับใด จากนั้นระบบจะแนะนำว่ายังมีทักษะด้านใดที่ยังไม่ถึงเกณฑ์ และต้องเรียนรู้ทักษะด้านใดเพิ่ม

นอกจากนี้ยังเปิดให้ลูกค้า AIS ได้ใช้บริการ Secure Net ฟรี 12 เดือน เพียงกด *689*6# โทรออก (ปกติค่าบริการเดือนละ 19 บาท) และ เพิ่มทางเลือกให้กับลูกค้าด้วย บริการ Secure Net+ Protected by MSIG ปกป้องภัยคุกคามทางไซเบอร์ ไม่ว่าจะเป็นไวรัส มัลแวร์ เว็บไซต์ปลอมหลอกลวง พร้อมแถมประกันภัยเพอร์ซัลนัลไซเบอร์ จาก MSIG มอบความคุ้มครอง อาทิ การโจรกรรมข้อมูลส่วนบุคคล และโจรกรรมเงิน หรือการถูกหลอกลวงในรูปแบบต่างๆ ทางออนไลน์ ด้วยวงเงินคุ้มครองสูงสุด 50,000 บาท ในราคาแพ็กเกจเดือนละ 39 บาท สมัครได้ไม่ยากเพียงกด *689*10# โทรออก

AIS เปิดผลดัชนีชี้วัดสุขภาวะดิจิทัลของคนไทย Thailand Cyber Wellness Index 2024 พร้อมส่งเครื่องมือด้านเทคโนโลยี Digital Health Check ช่วยยกระดับการป้องกันภัยไซเบอร์คนไทย

“AIS ยังคงมุ่งมั่นเสริมสร้างทักษะด้านดิจิทัลของคนไทย พร้อมเดินหน้าพัฒนาเครื่องมือเพื่อให้คนไทยได้ตระหนักรู้สุขภาวะดิจิทัลของตนเอง และสามารถใช้งานอินเทอร์เน็ตได้อย่างปลอดภัย รวมถึงการสนับสนุนภาครัฐเพื่อแก้ปัญหาภัยไซเบอร์จากกลุ่มมิจฉาชีพที่แฝงมากับการใช้งาน ซึ่งเป็นไปตามเจตนารมณ์และเป้าหมายของ AIS เพื่อขจัดภัยไซเบอร์ให้หมดไปจากประเทศไทยอย่างยั่งยืน” สายชล กล่าวทิ้งท้าย

ผู้ที่สนใจตรวจเช็กสุขภาวะทางดิจิทัลของตัวเอง ได้ที่ https://digitalhealthcheck.ais.th และสามารถอ่านรายละเอียดผลการศึกษาดัชนีชี้วัดสุขภาวะดิจิทัล Thailand Cyber Wellness Index 2024 ของคนไทย เพิ่มเติมที่ https://sustainability.ais.co.th/

เจาะกลยุทธ์ 20 ปี AIS Serenade กับการใช้ “Human-Centered Design” สร้าง Brand Love ที่ดูแลลูกค้า “ด้วยใจ ได้ทุกเจน”

Scroll to Top