โลกแห่งการทำงานเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก การแข่งขันทางธุรกิจทวีความรุนแรงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ผู้คนไม่เพียงแค่ต้องการอยู่รอด พวกเขาต้องการที่จะเติบโต และพร้อมที่จะออกจากงานทันทีหากไม่ตอบรับกับไลฟ์สไตล์การดำเนินชีวิต นำไปสู่ภาวะการขาดแคลนพนักงานที่มีทักษะเพิ่มขึ้น นอกจากค่าจ้างที่เป็นธรรม และความมั่นคง สิ่งเหล่านี้ เป็นปัจจัยพื้นฐานที่พนักงานคาดหวัง
แต่ในยุคนี้ พนักงานมีความต้องการมากขึ้นทั้งจากชีวิตการทำงานและจากนายจ้าง เช่น ความเป็นอยู่ที่ดี ทั้งทางอารมณ์และทางร่างกาย คือ ความสำคัญอันดับต้น ๆ ของพนักงาน ดังนั้น หลายองค์กร จึงจำเป็นต้องปรับกลยุทธ์ ‘ต้องรับฟัง ต้องคิดใหม่’ ตลอดจนต้องสร้างสิ่งแวดล้อมในการทำงานให้ตรงใจ และตอบโจทย์ กับการเปลี่ยนแปลงที่ ‘คน’ ในยุคนี้ ไม่ได้เลือกทำงานกับองค์กรมีชื่อเสียงเท่านั้น แต่องค์กรนั้น ๆ จะต้องสร้างความสุข ในที่ทำงาน และมอบสมดุลในการดำเนินชีวิตด้วย
–The 1 เผย 3 สิ่งชี้อนาคตการตลาดดิจิทัล พร้อมย้ำ “ทำก่อนได้เปรียบ” ในงาน DAAT DAY 2022
ลิลลี่ งามตระกูลพานิช ผู้จัดการประจำประเทศไทย แมนพาวเวอร์กรุ๊ป เปิดเผยว่า “ปัจจุบันการเติบโตในที่ทำงานของพนักงาน คือ การได้รับอำนาจในการเติบโต การดูแลสภาวะจิตใจและความเป็นอยู่ที่ดีทางร่างกาย ในขณะเดียวกันพวกเขา ก็มุ่งมั่นที่จะค้นหาความหมายและเป้าหมายในการทำงาน เพื่อกำหนดและสร้างความสำเร็จให้กับตนเอง ซึ่งสอดคล้องกับผลสำรวจ ในหัวข้อ ความต้องการของพนักงานในยุคนี้ ที่ ‘แมนพาวเวอร์กรุ๊ป’ ได้ร่วมมือ ‘Thrive Global’ บริษัทเทคโนโลยี การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมชั้นนำระดับโลก เพื่อศึกษาและวิจัยกลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วย พนักงานหน้างาน องค์กร และ คอลเซ็นเตอร์กว่า 5,000 คน ตลอดจนผู้หางานใน 5 ประเทศ (ออสเตรเลีย ฝรั่งเศส อิตาลี สหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกา) พบว่า 5 ปัจจัยหลักในการออกแบบงานในฝันของพนักงานในยุคนี้ ที่จะทำให้พนักงานรู้สึกถึงการเติบโตเจริญก้าวหน้า และมีสุขภาพจิตที่ดีในการทำงาน
1.การสร้างความยืดหยุ่นสำหรับทุกคน (PUSHING THE FLEXIBILITY FRONTIER) ชีวิตการทำงานเปลี่ยนแปลงไป อย่างมากในช่วงสองปีที่ผ่านมา พนักงานต้องการทางเลือก และมีอิสระมากขึ้น การทำงานแบบไม่ต้องเข้าออฟฟิศ (Remote work) หรือแบบไฮบริด คือผสมทั้งเข้าและไม่เข้าออฟฟิศ โดยจากผลสำรวจพบว่า
2.การเปลี่ยนบทบาทผู้นำในยุคใหม่ (REWRITING THE RULES OF LEADERSHIP) ความคาดหวังของพนักงานเกี่ยวกับสิ่งที่พวกเขาต้องการจากงาน จากผู้นำ แบบสำรวจนี้สะท้อนถึงความเปลี่ยนแปลงความสัมพันธ์ระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง โดยรายงานระบุว่า
พนักงานต้องการทำงานกับคนที่เข้ากันได้และไว้วางใจ (79%) มีหัวหน้าที่พร้อมคอยสนับสนุน (74%) และผู้นำที่เชื่อถือได้ (71%) หลายคนต้องการค้นหาความหมายของงานที่ตัวเองทำ (70%) ขณะที่ บางคนอยากทำงานที่มีส่วนช่วยสังคมในเชิงบวก (64%)
ทั้งนี้ ผู้นำควรเป็นผู้เริ่มต้นสร้างวัฒนธรรมองค์กร และเป็นผู้เชื่อมโยงความสัมพันธ์อันดีระหว่างองค์กรกับพนักงาน เพื่อประสิทธิภาพการทำงานในอนาคต
3.ความเจริญรุ่งเรือง และวิธีการก้าวสู่ความสำเร็จ (THRIVING – THE HOW TO) การระบาดของโควิด-19 ครั้งใหญ่นี้ ได้ส่งผลกระทบต่อชีวิตการทำงานของผู้หญิงเป็นอย่างมาก ซึ่งพบว่าผู้หญิงมีภาวะหมดไฟในการทำงานสูงกว่าผู้ชาย หลายองค์กรสนับสนุนความหลากหลายทางเพศ มีการเสนอโอกาสที่ดีกว่าให้กับกลุ่มผู้มีความสามารถที่กว้างขึ้นโดยไม่จำกัดเพศ และบริษัทที่มีผู้หญิงมีบทบาทเป็นผู้นำมากขึ้นก็มีผลงานดีขึ้นเช่นกัน
อย่างไรก็ตาม ความต้องการของผู้หญิง และผู้ชายก็ยังมีความแตกต่างกัน โดย 5 อันดับแรกที่ผู้หญิงและผู้ชายต้องการจากที่ทำงานมากที่สุด คือ
4.การสร้างอนาคตที่เป็นมิตรกับครอบครัว (FORGING A FAMILY FRIENDLY FUTURE) ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา หลังจากประสบปัญหาการงาน การเรียน และการใช้ชีวิตที่บ้าน หลายคนได้ประเมินชีวิตและลำดับความสำคัญของตนเองใหม่อีกครั้ง และต้องการการเปลี่ยนแปลง สิ่งที่พนักงานที่เป็นคุณพ่อคุณแม่ต้องดูแลลูกเล็ก หรือพนักงานที่มีภาระต้องดูแลญาติผู้สูงอายุ (พวกเขามักจะออกจากมากกว่าพนักงานอื่นทั่วไป) ต้องการจากนายจ้างมากขึ้น คือ
โอกาสก้าวหน้าในอาชีพ (75%) งานที่มีความหมาย (74%) การสนับสนุนให้มีสุขภาพแข็งแรง (56%) การสนับสนุนการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพที่ดีขึ้น (54%) ต้องการตัวเลือกอาหารเพื่อสุขภาพ
และปัจจัยสำคัญในเลือกสถานที่ทำงานของกลุ่มพนักงานในกลุ่มนี้ คือ ความยืดหยุ่น และการเลือกเวลาเริ่มและเลิกงาน ซึ่งองค์กรจำเป็นต้องปรับสมดุลการทำงานสำหรับพนักงานกลุ่มนี้ โดยการสนับสนุน แก่ผู้ปกครองที่ต้องการในการจัดการเวลาที่ไม่แน่นอนด้วยความเครียดน้อยลง การสร้างทางเลือกที่สนับสนุนการจ้างงานที่ยั่งยืน หล่อเลี้ยงศักยภาพ การทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิด จะได้รับทราบปัญหา ให้ความช่วยเหลือ เพื่อรักษาพนักงานที่มีทักษะไว้
5.การต่อสู้กับความเหนื่อยหน่าย และการสร้างสุขภาพจิตที่ดี (FIGHTING BURNOUT, BUILDING MENTAL FITNESS) องค์กรต้องตระหนักถึงความสำคัญของการป้องกันภาวะหมดไฟในการทำงาน ควบคู่กับการส่งเสริม และ สร้างสุขภาพจิตที่ดี ตลอดจนให้โอกาสในการสร้างความแข็งแกร่งทางจิตใจ เน้นการป้องกันและการรักษาความเครียดของพนักงาน
ซึ่งปัจจุบันพนักงานมีความเครียด (38%) ความเครียดก่อนเกิดโรคระบาด (32%) และมีความเครียด ในช่วงที่ระบาดสูงสุดอยู่ที่ (42%) ทั้งนี้ พนักงาน 1 ใน 4 (25%) ต้องการความช่วยเหลือด้านสุขภาพจิตเพิ่มขึ้น เพื่อป้องกัน ภาวะหมดไฟในการทำงาน โดยเฉพาะพนักงานวัยหนุ่มสาวที่กำลังประสบกับความรู้สึกวิตกกังวลมากขึ้นถึง 42% อย่างไรก็ตาม พวกเขามีแนวโน้มที่จะเปิดใจ และหารือเกี่ยวกับสุขภาพจิตที่ดีในที่ทำงาน
ลิลลี่ งามตระกูลพานิช กล่าวในท้ายที่สุดว่า “การทำงานในโลกยุคปัจจุบัน และกฎเกณฑ์ทางธุรกิจเปลี่ยนไป องค์กรต่าง ๆ จำเป็น ต้องเปลี่ยนวิธีคิด และปรับพฤติกรรมภายในองค์กร ไม่ว่าจะเป็นเรื่องความยืดหยุ่น บทบาทใหม่ของผู้นำ ความเจริญรุ่งเรือง การสร้างอนาคตที่เป็นมิตรกับครอบครัว การต่อสู้กับภาวะหมดไฟ สร้างสุขภาพจิตที่ดี เพื่อให้สามารถบริหาร จัดระเบียบ กระตุ้น จัดการ สร้างและปรับสมดุลระหว่างองค์กร งาน และพนักงานได้อย่างลงตัว และสร้างการมีส่วนร่วมของพนักงานให้ได้
สิ่งเหล่านี้ จะดึงดูด หล่อเลี้ยง และรักษาพนักงานที่มีทักษะความสามารถที่ดีที่สุดไว้ และจะสามารถพิชิตชัยชนะในตลาดแรงงานที่มี การแข่งขันสูงที่สุดได้อย่างแน่นอน ทั้งนี้หากบริษัทใดกำลังมองหาพนักงานที่มีทักษะ และผู้ช่วยในการการสร้างทางเลือก พัฒนา และรักษาบุคลกรในองค์กรอย่างยั่งยืน
ตลอด 4 ปีที่ผ่านมา เซ็นทรัลพัฒนาได้ทำงานอย่างใกล้ชิดร่วมกับศิลปินและชุมชนท้องถิ่น สร้างสรรค์ผลงานคราฟต์ต้นคริสต์มาสที่ผสานเสน่ห์ของ 2 วัฒนธรรมตะวันตกและตะวันออก ถ่ายทอดผ่าน ต้นคริสต์มาส Local Pride ซึ่งสะท้อนอัตลักษณ์อันโดดเด่นของแต่ละภูมิภาคในประเทศไทย ผลงานเหล่านี้ถูกนำเสนออย่างงดงามในศูนย์การค้าเซ็นทรัลทั่วประเทศ ภายใต้วิสัยทัศน์ “Place for All” ที่มุ่งยกระดับให้พื้นที่ศูนย์การค้าเป็นเดสติเนชั่นที่เชื่อมโยงเมือง ผู้คนในชุมชน และศิลปินท้องถิ่น ร่วมกันพัฒนาผลงานศิลปะที่เปี่ยมด้วยเสน่ห์อัตลักษณ์ไทยให้โดดเด่น นำเสนอสู่สายตาของคนทั่วประเทศและทั่วโลก ดร.ณัฐกิตติ์ ตั้งพูลสินธนา กรรมการผู้จัดการใหญ่…
ในยุคที่โลกหมุนเร็วด้วยเทคโนโลยีและการเปลี่ยนแปลงทางสังคมอย่างรวดเร็ว การทำความเข้าใจความต้องการและพฤติกรรมของผู้บริโภคจึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งสำหรับแบรนด์ต่างๆ และหนึ่งในกลุ่มเป้าหมายที่ทรงอิทธิพลที่สุดในปัจจุบันก็คือ Gen Z หรือคนรุ่นใหม่ที่เกิดระหว่างปี 1997 ถึง 2012 พวกเขาเติบโตมากับโลกดิจิทัล มีมุมมองที่แตกต่าง และให้ความสำคัญกับคุณค่าที่หลากหลาย บทความนี้จะพาคุณไปเจาะลึกถึง Gen Z…
"ฟอร์ติเน็ต" เผยรายงานช่องว่างด้านทักษะไซเบอร์ ชี้ 92% ขององค์กรในไทยเผชิญภัยคุกคามจากปัญหาขาดแคลนบุคลากร แนะ 3 แนวทางรับมือ ผนึกกำลังภาครัฐ-เอกชน สร้าง "กองทัพไซเบอร์" ปกป้องเศรษฐกิจดิจิทัล ฟอร์ติเน็ต เปิดเผยรายงานช่องว่างด้านทักษะความปลอดภัยทางไซเบอร์ทั่วโลกประจำปี 2024…
FUJIFILM Business Innovation (Thailand) Co., Ltd., a leading provider of office solutions and innovative printing…
FUJIFILM Business Innovation ผู้ให้บริการโซลูชันสำนักงานและเครื่องพิมพ์ ประกาศทิศทางกลยุทธ์ไตรมาส 3 ปี 2024 ภายใต้แนวคิด "Make a Leap to the New…
Solar D เปิดตัว “หุ่นยนต์ติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์” นวัตกรรมสุดล้ำ Light Speed ติดตั้งเร็วกว่าแรงงานคนถึง 10 เท่า! ชูจุดเด่นลดต้นทุน เพิ่มประสิทธิภาพ หนุนเป้าหมายเข้าตลาดหลักทรัพย์ฯ ปี 2569…