Article & Review

“เพราะเราเลือกทำในสิ่งที่ถูกต้องเสมอ” ผ่าแนวคิดและนโยบายต่อต้านคอร์รัปชันของดีแทค

โลกกำลังเผชิญหน้ากับปัญหาและความท้าทายนานัปการที่บั่นทอนความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืนของสังคม ซึ่งหนึ่งในนั้นคือ “ปัญหาคอร์รัปชัน” อันเป็นต้นเหตุของการกัดกร่อนความเจริญทางเศรษฐกิจและสังคม ตลอดจนการปกครองในระบอบประชาธิปไตยและหลักนิติธรรม ด้วยเหตุนี้ องค์การสหประชาชาติได้กำหนดให้ทุกวันที่ 9 ธันวาคมของทุกปี เป็นวันต่อต้านคอร์รัปชันสากล (International Anti-Corruption Day) เพื่อสร้างการตระหนักรู้และร่วมกันต่อต้านปัญหาคอร์รัปชัน

สำหรับประเทศไทย สถานการณ์การคอร์รัปชันยังคงในอยู่ในระดับ “สูง” อ้างอิงจากรายงานขององค์กรเพื่อความโปร่งใสนานาชาติ (Transparency International – TI) ระบุว่า ในปี 2564 ดัชนีภาพลักษณ์คอร์รัปชันของไทยอยู่ในอันดับที่ 110 จาก 180 ประเทศทั่วโลก ลดลง 6 อันดับจากปี 2563 ซึ่งรายงานดังกล่าวได้ระบุว่า ความสัมพันธ์ระหว่างการเมืองและกลุ่มทุนในภาคเอกชนจัดเป็นตัวแปรสำคัญในการต่อต้านคอร์รัปชันทั่วโลก

ความถูกต้อง-เคารพซึ่งกันและกัน

“ความถูกต้องและการเคารพซึ่งกันและกันถือเป็นคุณค่าสำคัญที่ดีแทคยึดถือ ดังนั้น เราดำเนินธุรกิจโดยยึดมั่นในมาตรฐานจริยธรรมและธรรมาภิบาลสูงสุด ซึ่งรวมถึงในการทำงานกับพันธมิตรและคู่ค้าด้วย การต่อต้านการคอร์รัปชันจึงถือเป็นหนึ่งในวัฒนธรรมของคนดีแทค” สตีเฟ่น แฮลวิก รักษาการณ์รองประธานเจ้าหน้าบริหาร กลุ่มกิจการองค์กรของดีแทค กล่าว

“ที่ดีแทค เราไม่ทนต่อการคอร์รัปชันในทุกรูปแบบ (Zero Tolerance) และเราเลือกทำในสิ่งที่ถูกต้องเสมอ” เขาเน้นย้ำ

นอกเหนือจากแนวทางภายใต้หลักธรรมภิบาลของดีแทคแล้ว บริษัทยังมีแนวทางปฏิบัติอีก 2 หมวดใหญ่ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการต่อต้านการคอร์รัปชัน ได้แก่ 1. นโยบายไม่รับของขวัญ หรือ No Gift Policy และ 2. แนวปฏิบัติด้านการสนับสนุนและบริจาค (Sponsorship & Donation)

บิ๊กป้อม สั่งกวาดล้างบัญชีม้า เร่ง ดีอีเอส ทำกฎหมายตัดวงจรฉ้อโกงออนไลน์ ให้เห็นผลใน 30 วัน

สำหรับนโยบาย No Gift Policy นั้น ดีแทคไม่อนุญาตให้พนักงาน “ให้” และ “รับ” สิ่งของใดๆ จากบุคคลภายนอกองค์กร เพื่อให้มั่นใจว่าการดำเนินงานของบริษัทจะตั้งอยู่บนมาตรฐานจริยธรรม ความเท่าเทียม ไม่เลือกปฏิบัติ และเป็นมืออาชีพ อย่างไรก็ตาม ด้วยบริบททางวัฒนธรรมและคุณค่าทางสังคมที่แตกต่างกัน บริษัทจึงอนุโลมให้การมอบของขวัญตาม “มารยาทและประเพณีทางธุรกิจ” สามารถกระทำได้ โดยของขวัญนั้นต้องมีโลโก้ดีแทคและมูลค่าไม่สูงกว่าที่กำหนด

“ความสัมพันธ์กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียนั้นเป็นตัวแปรที่สำคัญยิ่งในการดำเนินธุรกิจ การรักษาความสัมพันธ์ให้แข็งแกร่งจะก่อให้เกิดสภาพแวดล้อมที่ดีทางธุรกิจ และเอื้อให้เกิดวิถีการทำงานที่เป็นไปในเชิงบวก แต่ทั้งนี้ การสร้างและรักษาความสัมพันธ์ก็ต้องเป็นไปอย่างมืออาชีพ และสอดคล้องกับมาตรฐานทางจริยธรรม” สตีเฟ่นกล่าว ก่อนจะเสริมว่า ที่ผ่านมานโยบาย No Gift Policy นั้นได้รับผลตอบรับเชิงบวกจากทั้งพนักงาน พันธมิตร คู่ค้า และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกลุ่มอื่นๆ ของเรา โดยพวกเขาบอกว่ารู้สึก “สบายใจ” ในการทำงานกับดีแทค สามารถเจรจาอย่างเปิดเผย และทำงานได้เป็นมืออาชีพอย่างแท้จริง

ลดความเสี่ยงการทุจริตผ่านการสอบทาน

ในทำนองเดียวกัน การสนับสนุนและบริจาคนั้นจำต้องมีการกำหนดแนวทางและกระบวนการอย่างชัดเจน เพื่อสร้างความมั่นใจว่าการสนับสนุนและบริจาคที่เกิดขึ้นจะเป็นประโยชน์ต่อสาธารณะอย่างแท้จริง และไม่ถูกใช้เป็นช่องทางเพื่อการทุจริต ดีแทคมีกระบวนการสอบทาน (Due Diligence) เพื่อประเมินความเสี่ยงของผู้ขอรับบริจาค โดยบริษัทได้มีการกำหนดนิยาม ขั้นตอน และหลักเกณฑ์การประเมินอย่างชัดเจน เพื่อเป็นแนวทางที่เป็นกลางในการปฏิบัติงานที่ปราศจากอคติและรักษาไว้ซึ่งความโปร่งใส โดยดีแทคจะมีคณะทำงานตรวจสอบทั้งก่อนและหลังการบริจาค เพื่อให้มั่นใจว่าเงินหรือสิ่งของที่บริจาคไปนั้นเป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่แจ้งไว้ อาทิ ผู้ขอรับการบริจาคจะต้องจดทะเบียนในนามนิติบุคคล มีการแสดงเจตจำนงของการรับบริจาคอย่างชัดเจน และวัตถุประสงค์ของการบริจาคควรสอดรับกับแนวทางการดำเนินงานขององค์กรและยึดถือคุณค่าที่สอดคล้องกับดีแทค

“กระบวนการสอบทานการสนับสนุนและบริจาคเป็นมาตรฐานของการกำกับกิจการที่ดีขององค์กร สอดรับกับแนวทางสากลที่ต้องการให้เกิดความโปร่งใสและไม่ให้การสนับสนุนและบริจาคเป็นช่องทางในการติดสินบน ทุจริต และคอร์รัปชัน” รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มกิจการองค์กรของดีแทค อธิบาย

นอกจากนี้ ดีแทคยังให้ความสำคัญกับกระบวนการ “การแจ้งเบาะแส” (Whistle Blowing) อันถือเป็นหนึ่งในแนวปฏิบัติด้านการกำกับดูแลกิจการที่ดี และยังเป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันและปราบปรามปัญหาการทุจริตผ่าน “การมีส่วนร่วม” ทั้งจากพนักงานและบุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ผ่านช่องทาง Integrity Hotline ซึ่งที่ผ่านมา กระบวนการแจ้งเบาะแสมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการป้องกันและปราบปรามการคอร์รัปชันภายในองค์กร โดยในปี 2564 มีจำนวนการแจ้งเบาะแสทั้งสิ้น 204 เรื่อง และนำเข้าสู่การพิจารณาโดยอิงจากพยานหลักฐานทั้งสิ้น 52 เรื่อง ซึ่งผลจากการพิจารณามีทั้งการเตือนด้วยวาจา การส่งหนังสือเตือน ไปจนถึงการเลิกจ้าง

แก้ไขคอร์รัปชันจากบนลงล่าง

สตีเฟ่นให้ความเห็นว่า การแก้ไขปัญหาคอร์รัปชันสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 วิธีใหญ่ๆ วิธีการแรกคือ การแก้ไขปัญหาจากบนลงล่างหรือ Top-down ผ่านการบังคับใช้นโยบายและกลไกทางกฎหมายในการป้องกันและปราบปรามเป็นหลัก ส่วนอีกวิธีคือ การแก้ไขปัญหาจากล่างขึ้นบน หรือ Bottom-up เพราะการป้องกันคอร์รัปชันไม่สามารถทำได้อย่างมีประสิทธิภาพหากขาดการมีส่วนร่วมทั้งองคาพยพของสังคม ซึ่งนั่นรวมถึงองค์กรเอกชนอย่างดีแทคที่ยึดถือมาตรฐานทางจริยธรรมสูงสุดในการกำหนดแนวนโยบายในองค์กร

โดยประกอบหลักการสำคัญ 4 ข้อ ได้แก่ 1. ความถูกต้อง 2. ความรับผิดชอบ 3. ความซื่อสัตย์และโปร่งใส และ 4. ความกล้าในการเปิดเผยสิ่งที่ไม่ถูกต้อง

“การแก้ไขปัญหาจากล่างขึ้นบนถือเป็นกลไกที่สำคัญอย่างมากในสังคมแห่งประชาธิปไตย ทุกคนในสังคมตระหนักดีว่าคอร์รัปชันเป็นปัญหาสังคม แต่ปัญหานี้จะหมดไปได้ ต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกหน่วยของสังคม เพราะท้ายที่สุดแล้ว คอร์รัปชันไม่ใช่อาชญากรรมที่ปราศจากผู้เสียหาย และคุณภาพชีวิตที่เสียไปคือราคาที่ทุกคนในสังคมต้องจ่ายให้สำหรับการคอร์รัปชัน” สตีเฟ่นทิ้งท้าย

supersab

Recent Posts

ทรู คอร์ปอเรชั่น หนุนแฟนความเร็วทั่วโลกรองรับงานระดับนานาชาติ “MotoGP”

ทรู คอร์ปอเรชั่น เดินหน้าสนับสนุนการจัดงานระดับโลก "PT Grand Prix of Thailand 2024" หรือ "ไทยแลนด์ โมโตจีพี 2024" ศึกชิงเจ้าแห่งความเร็ว ณ…

10 hours ago

Virgin Active เปิดตัวแคมเปญ ‘Real Wellness My Way’ ตอกย้ำจุดยืนแบรนด์ใหม่ล่าสุด ผลักดันการดูแลสุขภาพแบบองค์รวมอย่างเป็นรูปธรรม

Virgin Active Thailand เปิดตัวแคมเปญที่ประเทศไทย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งจุดยืนระดับโลกของแบรนด์อย่าง 'Where Wellness Gets Real' ที่ได้รับการตอบรับอย่างดีเยี่ยม ตอกย้ำวิสัยทัศน์เชิงกลยุทธ์เบื้องหลังที่มาของจุดยืนของแบรนด์ล่าสุดที่พร้อมมอบแนวทางในการดูแลสุขภาพแบบองค์รวมอย่างเป็นรูปธรรม และตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าชาวไทยอย่างแท้จริง 'Where Wellness Gets…

10 hours ago

ซีพีแรม ร่วมแบ่งปันความรู้ และประสบการณ์ด้านโลจิสติกส์ Smart Logistics Talk : The Future of Business Transformation ในงาน LogiMAT Southeast Asia 2024

คุณวิเศษ วิศิษฏ์วิญญู กรรมการผู้จัดการ บริษัท ซีพีแรม จำกัด ร่วมแบ่งปันความรู้ และประสบการณ์ด้านการจัดการระบบโลจิสติกส์ ภายใต้หัวข้อ “Smart Logistics Talk: The Future of…

10 hours ago

Beam สตาร์ทอัพฟินเทคไทย ปิดจุดอ่อนระบบรับชำระเงิน ด้วยภารกิจ สร้างการชำระเงินที่ง่ายที่สุด สร้างรายได้ปีละ 100 ล้านใน 3 ปี

Beam สตาร์ทอัพฟินเทคที่โตเร็วอันดับต้นๆ ของเมืองไทย ตอบรับกระแสคอมเมิร์ซที่มาแรงต่อเนื่องด้วยระบบชำระเงินครบวงจร ช่วยลดขั้นตอนยุ่งยากซ้ำซ้อน เพิ่มความสะดวก รวดเร็ว และปลอดภัยในการทำธุรกรรม ตอบโจทย์ธุรกิจทุกขนาด พร้อมตั้งเป้าสร้างระบบการชำระเงินที่ง่ายที่สุดในโลก ตอกย้ำวิสัยทัศน์ “The World’s Simplest Ways…

10 hours ago

A10 Networks นำเสนอแนวทางการรักษาความปลอดภัยและ ส่งมอบแอปพลิเคชัน AI ที่ช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นทางไซเบอร์

A10 Networks ส่งโซลูชันด้านความปลอดภัยและโซลูชันที่ขับเคลื่อนด้วย AI เพื่อช่วยให้ลูกค้าเพิ่มความยืดหยุ่นทางไซเบอร์และใช้ประโยชน์จากพลังของ AI ในการรักษาความปลอดภัยและจัดการโครงสร้างพื้นฐานขององค์กร เพื่อลดความเสี่ยงด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ ปรับปรุงประสบการณ์ผู้ใช้และประสิทธิภาพ ส่งผลให้โครงสร้างพื้นฐานด้านไอทีขององค์กรง่ายขึ้น จากเทรนด์ GenAI และโมเดลภาษาขนาดใหญ่ รวมถึง GPU…

10 hours ago

Lalamove เผยยอดส่งข้ามจังหวัดเติบโต 40% ตอบรับดีมานด์การส่งของที่สูงขึ้นของรายย่อยและ SMEs

Lalamove เดินหน้าส่งมอบบริการ “ส่งด่วนข้ามจังหวัด ส่งกับ Lalamove” ตอบรับความต้องการที่เพิ่มขึ้นของการขนส่งด่วนข้ามจังหวัด ช่วยสนับสนุนธุรกิจ SMEs ให้สามารถเติบโตได้อย่างยั่งยืนโดยไม่ต้องแบกรับต้นทุนสูง อย่างค่าพาหนะและทีมงานขนส่งของตัวเอง พร้อมมุ่งเน้นการสร้างโอกาสในการเติบโตให้แก่คนขับรถอิสระที่เป็นพาร์ทเนอร์ของ Lalamove การบริการส่งข้ามจังหวัดทั่วไทย พร้อมส่งถึงมือผู้รับทุกจุดหมายทั่วไทยยกเว้น 3…

10 hours ago