Article & Review

บลูบิค เปิดเทรนด์ปี 66 แนะธุรกิจปรับใช้แนวคิด Cyber Resilience รับมือการถูกโจมตีทางไซเบอร์

บริษัท บลูบิค กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ BBIK เปิดเทรนด์และมุมมองเชิงลึกด้านความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ในปี 2566 ชี้องค์กรธุรกิจกำลังเผชิญความท้าทายจาก 3 ภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่มาแรงสูงสุด ได้แก่ Ransomware-as-a-service จะมีการแพร่กระจายอย่างรวดเร็ว การโจมตีซัพพลายเชนจะเป็นภัยใกล้ตัวกว่าที่เคย และการโจรกรรมข้อมูลจะส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นที่ลูกค้ามีต่อองค์กร

ด้วยเหตุนี้ภาคธุรกิจจึงควรเร่งปิดความเสี่ยงดังกล่าวด้วยการปรับใช้แนวคิด ‘Cyber Resilience’ ซึ่งประกอบด้วย 5 แนวทางที่จะทำให้องค์กรสามารถตั้งรับและตอบสนองต่อการโจมตีทางไซเบอร์ได้อย่างดี รวมถึงการเตรียมความพร้อมในการกู้คืนธุรกิจให้กลับมาดำเนินการได้ตามปกติ 

พชร อารยะการกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บลูบิค กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)กล่าวว่า การทำดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชันถือเป็นเรื่องสำคัญของภาคธุรกิจในช่วงหลายปีที่ผ่านมา เพราะการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี อาทิ ระบบคลาวด์ (Cloud Computing) บล็อกเชน (Blockchain) ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence – AI) และ Internet of Things (IoT) สามารถสร้างข้อได้เปรียบและโอกาสการเติบโตทางธุรกิจได้ แต่ในขณะเดียวกันก็ทำให้เกิดความซับซ้อนในระบบนิเวศของธุรกิจจนเกิดช่องโหว่หรือจุดอ่อนให้อาชญากรทางไซเบอร์เข้ามาหาประโยชน์ได้ ยิ่งความต้องการใช้เทคโนโลยีมีมากเท่าไร ความเสี่ยงจากภัยคุกคามทางไซเบอร์ก็มากขึ้นเท่านั้น ส่งผลให้ไซเบอร์ซิเคียวริตี้กลายเป็นความกังวลอันดับต้นๆ ของผู้นำองค์กรทั่วโลก

มังกรฟ้า ประกาศลุยธุรกิจแพลตฟอร์ม ขยายธุรกิจใหม่ หวังสร้างโอกาส รายได้ และสังคมใหม่

แนวโน้มความเสียหายจากภัยคุกคามทางไซเบอร์เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2566World Economic Forum คาดการณ์มูลค่าความเสียหายจากการโจมตีทางไซเบอร์ทั่วโลกจะแตะ 8 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ หรือเพิ่มขึ้น 15% (YoY) เป็นไปในทิศทางเดียวกับการใช้จ่ายด้านไซเบอร์ซิเคียวริตี้ที่จะเพิ่มขึ้น 12% (YoY) เป็น 194,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งแนวโน้มของความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นอย่างน่ากังวลนี้เป็นสัญญาณเตือนให้องค์กรต้องเร่งยกระดับความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ของตนเอง

3 ภัยคุกคามทางไซเบอร์ระดับตัวท็อป

บลูบิค เปิดเผยว่า อุตสาหกรรมที่มีความเสี่ยงตกเป็นเป้าหมายการโจมตีสูงสุด ได้แก่ ผู้ให้บริการวิชาชีพต่างๆ ธุรกิจการเงิน สุขภาพ โรงพยาบาล ค้าปลีก และโรงแรม ตามลำดับ ซึ่ง 3 ภัยคุกคามทางไซเบอร์ระดับตัวท็อป คือ

1) มัลแวร์เรียกค่าไถ่ (Ransomware) จะแพร่กระจายอย่างรวดเร็วและมากขึ้นเพราะRansomware-as-a-service : โดยจะมีการปล่อยไวรัสมัลแวร์เข้าสู่ระบบเพื่อเจาะเข้าสู่ระบบสำคัญ แล้วทำการเรียกค่าไถ่

ปัจจุบันแฮกเกอร์มีการพัฒนา Ransomware-as-a-service ที่จะมาพลิกโฉมการเรียกค่าไถ่แบบเดิมๆ ด้วยการขายมัลแวร์ที่ฝังตัวอยู่ในระบบของเป้าหมายในตลาดมืด และตกลงซื้อขายภายใต้เงื่อนไขการแบ่งปันผลประโยชน์ร่วมกันหากผู้ซื้อสามารถเรียกค่าไถ่ได้สำเร็จ ทำให้นับจากนี้การใช้มัลแวร์เรียกค่าไถ่จะทำได้ง่ายและรวดเร็วมากขึ้น เพราะไม่จำเป็นต้องใช้ความเชี่ยวชาญสูงอีกต่อไป ขอเพียงแค่เข้าถึงตลาดมืดหรือชุมชนออนไลน์ที่เหล่าแฮกเกอร์ใช้งานอยู่ก็พอ  

รายงานของหน่วยงาน Cybersecurity ของประเทศในทวีปอเมริกา เปิดเผยว่า ในไตรมาส 3 ปีนี้ ค่าเฉลี่ยของจำนวนเงินค่าไถ่ทางไซเบอร์อยู่ที่ราว 250,000 เหรียญสหรัฐ และพบว่ามีองค์กรกว่า 58% ต้องตกเป็นเหยื่อมัลแวร์เรียกค่าไถ่ ขณะที่ 14% ขององค์กรเหล่านี้ต้องจ่ายค่าไถ่มากกว่า 1 ครั้ง โดยมีองค์กรที่ตกเป็นเหยื่อมากกว่าครึ่งที่ต้องใช้เวลามากกว่า 1 เดือน ในการฟื้นฟูความเสียหายที่เกิดขึ้น      

2) การโจมตีในซัพพลายเชนหรือห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain / 3rd Parties Attack) จะเป็นภัยใกล้ตัวกว่าที่เคย : การโจมตีระบบขององค์กรเป้าหมายอาจจะทำได้ยากขึ้นในปัจจุบัน เหตุผลหนึ่งเป็นเพราะองค์กรต่างๆ มีการยกระดับการป้องกันที่เพิ่มขึ้น ดังนั้นแฮกเกอร์จึงปรับเปลี่ยนรูปแบบการโจมตี โดยมุ่งเป้าไปเป็นการเจาะระบบของผู้ให้บริการภายนอก (Vendor) ที่มีการให้บริการกับหลายๆ องค์กร และมีช่องทางการเข้าสู่ระบบหลังบ้านขององค์กรลูกค้าต่างๆ อยู่แล้ว แฮกเกอร์จึงเจาะระบบของผู้ให้บริการภายนอก เพื่อใช้เป็นช่องทางที่จะเข้าไปสู่ระบบขององค์กรเป้าหมาย โดย บลูบิค ไททันส์ มองว่าการโจมตีผ่านระบบของซัพพลายเชนจะเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ 

จากผลสำรวจของ Ponemon Institute พบว่าในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา มีองค์กรกว่า 54% ถูกโจมตีทางไซเบอร์ผ่านซัพพลายเชนหรือผู้ให้บริการภายนอก โดยมีเพียง 34% ที่มีความมั่นใจว่าตนเองจะได้รับการแจ้งเตือนจากบริษัทผู้ให้บริการ หากเกิดเหตุการณ์โจมตีทางไซเบอร์ขึ้นกับระบบของผู้ให้บริการ อย่างไรก็ตาม มีองค์กรมากถึง 60% ที่มีความกังวลว่าการโจมตีทางไซเบอร์ผ่านห่วงโซ่อุปทานจะเพิ่มมากขึ้น

3) การโจรกรรมข้อมูล (Data Breach) บทเรียนสำคัญที่อาจนำมาซึ่งความสูญเสียชื่อเสียง ความเชื่อมั่น และทรัพย์สินเกินคาดการณ์ : การโจรกรรมข้อมูลเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นบ่อยในโลกไซเบอร์ โดยมีเป้าหมายหลักเป็นผลประโยชน์ทางการเงิน และพุ่งเป้าไปที่ข้อมูลสำคัญ ความลับทางการค้า ทรัพย์สินทางปัญญา หรือข้อมูลส่วนตัวของลูกค้า เพื่อนำไปเรียกค่าไถ่หรือขายต่อในตลาดมืด โดยความเสียหายจากเหตุการณ์โจรกรรมข้อมูลมีมูลค่าเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 6,000 บาทต่อ 1 รายการข้อมูล และก่อให้เกิดความเสียหายต่อองค์กรหลายด้าน เช่น ค่าใช้จ่ายจากการแก้ไขปัญหา ตลอดจนผลกระทบจากธุรกิจหยุดชะงัก และที่เลวร้ายที่สุดคือการสูญเสียความเชื่อมั่นของลูกค้าที่มีต่อองค์กร

รายงานของ IBM ประเมินว่า ในปี 2022 ความเสียหายจากการโจรกรรมทางข้อมูลขององค์กรในภูมิภาคอาเซียนมีมูลค่าเฉลี่ยสูงถึง 2.87 ล้านเหรียญสหรัฐต่อครั้ง และมีองค์กรกว่า 83% ตกเป็นเหยื่อมากกว่า 1 ครั้ง โดย 45% เป็นการโจรกรรมข้อมูลบนระบบคลาวด์ซึ่งองค์กรมีการใช้งานมากขึ้นเรื่อยๆ แต่อาจจะยังขาดมาตรการป้องกันที่เหมาะสม

พลสุธี ธเนศนิรัตศัย ผู้อำนวยการ บริษัท บลูบิค ไททันส์ จำกัด กล่าวว่า การเตรียมพร้อมเพื่อป้องกันและรับมือกับสถานการณ์ที่อาจเกิดขึ้นเป็นสิ่งที่ทุกองค์กรต้องเร่งทำ เพราะการโจมตีทางไซเบอร์สามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลาและสร้างความเสียหายมหาศาลทั้งด้านการเงินและความน่าเชื่อถือองค์กร ซึ่งการสร้างภูมิต้านทานภัยคุกคามทางไซเบอร์ให้องค์กรสามารถทำได้ด้วยการประยุกต์ใช้แนวคิด ‘Cyber Resilience’ ที่ประกอบด้วย 5 แนวทาง ดังนี้ 

1) พิจารณาความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ด้วยกรอบการบริหารจัดการความเสี่ยงขององค์กร (Manage Cybersecurity as an Enterprise Risk) ความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ควรอยู่ภายใต้กระบวนการบริหารจัดการความเสี่ยงในระดับองค์กร กล่าวคือ การพิจารณาประเด็นด้านความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ให้สะท้อนออกมาในรูปแบบของความเสี่ยง

ซึ่งรวมถึงผลกระทบในมุมมองต่างๆ เช่น ความเสียหายทางการเงิน การละเมิดกฎหมาย ความเชื่อมั่นจากลูกค้าและคู่ค้า เป็นต้น ซึ่งแนวทางนี้จะทำให้ผู้บริหารองค์กรมีกรอบในการตัดสินใจ และเลือกมาตรการควบคุมที่เหมาะสมกับระดับความเสี่ยงได้ดียิ่งขึ้น ซึ่งองค์กรสามารถนำมาตรฐานของหน่วยงานที่น่าเชื่อถือมาประยุกต์ใช้หรือนำมาเปรียบเทียบกับการดำเนินการขององค์กรในปัจจุบัน เพื่อวางแผนการยกระดับต่อไป 

2) ผู้บริหารระดับสูงควรสนับสนุนให้มีการกำกับดูแลความเสี่ยงทางไซเบอร์ และส่งเสริมให้เกิดวัฒนธรรมองค์กรที่ทุกคนมีส่วนร่วมในการเฝ้าระวังภัย (Executive Play a Key Role in Governance and Fostering a Culture of Cybersecurity Vigilance) การบริหารจัดการความเสี่ยงทางไซเบอร์ควรได้รับการสนับสนุนจากผู้บริหารระดับสูงขององค์กร ในการกำกับดูแลนโยบาย แผนกลยุทธ์ การจัดการความเสี่ยงให้อยู่ในระดับที่องค์กรยอมรับได้ รวมถึงการเน้นย้ำถึงความสำคัญและส่งเสริมให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการเฝ้าระวังและป้องกันภัยคุกคามทางไซเบอร์

โดยการดำเนินการควรประกอบด้วยโปรแกรมที่สำคัญ ดังนี้ 1) แผนความต่อเนื่องทางธุรกิจ 2) แผนกู้คืนระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ 3) แผนบริหารจัดการวิกฤตจากการโจมตีทางไซเบอร์ที่ครอบคลุมทั้งวิธีการสื่อสารกับผู้ที่เกี่ยวข้องและการเลือกใช้ผู้เชี่ยวชาญ และ 4) การสร้างความตระหนักในภัยคุกคามทางไซเบอร์และการปฏิบัติงานอย่างปลอดภัย รวมถึงการซักซ้อมกระบวนการรับมือเหตุการณ์ เพื่อให้ทุกฝ่ายเข้าใจบทบาทและหน้าที่ของตนมากยิ่งขึ้น

3) ผู้บริหารระดับสูงควรกำกับดูแลสถานะความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์อย่างใกล้ชิด (Executive Oversee Cybersecurity Posture) ผู้บริหารระดับสูงควรเข้ามากำกับดูแลด้านความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์อย่างใกล้ชิด โดยการสอบทานรายงานการปฏิบัติ ซึ่งอาจครอบคลุมหัวข้อต่างๆ เช่น ความเสี่ยงที่สำคัญและแนวทางการบริหารจัดการ ภาพรวมของสถานะความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ และแผนกลยุทธ์เพื่อการยกระดับมาตรฐาน เป็นต้น 

4) กำกับดูแลการดำเนินการให้เป็นไปตามข้อบังคับทางกฎหมายด้านความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์และกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Maintain Compliance with Cybersecurity Laws and Regulations) องค์กรควรมีการกำกับดูแลและปฏิบัติตามกฎหมายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์และการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล รวมถึงติดตามการออกกฎหมายลูกฉบับใหม่ๆ อย่างใกล้ชิด โดยองค์กรสามารถนำกฎหมายและข้อบังคับเหล่านี้มาใช้เป็นเกณฑ์ขั้นต้นในการปรับปรุงมาตรฐานด้านความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ของตนเองได้

5) ให้ความสำคัญกับเรื่องพื้นฐานด้านความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ที่สำคัญ (Implement Essential Cybersecurity Hygiene) การยกระดับองค์กรให้มีขีดความสามารถในการป้องกันและรับมือกับภัยคุกคามทางไซเบอร์ได้ดีนั้นต้องการทรัพยากรและความร่วมมือจากผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย ซึ่งเป็นเรื่องที่ท้าทายและต้องการเวลาสำหรับบางองค์กร ในขณะที่ความเสี่ยงทางไซเบอร์อาจเกิดขึ้นได้ทุกเวลาและสร้างความเสียหายต่อธุรกิจ อย่างน้อยองค์กรควรให้ความสำคัญกับเรื่องสำคัญพื้นฐาน เช่น การจัดการทะเบียนสินทรัพย์สารสนเทศที่ถูกต้องและครบถ้วน การพิสูจน์ตัวตนแบบหลายชั้น ความมั่นคงปลอดภัยข้อมูล การอัปเดตระบบเพื่อปิดช่องโหว่ การจัดการข้อมูลบันทึกระบบ แผนการรับมือเหตุละเมิด การบริหารความเสี่ยงที่เกิดจากผู้ให้บริการ เป็นต้น

“การบริหารจัดการไซเบอร์ซิเคียวริตี้ไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ก็ไม่ยากหากมีความเชี่ยวชาญและประสบการณ์บริหารจัดการ และสามารถร้อยเรียงความเสี่ยงเข้ากับแผนงานและกลยุทธ์ขององค์กร ทำให้การยกระดับระบบความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์เป็นไปอย่างเหมาะสม ส่งผลให้หน่วยงานภายในองค์กรสามารถดำเนินกิจกรรมตามแผนที่ได้วางไว้อย่างมั่นใจ และสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่ายทั้งภายในและภายนอกองค์กร” พลสุธี กล่าวปิดท้าย

supersab

Recent Posts

AIS ผนึกกำลัง OPPO ส่ง OPPO Find X8 Series ราคาพิเศษ เริ่มต้น 18,999 บาท พร้อมรับชมความบันเทิงระดับโลกจาก Max

AIS จับมือ OPPO เปิดตัว OPPO Find X8 Series สมาร์ทโฟนแฟลกชิป รุ่นล่าสุด ในราคาเริ่มต้นเพียง 18,999 บาท พร้อมมอบข้อเสนอสุดพิเศษให้กับลูกค้า AIS…

5 hours ago

“Once Wongamat” คอนโดฯหรูแห่งใหม่ในพัทยา ผสานความยั่งยืนกับดีไซน์สุดล้ำ ตอบโจทย์ชีวิตเหนือระดับ

ออเนอร์ กรุ๊ป เปิดตัวโครงการคอนโดมิเนียมสุดหรู "Once Wongamat" บนทำเลทองวงศ์อมาตย์ ชูจุดเด่นการออกแบบที่ผสานความหรูหรา และความยั่งยืนเข้าไว้ด้วยกันอย่างลงตัว พร้อมสิ่งอำนวยความสะดวกครบครัน ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ กลุ่มลูกค้าไฮเอนด์ ออเนอร์ กรุ๊ป (Honour Group)…

5 hours ago

ไปรษณีย์ไทย ใจป้ำแจกประกันอุบัติเหตุจากกรุงไทย แอกซ่า ฟรี 30 วัน พร้อมเปิดตัวตู้ KIOSK ให้บริการการเงิน เฟสแรก ทั้งสินเชื่อ ประกันภัย พ.ร.บ. จัดให้ครบจบในตู้เดียว

บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด มอบประกันอุบัติเหตุจากกรุงไทย แอกซ่า ฟรี 30 ต้อนรับเทศกาลปีใหม่ ตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม - 31 ธันวาคม 2567…

5 hours ago

พฤกษา สานต่อโครงการ “บ้านใส่ใจเพื่อคนพิการ” ปีที่ 6 ชู “นวัตกรรม-พันธมิตร-สร้างอาชีพ” ยกระดับคุณภาพชีวิตผู้พิการอย่างยั่งยืน

พฤกษา โฮลดิ้ง ไม่หยุดยั้งที่จะสร้างสรรค์สังคมแห่งโอกาสที่เท่าเทียม เดินหน้าสู่ปีที่ 6 ของโครงการ “บ้านใส่ใจเพื่อคนพิการ By PRUKSA” โดยผนึกกำลังร่วมกับ โรงพยาบาลวิมุต และ อินโนโฮม คอนสตรัคชัน ในเครือ…

5 hours ago

พลิกวงการน้ำดื่ม! บาร์บีคิวพลาซ่า x วิตอะเดย์ เปิดตัว “วิตอะเดย์ กะหล่ำปลี วอเตอร์”

บาร์บีคิวพลาซ่า จับมือ วิตอะเดย์ สร้างปรากฏการณ์ใหม่ในวงการน้ำดื่มผสมวิตามิน ส่ง "วิตอะเดย์ กะหล่ำปลี วอเตอร์" รสชาติสุดว้าว พร้อมดึงพี่ GON ร่วมสร้างสีสัน เอาใจสายเฮลท์ตี้ แถมโปรโมชั่นสุดคุ้มชุดประหยัดหมู 2…

5 hours ago

รู้จักภัยคุกคามรูปแบบใหม่ยุค AI เมื่อใครก็ตกเป็นเหยื่อ Deepfake Porn ได้

เคยไหม? เลื่อนฟีดโซเชียลมีเดียแล้วเจอคลิปโป๊ ๆ ของคนดัง หรือแม้แต่คนรู้จัก แต่เอะใจว่า...มันดูแปลก ๆ เหมือนไม่ใช่ตัวจริง นั่นอาจเป็นเพราะคุณกำลังเผชิญหน้ากับ "Deepfake Porn" ภัยร้ายยุค AI ที่กำลังระบาดหนักอยู่ในขณะนี้ Deepfake…

8 hours ago