Article & Review

3 ขั้นตอนสู่ความสำเร็จในการกำหนดกลยุทธ์เพื่อปรับปรุงแอปพลิเคชันให้ทันสมัย

องค์กรต่าง ๆ ได้รับแรงกดดันเพิ่มมากขึ้นอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อนสำหรับการนำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการที่แปลกใหม่ ก่อนหน้านี้เมื่อพูดถึงการสร้างสรรค์นวัตกรรมและการทำดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่น ก็มักจะมุ่งเน้นเรื่องประสบการณ์สำหรับลูกค้าเป็นหลัก แต่ปัจจุบันประเด็นที่สำคัญที่สุดคือเรื่องของการทำงานจากที่บ้าน/แบบไฮบริด และประสบการณ์สำหรับพนักงานและพาร์ทเนอร์ก็มีความสำคัญเพิ่มมากขึ้น เพราะเป็นปัจจัยที่จะช่วยให้องค์กรประสบความสำเร็จในการดำเนินงานในสภาพแวดล้อมแบบกระจัดกระจาย อย่างไรก็ตาม ในการที่บริษัทจะสามารถสร้างสรรค์นวัตกรรมและประสบความสำเร็จในทั้งสามแง่มุมที่สำคัญของการทำดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชันได้นั้น จำเป็นต้องทำลายโซ่ตรวนที่ฉุดรั้งบริษัทเอาไว้ซึ่งเป็นผลมาจากการใช้เทคโนโลยีและกระบวนการที่ล้าสมัย

ด้วยเหตุนี้จึงไม่น่าแปลกใจที่ไอดีซีคาดการณ์ว่าภายในปี 2567 แอปพลิเคชันรุ่นเก่าส่วนใหญ่จะได้รับการปรับปรุงให้ทันสมัย โดยประมาณ 65% ของแอปพลิเคชันจะใช้บริการคลาวด์เพื่อขยายฟังก์ชั่นการทำงานหรือทดแทนโค้ดที่ไร้ประสิทธิภาพ

การนำเสนอคลาวด์แอปพลิเคชันที่ทันสมัยนับว่ามีความสำคัญอย่างมากต่อการเพิ่มความยืดหยุ่น ความสามารถในการปรับตัว และความคล่องตัว ทั้งยังช่วยสร้างโอกาสใหม่ ๆ ให้แก่ธุรกิจ อย่างไรก็ตาม การสร้างแอปพลิเคชันเหล่านี้อาจเป็นเรื่องยากลำบาก และการนำเสนอคลาวด์แอปที่ทันสมัยก็นับเป็นเรื่องที่เป็นไปได้ยาก เพราะทุกวันนี้องค์กรต้องใช้เวลาและทรัพยากรจำนวนมากไปกับการจัดการหนี้ทางเทคนิค (Technical Debt) ที่เกิดขึ้นจากการลงทุนด้านเทคโนโลยีที่มีอยู่

ตัวชี้วัด คือการส่งสาร เพื่อก้าวสู่มาตรฐานความยั่งยืนที่ครอบคลุมสำหรับดาต้าเซ็นเตอร์

เมื่อไม่นานมานี้เราได้จัดการสัมมนาร่วมกับ ลาร่า เกรเดน ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยของไอดีซี เกี่ยวกับแนวทางที่จะช่วยให้บริษัทต่าง ๆ สามารถแก้ไขปัญหาท้าทายที่พบเห็นได้มากที่สุดสำหรับการปรับปรุงแอปพลิเคชันให้ทันสมัย เพื่อปรับเปลี่ยนองค์กรสู่การเป็นโรงงานผลิตนวัตกรรมด้านซอฟต์แวร์ในยุคดิจิทัล โดยประเด็นเนื้อหาที่สำคัญจากการสัมมนามีดังต่อไปนี้

ปัญหาท้าทายเกี่ยวกับการปรับปรุงแอปให้ทันสมัย

จุดเริ่มต้นที่จะต้องกล่าวถึงก็คือ เพราะเหตุใดการนำเสนอโมเดิร์นแอปพลิเคชันจึงเป็นเรื่องยาก องค์กรส่วนใหญ่โดยทั่วไปมีลักษณะที่แตกต่างจากบริษัทซอฟต์แวร์ชั้นนำ อย่างเช่น เน็ตฟลิกซ์ หรือ แอปเปิล กล่าวคือ องค์กรเหล่านี้มักจะต้องเผชิญกับปัญหาท้าทาย 3 ข้อที่ขัดขวางความสามารถในการปรับปรุงผลิตภัณฑ์ให้ทันสมัยและการสร้างสรรค์นวัตกรรมด้านซอฟต์แวร์:

  • การขาดแคลนนักพัฒนาที่มีความชำนาญ: ข้อมูลจากไอดีซีระบุว่า ในช่วงปี 2564 มีการขาดแคลนนักพัฒนาราว 1.4 ล้านคน ซึ่งเท่ากับอัตราการขาดแคลน 10% เมื่อคำนวณจากจำนวนนักพัฒนาที่เป็นพนักงานประจำในปัจจุบัน และตัวเลขนี้คาดว่าจะเพิ่มเป็น 20% ในช่วง 4 ปีข้างหน้า
  • หนี้ทางเทคนิค: โดยเฉลี่ยแล้ว 50% ของแอปพลิเคชันในองค์กรเป็นแอปพลิเคชันรุ่นเก่าที่ล้าสมัย และมีไม่ถึงครึ่งหนึ่งที่ถูกบูรณาการเข้ากับเครื่องมือพัฒนาที่ทันสมัย อย่างเช่น DevOps toolchains และสภาพแวดล้อมการพัฒนาแบบครบวงจร  ที่จริงแล้ว ระบบรุ่นเก่าไม่ใช่ระบบที่ไร้ประโยชน์และถูกเก็บใส่ลิ้นชัก แต่โดยมากแล้วระบบเหล่านี้มักจะถูกใช้งานเพื่อตอบสนองความต้องการที่สำคัญอย่างมากต่อการดำเนินงาน  อย่างไรก็ตาม มีปัญหาเกิดขึ้นเมื่อคุณพยายามที่จะสร้างสรรค์นวัตกรรม และคุณจำเป็นที่จะต้องบูรณาการเข้ากับระบบรุ่นเก่าเพื่อเข้าถึงข้อมูล หรือสร้างแอปใหม่ที่ทำงานอยู่บนระบบดังกล่าวเพื่อเพิ่มความสะดวกให้แก่ลูกค้าในการทำธุรกิจกับคุณ เป็นต้น และแน่นอนว่าการบูรณาการหรือการพัฒนาต่อยอดจากแอปพลิเคชันรุ่นเก่าอาจเป็นเรื่องยุ่งยากซับซ้อนและต้องเสียค่าใช้จ่ายจำนวนมาก
  • การขาดโครงการนวัตกรรม: ตามคำจำกัดความของไอดีซี โครงการนวัตกรรมที่ว่านี้หมายถึงโครงการที่ทำหน้าที่เป็นเสมือนนั่งร้านที่รองรับการสร้างวัฒนธรรม, KPI และชุดเครื่องมือที่จำเป็นสำหรับการเสริมสร้างขีดความสามารถให้กับนักพัฒนา แม้ว่าโครงการนวัตกรรมจะมีความสำคัญอย่างมากต่อการสร้างแรงจูงใจให้แก่นักพัฒนา แต่ 41% ของบริษัทที่ต้องการสร้างนวัตกรรมดิจิทัลกลับไม่มีโครงการนวัตกรรม

คำถามที่ตามมาก็คือ บริษัทส่วนใหญ่ที่ประสบปัญหาในการว่าจ้างนักพัฒนา ทั้งยังต้องจัดการกับระบบรุ่นเก่าและหนี้ทางเทคนิคที่เพิ่มขึ้น จะต้องล่มสลายอย่างแน่นอนใช่หรือไม่ คำตอบก็คือ ไม่ได้เป็นอย่างนั้นเสมอไป แต่ในการจัดการนวัตกรรม บริษัทต่าง ๆ จำเป็นที่จะต้องปรับเปลี่ยนวิธีคิดและมุมมองเกี่ยวกับการพัฒนาซอฟต์แวร์

3 ข้อคิดที่สำคัญสำหรับการปรับเปลี่ยนองค์กรให้กลายเป็นโรงงานผลิตนวัตกรรมด้านซอฟต์แวร์

ในระหว่างการสัมมนา เกรเดนได้บอกเล่าเกี่ยวกับเทรนด์การพัฒนา 3 ข้อที่สำคัญ ซึ่งพบเห็นได้ในบริษัทซอฟต์แวร์ที่มุ่งเน้นการสร้างนวัตกรรม ซึ่งครอบคลุมทั้งบริษัทผู้ผลิตซอฟต์แวร์โดยตรง และบริษัทที่ปรับเปลี่ยนธุรกิจสู่ดิจิทัลเพื่อขยายช่องทางรายได้โดยอาศัยการพัฒนาซอฟต์แวร์

ต่อไปนี้คือแนวทางที่จะช่วยให้คุณเอาชนะปัญหาท้าทายที่ระบุข้างต้น และก้าวสู่การเป็นโรงงานผลิตนวัตกรรมด้านซอฟต์แวร์:

1.ขับเคลื่อนกลยุทธ์การจัดซื้อซอฟต์แวร์ที่ได้รับการพัฒนาอย่างเหมาะสม

ข้อมูลจากไอดีซีระบุว่า บริษัทที่ใช้ซอฟต์แวร์ในการปรับปรุงผลประกอบการธุรกิจ หรือกลุ่มที่เรียกว่า “High Innovator” มีแนวโน้มที่จะดำเนินกลยุทธ์การจัดซื้อซอฟต์แวร์ที่ได้รับการพัฒนาอย่างเหมาะสม ทั้งนี้ ในการกำหนดกลยุทธ์ด้านการพัฒนาซอฟต์แวร์ บริษัทที่จัดว่าเป็น High Innovator มักจะวางแผนในระยะยาว และไม่ได้แก้ไขปัญหาทีละอย่างโดยใช้ซอฟต์แวร์ของผู้ผลิตรายใดรายหนึ่ง

ในการกำหนดกลยุทธ์การจัดซื้อที่เหมาะสม จะต้องมองภาพรวมของทั้งองค์กร และจะต้องพิจารณาความเป็นไปได้ในการใช้ระบบที่มีอยู่ วิธีนี้จะช่วยให้บริษัทสามารถนำเสนอโซลูชันได้อย่างรวดเร็วภายในเวลาไม่กี่สัปดาห์หรือไม่กี่เดือน แทนที่จะต้องใช้เวลาหลายปี ทั้งยังสามารถบูรณาการระบบรุ่นเก่าและระบบอื่น ๆ ที่มีอยู่ และดำเนินการได้อย่างฉับไว ปลอดภัย และไว้ใจได้

คุณจะต้องตรวจสอบให้แน่ใจว่ากลยุทธ์การจัดซื้อมีความสอดคล้องกับกลยุทธ์ทางธุรกิจ และควรมองหาบริษัทพาร์ทเนอร์ด้านซอฟต์แวร์ที่เหมาะสม ซึ่งสามารถจัดหาสถาปัตยกรรมด้านเทคนิคที่จะช่วยตอบโจทย์ความต้องการที่สำคัญ และมีแนวทางที่ชัดเจนในการใช้แพลตฟอร์มดังกล่าวเพื่อตอบสนองความจำเป็นในด้านอื่น ๆ เช่น การกำกับดูแล การปกป้องความเป็นส่วนตัว และการรักษาความปลอดภัย รวมถึงการบูรณาการเข้ากับระบบที่คุณมีอยู่ เช่น ระบบรุ่นเก่า ระบบ SaaS และบริการคลาวด์

แต่ที่สำคัญที่สุดก็คือ จะต้องเสริมศักยภาพให้แก่นักพัฒนาในการนำเสนอฟังก์ชั่นต่าง ๆ รวมไปถึงการสร้างโค้ด และการพัฒนาต่อยอด ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นเรื่องของการสร้างและนำเสนอแอปให้แก่ผู้ใช้งานเพื่อก่อให้เกิดผลลัพธ์ทางธุรกิจ ดังนั้นจะต้องมีการจัดทำแผนการพัฒนาแอปพลิเคชัน รวมถึงรูปแบบการใช้งานสำคัญ ๆ ในขั้นตอนแรก ๆ ของการกำหนดกลยุทธ์ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ธุรกิจ

2.ทำหน้าที่เป็นผู้ผลิตซอฟต์แวร์

ในข้อนี้ เราหมายถึงการเป็นผู้ผลิตซอฟต์แวร์ ไม่ใช่ผู้ใช้งานซอฟต์แวร์ ข้อมูลจากไอดีซีชี้ว่า ภายในปี 2568 ราวหนึ่งในสี่ของบริษัทชั้นนำที่ติดอันดับ Fortune 500 จะปรับเปลี่ยนสู่การเป็นผู้ผลิตซอฟต์แวร์ เพื่อรักษาขีดความสามารถด้านการแข่งขัน3 แต่ที่จริงแล้ว ทุกบริษัทไม่ว่าเล็กหรือใหญ่ควรจะมีความสามารถในการผลิตซอฟต์แวร์ และไม่ว่าคุณจะมีบุคลากรภายในองค์กรหรือจำเป็นต้องใช้บริการเอาต์ซอร์ส สิ่งสำคัญในการเป็นผู้ผลิตซอฟต์แวร์ที่ดีก็คือ คุณจะต้องสร้างซอฟต์แวร์ที่มีความสง่างาม กล่าวคือ มีการใช้โค้ดจำนวนน้อยกว่าและไม่ซับซ้อนจนเกินไป แต่ใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพและก่อให้เกิดประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งตรงจุดนี้เองที่แพลตฟอร์ม Low-Code จะสามารถทำหน้าที่ได้อย่างดีเยี่ยม

ยังคงมีความเชื่ออย่างผิด ๆ ว่า แพลตฟอร์ม Low-Code ไม่ใช่เครื่องมือสำหรับนักพัฒนาตัวจริง ซึ่งความเชื่อที่ว่านี้อาจจะถูกต้องอยู่บ้างสำหรับผลิตภัณฑ์ Low-Code บางตัว แต่ไม่ใช่เลยสำหรับแพลตฟอร์ม Low-Code ระดับชั้นนำ ที่จริงแล้ว สิ่งที่แพลตฟอร์ม Low-Code ทำก็คือ การขจัดความยุ่งยากซับซ้อนที่นักพัฒนามักจะต้องพบเจอในการสร้างแอปหรือระบบ

นอกจากนี้ แพลตฟอร์ม Low-Code ยังช่วยทำงานแบบอัตโนมัติในส่วนของงานที่น่าเบื่อหรือซ้ำซ้อนในกระบวนการ CI/CD ซึ่งจะช่วยให้นักพัฒนาสามารถทุ่มเทเวลาและความพยายามให้กับงานส่วนที่สำคัญที่สุดในการสร้างแอปพลิเคชัน ประเด็นดังกล่าวสอดคล้องกับข้อมูลการสำรวจของไอดีซี ซึ่งในการสอบถามนักพัฒนา Full-Stack ว่าเครื่องมือและแพลตฟอร์มการพัฒนาที่ใช้อยู่มีคุณลักษณะอะไรที่คิดว่าสำคัญที่สุด คำตอบที่ได้รับมากที่สุดก็คือ Code Abstraction หรือการกำจัดข้อมูลที่ไม่เกี่ยวข้องทิ้งไปเพื่อลดความซับซ้อนของโค้ด ซึ่งเป็นหน้าที่หลักของเครื่องมือ Low-Code

นักพัฒนาต้องการที่จะเขียนโค้ดและสร้างฟังก์ชั่นการทำงาน ไม่ใช่เสียเวลาไปกับการแก้ไขบั๊กหรือการวิเคราะห์ข้อกำหนดด้านซอฟต์แวร์ โซลูชันการพัฒนาแบบ Visual ที่ขับเคลื่อนด้วยโมเดลจะช่วยให้นักพัฒนาทุ่มเทให้กับการสร้างซอฟต์แวร์ที่ก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดได้อย่างเต็มความสามารถ

3.อย่าเริ่มต้นจากกระดาษเปล่า

ปัจจุบัน คุณไม่จำเป็นต้องสร้างทุกชิ้นส่วนของซอฟต์แวร์โดยเริ่มต้นจากศูนย์ เพราะคุณสามารถเข้าถึงชุดโค้ดที่เขียนซ้ำ ๆ กันได้จากตลาดคลาวด์

สิ่งสำคัญคือ การขับเคลื่อนแนวทางในระดับแพลตฟอร์ม เพื่อเสริมศักยภาพให้แก่นักพัฒนาด้วยเครื่องมือ กระบวนการ และความสะดวกในการใช้ตลาดคลาวด์ การลงทุนในบุคลากรและการจัดหาเครื่องมือที่ดีกว่าจะช่วยเสริมสร้างขีดความสามารถให้แก่ทีมงานฝ่ายพัฒนา ปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงาน และลดอัตราการลาออกของบุคลากร

ทุกวันนี้ บริษัทเทคโนโลยีส่วนใหญ่นำเสนอโครงการฝึกอบรมและการออกใบรับรอง ควบคู่ไปกับโซลูชันที่วางจำหน่าย ทักษะและการรับรองดังกล่าวนับว่ามีประโยชน์อย่างมากต่อนักพัฒนาและต่อธุรกิจของคุณ ดังนั้นคุณจึงควรสอบถามบริษัทเทคโนโลยีว่าจะให้ความช่วยเหลือแก่คุณได้หรือไม่สำหรับการยกระดับทักษะและการลงทุนในบุคลากร การดำเนินการทั้งหมดนี้จะช่วยให้คุณประสบความสำเร็จในการเสริมสร้างขีดความสามารถและดึงดูดนักพัฒนา ซึ่งจะช่วยเพิ่มความรวดเร็วในการนำเสนอแอปที่ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าและก่อให้เกิดประโยชน์แก่ธุรกิจ

supersab

Recent Posts

สแกน อินเตอร์ เดินหน้ารุกธุรกิจพลังงานสะอาด

Biztalk Podcast พาไปคุยกับ ดร.ฤทธี กิจพิพิธ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท สแกน อินเตอร์ จำกัด (มหาชน) (SCN) สะท้อนทิศทางธุรกิจพลังงานสะอาด ถึงเวลาหรือยังกับการลงทุนกับไฮโดรเจน และเวลานี้ควรโฟกัสกับพลังงานสะอาดชนิดใด…

8 mins ago

Huawei เผยทิศทางการพลิกโฉมอุตสาหกรรมและเทคโนโลยี 5G-A เพื่อปูทางสู่ความสำเร็จร่วมกัน

ในมหกรรมเทคโนโลยีระดับโลก MWC Shanghai 2024 สมาคมจีเอสเอ็ม (GSMA) เป็นเจ้าภาพการเสวนาโต๊ะกลมอุตสาหกรรม 5G-A เพื่อระดมความคิดระหว่างหน่วยงานกำกับดูแลผู้ให้บริการเครือข่าย ผู้จำหน่ายอุปกรณ์ สถาบันวิจัย ตลอดจนผู้นำในอุตสาหกรรมเฉพาะทางระดับโลก ผู้เข้าร่วมการเสวนาได้แบ่งปันความสำเร็จระหว่างการพัฒนาและการใช้งานเครือข่ายเพื่อยกระดับ 5G สู่…

13 mins ago

กระทรวง ศธ. และ อว. ผนึกกำลัง 4 พันธมิตรด้านการศึกษา พัฒนาผู้เรียน ผู้สอนเติมทักษะด้าน AI ควบคู่จริยธรรมการนำไปใช้ประโยชน์จาก AI

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดย สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ร่วมกับ กระทรวงศึกษาธิการ โดย สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) และสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)…

17 mins ago

TPCX จับมือ Orbix Tech ลงนาม MOU ร่วมกันพัฒนาประยุกต์ใช้เทคโนโลยีบล็อกเชนในอนาคต

ธวัชชัย ตั้งวรกิจถาวร กรรมการ บริษัท ทีพีซีเอกซ์ จำกัด (TPCX) ภายใต้บริษัทในเครือสหพัฒน์  พร้อมด้วย นายญาณวิทย์ รักษ์ศรี กรรมการผู้จัดการ บริษัท ออร์บิกซ์ เทคโนโลยี แอนด์ อินโนเวชั่น…

4 hours ago

แกะกล่อง Xperia 10 VI รุ่นน้องที่คลานตามรุ่นพี่มาติดๆ ในราคา 16,990 บาท

สวัสดีครับ วันนี้ Biztalk Gadget จะพามา แกะกล่อง Xperia 10 VI จากค่าย Sony ที่เปิดตัวใหม่เป็นประจำทุกปี โดยซีรีส์ 10 จะถือว่าเป็นน้องเล็กสุด…

23 hours ago

Lenovo เปิดตัว ThinkPad P1 Gen 7 เวิร์กสเตชันรุ่นพกพาที่มาพร้อม AI เทคโนโลยี

Lenovo เปิดตัวโมบายเวิร์กสเตชันพกพารุ่นใหม่ล่าสุด ได้แก่ ThinkPad P1 Gen 7, P16v i Gen 2, P16s i Gen 3…

1 day ago