Age of Content แบรนด์ควรปรับตัวการสื่อสารอย่างไร ให้เข้าถึงคนยุคใหม่

Age of Content แบรนด์ควรปรับตัวการสื่อสารอย่างไร ให้เข้าถึงคนยุคใหม่

รูปแบบการสื่อสารจากแบรนด์ไปถึงผู้คนหรือกลุ่มเป้าหมาย โลกในวันนี้เราอยู่ในยุคที่เรียกว่า Age of Content แต่หากมองย้อนไปในอดีตจะพบว่าการสื่อสารมีการเปลี่ยนแปลงมาเป็นยุคๆ ตั้งแต่ การสื่อสารทางเดียว (Age of Contect) คือช่องทางจากหนังสือพิมพ์ ทีวี วิทยุ จากนั้นพอเข้าสู่โลกของยุคอินเทอร์เน็ต การเข้าถึงข้อมูลข่าวการก็เริ่มเปลี่ยนไปเป็น (Age of Knowledge) คือการค้นหาข้อมูลในเว็บไซต์

ถัดมาน่าจะเป็นยุคที่คนรุ่นใหม่หลายคนเกิดทัน คือ (Age of Social) หรือยุคที่คนโต้ตอบกันง่ายขึ้นผ่านโซเชียลมีเดีย ซึ่งทุกวันนี้ช่องทางโซเชียลมีเดียก็ยังจำเป็นต่อการสื่อสารจากธุรกิจมาสู่ผู้บริโภค แต่เราจะเริ่มเห็นการค่อยๆ เปลี่ยนแปลงการสื่อสารที่เคยออกมาจากแบรนด์เป็นหลัก มาสู่การที่แบรนด์ให้ผู้ใช้ (อินฟลูเอนเซอร์) เป็นผู้บอกต่อกับผู้ใช้ หรือที่เรียกกันว่า (Age of Content)

ทำไม การสื่อสารจากผู้ใช้กับผู้ใช้ถึงตอบโจทย์ธุรกิจ

กลับมาที่การตลาดในยุคก่อนอีกครั้ง ที่เวลาแบรนด์ต้องการจะสื่อสารอะไรลงไปถึงกลุ่มลูกค้า จะต้องไปจ้างครีเอทีฟทำโฆษณา ทำแคมเปญ เรียกว่าตัวเองเป็นผู้ผลิตคอนเทนต์ ตรวจสอบทั้งหมดทุกขั้นตอน แต่หลายๆ ครั้งกลับพบว่า คอนเทนต์ไม่ปัง ไม่โดน ซึ่งจุดนี้ความยากคือ จะปรับใหม่อย่างไร เพราะลงทุนไปมากมายกับค่าโปรดักชั่น แถมคอนเทนต์ก็ผลิตมาพร้อมออกอากาศแล้ว

ปัจจุบัน แบรนด์หันมาใช้อินฟลูเอนเซอร์ทั้ง Nano, Micro, Macro ที่เป็นคนทั่วไปเข้ามาสร้างคอนเทนต์แทน และช่วยทำให้คนรักแบรนด์ หลายแคมเปญประสบความสำเร็จกับการสร้างไวรัลด้วยอินฟลูเอนเซอร์ ซึ่งอาจจะใช้งบน้อยกว่าการผลิตงานโฆษณาเองทุกขั้นตอน แถมยังได้ชิ้นงานจำนวนมาก โดยไม่ต้องลงมือทำเองแม้แต่น้อย ซึ่งหากต้องลงไปผลิตเองทั้งหมดคงต้องใช้เวลาเป็นปีๆ

ซึ่งส่วนสำคัญของความสำเร็จของการให้ผู้ใช้เป็นผู้บอกต่อ คือ จะเห็นความจริงใจในการสื่อสารออกมามากกว่าแบรนด์เป็นผู้ออกมาพูดโดยตรง หรือเรียกว่า ผู้บริโภคสร้างอิทธิพลให้กับผู้บริโภคได้ง่ายกว่า

Creativity is Queen

แต่การถล่มคอนเทนต์ลงไปก็ใช่ว่าจะประสบความสำเร็จ ถึงแม้จะมีคำกล่าวที่ว่า Content is King แต่ในยุคที่ทุกคนทำคอนเทนต์ได้กันหมด จึงไม่ได้การันตีความสำเร็จเสมอไป การแข่งขันในโลกที่ใครก็เข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้จึงเปลี่ยนไป เพราะฉะนั้นคอนเทนต์จะต้องดึงความสนใจด้วย งานครีเอทีฟจึงถือว่าเป็น Queen ของการสร้างสรรค์คอนเทนต์

ซึ่งทาง TikTok เองก็ให้ข้อมูลว่า 50% หรือครึ่งหนึ่ง ของแคมเปญที่ประสบความสำเร็จ มาจากงานครีเอทีฟที่มีคุณภาพ

เพราะฉะนั้น ในยุคนี้แบรนด์หรือธุรกิจไหนที่อยากสื่อสารให้ประสบความสำเร็จ นอกจากจะต้องเลือกช่องทางการสื่อสารที่ดีแล้ว ยังต้องเลือกคนที่เข้ามาช่วยครีเอทงานดีๆ ให้อีกด้วย

แบรนด์ที่ภาพลักษณ์อยู่ในกลุ่ม Baby Boomer หรือ Gen X ที่ต้องการปรับโฉมหน้าเข้าถึงลูกค้ากลุ่มใหม่ๆ การดึงครีเอทีฟของกลุ่มอินฟลูเอนเซอร์มาช่วย จะมีโอกาสปรับภาพลักษณ์ได้แบบก้าวกระโดด แต่สิ่งสำคัญคือ จะต้องเลือกคนที่เหมาสมกับสินค้า และเลือกช่องทางการปล่อยคอนเทนต์ให้ตรงกับกลุ่มเป้าหมาย ก็จะช่วยให้คนอยากหันมาใช้ตาม

ทั้งนี้ แบรนด์ไหนที่กำลังมองว่าจะทำการตลาดผ่านโซเชียลมีเดีย ก็คงต้องลองดูว่าเราต้องการสื่อสารอะไร สื่อสารอย่างไร และไปถึงคนกลุ่มไหน จะได้เลือกแพลตฟอร์มได้ถูก เพราะแต่ละแพลตฟอร์มก็มีเสน่ห์แตกต่างกันไป เช่น TikTok อาจจะเน้นไปที่การจับเทรนด์มาทำเป็นคอนเทนต์ และใช้เวลาสั้นๆ ให้คนเข้าถึง ส่วน YouTube อาจจะเหมาะกับ Story Telling แบบ Long form มากกว่า ส่วนใน Facebook ทุกวันนี้จะเหมาะกับการทำอินโฟกราฟิก หรือ Photo Story จับกลุ่มคนที่ชอบดูสรุปข้อมูลจากภาพ หรือชอบอ่านมากกว่าฟัง

Age of content คือยุคที่เข้าสู่ช่วง Personalize คือทุกคนมองเห็นคอนเทนต์ไม่เหมือนกัน ซึ่งเกิดขึ้นมาในช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมา

ถอดสูตรการสร้างคุณค่าร่วมแบบกรุงศรี ออโต้ เพื่อเป็นที่ 1 ในใจผู้ใช้รถ

Scroll to Top