Article & Review

ปลดล็อก AI กับพิมพ์เขียวสำหรับการเติบโตขั้นต่อไปของประเทศไทย

ในภูมิทัศน์ทางเทคโนโลยีที่พัฒนาอย่างรวดเร็วในปัจจุบัน ปัญญาประดิษฐ์ (AI) ถือเป็นพลังแห่งการเปลี่ยนแปลงอย่างปฏิเสธไม่ได้ในประเทศไทยและทั่วทั้งภูมิภาค จากการวิจัยพบว่า AI คาดว่าจะมีส่วนสนับสนุนเศรษฐกิจเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มูลค่า 1 ล้านล้านเหรียญสหรัฐภายในปี 2030 เนื่องจากจะช่วยยกระดับประสิทธิภาพการทำงาน สร้างสรรค์โมเดลธุรกิจใหม่ และขับเคลื่อนนวัตกรรมทั่วทั้งภาคส่วน

ด้วยตระหนักถึงประโยชน์ทางเศรษฐกิจอันมหาศาลของ AI รัฐบาลไทยจึงได้ประกาศแผนการพัฒนาโครงการริเริ่มใหม่ 6 โครงการ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์ AI ระดับชาติในระยะที่ 2 โดยโครงการเหล่านี้มีมูลค่ารวม 42 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งรวมถึงการพัฒนาบุคลากรด้าน AI และโมเดลภาษาไทยขนาดใหญ่ (LLM)

เครื่องมือ Generative AI เช่น Microsoft Copilot กำลังกำหนดนิยามใหม่ให้กับวิธีการทำงานของและบทบาทหน้าที่ของผู้คน จากการศึกษาของบริษัท อาวาเนด (Avanade) เผยว่าพนักงานในระดับต่าง ๆ มีทัศนคติเชิงบวกเกี่ยวกับ AI และรู้สึกตื่นเต้นกับศักยภาพในการทำงาน โดย 97% ใช้ AI ในบทบาทปัจจุบันอย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง และ 57% ใช้ AI ในบทบาทการทำงานทุกวัน นอกจากนี้ การศึกษาของยังเน้นย้ำว่า AI จะให้มากกว่าการเพิ่มประสิทธิภาพ โดยพนักงานที่ตอบแบบสอบถามคาดหวังว่า AI จะส่งผลกระทบต่องานในแต่ละวันเป็นส่วนใหญ่ภายในสิ้นปี 2024

แม้จะมีผลประโยชน์ที่ไม่อาจปฏิเสธได้ แต่อุปสรรคสำคัญยังคงมีอยู่สำหรับธุรกิจต่าง ๆ ในการปลดล็อกศักยภาพของ AI อย่างเต็มรูปแบบ ความท้าทายที่สำคัญที่สุดคือช่องว่างด้านความสามารถ โดยระหว่างปี 2010 ถึง 2020 ภาคบริการดิจิทัลของประเทศไทยขยายตัว 37% แต่จำนวนพนักงานดิจิทัลเพิ่มขึ้นเพียง 26% ซึ่งการขาดแคลนความเชี่ยวชาญและชุดทักษะที่เกี่ยวข้องนี้ ส่งผลต่อการก้าวหน้าของนวัตกรรม ขัดขวางการพัฒนาและการใช้งานของ AI ที่มีประสิทธิภาพ และท้ายที่สุดทำให้กระบวนการเปลี่ยนแปลงธุรกิจแบบองค์รวมช้าลง

ทั้งนี้ ธุรกิจยังอาจพบกับข้อจำกัดด้านโครงสร้างพื้นฐาน เช่น การไม่มีฐานข้อมูลที่แข็งแกร่ง ซึ่งอาจขัดขวางความสามารถในการปรับขนาดและประสิทธิภาพของแอปพลิเคชัน AI ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อความสามารถของธุรกิจในการปรับใช้โซลูชัน AI ในวงกว้าง เพื่อปลดล็อกศักยภาพสูงสุดของตน

การจัดการกับความท้าทายเหล่านี้ถือเป็นสิ่งสำคัญในการควบคุมศักยภาพของ AI อย่างเต็มที่ ซึ่งรวมไปถึงการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต การส่งเสริมนวัตกรรม และการปลดล็อกผลประโยชน์ทางธุรกิจที่จับต้องได้

การนำแนวทาง AI มาใช้โดยคำนึงถึงมนุษย์เป็นศูนย์กลาง

สิ่งสำคัญในการสร้างกลยุทธ์ AI ที่มีประสิทธิภาพคือการตระหนักว่าประโยชน์ของกลยุทธ์นี้มีมากกว่าแค่ตัวชี้วัดที่ช่วยประหยัดเวลาเท่านั้น โดย AI ควรถูกมองว่าเป็นเครื่องมือในการเพิ่มความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรมที่ช่วยให้มนุษย์สามารถทำงานได้อย่างดีที่สุด ซึ่งทำให้พนักงานต้องเปลี่ยนแปลงนิสัยการทำงานเก่า ๆ และเรียนรู้วิธีทำงานร่วมกับ AI ในบทบาทของตนอีกครั้ง

การลงทุนกับบุคลากรที่มีความสามารถเป็นสิ่งสำคัญสำหรับความสำเร็จในยุค AI โดยกลยุทธ์ AI ที่ยึดมนุษย์เป็นศูนย์กลางจะมุ่งเน้นความสำคัญไปที่การฝึกอบรมพนักงานเกี่ยวกับพื้นฐานของ AI ตลอดจนการสื่อสารและการทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพด้วยเครื่องมือ AI

ด้วยการให้การสนับสนุนและการพัฒนาทักษะ ธุรกิจต่างๆ สามารถส่งเสริมให้พนักงานใช้ AI ได้อย่างสะดวกสบายและมีประสิทธิภาพ ส่งเสริมสภาพแวดล้อมของการทดลองและนวัตกรรม แนวทางนี้ทำให้ผู้นำ AI ขับเคลื่อนมูลค่าทางธุรกิจจาก AI ที่สร้างได้เร็วกว่าคู่แข่ง

การสร้างรากฐาน AI ที่แข็งแกร่งด้วยโครงสร้างพื้นฐานข้อมูล

นอกจากความสามารถแล้ว ข้อมูลยังเป็นเสาหลักที่สำคัญอีกประการหนึ่งสำหรับความสำเร็จของ AI การเริ่มใช้งาน การนำมาใช้ และการปรับขนาด AI อย่างมีประสิทธิผลต้องอาศัยรากฐานข้อมูลที่มั่นคง ควบคู่ไปกับการทดสอบ การเรียนรู้ และการปรับตัวอย่างต่อเนื่อง

แพลตฟอร์มข้อมูลที่แข็งแกร่งสามารถทลายไซโลข้อมูลที่แยกกัน และรวมข้อมูลและการวิเคราะห์ของธุรกิจเข้าด้วยกันได้ด้วยแหล่งข้อมูลเพียงแห่งเดียว ข้อมูลเชิงลึกและผลลัพธ์จากเครื่องมือ AI จะกลายเป็นทรัพย์สินสำหรับพนักงานทุกคน ที่จะช่วยขยายมูลค่าให้กับลูกค้าและพันธมิตรในระบบนิเวศ ซึ่งสิ่งนี้เองจะช่วยให้ธุรกิจต่าง ๆ มีแรงผลักดันที่จำเป็นในการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการดำเนินงาน รวมถึงสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ ๆ ซึ่งจะช่วยปลดล็อกมูลค่าทางธุรกิจและเปิดรับนวัตกรรมต่าง ๆ ในอนาคต

เมื่อรวมกับความเข้าใจของพนักงานเกี่ยวกับการสร้างและปรับแต่ง prompts ที่ได้รับจากการฝึกอบรมและการใช้งานในแต่ละวัน สิ่งนี้จะเพิ่มความไว้วางใจในผลลัพธ์ของ AI และช่วยให้ธุรกิจสามารถควบคุมและตระหนักถึงคุณค่าของ AI ได้รวดเร็วยิ่งขึ้น

สร้างความชัดเจนและทิศทางสำหรับการใช้งาน AI ที่ปรับขนาดได้

ด้วยคำมั่นสัญญาว่าจะได้รับประโยชน์ทางธุรกิจที่สำคัญจาก AI โดยเฉพาะอย่างยิ่ง AI เชิงสร้างสรรค์ ผู้นำธุรกิจจำนวนมากจึงเร่งดำเนินการการใช้ AI โดยไม่มีแผนระยะยาวหรือการวางรากฐานที่จำเป็น ซึ่งแนวทางที่เร่งรีบนี้ สามารถขัดขวางการใช้งาน AI อย่างมีประสิทธิภาพ และส่งผลต่อความสามารถในการขยายขนาดการใช้งาน AI ในวงกว้างได้

เพื่อให้แน่ใจว่ากลยุทธ์ AI ของพวกเขามีอนาคตที่ยั่งยืนและสามารถปรับตัวเข้ากับอุปสรรคที่เกิดขึ้นได้ ธุรกิจจำเป็นต้องสร้างความแข็งแกร่งเพื่อทดลองซ้ำแล้วซ้ำอีก และปรับขนาดภายในกรอบงาน AI ที่มีความรับผิดชอบ (Responsible AI) การสร้างจุดยืนที่ชัดเจนไม่เพียงแต่จำเป็นเพื่อเป็นแนวทางในการเดินทางของความพร้อมและการนำ AI มาใช้เท่านั้น แต่ยังสำคัญเพื่อปลดล็อกมูลค่าเพิ่มเติมจากการลงทุนที่มีอยู่ในระบบคลาวด์ ข้อมูล และความปลอดภัย

ธุรกิจในประเทศไทยที่เริ่มต้นการใช้ AI จะต้องพิจารณาว่าโครงสร้างองค์กรของตนได้รับการตั้งค่าอย่างไรเพื่อใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี AI และวิธีที่พวกเขาสามารถบูรณาการเข้ากับกระบวนการทางธุรกิจได้ดีที่สุด นี่เป็นขั้นตอนสำคัญในการสร้าง AI ในวงกว้าง โดยธุรกิจสามารถเริ่มต้นจากเล็ก ๆ ด้วยการระบุปัญหาทางธุรกิจแบบเฉพาะเจาะจงที่ AI สามารถช่วยสร้างมูลค่าให้ได้ทันที และปรับขนาดผ่านโปรแกรมนำร่องในสภาพแวดล้อมที่มีการควบคุม ก่อนที่จะดำเนินการไปสู่การใช้งานในวงกว้าง แนวทางการปฏิบัติจากล่างขึ้นบนนี้จะสร้างความมั่นใจให้กับพนักงานและสร้างกระบวนการสองทางที่จัดลำดับความสำคัญของการมีส่วนร่วมและความโปร่งใสเพื่อให้บรรลุการปรับปรุงโดยรวม

ในขณะที่ธุรกิจในประเทศไทยบูรณาการ AI เข้ากับการดำเนินงานหลักของบริษัท พวกเขาปลดล็อกโอกาสมากมายสำหรับการเติบโตที่รวดเร็วและความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ กุญแจสู่ความสำเร็จอยู่ที่การสร้างสมดุลระหว่าง AI และความฉลาดของมนุษย์ โดยสร้างโมเดลการดำเนินงานที่เน้น AI เป็นหลัก ซึ่งมีความคล่องตัวและปรับขนาดได้ แนวทางเชิงกลยุทธ์นี้ช่วยให้ธุรกิจในประเทศไทยสามารถดึงมูลค่าสูงสุดจาก AI และส่งเสริมสภาพแวดล้อมที่พร้อมสำหรับนวัตกรรมและความก้าวหน้าที่ต่อเนื่อง โดยตอนนี้เมื่อเราได้ก้าวเข้าสู่ยุคใหม่จึงเป็นที่ชัดเจนว่า AI ไม่ได้เป็นเพียงเครื่องมือในคลังของธุรกิจเท่านั้น แต่ยังเป็นพิมพ์เขียวสำหรับการเติบโตและนวัตกรรมในอนาคตของประเทศไทยอีกด้วย

โดย บาฟย่า คาปัวร์ กรรมการผู้จัดการประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ บริษัท อวานาด

ชไนเดอร์ อิเล็คทริค เปิดตัว ใบรับรองใหม่ ในโครงการ EcoXpert Partner ครอบคลุมการเทรนนิ่งด้านดาต้าเซ็นเตอร์ และโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญ

supersab

Recent Posts

Samsung เปิดตัว “Bespoke AI” ตู้เย็นอัจฉริยะ สั่งงานด้วยเสียง ตอบโจทย์ทุกไลฟ์สไตล์

Samsung เปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ล่าสุดภายใต้วิสัยทัศน์ "AI Home" และแนวคิด "Screens Everywhere" ชูโรงด้วย "ตู้เย็น Bespoke AI Side-by-Side รุ่นใหม่" ที่ผสานเทคโนโลยี AI…

11 hours ago

JAS ผนึกกำลัง AIS เสิร์ฟตรงคอนเทนต์พรีเมียร์ลีก-เอฟเอ คัพ ผ่าน AIS PLAY และ Monomax

บริษัท จัสมิน อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) หรือ JAS ผู้ได้รับสิทธิ์แต่เพียงผู้เดียวในการถ่ายทอดสดศึกฟุตบอลพรีเมียร์ลีกและเอฟเอ คัพ อังกฤษ ฤดูกาล 2025/26 เป็นต้นไป ในประเทศไทย ลาว…

11 hours ago

Anker Prime Series เปิดตัวในไทย ชูเทคโนโลยีชาร์จเร็ว ปลอดภัย ครบจบทุกอุปกรณ์

แองเคอร์ อินโนเวชั่น (Anker Innovations) เปิดตัวผลิตภัณฑ์ชาร์จรุ่นใหม่ล่าสุด "Prime Series" อย่างเป็นทางการในประเทศไทย หลังจากกวาดรางวัล CES Innovation Award 2025 มาครอง โดยมีผลิตภัณฑ์เด่น…

11 hours ago

AIS และ True ผนึกกำลัง ปภ. เตรียมทดสอบ Cell Broadcast จริง พฤษภาคม นี้

AIS และ True Corporation จับมือ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) และหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง ยืนยันความพร้อมของระบบแจ้งเตือนภัยฉุกเฉิน Cell Broadcast เตรียมนำร่องทดสอบจริงในพื้นที่เสี่ยงทั่วประเทศ 3 ระดับ 3…

12 hours ago

ThailandPostMart บุกตลาดโลก ส่งสินค้าไทยดังไกล 22 ประเทศ

ไปรษณีย์ไทย ยกระดับบริการครั้งสำคัญ ขยายศักยภาพ ThailandPostMart แพลตฟอร์มออนไลน์สู่ตลาดสากล อำนวยความสะดวกให้ผู้บริโภคทั่วโลกเข้าถึงสินค้าคุณภาพเยี่ยมจากผู้ประกอบการไทยได้ง่ายดาย พร้อมบริการจัดส่งรวดเร็ว ปลอดภัย ตรงถึงมือใน 22 ประเทศ ทั่วโลก ตอกย้ำมาตรฐานการจัดส่งที่เชื่อถือได้ ดร.ดนันท์ สุภัทรพันธุ์…

12 hours ago

เจาะลึกค้าปลีกไทย 7-Eleven และ Big C หลังคว้า LINE Thailand Awards 2024

ในยุคที่การสื่อสารต้องเข้าถึงและเข้าใจความต้องการเฉพาะบุคคล LINE ได้ก้าวข้ามบทบาทแอปพลิเคชันแชท สู่แพลตฟอร์มธุรกิจครบวงจรที่ช่วยให้แบรนด์สร้างปฏิสัมพันธ์ลึกซึ้งกับผู้บริโภค ความสำเร็จของสองยักษ์ค้าปลีกไทยอย่าง 7-Eleven และ Big C Supercenter บนเวที LINE Thailand Awards 2024…

12 hours ago

This website uses cookies.