การปรับเปลี่ยนเป็น “Digital-First Company” สามารถสร้างความยืดหยุ่นควบคู่การเติบโตให้องค์กรด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยี อีกทั้งยังเป็นการปูรากฐานสู่ความสำเร็จในการทำดิจิทัล ทรานส์ฟอร์เมชัน (Digital Transformation) อย่างต่อเนื่องขององค์กรในทุกอุตสาหกรรม
–เปิด 5 เทรนด์เทคโนโลยีปี 2023 กับแนวทางปรับตัวของภาคธุรกิจ – ผู้ประกอบการไทย
หากมองไปรอบๆ ในกรุงเทพฯ หรือหัวเมืองใหญ่ๆ ในวันนี้จะมีสักกี่คนที่ยังไม่มีสมาร์ทโฟน และมีกี่คนที่ยังสั่งของ สั่งอาหารออนไลน์ไม่เป็น ซึ่งการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตคนที่ผ่านมาได้เปลี่ยนวิธีการทำธุรกิจด้วย เมื่อโลกใกล้กันมากขึ้น การขยายตลาดไปต่างประเทศทำได้ผ่านดิจิทัล ธุรกิจจึงไม่จำเป็นต้องไปตั้งสำนักงานอยู่ในทุกที่อีกต่อไป
ยกตัวอย่างแพลตฟอร์มต่างประเทศเข้ามาทำธุรกิจในไทยโดยที่ไม่มีสำนักงาน และดึงความสนใจของคนไปอยู่บนแพลตฟอร์มเหล่านั้น เช่น แพลตฟอร์ม VDO Streaming หรือ Music Streaming ที่คนไทยนิยมใช้กันอยู่ล้วนมาจากต่างประเทศ
ข้อมูลข่าวสารที่เกิดขึ้นในต่างประเทศ คนไทยก็รับรู้ได้พร้อมกับคนทั่วโลก และเกิดความกังวลร่วมกัน เพราะสิ่งที่เกิดขึ้นอาจกระทบกับชีวิตความเป็นอยู่ของเราได้เช่นกัน
ขณะเดียวกัน คน Gen ใหม่เกิดขึ้นทุกวัน โดยเฉพาะเด็กที่เกิดในยุค 2000 หรือ Millennium และ Gen Z ที่คุ้นชินกับดิจิทัล และแตกต่างกับคนยุคอนาล็อกค่อนข้างมาก โดยคนทั้ง 2 กลุ่มนี้ เกิดมาพร้อมกับความสะดวกสบาย และไม่ได้มีความอดทนกับการรอคอย เพราะสามารถสั่งของจากที่ใดก็ได้ในทันที จะเห็นว่าคนกลุ่มนี้กล้าจะใช้จ่ายและหาวิธีสร้างรายได้ใหม่ๆ ซึ่งมีความสำคัญกับระบบเศรษฐกิจโลกในอนาคต
นอกจากนี้ คนกลุ่ม Gen MZ ยังจะเป็นกลุ่มคนที่กำหนดทิศทางของการทำธุรกิจ เช่น ความสนใจกับการรักษ์โลกของคนกลุ่มนี้ส่งผลให้แบรนด์ต้องทำธุรกิจโดยตระหนักถึงเรื่องความยั่งยืนในด้านสิ่งแวดล้อมมากขึ้น หรือ ความกังวลเรื่องข้อมูลส่วนบุคคล ทำให้แบรนด์ต้องทำธุรกิจด้วยความโปร่งใส และเตรียมพร้อมป้องกันความเสี่ยงจากการถูกโจมตีทางไซเบอร์
จากความเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมคน การทำ Digital Transformation ขององค์กรจะเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ต้องอัปเดตเวอร์ชัน หรือ ฟีเจอร์ ใหม่ๆ อยู่เสมอ ขณะที่การสร้างธุรกิจโดยยึดหลัก Digital-First Company จะมีความสำคัญและจะเป็นช่องทางหลักของการทำธุรกิจ และวิธีคิดของการทำธุรกิจยุคใหม่จะต้องเป็นดิจิทัล คนต้องพร้อมทำงานจากทุกที่
ซึ่งการขับเคลื่อนสู่ “Digital-First Company” จำเป็นจะต้องมีความสามารถ (Capability) ในการสร้างความแข็งแกร่งให้กับระบบนิเวศทางธุรกิจทั้ง 5 ด้าน ดังนี้
เข้ามาตอบโจทย์ความหลากหลายของไลฟ์สไตล์ผู้ใช้ ทั้งด้านการใช้งานในชีวิตประจำวัน การเงิน ขณะเดียวกันจะเกิดการแชร์ดาต้ามากขึ้นกับการใช้งาน
ความนิยมของ Super App พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่าเทคโนโลยีนี้สามารถตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ของคนยุคใหม่ได้จริง และเป็นช่องทางสร้างการเติบโตร่วมกันกับพันธมิตรทางธุรกิจ ทำให้หลายองค์กรเร่งเดินหน้าพัฒนา Super App ของตนเองในช่วงที่ผ่านมา แต่การพัฒนา Super App ต้องมี Core Feature และระบบที่ซับซ้อนขั้นสูง อีกทั้งต้องมีองค์ประกอบเกี่ยวกับ Microservice, Data Sharing และ Mini App ที่ดี รวมถึงเม็ดเงินลงทุนที่เพียงพอ ซึ่งโดยทั่วไปอยู่ที่ระดับ 100 ล้านบาทขึ้นไป
นอกจากนี้ ผู้พัฒนายังต้องมีความเชี่ยวชาญและให้ความสำคัญเกี่ยวกับการรองรับการขยายตัวในอนาคต (Scalability) การขยายหรือเพิ่มขีดความสามารถ (Extensibility) ความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ (Cybersecurity) ความสามารถในการดูแลรักษาระบบที่ต้องง่าย (Maintainability) มีประสิทธิภาพการทำงาน (Efficiency) และโซลูชันที่ต้องอัปเดตให้ตอบโจทย์การใช้งานอยู่เสมอ ดังนั้นประสบการณ์และความเชี่ยวชาญจึงเป็นหัวใจสำคัญในการพัฒนา Super App เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหา อาทิ ระบบล่มที่ส่งผลต่อภาพลักษณ์ ถูกโจมตีทางไซเบอร์และการหารายได้จาก Super App เป็นต้น
การนำความฉลาดของ AI มาเสริมให้กับคน และทำงานร่วมกันได้ คนสามารถใช้ประโยชน์จาก AI ได้เต็มที่ เชื่อว่าหลังจากนี้จะมี AI ใหม่ๆ เข้ามาช่วยเสริมการทำงานของมนุษย์มากขึ้น
Augmented Intelligence เป็นเทคโนโลยีที่กำลังมาแรง ที่ประสานการทำงานร่วมกันระหว่างเทคโนโลยี Artificial Intelligence – AI, Machine Learning – ML, Deep Learning, Big Data Analytics และ Human Intelligence และมนุษย์ด้วยการใช้จุดแข็งของแต่ละฝ่ายเติมเต็มซึ่งกันและกัน เพื่อผลลัพธ์การทำงานที่ดีที่สุด โดยมีเป้าหมายเพื่อช่วยเหลือมากกว่าทำงานแทนมนุษย์เหมือน AI ดังนั้นการพัฒนา Augmented Intelligence ให้สำเร็จและเป็นไปตามวัตถุประสงค์การใช้งาน จำเป็นต้องมีความรู้ความเข้าใจทั้งในฝั่งธุรกิจและเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องอย่างลึกซึ้ง เพราะการพัฒนาหรือนำ Augmented Intelligence ไปใช้อย่างผิดวิธีอาจส่งผลเสียต่อการดำเนินธุรกิจได้
ในขณะที่ความเชื่อมั่นเป็นเรื่องสำคัญ แต่ความเสี่ยงเกิดขึ้นเรื่อยๆ ในโลกดิจิทัล หากธุรกิจสร้างความเชื่อมั่นไม่ได้ก็ไม่ต่างกับการถูกไฟไหม้บ้าน องค์กรจะต้องปรับทั้งคน กระบวนการทำงาน และเทคโนโลยี ให้พร้อมรับมือกับความเสี่ยง
การสร้างภูมิคุ้มกันภัยทางไซเบอร์ที่แข็งแกร่งให้กับองค์กรต้องเริ่มตั้งแต่ตัวพนักงาน กระบวนการ และเทคโนโลยีโดยการผสมผสานกลยุทธ์และวิศวกรรมซอฟต์แวร์หลายอย่าง เพื่อป้องกันความเสี่ยงและยกระดับความปลอดภัยให้ผู้ใช้งาน ซึ่งการสร้างมาตรฐานความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์จะช่วยสร้างภาพลักษณ์ที่ดีและทำให้ลูกค้าหรือผู้ใช้งานเกิดความเชื่อมั่น นอกจากนี้ยังช่วยลดความเสี่ยงและความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นจากการโจมตีทางไซเบอร์
ผลกำไรในระยะสั้นไม่ได้หมายความว่าจะสร้างความยั่งยืน ขณะที่ด้านสิ่งแวดล้อมเป็นหมุดหมายที่หลายประเทศทั่วโลกให้ความสำคัญ การทำธุรกิจจึงต้องปรับตัวและทำธุรกิจที่รักษ์โลกมากขึ้น คำนึงด้านการปล่อยคาร์บอนมากขึ้น
เทรนด์เทคโนโลยีที่ตอบโจทย์กระแส ESG กำลังอยู่ในความสนใจขององค์กรทั่วโลก โดยหลักการพื้นฐานแล้วเทคโนโลยีมีส่วนสนับสนุนและเกี่ยวข้องทั้งด้านสิ่งแวดล้อม (Environment) สังคม (Social) และบรรษัทภิบาล (Governance) ยกตัวอย่างเช่น การย้ายข้อมูลขึ้นระบบดิจิทัลแพลตฟอร์มช่วยลดการใช้กระดาษจำนวนมหาศาล การเพิ่มช่องทางการสื่อสารและพื้นที่บนโลกออนไลน์ให้กับชุมชน/สังคม และการสร้างความโปร่งใสในการดำเนินธุรกิจด้วยด้วยการใช้เทคโนโลยีบล็อกเชน (Blockchain) เป็นต้น ฉะนั้นองค์กรใดที่ต้องการประสบความสำเร็จในการทำ ESG จึงควรเริ่มต้นด้วยการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยี
ต้องปรับตัวให้ทันอยู่เสมอ
แนวคิดการทำงานสำหรับองค์กรยุคใหม่ที่ใช้รับมือกับความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในโลกธุรกิจ ที่ครอบคลุมตั้งแต่ความต้องการลูกค้า เทคโนโลยีใหม่ ๆ จนถึงสภาพเศรษฐกิจและสังคม ทำให้องค์กรสามารถทำงานได้อย่างรวดเร็ว คล่องตัวกว่าเดิม อีกทั้งยังช่วยให้รักษาขีดความสามารถในการแข็งขันและบรรลุเป้าหมายการทำดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชันได้อย่างราบรื่น
พชร อารยะการกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บลูบิค กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ BBIK กล่าวว่า “การแข่งขันที่รุนแรงมากขึ้น ทำให้ภาคธุรกิจจำเป็นต้องพึ่งพาผู้เชี่ยวชาญจากภายนอกมากขึ้น เพราะการดำเนินงาน (Execution) ที่ช้าและไม่สอดรับอัตราความเร็วของการทำธุรกิจในยุคดิจิทัล อาจทำให้องค์กรต้องพบกับอัตราต้นทุนค่าเสียโอกาสทางธุรกิจ (Opportunity Cost) มูลค่ามหาศาล จนถึงต้องออกจากธุรกิจหรือเสียตำแหน่งผู้นำในอุตสาหกรรมไปก็ได้ เหล่านี้เป็นเพียงหนึ่งในความท้าทายที่ผู้บริหารทั่วโลกกำลังเผชิญ แม้จะมีนวัตกรรมและเทคโนโลยีเข้ามาช่วยสร้างข้อได้เปรียบ แต่หากขาดความรู้ความเชี่ยวชาญมากพอในการเลือกใช้เทคโนโลยีที่ไม่สอดรับกับธุรกิจและสภาพเศรษฐกิจที่เกิดขึ้น ก็อาจส่งผลเสียได้”
โค้ก โดยกลุ่มธุรกิจโคคา-โคล่า ในประเทศไทย สร้างความฮือฮาให้กับตลาดเครื่องดื่มอีกครั้ง ด้วยการเปิดตัว "โค้ก" ซีโร่ กลิ่นวานิลลา ความอร่อยใหม่ที่ผสานความซ่าส์อันเป็นเอกลักษณ์ของ "โค้ก" เข้ากับความหอมหวานละมุนละไมของวานิลลาได้อย่างลงตัว ที่สำคัญคือมาในสูตรไม่มีน้ำตาล ตอบโจทย์ผู้บริโภคที่ใส่ใจสุขภาพ โดยเฉพาะกลุ่ม Gen…
บริษัท ไซโก้ เอปสัน คอร์ปอเรชั่น (Epson) ประกาศแต่งตั้ง โยชิดะ จุนคิชิ ขึ้นดำรงตำแหน่งประธานกรรมการและตัวแทนผู้อำนวยการ (President and Representative Director) และประธานเจ้าหน้าที่บริหารคนใหม่ (Chief…
การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) โดย กองสิ่งแวดล้อม ฝ่ายพัฒนาโครงการรถไฟฟ้า ลงพื้นที่ตรวจติดตามการดำเนินงานลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมในการก่อสร้าง ช่วงเวลากลางคืน การก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน - ราษฎร์บูรณะ (วงแหวนกาญจนาภิเษก) ตลอดแนวเส้นทางโครงการฯ โดยเริ่มตั้งแต่จุดก่อสร้าง Cut…
LINE MAN ประกาศความร่วมมือครั้งสำคัญกับ Lotus’s และ Lotus’s go fresh ขยายฐานบริการ LINE MAN MART ให้ครอบคลุมกว่า 1,400 สาขาทั่วประเทศ…
พฤกษา ผนึกกำลัง โรงพยาบาลวิมุต มอบสิทธิพิเศษสุดเอ็กซ์คลูซีฟ และกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพครบวงจรให้ลูกบ้านตลอดปี 2568 ภายใต้แนวคิด "สุขภาพดีเริ่มต้นที่บ้าน" จิตชญา ตู้จินดา รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานการตลาดองค์กรกลุ่ม บริษัท พฤกษา โฮลดิ้ง…
ออเนอร์ (HONOR) ประกาศความสำเร็จครั้งสำคัญของสมาร์ทโฟนระดับแฟลกชิป HONOR Magic7 Pro 5G ที่สร้างยอดขายเติบโตสูงถึง 2.4 เท่า นับตั้งแต่เปิดให้พรีออเดอร์เมื่อวันที่ 11-21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2568…