หากพูดถึงกฎหมายที่ทันสมัยทันกับวิถีชีวิต ที่ปัจจุบันหลายกิจกรรมต่างขับเคลื่อนด้วยแพลตฟอร์มดิจิทัลแล้ว เชื่อว่าหลายคนคงนึกถึงกฎหมายไหนไม่ได้ นอกจาก “กฎหมาย DPS (Digital Platform Services)” หรือชื่อทางการคือ “พระราชกฤษฎีกาการประกอบธุรกิจบริการแพลตฟอร์มดิจิทัลที่ต้องแจ้งให้ทราบ พ.ศ. 2565” ที่กำกับดูแลโดย สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือ ETDA ภายใต้เป้าหมายของการกำกับ ดูแลบริการแพลตฟอร์มดิจิทัลที่ให้บริการคนไทย มีความโปร่งใสเป็นธรรม หรือพูดให้เข้าใจง่ายๆ คือถ้าใช้บริการแพลตฟอร์มดิจิทัลแล้ว เกิดเหตุถูกโกง ถูกหลอก หรือปัญหาจากการใช้งาน ผู้ใช้งานก็สามารถเชื่อมั่นได้ว่า จะได้รับการดูแลและความช่วยเหลือจากผู้ให้บริการแพลตฟอร์มดิจิทัลอย่างทันท่วงทีนั่นเอง
ตั้งแต่กฎหมาย DPS มีผลบังคับใช้เกือบ 7 เดือน มีผู้ให้บริการแพลตฟอร์มดิจิทัลมาแจ้งข้อมูลการประกอบธุรกิจบริการแพลตฟอร์มดิจิทัล ในระบบแล้ว 1,273 แพลตฟอร์ม (ข้อมูล ณ วันที่ 8 มีนาคม 2567) โดยเฉพาะในกลุ่มออนไลน์มาร์เก็ตเพลซ บริการสื่อสารออนไลน์ และบริการรวบรวมและเผยแพร่เนื้อหาข่าวสารที่เป็น 3 กลุ่มแพลตฟอร์มที่เข้ามาแจ้งมากที่สุด แต่ที่น่าสนใจไปกว่าตัวเลขแพลตฟอร์มที่ต่อแถวมารายงานสถานะการให้บริการอย่างต่อเนื่อง คือ ETDA ในฐานะหน่วยงานที่ขับเคลื่อนหลักจะไปต่อในทิศทางไหนบ้าง? เราจึงชวนฟอลโล่อัพ “กฎหมาย DPS” เพิ่มความชัดเจน กำกับ-ดูแล แพลตฟอร์มดิจิทัลกับสิ่งที่ต้องเร่งด่วนดำเนินการในช่วงนี้
จากที่ ETDA ได้เปิดระบบแจ้งความประสงค์ใช้เครื่องหมายรับแจ้งหรือ ‘ETDA DPS Notified’ เมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2567 ที่ผ่านมา ได้สร้างแรงจูงใจให้แพลตฟอร์มดิจิทัลที่ยังไม่ดำเนินการแจ้งให้รีบเข้ามาแจ้งข้อมูล มากขึ้น เพราะเครื่องหมายรับแจ้งนี้จะช่วยสะท้อนสถานะของแพลตฟอร์มว่าได้มีมาตรการขั้นต้นในการดำเนินการตามกฎหมาย DPS ซึ่ง ETDA ได้เร่งกระตุ้นให้แพลตฟอร์มทำความเข้าใจในเงื่อนไขการใช้เครื่องหมายผ่านกระบวนการ workshop ที่จัดไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว และการที่แพลตฟอร์มจะสามารถใช้เครื่องหมายรับแจ้งได้ จะต้องเป็นแพลตฟอร์มดิจิทัลประเภททั่วไป ที่มีการแจ้งการประกอบธุรกิจบริการมาให้ ETDA ทราบก่อนแล้วเท่านั้น เพื่อให้ ETDA ได้ดำเนินการตรวจสอบข้อมูลความครบถ้วนตามกฎหมาย ซึ่งปัจจุบันสำหรับผู้ประกอบการที่ประสงค์ใช้เครื่องหมายสามารถแจ้งผ่านระบบได้ ซึ่งในเร็วๆ นี้ ก็จะเตรียมปล่อยคู่มือเพื่อเพิ่มความสะดวกในการใช้งานมากขึ้น ส่วนสาเหตุที่จะต้องเป็นแพลตฟอร์มดิจิทัลประเภททั่วไป เพราะถือเป็นแพลตฟอร์มกลุ่มใหญ่ที่ให้บริการแก่คนไทย ดังนั้นเครื่องหมายนี้จึงจะเข้ามาเป็นเครื่องมือสำคัญ ที่ทำให้ผู้ใช้บริการเกิดความมั่นใจได้ว่า แพลตฟอร์มดิจิทัลที่มีเครื่องหมายนี้แสดงอยู่ ที่เขากำลังเลือกใช้บริการนั้น เป็นแพลตฟอร์มที่ผ่านการยืนยันตัวตน มีแนวทางการให้บริการ การดูแล เยียวยา มีช่องทางการติดต่อ ภายใต้การดูแลของกฎหมาย DPS ซึ่งถ้าให้พูดแบบเข้าใจง่ายๆ คือ เครื่องหมาย ‘ETDA DPS Notified’ ก็เปรียบเสมือนเครื่องหมายมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม หรือ มอก. ที่ติดบนเครื่องใช้ไฟฟ้า เมื่อเราเลือกใช้ก็มั่นใจได้ว่า มีคุณภาพนั่นเอง
หลังจากที่กฎหมาย DPS ประกาศใช้แล้ว การดำเนินงานที่สำคัญอีกเรื่อง คือ การติดตามประเด็นความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานของแพลตฟอร์มดิจิทัลทั้งในมุมที่กระทบต่อผู้ประกอบการและผู้บริโภค ซึ่งในช่วงที่ผ่านมา จะพบประเด็นปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในด้านการฉ้อโกงและการหลอกลวงที่เกิดจากการโฆษณาออนไลน์ รวมถึงสินค้าที่ไม่ได้มาตรฐานบนแพลตฟอร์มดิจิทัล อย่างแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย และ ออนไลน์มาร์เก็ตเพลซ ซึ่งเป็นงานเร่งด่วนที่ ETDA รวมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ เอกชน ตลอดจนแพลตฟอร์มดิจิทัล จะต้องเร่งขับเคลื่อน โดยขณะนี้ ได้มีการจัดทำ Code of Conduct จำนวน 2 ฉบับ ได้แก่ ‘ร่าง Code of Conduct’ ที่เป็นแนวทางการทำงานเพื่อดูแลเนื้อหาการโฆษณาบนบริการแพลตฟอร์มดิจิทัล และ ‘ร่าง Code of Conduct’ ที่เป็นแนวทางการแก้ปัญหาการขายสินค้าไม่ได้มาตรฐานบนบริการแพลตฟอร์มดิจิทัล ซึ่งสาระสำคัญของร่างทั้ง 2 ฉบับ จะครอบคลุมแนวทางการดูแลตั้งแต่การตรวจสอบคนที่เข้ามาดำเนินการในแพลตฟอร์ม การกรองโฆษณาที่ทำและสินค้าที่จะนำเสนอหรือขายว่ามีความปลอดภัยหรือไม่อย่างไร และหากไม่ปลอดภัยจะต้องมีแนวทางในการจัดการความเสี่ยงอย่างไร รวมถึงแนวทางการแจ้งเตือนทั้งทางฝั่งของผู้ประกอบการ พ่อค้า แม่ค้าเอง ตลอดจนผู้บริโภค ให้ทราบถึงความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้น เป็นต้น โดย ETDA ได้มีการประชุมหารือกับทั้งผู้ประกอบธุรกิจแพลตฟอร์มดิจิทัล รวมไปถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น สคบ., มอก., อย., DBD, ธปท. และ คปภ. เป็นต้น พร้อมผนวกความร่วมมือกับศูนย์ช่วยเหลือและจัดการปัญหาออนไลน์ หรือ 1212 ETDA ทั้งในมุมสถิติที่เกิดขึ้น กระบวนการจัดการปัญหาในปัจจุบัน และแนวทางการดำเนินงานที่ ETDA จะเสนอเป็นมาตรการในการดูแลโฆษณาบนบริการต่างๆ เป็นต้น
ซึ่งการดำเนินงานในระยะต่อไป ก่อนเข้าสู่กระบวนการรับฟังความคิดเห็นต่อ ‘ร่าง Code of Conduct’ เพื่อปรับปรุงร่างและประกาศใช้เร็วๆ นี้ ยังมีการดำเนินงานในหลายๆ ส่วนที่ ETDA ได้เร่งทำงานแบบคู่ขนานทั้งการเร่งตรวจสอบข้อมูลของแพลตฟอร์มดิจิทัลที่ได้มีการแจ้งเข้ามา เพื่อการจัดแบ่งประเภทเพิ่มเติมทั้งในส่วนของแพลตฟอร์มขนาดใหญ่ แพลตฟอร์มเสี่ยงสูงและแพลตฟอร์มเฉพาะด้าน ที่จะต้องมีการออกมาตรการที่เกี่ยวข้อง ซึ่งถือเป็นความท้าทายในการดำเนินงาน แต่ก็เป็นการสะท้อนให้เห็นถึงความพยายามในการสร้างความเชื่อมั่น ลดความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นทั้งในมุมของผู้ประกอบการและผู้บริโภคอย่างเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น…แม้หลายคนอาจจับตาว่าการมีกฎหมาย DPS จะเข้ามาช่วยให้ชีวิตดิจิทัลดีขึ้น ไม่ถูกหลอก ไม่ถูกโกง และสามารถแข่งขันได้อย่างเป็นธรรม ได้จริงหรือไม่ คำตอบที่ได้ คือ ความมุ่งมั่นในการทำงานของ ETDA เป็นอีกสิ่งที่จะช่วยสร้างความมั่นใจ และที่สำคัญไม่แพ้กัน คือ ETDA ก้าวไปคนเดียวไม่ได้ ต้องอาศัยความร่วมมือของทุกคนที่ต้องร่วมเดินไปด้วยกัน
Biztalk ประจำวันอาทิตย์ที่ 20 เมษายน 2568 ชวนคุยเรื่องการออกกฎระเบียบบังคับให้สายการบินใช้น้ำมันลดโลกร้อน (น้ำมันอากาศยานยั่งยืน= SAF) จะเริ่มใช้จริงได้เมื่อไหร่ มีอะไรที่ต้องพิจารณาบ้าง คุยกับ พลอากาศเอก มนัท ชวนะประยูร ผู้อำนวยการสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย…
ข่าวดีสำหรับคุณแม่! ไปรษณีย์ไทย จับมือ กรมอนามัย ยกระดับการส่งน้ำนมแม่ทั่วประเทศ ด้วยบริการ EMS ด่วนพิเศษ ฟรีค่าจัดส่ง ตอกย้ำสายใยรักจากอกแม่ สู่ลูกน้อยที่อยู่ห่างไกล หนุนเด็กแรกเกิดรับคุณค่าอาหารจากนมแม่เต็มที่ เริ่มแล้ววันนี้! บริษัท ไปรษณีย์ไทย…
Siam.AI Cloud สร้างชื่อเสียงให้ประเทศไทยบนเวทีระดับโลก โดยเข้าร่วมงาน NVIDIA GTC 2025 พร้อมขึ้นกล่าวในหัวข้อสำคัญ "Empower the Ecosystem with Sovereign Foundation Models"…
โครงการ ‘Dynamic Cities via Mobility Data หลากชีวิตในเมืองที่โลดแล่น’ ได้ถือกำเนิดขึ้น โดยเป็นการผนึกกำลังครั้งสำคัญระหว่าง ทรู คอร์ปอเรชั่น และ ศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UddC) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย…
vivo ประกาศอย่างเป็นทางการถึงการเตรียมเปิดตัว vivo V50 Lite สมาร์ทโฟนรุ่นใหม่ล่าสุดในตระกูล V Series ที่มาพร้อมจุดเด่นอันแข็งแกร่งภายใต้แนวคิด “แบตอึด จนขอท้า” หรือ “BlueVolt Battery So…
เอปสัน ประกาศเปิดตัวการประกวดภาพถ่ายพาโนรามาระดับนานาชาติ "Epson International Pano Awards" ครั้งที่ 16 อย่างเป็นทางการ พร้อมเชิญชวนช่างภาพทั้งมืออาชีพและมือสมัครเล่นจากทั่วโลก ส่งผลงานเข้าร่วมประชันฝีมือ เพื่อชิงรางวัลรวมมูลค่ากว่า 50,000 เหรียญสหรัฐ การประกวดครั้งนี้จัดขึ้นต่อเนื่องเป็นปีที่…
This website uses cookies.