Article & Review

Fujitsu คาดการณ์เทคโนโลยีในปี 2567 แนะนำเทคโนโลยีและกลยุทธ์ธุรกิจมาใช้ เพื่อช่วยปรับเปลี่ยนทางดิจิทัลอย่างยั่งยืน

ในปี 2567 นี้ ธุรกิจต่างๆ กำลังอยู่ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อของการปรับเปลี่ยนทางดิจิทัล หรือ Digital Transformation (DX) เพื่อก้าวไปสู่ความยั่งยืน การคาดการณ์เกี่ยวกับเทคโนโลยีของฟูจิตสึในปี 2567 นี้ เป็นเหมือนโรดแมปให้กับองค์กรที่มุ่งมั่นที่จะเป็นผู้นำด้านนวัตกรรมที่ล้ำสมัย ควบคู่กับความมุ่งมั่นในการสร้างความยั่งยืนให้เป็นผลในทางปฏิบัติ การคาดการณ์นี้จะเป็นแนวทางให้ธุรกิจต่างๆ สามารถนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาช่วยสร้างกลยุทธ์ที่ต่างไปจากเดิม เพื่อการปรับเปลี่ยนทางดิจิทัลอย่างยั่งยืนในอนาคต

ควอนตัมคอมพิวเตอร์และ AI: เทคโนโลยีเกื้อหนุน

ฟูจิตสึคาดว่าการผสมผสานของควอนตัมคอมพิวเตอร์และ AI จะถึงจุดสูงสุดในปี 2567 นี้ และคาดว่าการรวมตัวกันของเทคโนโลยีเหล่านี้จะช่วยแก้ปัญหาที่ซับซ้อนได้อย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน นำไปสู่ความก้าวหน้าในสาขาต่างๆ เช่น ด้านเภสัชกรรม และบริการทางการเงิน ซึ่งสำหรับธุรกิจต่างๆ หมายความว่าการลงทุนใน AI สามารถจัดการและเพิ่มประสิทธิภาพงานของควอนตัมคอมพิวเตอร์ได้ การตอบรับการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวจะเป็นกุญแจสำคัญของบริษัทต่างๆ ที่ต้องการปลดล็อกไปสู่ระดับใหม่ของประสิทธิภาพและนวัตกรรม

ในขณะที่เราหาทางใช้อัลกอริธึม AI เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพวิธีการจัดการคิวบิต อาจนำไปสู่การทำงานของควอนตัมที่เสถียรมากขึ้น ซึ่งเป็นความก้าวหน้าครั้งสำคัญที่จะช่วยให้เราเพิ่มจำนวนคิวบิตที่เชื่อถือได้ในระบบควอนตัมอย่างรวดเร็วเกินกว่า 100 คิวบิตที่เราสามารถทำได้ในปัจจุบัน

ฟูจิตสึกำลังทำงานร่วมกับสถาบันวิจัย RIKEN ของญี่ปุ่นบนภารกิจร่วมกันเพื่อเพิ่มการใช้เทคโนโลยีควอนตัมเป็น 1,000 คิวบิตด้วยการเพิ่มความสามารถทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ เมื่อมองไปในอนาคต เรามองเห็นการบูรณาการแบบไร้รอยต่อของ AI ควอนตัมคอมพิวเตอร์ และซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ HPC ในแพลตฟอร์มไฮบริด ซึ่งช่วยให้มั่นใจว่าการเปลี่ยนผ่านระหว่างการคำนวณควอนตัมและการคำนวณแบบดั่งเดิมจะเป็นไปได้ตามที่ต้องการ โดยปี 2567 นี้ จะเป็นปีแห่งความก้าวหน้าของควอนตัมคอมพิวเตอร์

การทำให้ AI สามารถเข้าถึงได้ในวงกว้าง

โมเดล AI ภาษาขนาดใหญ่อย่าง ChatGPT เป็นที่รู้จักและนิยมเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก จนถึงขณะนี้ มีปัญหาการขาดแคลนและเกิดเป็นคอขวด ทำให้มีการจำกัดเทคโนโลยีที่สร้างการเปลี่ยนแปลงนี้ให้เฉพาะบริษัทที่ได้รับทุนสนับสนุนดีที่สุด เช่น OpenAI, Microsoft, Google และ Anthropic พร้อมทรัพยากรในการพัฒนาและการนำมาใช้งาน

การทำให้ AI สามารถเข้าถึงได้ในวงกว้างมีจุดมุ่งหมายเพื่อทลายอุปสรรคที่จำกัด AI ขั้นสูงไว้กับองค์กรขนาดใหญ่ การเกิดขึ้นของการขยายวงกว้างของแพลตฟอร์มบ่งบอกถึงการเปลี่ยนแปลงไปสู่การเข้าถึงเทคโนโลยีที่เท่าเทียมมากขึ้น ช่วยให้ธุรกิจทุกขนาดสามารถสร้างสรรค์นวัตกรรมและแข่งขันในเวทีระดับโลกได้ แพลตฟอร์มอย่าง Kozuchi ของฟูจิตสึจะช่วยให้องค์กรทุกขนาดสามารถปรับใช้โซลูชัน AI ได้อย่างรวดเร็ว องค์กรควรใช้ประโยชน์จากแพลตฟอร์มเหล่านี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานและสร้างประสบการณ์ใหม่ๆ ให้กับลูกค้า ตัวอย่างเช่น การใช้ AI ในการบริการลูกค้าสามารถปรับเปลี่ยนการโต้ตอบส่วนบุคคลในวงกว้าง สร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันสำหรับธุรกิจ

AI เสริมประสิทธิภาพ Digital Twins เพื่อประโยชน์ทางสังคม

AI และ แบบจำลองเสมือนในโลกดิจิทัล หรือ Digital Twins จะเริ่มให้ข้อมูลด้านนโยบายทางสังคมและกลยุทธ์ทางธุรกิจในปี 2567 นี้ โดยเทคโนโลยีดังกล่าว จะช่วยนำเสนอข้อมูลเชิงลึกอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน เกี่ยวกับพฤติกรรมของมนุษย์ และแนวโน้มทางสังคม ธุรกิจต่างๆ สามารถใช้ Digital Twins สร้างแบบจำลองผลกระทบของผลิตภัณฑ์และบริการที่มีต่อสังคม เพื่อให้มั่นใจว่ามีการดำเนินธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบและมีจริยธรรม เช่น การใช้ Digital Twins ในการวางผังเมือง สามารถช่วยให้ธุรกิจต่างๆ เข้าใจถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความท้าทายทางสังคม เช่น การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ หรือ Net Zero เศรษฐกิจหมุนเวียน หรือ Circular Economy

ฟูจิตสึคาดว่าจะเห็นความก้าวหน้าอย่างรวดเร็วในด้านการคาดการณ์พฤติกรรมเพื่อปรับปรุงความเป็นอยู่ที่ดี และตระหนักถึงสังคมที่ปลอดภัยและยั่งยืน การทดลองภาคสนามกำลังดำเนินการที่ญี่ปุ่น เพื่อช่วยให้ผู้คนหลีกเลี่ยงการถูกหลอกทางโทรศัพท์ด้วยการวิเคราะห์ข้อมูลสำคัญของผู้ที่มีความเป็นไปได้ที่จะเป็นเหยื่อ เทคโนโลยีจะประเมินว่าผู้คนถูกหลอกหรือไม่ โดยพิจารณาจากความผันผวนของความรู้สึกวิตกกังวลจากข้อมูลสำคัญ เช่น อัตราการหายใจและการเต้นของหัวใจ การสร้างแบบจำลองทางสังคมที่ได้รับจาก AI สามารถปรับปรุงการคาดการณ์ของเราเกี่ยวกับพฤติกรรมของมนุษย์และสังคม ตลอดจนเสริมประสิทธิภาพและปรับปรุงวิธีการทำงานบริการสังคม

การลดความซับซ้อนของการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์

ในปี 2567 นี้ ทัศนคติใหม่เกี่ยวกับเทคโนโลยีที่ซับซ้อนจะกลายมาเป็นกระแสหลักที่อยู่ในความสนใจของผู้คน องค์กรธุรกิจต่างๆ ควรมีการจัดลำดับความสำคัญในการลดความซับซ้อนของโครงสร้างพื้นฐานทางเทคโนโลยี เพื่อช่วยเสริมประสิทธิภาพความปลอดภัยทางไซเบอร์และการลดความซับซ้อน เพื่อลดความเสี่ยงในโลกดิจิทัลที่มีเพิ่มมากขึ้น การผลักดันไปสู่การลดความซับซ้อนในโครงสร้างพื้นฐานทางเทคโนโลยีโดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์จะกลายเป็นประเด็นสำคัญมากขึ้น เมื่อภัยคุกคามทางไซเบอร์มีความซับซ้อนเพิ่มมากขึ้น ระบบนิเวศทางเทคโนโลยีที่ได้รับการปรับปรุงสามารถให้การป้องกันที่แข็งแกร่งได้ บริษัทต่างๆ จึงควรตระหนักถึงความสำคัญในการลดความซับซ้อนของโครงสร้างพื้นฐานด้านไอที ไม่ใช่แค่เพื่อความปลอดภัยเท่านั้น แต่ยังต้องส่งเสริมความคล่องตัวและความยืดหยุ่นในสภาพแวดล้อมทางธุรกิจที่ไม่สามารถคาดเดาได้อีกด้วย

การนำ Private 5G มาใช้

การเติบโตของเครือข่าย Private 5G จะนำมาซึ่งการปฏิวัติด้านการเชื่อมต่อ ช่วยให้สามารถประมวลผลและควบคุมข้อมูลแบบเรียลไทม์สำหรับระบบอัตโนมัติต่างๆ ได้ ความก้าวหน้าในเทคโนโลยี Private 5G และ mmWave จะปฏิวัติหลากหลายอุตสาหกรรม ผ่านการใช้โดรน หุ่นยนต์ และยังอาจเป็นไปได้ สำหรับการผ่าตัดทางไกล โดยมีค่าความหน่วงเกือบเป็นศูนย์และปริมาณข้อมูลที่สูง ธุรกิจด้านโลจิสติกส์ การดูแลสุขภาพ และการผลิตจึงได้รับประโยชน์ การลงทุนเชิงกลยุทธ์ในโครงสร้างพื้นฐาน Private 5G สามารถช่วยขับเคลื่อนธุรกิจไปสู่ขอบเขตใหม่ของประสิทธิภาพและการส่งมอบบริการได้

ภูมิทัศน์ของการปรับเปลี่ยนทางดิจิทัลกำลังพัฒนาอย่างรวดเร็ว และการคาดการณ์ทางเทคโนโลยีของฟูจิตสึในปี 2567 นี้ช่วยเสนอแนวทางที่สามารถเชื่อมโยงความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีเข้ากับความยั่งยืน ในขณะที่เราเตรียมพร้อมสำหรับปีนี้ องค์กรธุรกิจต่างๆ ควรเปลี่ยนจากการใช้ประโยชน์จากความสามารถด้านดิจิทัลเพียงอย่างเดียว ไปสู่การฝังหลักการยั่งยืนไว้ในกลยุทธ์หลักขององค์กร ควบคู่กับการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีขั้นสูง

The 1 Insight ส่องเทรนด์คนไทยฉลองวาเลนไทน์ 2567 เผย 90% คู่รักมักซื้อของขวัญในช่วงสัปดาห์สุดท้าย!

supersab

Recent Posts

กฟผ. – มูลนิธินายช่างไทย ใจอาสา เตรียมนำทีมวิศวกรและช่างอาสา กฟผ. ลงพื้นที่ตรวจสอบโครงสร้างอาคารโรงเรียน สพฐ.

นายเทพรัตน์ เทพพิทักษ์ ผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ในฐานะประธานมูลนิธินายช่างไทย ใจอาสา เผยว่า จากเหตุการณ์แผ่นดินไหวใหญ่ศูนย์กลางประเทศเมียนมา ส่งผลให้อาคารบ้านเรือนในหลายพื้นที่ของไทยได้รับความเสียหาย ประชาชนได้รับผลกระทบเป็นจำนวนมาก รวมทั้งโรงเรียนภายใต้การดูแลของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) กฟผ. จึงร่วมกับมูลนิธินายช่างไทย ใจอาสา…

2 hours ago

“สุริยะ” คุมเข้มความความปลอดภัยการก่อสร้างโครงการ “รถไฟความเร็วสูงไทย-จีน” เฟส 1 ทั้งระบบ

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า จากเหตุแผ่นดินไหวในประเทศเมียนมา และส่งแรงสั่นสะเทือนในหลายพื้นที่ของประเทศไทย และกรุงเทพมหานคร (กทม.) เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2568 ที่ผ่านมา ทั้งนี้…

2 hours ago

เปิดตัวเลขครึ่งทาง “บางกอก มอเตอร์โชว์”ผู้บริโภคแห่ตอบรับรถ xEV ดันยอดจองโต 29%

สัปดาห์แรกของการจัดงาน “บางกอก อินเตอร์เนชั่นแนล มอเตอร์โชว์” ครั้งที่ 46 ค่ายรถที่เข้าร่วมงานกวาดยอดจองไปแล้วมากกว่า 2.4 หมื่นคัน มีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้น 29.1 เปอร์เซ็นต์ สาเหตุมาจากความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่มีต่อสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบัน และการเปิดตัวรถยนต์ในกลุ่ม xEV…

2 hours ago

Lenovo Hybrid AI Advantage: ปฏิวัติธุรกิจด้วย Agentic AI อัจฉริยะ

ในงานประชุม NVIDIA GTC 2025 ที่ผ่านมา Lenovo ได้สร้างความฮือฮาครั้งใหญ่ด้วยการเปิดตัว "Lenovo Hybrid AI Advantage" โซลูชัน AI แบบครบวงจรที่พัฒนาขึ้นร่วมกับ NVIDIA…

5 hours ago

AIS ประเดิมมอบทองคำให้ผู้โชคดีจากแคมเปญ “AIS Check ID” ชวนลูกค้ายืนยันตัวตนให้เป็นปัจจุบัน ลุ้นทองต่อเนื่องทุก 2 สัปดาห์ รวมมูลค่า 1.6 ล้านบาท

AIS โดย ธโนบล เซ็นภักดี หัวหน้าส่วนงานบริหารด้านการชำระเงินดิจิทัล และผลิตภัณฑ์ด้านการธนาคาร มอบรางวัล ทองคำ 1 สลึง จำนวน 10 รางวัล และทองคำครึ่งสลึง จำนวน…

7 hours ago

แผ่นดินไหวเขย่ายอดการใช้งาน! ปรากฏการณ์ Voice & Data พุ่งเป็นประวัติการณ์ มุมมองใหม่ของการสื่อสารในภาวะฉุกเฉิน

เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2568 เวลาประมาณ 13.25 น. ประเทศไทยรับรู้แรงสั่นสะเทือนจากเหตุแผ่นดินไหว ซึ่งสามารถรู้สึกได้ในหลายพื้นที่ของกรุงเทพมหานครและจังหวัดใกล้เคียง ภายในเวลาไม่ถึง 5 นาที พฤติกรรมการสื่อสารของผู้ใช้งานบนเครือข่ายทรูและดีแทคเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลัน โดยปริมาณการโทรออก (Voice…

7 hours ago

This website uses cookies.