Article & Review

เปิดโมเดล LINE Stickers Premium ใช้สติกเกอร์แบบจ่ายรายเดือน มีจุดดี-จุดด้อย อะไรบ้างที่น่าสนใจ

ถ้าพูดถึงสติกเกอร์ LINE คนที่ใช้งานทุกคนคงจะมีใช้กันหมด บางคนเลือกใช้เฉพาะสติกเกอร์ฟรี บางคนซื้อบ้าง ส่วนบางคนซื้อทุกเดือนเดือนละหลายชุด ล่าสุดในงานแถลงข่าว LINE Conference Thailand 2023 ได้มีการพูดถึงบริการใหม่ “LINE Stickers Premium” เป็นอีกหนึ่งทางเลือกกับคนที่ใช้ LINE ในไทย ที่ปัจจุบันตัวเลขพุ่งไปสูงถึง 54 ล้านคน สามารถเข้าถึงสติกเกอร์หลายๆ ชุดได้ง่ายขึ้น เบื่อก็เปลี่ยนได้ ไม่ต้องเสียเงินซื้อ วันที่เบื่อแล้วไม่ได้เอามาใช้ส่ง ก็ต้องทิ้งไปเปล่าๆ

แต่ในมุมของครีเอเตอร์ที่ขายสติกเกอร์ก็อาจจะมองว่า เคยได้ส่วนแบ่งจากการขายเต็มๆ แต่ถ้าคนสมัครแบบรายเดือนกันหมดแล้วมาโหลดสติกเกอร์ของเราไปใช้ ก็อาจจะไม่ได้ส่วนแบ่งเท่ากับขายแบบขายขาด แต่อีกมุมหนึ่งคนที่ไม่ค่อยมีรายได้จากการขายสติกเกอร์ก็อาจจะได้รายได้เพิ่มขึ้นได้ง่ายๆ

ลองมาดูกันว่าการเพิ่มโมเดล LINE Stickers Premium ในครั้งนี้มีจุดดี-จุดด้อย อะไรบ้าง ทั้งมุมผู้ซื้อและผู้ขาย

ก่อนอื่นมาดูแพ็กเกจที่ออกมากันก่อน ซึ่งในครั้งนี้ LINE เปิดแพ็กเกจออกมา 2 รูปแบบ คือ

Basic เดือนละ 69 บาท หรือ ปีละ 699 บาท

  • เข้าถึงสติกเกอร์ได้ 9 ล้านชุด (โหลดได้เฉพาะสติกเกอร์ที่อยู่ในสโตร์มาแล้ว 6 เดือนขึ้นไป)

Deluxe เดือนละ 139 บาท หรือ ปีละ 1,300 บาท

  • เข้าถึงสติกเกอร์ได้ 9 ล้านชุด (โหลดได้เฉพาะสติกเกอร์ที่อยู่ในสโตร์มาแล้ว 6 เดือนขึ้นไป)
  • เข้าถึง Theme ได้ 1.5 ล้านธีม
  • และ 120,000 อีโมจิ

*ทั้งนี้ ผู้สมัครสามารถใช้ฟรี 30 วัน ในการสมัครครั้งแรก และโหลดได้เพียงครั้งละ 5 ชุด หากต้องการโหลดชุดที่ 6 จะต้องลบชุดใดชุดหนึ่งออกก่อน

ผู้ใช้งานได้ประโยชน์เต็มๆ ?

ถ้ามองจากแพ็กเกจที่ออกมาครั้งนี้ ผู้ใช้งานเป็นกลุ่มที่จะได้ประโยชน์เต็มๆ เพราะจากที่เคยกดซื้อสติกเกอร์เดือนละหลายๆ ชุด ตกครั้งละ 65 บาท แต่ถ้าสมัครรายเดือนแบบแพ็กเกจ Basic เริ่มต้นแค่ 69 บาท ก็ได้ใช้สติกเกอร์แบบไม่จำกัดแล้ว หรือจะข้ามไปจ่ายเดือนละ 139 บาท สมัครแบบ Deluxe ก็ยังเปลี่ยนธีมเล่นได้อีกด้วย หรือถ้าจะสมัครแบบรายปีก็เท่ากับจ่ายแค่ 10 เดือน

แต่ก็ยังมีข้อสังเกตว่า หากอยากได้สติกเกอร์ที่ออกมาใหม่ เป็นกระแสในปัจจุบัน ก็ยังคงต้องเสียเงินซื้อถ้าต้องการใช้ตอนนี้ เพราะถ้ารออีก 6 เดือนค่อยโหลดก็อาจจะตกเทนรด์ไปแล้ว

แล้วควรจะซื้อแบบเดิม หรือ สมัครรายเดือนดี” หลายคนก็คงจะมีคำถามแบบนี้ในใจ ซึ่งปัจจัยขึ้นอยู่กับว่าคุณสนใจสติกเกอร์ลายใหม่ๆ ตลอดเวลาหรือไม่ ต้องตามกระแสตลอดหรือไม่ ถ้าหากตัด 2 ประเด็นแรกไป การสมัครแบบรายเดือนยังไงก็คุ้มค่ามากกว่า เพราะบางคนชอบใช้สติกเกอร์บางชุดเพียงเพราะคาแรกเตอร์ ไม่ได้มองถึงกระแสว่าจะต้องใช้เป็นคนแรกๆ

“ครีเอเตอร์” มีทั้งที่ได้และเสีย

สำหรับครีเอเตอร์นั้นจะมีทั้งกลุ่มที่ได้และเสียผลประโยชน์ ลองมาดูกลุ่มที่ได้ประโยชน์กันก่อน ปัจจุบันสติกเกอร์ในระบบมีมากถึง 9 ล้านชุด เพราะฉะนั้นโอกาสที่ทุกคนจะขายได้นั้นเป็นไปได้ยาก เพราะคนซื้อก็มักจะเลือกชุดที่ชอบมากที่สุดเป็นอันดับแรก บางชุดที่ชอบเพียงไม่กี่คาแรกเตอร์อาจจะตัดใจไม่ซื้อก็เป็นได้

แต่เมื่อเกิดระบบ Subscription ที่เลือกโหลดอะไรก็ได้ ทำให้ผู้ใช้มีโอกาสโหลดมาใช้เล่นๆ แล้วลบทิ้งมากขึ้น เปลี่ยนบ่อยมากขึ้นตามช่วงเวลาที่อยากใช้ ซึ่งข้อดีของครีเอเตอร์ที่จะได้รับก็คือ ทุกการถูกกดใช้คาแรกเตอร์ 1 ครั้ง LINE จะนำไปคำนวณเป็นรายได้ที่จะเก็บจากผู้สมัคร หมายความว่าในยอดเงิน 69 บาท ที่จ่ายแต่ละเดือน เมื่อหักค่าธรรมเนียมจาก LINE ไปแล้ว เหลือกี่บาท จะถูกนำมาหารให้กับครีเอเตอร์ที่ถูกใช้สติกเกอร์มากน้อยตามลำดับ ซึ่งโมเดลนี้เหมือนกับการคิดรายได้ของ YouTube Premium ทำให้ครีเอเตอร์ทุกคนมีโอกาสได้รายได้เพิ่มขึ้นอีกทางหนึ่ง

แล้วใครจะเสียประโยชน์? แน่นอนว่ามีคนได้ก็ต้องมีคนเสีย เพราะผู้ใช้ส่วนหนึ่งที่เลือกสมัครแบบรายเดือนมีแนวโน้มว่าจะเลิกโหลดแบบธรรมดาไปเลยหรือโหลดน้อยลงมาก เพราะโหลดใช้ฟรีเมื่อไรก็ได้ ตราบที่ยังสมัครแบบสมาชิกรายเดือนหรือปีอยู่ และเมื่อเลิกสมัครก็อาจจะหมายถึงการเลิกใช้ LINE ในการติดต่อสื่อสารไปด้วย

ซึ่งอาจจะทำให้ ครีเอเตอร์ ที่เคยทำยอดขายมากๆ เป็นตัวท็อปของวงการ เน้นทำสติกเกอร์ตามกระแส ก็มีแนวโน้มจะได้รายได้ทางตรงจากการซื้อลดลง และไปได้ส่วนเสริมจากส่วนแบ่งของผู้ใช้รายเดือนหรือรายปีแทน แต่กับกลุ่มสายเปย์คงไม่มีผลอะไร เพราะพร้อมจ่ายอยู่แล้ว

หลังจากนี้ครีเอเตอร์คงต้องปรับตัวกันพอสมควร ต้องวางกลยุทธ์ที่ดึงให้คนอยากซื้อขาดเพราะความน่ารักน่าใช้และรอไม่ได้ กับอีกส่วนคือต้องเร่งผลักดันให้คนที่สมัครแบบรายเดือนรู้จักผลงานมากขึ้น เพื่อดึงส่วนแบ่งการใช้งานจนกลายเป็นแฟนประจำ

supersab

Recent Posts

Red Line เพิ่มมาตรการเข้มรักษาความปลอดภัย ช่วงเทศกาลสงกรานต์

รถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง เพิ่มมาตรการในด้านการรักษาความปลอดภัยอย่างเข้มงวด และอำนวยความสะดวกผู้ใช้บริการ ในช่วงวันหยุดยาวเทศกาลสงกรานต์ ตามนโยบายกระทรวงคมนาคม นายสุเทพ พันธุ์เพ็ง กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด หรือผู้ให้บริการรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง เปิดเผยว่า เนื่องในเทศกาลสงกรานต์ประจำปี…

7 hours ago

“สุริยะ” การันตีนโยบายรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย” เปิดใช้ครบทุกสี-ทุกเส้นทาง ดีเดย์ 30 ก.ย.68

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยถึนโยบายค่าโดยสารรถไฟฟ้าทุกสายทางในอัตรา 20 บาทตลอดสายว่า ปัจจุบันได้ดำเนินการในโครงการรถไฟฟ้า 2 เส้นทาง ได้แก่ โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน-คลองบางไผ่ และโครงการรถไฟฟ้าสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-รังสิต และช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน…

7 hours ago

Grab The Missing โครงการที่ดึงไรเดอร์นับแสนทั่วไทย ร่วมภารกิจตามหาผู้สูญหาย

Grab ประกาศเปิดตัวแคมเปญสำคัญระดับประเทศ "Grab The Missing" อย่างเป็นทางการ โดยเป็นการผนึกกำลังกับสถานีวิทยุเพื่อความปลอดภัยและการจราจร สวพ. FM91 และ YDM Thailand เอเจนซีผู้เชี่ยวชาญด้านความคิดสร้างสรรค์ เพื่อสร้างเครือข่ายการค้นหาผู้สูญหายที่ครอบคลุมทั่วประเทศไทย ผ่านศักยภาพของไรเดอร์และพาร์ตเนอร์คนขับ…

8 hours ago

สมาคมการค้าอาหารอนาคตไทย จับมือ ซีพีแรม และพันธมิตร ขับเคลื่อนอุตสาหกรรมอาหารอนาคต มูลค่า 5 แสนล้านบาท ภายในปี 2570

สมาคมการค้าอาหารอนาคตไทย (TFA) ร่วมกับ บริษัท ซีพีแรม จำกัด และเครือข่ายพันธมิตร จัดงาน TFA Open House (Thai Future Food) อย่างยิ่งใหญ่…

8 hours ago

NIA ผนึก ออมสิน เปิดหลักสูตรเข้มข้น ปั้นผู้ประกอบการธุรกิจสีเขียว รับเทรนด์โลก

กระทรวง อว. โดย NIA จับมือ ธนาคารออมสิน เปิดตัวหลักสูตร "Entrepreneurship & Green Business Design" มุ่งเสริมศักยภาพ SME, สตาร์ตอัพ…

14 hours ago

AIS จัดเต็มสงกรานต์ 68 ยกระดับเครือข่าย AI ดูแล 24 ชม. พร้อมสิทธิพิเศษ AIS Points แลกความสุขสุดฉ่ำ

AIS ต้อนรับเทศกาลสงกรานต์ปี 2568 อย่างยิ่งใหญ่ ด้วยการนำเทคโนโลยี AI และ Autonomous Network มาเสริมความแข็งแกร่งของโครงข่ายอัจฉริยะทั้งโทรศัพท์มือถือและอินเทอร์เน็ตบ้าน เพื่อดูแลคุณภาพเครือข่ายแบบเรียลไทม์ รองรับการใช้งานที่เพิ่มขึ้นของลูกค้าในช่วงเทศกาลสำคัญนี้ โดยเฉพาะในพื้นที่ที่มีการใช้งานหนาแน่น อาทิ ถนนสายหลัก…

15 hours ago

This website uses cookies.