Article & Review

Mobility Data เปิดลายแทงสร้างนโยบายท่องเที่ยวแห่งอนาคตด้วยข้อมูลมือถือ เพิ่มโอกาสทางธุรกิจ

นับตั้งแต่การเกิดขึ้นของอารยธรรมทางภาษาและการจดบันทึกในยุคอียิปต์โบราณ จนถึงภาษาดิจิทัลและเทคโนโลยีคลาวด์คอมพิวติ้งในปัจจุบัน “ข้อมูล” (Data) หรือ เนื้อหาที่ถูกเข้ารหัสทางภาษาในการสื่อสารถือเป็นตัวแปรสำคัญที่ทำให้สังคมมนุษย์และมวลมนุษยชาติก้าวหน้าต่อไปอย่างไม่หยุดยั้ง สะท้อนได้จาก Generative AI ที่ได้สร้างความมหัศจรรย์และนานาประโยชน์ที่มนุษย์คาดไม่ถึง

อย่างไรก็ตาม การใช้ประโยชน์จากข้อมูลที่ผ่านมา ยังคงจำกัดอยู่ในแวดวงธุรกิจเป็นหลัก พร้อมยังเป็นที่ถกเถียงถึงแนวทางการใช้ประโยชน์จากข้อมูลเพื่อสาธารณะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการออกแบบนโยบายสาธารณะ ทั้งนี้ ในงาน dataCon 2024 งานสัมมนาที่เชื่อมกลุ่มคนที่ต้องการสร้างการเปลี่ยนแปลงและคนในวงการข้อมูลให้มาพบกัน เพื่อสร้างสรรค์สังคมที่ดีขึ้นด้วยดาต้า ที่จัดขึ้น ณ True Digital Park โดยการสนับสนุนของ ทรู ดิจิทัล กรุ๊ป ได้จัดเสวนาหัวข้อ “สร้างนโยบายแห่งอนาคต ด้วยพลังข้อมูล Shaping the Future with Insights”

Mobility Data เพื่อการส่งเสริมนโยบายท่องเที่ยวที่แม่นยำ-ตรงใจ

ผศ.ดร.ณัฐพงศ์ พันธ์น้อย อาจารย์ภาควิชาวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เล่าถึงการจัดทำแนวทางส่งเสริมการท่องเที่ยวเมืองรอง 55 จังหวัด โจทย์ใหญ่เพื่อรองรับการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยวหลังโควิดที่รายได้จากภาคการท่องเที่ยวโดยส่วนใหญ่กระจุกตัวอยู่เพียงไม่กี่จังหวัดเท่านั้น และการจัดเก็บข้อมูลเพื่อสำรวจพฤติกรรมการท่องเที่ยวมีข้อจำกัด ทรู-ดีแทค สดช. คณะสถาปัตย์ จุฬาฯ และบุญมีแล็บจึงได้ผนึกกำลังวิจัย “ศักยภาพการท่องเที่ยวจังหวัดเมืองรองจาก Mobility Data” ทำให้เห็นข้อมูลที่สำคัญถึงพฤติกรรมในการเดินทางท่องเที่ยวของคนไทย ทั้งวิธีการเดินทาง รูปแบบการเดินทาง และได้จัดทำข้อเสนอแนะในเชิงนโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยวเมืองรอง ซึ่งมี 3 ด้าน ดังนี้

  1. การดึงดูดการท่องเที่ยวระยะใกล้ (Micro-Tourism) แบบเช้าไปเย็นกลับ ในระยะทาง 150 กิโลเมตร
  2. การส่งเสริมการค้างคืน เพื่อสร้างประสบการณ์ใหม่ เพิ่มมูลค่าการใช้จ่าย และระยะเวลาพำนัก
  3. การพัฒนาการท่องเที่ยวแบบกลุ่มจังหวัด (คลัสเตอร์) เพื่อส่งเสริมการเดินทางในกลุ่มจังหวัดใน 1 ทริป

“เราได้วิเคราะห์พฤติกรรมการเดินทางแบบกลุ่มจังหวัด (คลัสเตอร์) โดยใช้ Mobility Data ว่าในหนึ่งทริปของการเดินทางผ่านจังหวัดใดบ้าง สรุปออกมาได้เป็น 19 คลัสเตอร์ และมี 7 คลัสเตอร์ที่มีศักยภาพในการส่งเสริมการท่องเที่ยวแบบกลุ่มจังหวัดในระดับสูง ที่สามารถทำกิจกรรม โปรโมตการเดินทางร่วมกันได้ เพื่อเพิ่มโอกาสในการสร้างรายได้ทั้งระยะเวลาในการพำนักและใช้จ่าย อุตสาหกรรมท่องเที่ยวเป็นหัวใจสำคัญที่สร้างรายได้ แต่ที่ผ่านมากลับพบปัญหาด้านความเหลื่อมล้ำในเชิงพื้นที่ท่องเที่ยวและการกระจายรายได้มาโดยตลอด ซึ่งผลวิเคราะห์ Mobility Data นี้เอง จะช่วยเสริมแกร่งให้จังหวัดเมืองรอง สามารถวางกลยุทธ์ส่งเสริมการท่องเที่ยวตามศักยภาพของตนเอง เพื่อดึงดูดกลุ่มเป้าหมายที่ใช่มายังจังหวัด อันนำไปสู่การเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจและกระจายรายได้สู่เมืองรองได้อย่างยั่งยืน”

นอกจากนี้ ข้อมูลจาก Mobility Data ยังมีศักยภาพสามารถนำมาวิเคราะห์ในด้านการให้บริการสาธารณะด้านอื่น ๆ ได้ เช่น ระบบขนส่งสาธารณะ ระบบสาธารณสุขของประเทศไทย

“การใช้ Mobility Data ไม่เพียงแต่ช่วยให้นโยบายของรัฐสามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ภาคเอกชนที่เข้ามาร่วมแก้ปัญหาอย่างทรู-ดีแทคได้มองเห็นโอกาสจากการวิเคราะห์ดาต้าเพื่อการออกแบบนโยบายสาธารณะ ที่เปิดให้ทั้งภาครัฐและเอกชนเข้ามาร่วมกันวางนโยบายสำหรับอนาคต” ผศ.ดร.ณัฐพงศ์ กล่าว

ความท้าทายของการใช้ข้อมูล

ดร.โสมรัศมิ์ จันทรัตน์ ผู้อำนวยการ สถาบันป๋วย อึ๊งภากรณ์ กล่าวว่า ปัจจุบันภาครัฐมีข้อมูลหลายชุด ทั้งดาต้าของแต่ละหน่วยงาน ดิจิทัล ฟุตปรินต์ แต่การบริหารจัดการข้อมูล และนำข้อมูลมาออกแบบนโยบายในภาพใหญ่ของประเทศ ต้องเข้าใจปัญหาให้รอบด้าน และลงลึกถึงกลุ่มที่ภาครัฐต้องการเข้าไปช่วยเหลืออย่างแท้จริง ผ่านการเก็บข้อมูลให้ครบทั้ง 3 มิติ หนึ่ง ครอบคลุมตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน สอง ลงลึกถึงรายละเอียด และสาม ต้องเห็นความเชื่อมโยง

ทั้งนี้ การนำข้อมูลมาใช้วิเคราะห์จะต้องส่องให้ครบ 5 เลนส์สำคัญ คือ

  1. Macro but granular ภาพใหญ่แต่ต้องลงลึกให้เห็นรายละเอียด อย่างการทำวิจัยหนี้ครัวเรือนของสถาบันป๋วย ข้อมูลหลักที่ใช้จากเครดิตบูโร ซึ่งอาจยังไม่ครอบคลุม ต้องลงไปดูในพื้นที่ที่มีการกระจุกตัวของหนี้ครัวเรือน เช่น ในเมือง กลุ่มเหล่านี้เปราะบางอย่างไร
  2. Near real time ใช้ข้อมูลแบบเรียลไทม์ อย่างช่วงโควิดในสหรัฐอเมริกา ใช้ข้อมูลจากแอปพลิเคชันด้านการเงิน เพื่อวิเคราะห์จำนวนผู้ป่วย
  3. Longitudinal ติดตามพัฒนาการของแต่ละเจนเนอเรชั่น อย่างการใช้ข้อมูล tax data เพื่อจะดูว่าพ่อแม่จน ส่วนใหญ่ลูกยังจนอยู่
  4. Network/relationship ติดตามความเชื่อมโยง อย่างระบบพร้อมเพย์ จะทำให้เห็นความเชื่อมโยงระหว่างรัฐกับประชาชน ผู้บริโภคกับผู้บริโภค และผู้บริโภคกับภาคธุรกิจ
  5. Observe the unobserved ดาต้าจะช่วยให้คนทำนโยบายมองเห็นสิ่งที่ไม่เคยเห็นมาก่อน

“ดาต้า ทำให้มีหลายเลนส์ที่เห็นกันได้ แต่การทำนโยบายที่ดีที่สุด ต้องนำทุกเลนส์เข้ามาร่วมกัน แต่สิ่งที่เป็นความท้าทายในการนำข้อมูลมาใช้เพื่อออกแบบนโยบาย หนึ่ง คือข้อมูลไม่ครบ การใช้ข้อมูลต้องบูรณาการร่วมกันระหว่างภาครัฐและเอกชน สอง การนำข้อมูลมาใช้ต้องให้ความสำคัญกับคุณภาพของข้อมูล สาม การเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างหน่วยงานรัฐและเอกชน และสี่ การแชร์ข้อมูล จะสามารถนำข้อมูลมาใช้ประโยชน์ในการออกแบบนโยบายเพื่อประโยชน์สาธารณะได้อีกมาก” ดร.โสมรัศมิ์ กล่าว

ด้าน LINE MAN Wongnai ในฐานะเป็นบริษัทเอกชนที่ใช้ข้อมูลในการดำเนินธุรกิจ อิสริยะ ไพรีพ่ายฤทธิ์ รองประธานฝ่ายนโยบายสาธารณะและรัฐกิจสัมพันธ์ กล่าวว่า บริษัทฯ มีการเก็บข้อมูลจำนวนมาก และเก็บทุกรายละเอียดของธุรกรรมที่เกิดขึ้น ซึ่งสะท้อนให้เห็นพฤติกรรมของคนไทย ข้อมูลธุรกิจร้านอาหาร และนำไปเผยแพร่บางส่วนเพื่อให้สังคมนำไปวิเคราะห์ได้ สามารถออกแบบนโยบายสนับสนุนผู้ประกอบการได้ โดยเฉพาะร้านอาหารขนาดเล็ก เช่น การสำรวจข้อมูลร้านอาหารในประเทศไทย ดัชนีอาหารจานเดียว (กะเพรา อินเด็กซ์) เพื่อเทียบราคาอาหารกับเงินเฟ้อ รวมถึงการใช้นโยบายคนละครึ่ง มีส่วนช่วยธุรกิจร้านอารหารได้มากน้อยเพียงใด และยังมีข้อมูลอีกมากที่ภาครัฐสามารถนำไปออกแบบนโยบายเพื่อช่วยเหลือประชาชน

“สุดท้าย อยากให้ภาครัฐให้ความสำคัญกับการใช้ข้อมูล ทั้งข้อมูลทางการค้า ข้อมูลส่วนบุคคล อยากให้มีกลไก หรือกรอบทางกฎหมายที่จะทำให้เอกชนมั่นใจว่าการนำข้อมูลไปใช้จะไม่มีปัญหาตามมา ถือเป็นสิ่งสำคัญในการแชร์ข้อมูลระหว่างภาครัฐและเอกชน” อิสริยะ กล่าวทิ้งท้าย

LINE เผยอินไซต์การใช้งานแพลตฟอร์มของหน่วยงานภาครัฐไทย แนะโซลูชันยกระดับการสื่อสาร

supersab

Recent Posts

ธุรกิจปี 2025: รับมือความท้าทาย พลิกวิกฤตเป็นโอกาสทอง

91% ของธุรกิจขนาดเล็กกำลังเผชิญหน้ากับปัญหาเศรษฐกิจ ผลสำรวจจาก Goldman Sachs ระบุว่า ธุรกิจขนาดเล็กกว่า 91% กำลังประสบปัญหาจากผลกระทบทางเศรษฐกิจ และกว่าครึ่งยืนยันว่าสถานการณ์เลวร้ายลงตั้งแต่ต้นปี ในขณะที่ปี 2025 กำลังจะมาถึงในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า คำถามคือ ธุรกิจของคุณพร้อมรับมือกับความท้าทายและคว้าโอกาสในโลกธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วหรือยัง?…

13 hours ago

BizTalk x Sunny Horo ดวงประจำวันที่ 25 พฤศจิกายน – 1 ธันวาคม 2567

BizTalk x Sunny Horo กับคอลลัมน์ ดวงธุรกิจ Weekly ชวนมาอัพเดต ดวงประจำวันที่ 25 พฤศจิกายน – 1 ธันวาคม 2567 กัน ใครเกิดตรงกับวันไหน…

15 hours ago

ทำอย่างไร เมื่อข้อมูลส่วนบุคคลรั่วไหล รู้ทัน..อันตราย และการป้องกัน

Biztalk วันอาทิตย์ที่ 24 พ.ย. 2567 คุยกับผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยไอที โดยเฉพาะการรักษาความปลอดภัยข้อมูล คุณวันพิชิต ชินตระกูลชัย Chief Technology Officer (CTO) บริษัท แร็กน่าร์…

15 hours ago

ไปรษณีย์ไทย ไม่ได้มีดีแค่ส่งของ พลิกโฉมสู่ “ไลฟ์สไตล์แบรนด์” เอาใจคนรุ่นใหม่

จากองค์กรที่อยู่คู่คนไทยมายาวนานถึง 141 ปี ไปรษณีย์ไทย กำลังก้าวสู่ "ไลฟ์สไตล์แบรนด์" ที่มีความทันสมัย และพร้อมตอบโจทย์ทุกไลฟ์สไตล์ของผู้คน ใครว่าไปรษณีย์ไทยมีดีแค่ส่งจดหมายและพัสดุ? วันนี้ไปรษณีย์ไทยกำลังก้าวข้ามขีดจำกัดเดิมๆ สู่การเป็น "ไลฟ์สไตล์แบรนด์" ที่พร้อมเติมเต็มทุกมิติชีวิตของคนไทย ด้วยกลยุทธ์การพัฒนาบริการดิจิทัลควบคู่ไปกับการต่อยอดธุรกิจดั้งเดิม พร้อมสร้างสรรค์ประสบการณ์ใหม่ๆ…

16 hours ago

10 สตาร์ทอัพเซมิคอนดักเตอร์ สุดฮอตแห่งปี 2024: ท้าทายอำนาจ Nvidia หรือผนึกกำลัง?

10 สตาร์ทอัพเซมิคอนดักเตอร์ แห่งปี 2024 ก้าวข้ามขีดจำกัดของวงการ AI ด้วยเทคโนโลยีชิปสุดล้ำ ในขณะที่ Nvidia ครองตลาดชิป AI ด้วยมูลค่าหลายหมื่นล้านดอลลาร์ในแต่ละไตรมาส บริษัทและนักลงทุนจำนวนมากเชื่อว่ายังมีโอกาสสำหรับผู้เล่นรายอื่นในตลาดโครงสร้างพื้นฐาน AI ทั้งในส่วนของชิปที่ใช้ในอุปกรณ์…

18 hours ago

พรีวิว Oppo Find X8 ซีรีส์ สมาร์ทโฟนกล้องเทพ Hasselblad กับชิปเซ็ต Dimensity 9400

พรีวิว Oppo Find X8 ซีรีส์ สมาร์ทโฟนที่มาพร้อมชิปเซ็ตตัวใหม่ล่าสุด MediaTek Dimensity 9400 ที่ให้ประสิทธิภาพแรงขึ้นกว่าเดิม ทั้ง CPU เร็วขึ้น 35% และ…

18 hours ago