ความหลากหลายของซัพพลายเชนกำลังเพิ่มโอกาสให้ตลาดการผลิตไทย โดยเทรนด์นี้จะเกิดขึ้นได้เมื่อนักลงทุนเริ่มมีความยืดหยุ่นมากขึ้นในหลากหลายปัจจัยรวมถึงการเลือกที่ดินที่เหมาะสม
การเปลี่ยนแปลงของห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain หรือ ซัพพลายเชน) ได้ถูกคาดการณ์ว่าจะเกิดขึ้นแบบก้าวกระโดดในช่วงทศวรรษหน้า โดยจะมีการกระจายโรงงานการผลิตและแหล่งผลิตไปยังประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อินเดีย รวมไปถึงทำเลอุตสาหกรรมต่างๆในประเทศไทย โดยข้อมูลของเจแอลแอล (JLL) ระบุว่าฐานการผลิตอย่างประเทศไทยจะกลายเป็นผู้ที่ได้ประโยชน์จากเทรนด์นี้ เนื่องจากขีดความสามารถในการผลิตที่หลากหลายซึ่งสามารถเสริมฐานการผลิตใหญ่อย่างจีน อย่างไรก็ดี บริษัทต่าง ๆ จะต้องมีความยืดหยุ่นในการพิจารณาเลือกทำเลที่ตั้งและทางเลือกในการระดมทุน เพื่อสร้างความได้เปรียบท่ามกลางความผันผวนของซัพพลายเชนในปัจจุบัน
ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา บริษัทต่าง ๆ เริ่มมองหาการย้ายฐานการผลิตนอกประเทศจีน สำหรับภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก แนวโน้มการย้ายฐานการผลิตไปประเทศใกล้เคียงอื่น ๆ ก่อให้เกิดกระแสกลยุทธ์ “China+1” โดยที่บริษัทต่าง ๆ พากันเพิ่มฐานการผลิตเพิ่มเติมนอกประเทศจีน เพื่อป้องกันความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของซัพพลายเชนโดยลดการพึ่งพาประเทศใดเพียงประเทศเดียว
“ประเทศไทยได้กลายเป็นจุดหมายปลายทางด้านการลงทุนที่สำคัญในการปฏิรูปซัพพลายเชนจากประเทศจีน โดยมีผู้มาลงทุนจำนวนมากในกลุ่มอุตสาหกรรมหลักต่าง ๆ โดยเฉพาะในภาคธุรกิจไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ รวมไปถึงธุรกิจรถยนต์ไฟฟ้า แนวโน้มนี้ได้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องมาจาก ปี 2566 ซึ่งเป็นปีที่ประเทศไทยมียอดขายที่ดินเพื่อการอุตสาหกรรมสูงสุดในรอบ 17 ปีที่ผ่านมาเลยทีเดียว” ไมเคิล แกลนซี่ กรรมการผู้จัดการ บริษัท โจนส์ แลง ลาซาลล์ (ประเทศไทย) จํากัด (JLL) กล่าว
ไมเคิล แกลนซี่ ยังเน้นย้ำถึงความสำคัญของนโยบายภาครัฐและการให้สิทธิประโยชน์ต่างๆ เพื่อดึงดูดการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศมาสู่กลุ่มอุตสาหกรรมใหม่ (S-Curve) ตามที่รัฐบาลกำหนดเป้าหมายไว้ โดยมาตรการเชิงรุกของไทยควบคู่กับบรรยากาศทางธุรกิจที่เอื้ออำนวยและแรงงานที่มีทักษะ จะมีบทบาทสำคัญในการรักษาแนวโน้มการลงทุนที่แข็งแกร่งได้ตลอดปี 2567
“เนื่องจากภาคการผลิตของประเทศไทยยังคงได้รับความสนใจเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เราจึงได้รับการติดต่อจากกลุ่มนักลงทุนและผู้ผลิตชั้นนำระดับสากลเข้ามาเป็นจำนวนมาก โดยประเทศไทยนับเป็นทำเลชั้นเยี่ยมสำหรับสร้างฐานการผลิตจากหลายปัจจัย ไม่ว่าจะเป็นตำแหน่งทางภูมิศาสตร์เชิงกลยุทธ์ที่ดีเยี่ยม โครงสร้างพื้นฐานและระบบสาธารณูปโภคที่พัฒนาแล้ว และแรงงานที่มีทักษะ โดยเจแอลแอลมุ่งมั่นให้บริการลูกค้าด้วยข้อมูลวิจัยตลาดที่ครอบคลุม เพื่ออำนวยความสะดวกในการตัดสินใจเลือกทำเลและที่ดินที่เหมาะสำหรับตั้งฐานการผลิต เป้าหมายของเราคือการสร้างความเข้าใจอย่างถ่องแท้ให้แก่นักลงทุนเพื่อที่นักลงทุนจะสามารถรวมฐานการผลิตที่ประเทศไทยเข้ากับห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain) ของพวกเขาได้อย่างราบรื่น และได้รับประโยชน์สูงสุดจากเทรนด์การเติบโตทางด้านอุตสาหกรรมการผลิตในประเทศไทยที่กำลังเกิดขึ้น” นายกฤช ปิ่มหทัยวุฒิ หัวหน้าแผนกตลาดทุนประจำประเทศไทย บริษัท โจนส์ แลง ลาซาลล์ (ประเทศไทย) จํากัด (JLL) กล่าว
“การกระจายความเสี่ยงภายในซัพพลายเชนเป็นขั้นตอนปกติสำหรับบริษัทต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการผลิตในระบบเศรษฐกิจขนาดใหญ่ของภูมิภาคนี้ เราเล็งเห็นว่าเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และอินเดียมีศักยภาพที่จะสามารถเป็นกำลังเสริมด้านการผลิตที่แข็งแกร่งซึ่งมีอยู่ที่จีนในปัจจุบัน โดยบริษัทต่างๆ มีการตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของซัพพลายเชนนี้กันอย่างรวดเร็ว ซึ่งพวกเขาจำเป็นต้องมีแนวคิดที่ยืดหยุ่นในการเลือกทำเลที่ตั้งโรงงานและทางเลือกของการระดมเงินทุน” ไมเคิล อิกแนตทิอาดิส หัวหน้าฝ่ายกลยุทธ์อุตสาหกรรมการผลิต ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก เจแอลแอล กล่าว
แรงกระตุ้นต่อแนวโน้มนี้ไม่ได้จำกัดจากเพียงความจำเป็นต่อการสร้างความหลากหลายให้แก่ซัพพลายเชนเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงพื้นฐานทางเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งของภูมิภาค รวมถึงการมีประชากรและแหล่งแรงงานขนาดใหญ่ ต้นทุนที่ดี และสิทธิประโยชน์ทางการลงทุนต่าง ๆ อีกด้วย ซึ่งจากมุมมองของการลงทุนเพื่อการผลิต ปัจจัยเหล่านี้จะส่งเสริมให้เอเชียตะวันออกเฉียงใต้และอินเดียขึ้นแท่นเป็นศูนย์กลางการผลิตที่สำคัญของตลาดโลกต่อไป
แหล่งข้อมูลหลายแห่งยังระบุว่า ต้นทุนที่เพิ่มขึ้นในประเทศจีนตลอดช่วงทศวรรษที่ผ่านมาได้กลายเป็นตัวกระตุ้นหลักที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปสู่การกระจายฐานการผลิตนี้ โดยความต้องการที่ดินอุตสาหกรรมที่เพิ่มสูงขึ้น ประกอบกับค่าจ้างและต้นทุนวัสดุที่เพิ่มขึ้น ล้วนส่งผลให้ราคาที่ดินในจีนสูงขึ้น ซึ่งอาจสูงกว่าถึง 2 เท่าเมื่อเทียบกับบางประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และอินเดีย
เจแอลแอลประเมินว่าประเทศจีนยังคงครองส่วนแบ่งการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) ในภูมิภาคนี้ในสัดส่วนสูง แต่ช่องว่างนี้ก็กำลังแคบลง นอกจากนี้ ปัจจัยต่าง ๆ เช่น แรงงานที่มีทักษะ โครงสร้างพื้นฐาน กฎระเบียบด้านสิ่งแวดล้อม การอยู่ใกล้กับซัพพลายเออร์และลูกค้า และเสถียรภาพทางการเมือง ล้วนเป็นปัจจัยสำคัญต่อความสำเร็จอย่างยั่งยืนในระยะยาวของโรงงานการผลิต โดยเจแอลแอลอยากให้บริษัทต่าง ๆ ทำการประเมินอย่างรอบคอบเกี่ยวกับปัจจัยเหล่านี้ที่ไม่ได้แสดงผลออกมาโดยตรงในรูปแบบต้นทุน ซึ่งล้วนมีความสำคัญอย่างมากต่อการตัดสินใจเลือกฐานการผลิตอย่างมีประสิทธิภาพ และการวางรากฐานที่มั่นคงสำหรับการเติบโตในอนาคตของบริษัท
–บลูบิค เปิดกลยุทธ์ทรานส์ฟอร์ม HR ด้วย Gen AI แนะ 15 Use Case เพิ่มประสิทธิภาพงานแบบครบวงจร
โค้ก โดยกลุ่มธุรกิจโคคา-โคล่า ในประเทศไทย สร้างความฮือฮาให้กับตลาดเครื่องดื่มอีกครั้ง ด้วยการเปิดตัว "โค้ก" ซีโร่ กลิ่นวานิลลา ความอร่อยใหม่ที่ผสานความซ่าส์อันเป็นเอกลักษณ์ของ "โค้ก" เข้ากับความหอมหวานละมุนละไมของวานิลลาได้อย่างลงตัว ที่สำคัญคือมาในสูตรไม่มีน้ำตาล ตอบโจทย์ผู้บริโภคที่ใส่ใจสุขภาพ โดยเฉพาะกลุ่ม Gen…
บริษัท ไซโก้ เอปสัน คอร์ปอเรชั่น (Epson) ประกาศแต่งตั้ง โยชิดะ จุนคิชิ ขึ้นดำรงตำแหน่งประธานกรรมการและตัวแทนผู้อำนวยการ (President and Representative Director) และประธานเจ้าหน้าที่บริหารคนใหม่ (Chief…
การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) โดย กองสิ่งแวดล้อม ฝ่ายพัฒนาโครงการรถไฟฟ้า ลงพื้นที่ตรวจติดตามการดำเนินงานลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมในการก่อสร้าง ช่วงเวลากลางคืน การก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน - ราษฎร์บูรณะ (วงแหวนกาญจนาภิเษก) ตลอดแนวเส้นทางโครงการฯ โดยเริ่มตั้งแต่จุดก่อสร้าง Cut…
LINE MAN ประกาศความร่วมมือครั้งสำคัญกับ Lotus’s และ Lotus’s go fresh ขยายฐานบริการ LINE MAN MART ให้ครอบคลุมกว่า 1,400 สาขาทั่วประเทศ…
พฤกษา ผนึกกำลัง โรงพยาบาลวิมุต มอบสิทธิพิเศษสุดเอ็กซ์คลูซีฟ และกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพครบวงจรให้ลูกบ้านตลอดปี 2568 ภายใต้แนวคิด "สุขภาพดีเริ่มต้นที่บ้าน" จิตชญา ตู้จินดา รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานการตลาดองค์กรกลุ่ม บริษัท พฤกษา โฮลดิ้ง…
ออเนอร์ (HONOR) ประกาศความสำเร็จครั้งสำคัญของสมาร์ทโฟนระดับแฟลกชิป HONOR Magic7 Pro 5G ที่สร้างยอดขายเติบโตสูงถึง 2.4 เท่า นับตั้งแต่เปิดให้พรีออเดอร์เมื่อวันที่ 11-21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2568…