Article & Review

TEI เปิดวงเสวนา “บทเรียนและทางออกการจัดการกากแคดเมียม ?” พร้อมเร่งแก้ปัญหา โจทย์ใหญ่กากแคดเมียม จัดการอย่างไรให้ปลอดภัยและถูกต้อง

สถาบันสิ่งแวดล้อมไทย (TEI) นนทบุรี – จากเหตุการณ์การขุดและเคลื่อนย้ายกากแร่แคดเมียม จากบ่อเก็บกากแร่ในบริเวณโรงถลุงสังกะสีเดิม ในพื้นที่อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2566 ไปยังโรงงานในพื้นที่จังหวัดสมุทรสาคร จังหวัดราชบุรี และกรุงเทพมหานคร แต่พบว่ากากแร่แคดเมียมที่โรงงานปลายทางดังกล่าวมีปริมาณน้อยกว่าที่แจ้งขออนุญาตขนย้ายและไม่ถูกจัดเก็บอย่างเหมาะสม ผ่านไปแล้วหลายเดือน แต่ปัญหายังคงรอการสะสาง แม้ว่าจะมีการวางแผนเพื่อจัดการขนย้ายกากแคดเมียมกลับไปที่เดิมจังหวัดตาก แต่ก็ยังเป็นที่กังวลใจของภาคประชาชน ทั้งในพื้นที่ที่มีการสะสมของกากแคดเมียมและพื้นที่ปลายทาง ตลอดจนระหว่างการขนย้าย เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้สะท้อนเห็นถึงปัญหาด้านประสิทธิภาพในการบริหารจัดการของเสียอันตรายของประเทศ ดังนั้นสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย (TEI) ในฐานะองค์กรพัฒนาเอกชนด้านสิ่งแวดล้อม เล็งเห็นความสำคัญในการทบทวน วิเคราะห์ และเสนอมาตรการการบริหารจัดการปัญหานี้ให้มีความรัดกุม เสนอมาตรการยกระดับการจัดการของเสียอันตรายในอนาคต จึงได้เชิญนักวิชาการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องล้อมวงเสวนา “บทเรียนและทางออกการจัดการกากแคดเมียม ?”

ดร.วิจารย์ สิมาฉายา ผู้อำนวยการสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย กล่าวว่า “กรณีที่เกิดขึ้นนี้ สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ การถอดบทเรียนของเรื่องนี้ เพื่อที่จะมีทางออกอย่างยั่งยืนของประเทศไทยเกี่ยวกับเหตุการณ์นี้และเหตุการณ์อื่น ๆ ที่มีลักษณะคล้ายกัน เพราะเรื่องกากแคดเมียม ถือเป็นหนึ่งบทเรียนที่ต้องพูดคุยและคิดเสนอแนวทางด้านวิชาการว่าประเด็นดังกล่าวต้องมีระบบจัดการอย่างไร ทั้งการจัดการเฉพาะหน้าและระยะยาว เพื่อให้ได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วนในการหาทางออกอย่างแท้จริง”

โดย รศ.ดร.สัญญา สิริวิทยาปกรณ์ ภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม ม.เกษตรศาสตร์ ระบุในทางวิชาการว่าการจัดการปนเปื้อนของเสียที่ถูกต้องว่า “การจัดเก็บกากแคดเมียมทำได้หลายรูปแบบ ได้แก่ การกรอง ออกแบบเขื่อนกั้น การใช้พืชดูดซับ และมีระบบติดตามตรวจสอบอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการสื่อสารข้อมูลกับประชาชนให้ชัดเจน ในปัจจุบันหากถามว่า กากเหล่านี้สามารถเอาไปใช้ประโยชน์ต่อได้หรือไม่นั้น ต้องบอกว่า กากเหล่านี้สามารถถูกเอามาสกัดใหม่ได้ เพียงแต่กระบวนการในการจัดการต้องทำอย่างรัดกุม ถูกต้องตามหลักวิชาการ และมีระบบบำบัดมลพิษที่มีประสิทธิภาพสูง ในขณะเดียวกันอีกหนึ่งประเด็นที่น่าสนใจคือเทคโนโลยีการใช้พืชมาสกัด ซึ่งพืชที่สามารถดูดและสะสมแคดเมียมที่ได้วิจัยไปแล้วมีพืชอยู่หลายชนิด ซึ่งโตเร็วมากแต่อาจจะต้องมีการระมัดระวังหลายอย่าง เช่น การระมัดระวังไม่ให้กลับไปสู่ห่วงโซ่อาหาร รวมถึงการจัดการกากต้องมีค่าใช้จ่าย ใครจะต้องรับผิดชอบ หัวใจสำคัญในการจัดการไม่ว่าจะทำด้วยรูปแบบไหน คือ ระบบการติดตามตรวจสอบ ทั้งคุณภาพน้ำบวกผิวดิน น้ำใต้ดิน คุณภาพอากาศ เป็นต้น ซึ่งปัจจุบันทำได้ไม่ยาก เพราะฉะนั้นในทางวิชาการโดยรวม ควรจัดการข้อมูลแรกๆ ที่ต้องรู้ คือความเข้มข้นในกากแคดเมียมที่ได้จัดเก็บอยู่ เพื่อแสดงถึงผลกระทบ รวมทั้งการเลือกวิธีการ เทคโนโลยี กำจัดหรือจัดการให้เหมาะสม

ด้าน เพ็ญโฉม แซ่ตั้ง ผู้อำนวยการมูลนิธิบูรณะนิเวศ ได้กล่าวถึงกฎหมาย PRTR (Pollutant Release and Transfer Register) ว่า ปัจจุบันประเทศไทยยังไม่ได้ให้ความสำคัญในกฎหมายเพียงพอกับสิ่งแวดล้อม จึงทำให้ภาคประชาชนร่วมมือกับหลายองค์กรเพื่อยกร่างกฎหมายฉบับนี้มาผลักดันซึ่งกฎหมายนี้จะเป็นกฎหมายอยู่ในพรบ.สิ่งแวดล้อมฉบับปรับปรุง หรือเป็นกฎหมายแยกออกมา และควรให้ความสำคัญกับการคุ้มครองผลกระทบต่อประชาชนและสิ่งแวดล้อม

“หัวใจสำคัญของ กฎหมาย PRTR คือการเปิดเผยแพร่ต่อสาธารณะ ถึงชนิดและปริมาณการครอบครองสารพิษ การปลดปล่อยสารพิษ และการเคลื่อนย้าย ถ้ามีกฎหมาย PRTR สื่อจะสามารถค้นหาข้อมูลได้ในระดับหนึ่ง ผ่านทางเว็บไซต์ได้ทันที หลักการกฎหมาย PRTR คือ โรงงานต้องมีการเผยแพร่สารเคมีที่ครอบครอง สามารถเข้าถึงและเอาข้อมูลนั้นมาใช้ประโยชน์ได้ นอกจากนี้ กฎหมาย PRTR คือแหล่งรวมข้อมูลขนาดใหญ่ทางด้านมลพิษ เป็นเรื่องของการสร้างสังคมที่โปร่งใส การวางแผนเพื่อความยั่งยืน”

ในขณะที่ อร่าม พันธุ์วรรณ ผู้แทน กรมควบคุมมลพิษ ระบุถึงประโยชน์ของการจัดทำกฎหมาย PRTR นี้ว่า หากทำแล้วภาครัฐจะได้ทราบสถานภาพ และแนวโน้มของปัญหามลพิษ นับเป็นข้อมูลพื้นฐานในการกำหนดนโยบายด้านสิ่งแวดล้อม การวางแผนป้องกัน และแก้ไขปัญหาการเกิดมลพิษ เป็นการส่งเสริมให้ภาคอุตสาหกรรมมีการใช้สารเคมีอย่างมีประสิทธิภาพ ลดการสูญเสียวัตถุดิบในกระบวนการผลิต และลดการปลดปล่อยสารมลพิษ นอกจากนี้ยังเป็นการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีอีกด้วย ขณะเดียวกันภาคประชาชนจะมีส่วนร่วมในการตัดสินใจด้านสิ่งแวดล้อม รวมถึงการเข้าถึงและรับรู้ข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อมและสารเคมี

ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.ธงชัย พรรณสวัสดิ์ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านสิ่งแวดล้อม และอดีตประธานสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย ระบุถึงโจทย์ที่แท้จริงของการแก้ปัญหากากแคดเมียมว่า “ขณะนี้ไม่ใช่การเร่งหาคนผิด โจทย์แท้จริงคือการจัดการมลพิษที่เกิดขึ้นว่าจะเร่งทำอย่างไร และอีกโจทย์หนึ่งคือการทำให้คนเข้าใจว่า การจัดการมลพิษนั้นสำคัญกว่าหาคนผิด แต่อีกมุมหนึ่งก็ต้องหาคนผิดด้วยว่าใครคือคนกระทำความผิด และต้องทำอย่างไรต่อไป ซึ่งปกติแล้วนั้นกากต้องฝังกลบ ณ ที่จุดกำเนิดอย่างถาวร ซึ่งถือว่าเราอยู่ในภาวะเสี่ยง หรือการเอาออกไปนอกประเทศที่ก็ต้องดำเนินการตามกฎหมายระหว่างประเทศ และประเทศปลายทางต้องยินยอมและมีศักยภาพที่จัดการได้

อย่างไรก็ตาม กรณีการขุดและเคลื่อนย้ายกากแคดเมียมในปริมาณมาก ก่อให้เกิดอันตรายต่อชุมชนที่อยู่ใกล้เคียงเป็นอย่างมาก และยังเป็นคำถามจากสังคมว่า เกิดช่องทางที่สามารถขุดย้ายกากแคดเมียมนี้จำนวนมากนี้ขึ้นมาได้อย่างไร เหตุการณ์ดังกล่าวสะท้อนให้เห็นถึงปัญหาด้านประสิทธิภาพในการบริหารจัดการของเสียอันตรายของภาครัฐ รวมถึงการผลักดันกฎหมาย PRTR ที่เป็นส่วนสำคัญที่จะทำให้สื่อมวลชนรวมถึงสังคมเข้าถึงข้อมูลเบื้องต้นที่เกิดขึ้นได้ต่อไปในอนาคต

รู้ทัน “Digital Pollution” มลพิษจากโลกเสมือน ที่มาพร้อมภาระและสภาวะกัดกินโลกจริง

supersab

Recent Posts

AIS ผนึกกำลังพันธมิตรภาครัฐ เดินหน้าจัดระเบียบสายสื่อสาร ถนนวิทยุ สร้างมหานครสวยงาม ปลอดภัย

AIS จับมือ การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.), กสทช., กรุงเทพมหานคร และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ระดมทีมวิศวกรเข้าดำเนินการจัดระเบียบสายสื่อสารบนเสาไฟฟ้าและนำลงใต้ดิน บริเวณถนนวิทยุ ตั้งแต่แยกวิทยุ ถึงแยกเพลินจิต ทั้งสองฝั่ง ตลอดแนวถนน การดำเนินงานในครั้งนี้ มุ่งเน้นไปที่ความปลอดภัยของประชาชนและการลดความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ…

20 minutes ago

“Trumpism 2.0” กระแทกโลก! สกสว. ชี้ไทยต้องเร่งเครื่อง BCG Economy ดันนวัตกรรมรับมือ ตั้งเป้าปั้นไทยเป็นฮับเทคโนโลยีอาเซียน ดึงต่างชาติร่วมลงทุน

ในยุคที่ "Trumpism" กำลังเขย่าวงการโลกอีกครั้ง กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดย สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ได้จัดเวทีเสวนา “Trump 2.0 วิกฤตหรือโอกาสของระบบ ววน. ไทย” เพื่อวิเคราะห์ผลกระทบจากนโยบาย "America…

26 minutes ago

องค์กร 61% กังวลความปลอดภัยคลาวด์ ฟอร์ติเน็ตแนะใช้แพลตฟอร์มรวมศูนย์-เสริมทักษะรับมือภัยคุกคามยุคใหม่

ฟอร์ติเน็ต เปิดเผยผลสำรวจล่าสุดจากรายงานสถานะความปลอดภัยระบบคลาวด์ประจำปี 2568 (2025 State of Cloud Security Report) ซึ่งจัดทำโดย Cybersecurity Insiders ชี้ให้เห็นว่า องค์กรส่วนใหญ่กำลังเผชิญกับความท้าทายในการรักษาความปลอดภัยบนคลาวด์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของการปฏิบัติตามกฎระเบียบและการปกป้องข้อมูล…

30 minutes ago

เปิดเทรนด์ “Conscious Travel” สัมผัสประสบการณ์สุดพิเศษ ใส่ใจสิ่งแวดล้อม

ยุคสมัยที่โรงแรมเป็นเพียง "ที่นอน" ได้ลาจากไปแล้ว! นักท่องเที่ยวไทยยุคใหม่กำลังมองหาประสบการณ์ที่มากกว่าการพักผ่อน พวกเขาต้องการสัมผัสวัฒนธรรมท้องถิ่น และใส่ใจความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม เทรนด์ "Conscious Travel" หรือการเดินทางอย่างมีสติกำลังมาแรง สะท้อนผ่านพฤติกรรมการพักผ่อนที่ยาวนานขึ้นในโรงแรม พร้อมแสวงหาประสบการณ์สุดพิเศษที่ตอบโจทย์ความต้องการเฉพาะบุคคล เจาะลึกเทรนด์นักท่องเที่ยว จากรายงาน Changing…

40 minutes ago

ไชน่า ยูนิคอม ผนึกกำลัง หัวเว่ย เร่งเครื่อง 5G-Advanced ทั่วเอเชีย

ไชน่า ยูนิคอม ประกาศความสำเร็จครั้งสำคัญในการพัฒนาเครือข่าย 5G ไปอีกขั้น ด้วยการเปิดตัวแผนปฏิบัติการ 5G-Advanced อย่างเป็นทางการ ในงานแถลงข่าว "Powering the Asian Winter Games with…

52 minutes ago

“Super AI Engineer Season 5” เปิดตัวยิ่งใหญ่ ผนึกกำลังภาครัฐ-เอกชน-ประชาสังคม ปั้นบุคลากร AI เสริมแกร่งขีดความสามารถแข่งขันประเทศไทย

ท่ามกลางกระแสการเปลี่ยนแปลงของโลกที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) โครงการ Super AI Engineer Season 5 ได้ฤกษ์เปิดตัวอย่างเป็นทางการแล้ว โดยเป็นการรวมพลังครั้งสำคัญจากภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม เพื่อร่วมกันพัฒนาบุคลากรด้าน AI ของไทยให้มีทักษะและความสามารถที่ทัดเทียมนานาชาติ…

1 hour ago