AIS ยกระดับภารกิจ อุ่นใจ CYBER ผนึก มจธ. และผู้เชี่ยวชาญ เปิดตัว “ดัชนีชี้วัดสุขภาวะดิจิทัล Thailand Cyber Wellness Index” มาตรวัดทักษะดิจิทัลฉบับแรกของไทย
วันนี้ต้องยอมรับว่าโลกดิจิทัลได้เข้าสู่แทบทุกพื้นที่ทั่วโลกแล้ว จากข้อมูลพบว่าในเอเชียแปซิฟิก มีผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตมากถึง 1,200 ล้านคน และคาดว่าอีก 3 ปี ข้างหน้าจะมีผู้เข้าถึงอินเทอร์เน็ตถึง 1,500 ล้านคน ขณะที่สมาร์ทโฟนกลายเป็นอุปกรณ์ที่ทรงพลังมาก ช่วยให้ผู้คนเข้าถึงโลกดิจิทัลได้ง่ายขึ้น เข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้อย่างรวดเร็ว แต่ในทางกลับกันหลายคนกลับประสบปัญหาจากการเข้าถึงโลกดิจิทัล ไม่ว่าจะเป็นการขโมยข้อมูลส่วนบุคคล การล่อลวงผ่านช่องทางออนไลน์ หรือการกลั่นแกล้งบนโลกออนไลน์ ที่ส่งผลต่อสุขภาวะจิตของคน หลายคนรู้สึกไม่มีความสุขเมื่ออยู่บนโลกดิจิทัล ซึ่งปัญหานี้ได้เกิดขึ้นทั่วโลก รวมถึงในประเทศไทย
แนวทางการแก้ไขและป้องกันที่ดีที่สุดคือ การรู้ว่าคนเข้าใจการใช้งานดิจิทัลระดับใด คนในแต่ละกลุ่มประสบปัญหาด้านใด และจะต้องพัฒนาเพิ่มเติมอย่างไร การมีข้อมูลด้านดัชนีชี้วัดสุขภาพจึงจำเป็นมากในการต่อยอดการสร้างสุขภาวะที่ดีให้กับคนไทย
ล่าสุด AIS ได้ประกาศเปิดโครงการ ดัชนีชี้วัดสุขภาวะดิจิทัล Thailand Cyber Wellness Index (TCWI) ขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทย โดยร่วมมือกับพันธมิตรอย่าง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี และผู้เชี่ยวชาญเครือข่ายความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ ไม่ว่าจะเป็นด้านเทคโนโลยี ด้านสุขภาพ ด้านสื่อสารมวลชน ด้านการศึกษา และด้านการวัดและประเมินผล ร่วมกันศึกษา วิเคราะห์ข้อมูล และสรุปผล จนออกมาเป็นข้อมูลดัชนีชี้วัดสุขภาวะดิจิทัลของคนไทย
สมชัย เลิศสุทธิวงค์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร AIS กล่าวว่า AIS มีความตั้งใจทรานส์ฟอร์มตัวเองจากOperator ไปสู่ Digital Life Service Provider เพื่อเป็นส่วนช่วยยกระดับการพัฒนาประเทศให้สามารถแข่งขันกับนานาประเทศได้ในยุคดิจิทัล ซึ่งการการใช้ดิจิทัลนั้นมีทั้งประโยชน์ แต่ขณะเดียวกันก็มีโทษหากถูกนำไปใช้อย่างไม่ถูกต้อง ทำให้ AIS ได้ริเริ่มโครงการ AIS อุ่นใจ CYBER ในปี 2019 เป็นจุดเริ่มต้นของภารกิจยกระดับสังคมดิจิทัลให้ปลอดภัยอย่างยั่งยืน ช่วยให้คนไทยมีความฉลาดทางดิจิทัล (Digital Intelligence Quotient หรือ DQ) รู้ว่าจะใช้ดิจิทัลอย่างไรให้ถูกต้อง
หนึ่งในสิ่งสำคัญของการส่งเสริมให้คนไทยมี DQ คือการสร้างการรับรู้ว่าจะต้องใช้ดิจิทัลอย่างไรให้ถูกต้อง ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญมาก จึงได้จัดหลักสูตร อุ่นใจไซเบอร์ ขึ้นมาในปี 2021 ให้คนไทยมีโอกาสเข้ามาเรียนรู้วิธีการใช้ดิจิทัลให้ถูกต้องเหมาะสม ที่ผ่านมามีคนไทยผ่านหลักสูตรไปแล้วถึง 250,000 คน
และการเปิดตัวโครงการดัชนีชี้วัดสุขภาวะดิจิทัลในปีนี้ เป็นการต่อยอดภารกิจโครงการ AIS อุ่นใจ CYBER ไปอีกขั้น โดยดัชนีชี้วัดสุขภาวะดิจิทัลจะเป็นเครื่องยืนยัน ที่บ่งบอกถึงความสามารถในการใช้ดิจิทัลของคนไทย เพื่อนำไปสู่การพัฒนาและส่งเสริมคนไทยให้มีความรู้เท่าทันกับภัยไซเบอร์ และเป็นพลเมืองดิจิทัลที่มีคุณภาพต่อไป
สำหรับการสร้างมาตรวัดทักษะทางดิจิทัล ฉบับแรกของไทย ในครั้งนี้ทาง AIS ได้ร่วมมือกับ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี พร้อมนักวิชาการหลากหลายแขนง พัฒนาเครื่องมือวัดผลสุขภาวะดิจิทัลของคนไทย โดยแบ่งผลการศึกษาออกเป็น 3 ระดับ คือ
-ระดับAdvanced คือกลุ่มที่ใช้ดิจิทัลได้ในระดับสูง
-ระดับBasic คือกลุ่มที่ใช้ดิจิทัลได้ในระดับพื้นฐาน
-ระดับImprovement คือกลุ่มที่ต้องการการพัฒนาเพิ่ม
นอกจากนี้ยังรวบรวมข้อมูลผ่าน 7 พฤติกรรมการใช้งานดิจิทัลของคนไทย 7 ด้าน ประกอบด้วย
-ทักษะการใช้ดิจิทัล (Digital Use)
-ทักษะการรู้เท่าทันดิจิทัล (Digital Literacy)
-ทักษะด้านการสื่อสารและการทำงานร่วมกันบนดิจิทัล (Digital Communication and Collaboration)
-ทักษะด้านสิทธิทางดิจิทัล (Digital Rights)
-ทักษะด้านความมั่นคงความปลอดภัยทางไซเบอร์ (Cyber Security and Safety)
-ทักษะด้านการกลั่นแกล้งทางไซเบอร์ (Cyberbullying)
-ทักษะด้านความสัมพันธ์ทางดิจิทัล (Digital Relationship)
สำหรับการเก็บข้อมูลในครั้งนี้ผ่านการเลือกกลุ่มตัวอย่างจากทั่วประเทศกว่า 21,864 คน โดยแบ่งกลุ่มตามความหลากหลายทั้งช่วงอายุ ตั้งแต่ 10-60 ปี กลุ่มอาชีพมากกว่า 10 อาชีพ และพื้นที่ทั้ง 77 จังหวัด
หากเจาะไปที่ช่วงอายุ จะพบว่า คนไทยที่อายุ 60 ขึ้นไป เป็นกลุ่มเดียวที่มีสุขภาวะดิจิทัลอยู่ในระดับที่ต้องพัฒนา โดยเฉพาะการรู้เท่าทันดิจิทัล และความมั่นคงปลอดภัยทางดิจิทัล ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญและน่าเป็นห่วง เพราะในยุคนี้การล่อลวงผ่านช่องทางออนไลน์นั้นเติบโตมากขึ้น ส่งผลให้หลายครั้งผู้สูงอายุตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพ
ด้านสาขาอาชีพ พบว่า เกษตรกร เป็นอาชีพที่มีสุขภาวะดิจิทัลต่ำที่สุด ตามมาด้วยพนักงานรัฐวิสาหกิจ และ อาชีพรับจ้างทั่วไป เช่นเดียวกัน ทั้ง 3 อาชีพนี้ได้คะแนนในส่วนของ การรู้เท่าทันดิจิทัล และความมั่นคงปลอดภัยทางดิจิทัล น้อยในระดับที่น่าเป็นห่วง
และหากแบ่งระดับสุขภาวะดิจิทัลของคนไทยตามภูมิภาค พบว่า ภาคเหนือ และภาคตะวันตก เป็น 2 ภาคของประเทศไทยที่สุขภาวะดิจิทัลอยู่ในระดับต้องพัฒนา
“ภาพรวมของคนไทยมีสุขภาวะทางดิจิทัลอยู่ในระดับพื้นฐาน แต่ขณะเดียวกันยังมีถึง 44.04% ที่อยู่ในระดับต้องพัฒนา แสดงให้เห็นว่าประเทศไทยจำเป็นต้องสร้างความรู้ความเข้าใจในการใช้ดิจิทัลให้กับประชาชนเพิ่มขึ้น” รศ.ดร.สุวิทย์ แซ่เตีย อธิการบดี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี กล่าว
ทั้งนี้ข้อมูลที่ได้จากดัชนีชี้วัดสุขภาวะดิจิทัล จะเป็นจุดเริ่มต้นให้ทุกภาคส่วนได้หาวิธีรับมือและพัฒนาคนไทยให้รู้เท่าทันกับการใช้งานดิจิทัลมากขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การแก้ปัญหาอย่างยั่งยืน สังคมไทยเป็นสังคมที่ปลอดภัยจากการใช้ชีวิตในโลกดิจิทัลทุกรูปแบบ
“สิ่งที่เราสร้างขึ้นมาในวันนี้ไม่ใช่เพื่อ AIS แต่เป็นของคนไทยทุกคน เราคนเดียวคงไม่สามารถทำโครงการออกมาได้ ต้องขอบคุณพาร์ทเนอร์ทุกท่านที่ช่วยเป็นแรงผลักดัน ให้คนไทยจะได้ใช้ดิจิทัลอย่างมีความสุขและเกิดประโยชน์” สมชัย กล่าวทิ้งท้าย
ผู้ที่สนใจสามารถอ่านรายละเอียดผลการศึกษาดัชนีชี้วัดสุขภาวะดิจิทัลของคนไทย เพิ่มเติมที่นี่ หรือองค์กรใดสนใจนำดัชนีชี้วัดสุขภาวะดิจิทัลเพื่อใช้วัดผลและขับเคลื่อนองค์กร สามารถติดต่อมาได้ที่ aissustainability@ais.co.th
ออเนอร์ กรุ๊ป เปิดตัวโครงการคอนโดมิเนียมสุดหรู "Once Wongamat" บนทำเลทองวงศ์อมาตย์ ชูจุดเด่นการออกแบบที่ผสานความหรูหรา และความยั่งยืนเข้าไว้ด้วยกันอย่างลงตัว พร้อมสิ่งอำนวยความสะดวกครบครัน ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ กลุ่มลูกค้าไฮเอนด์ ออเนอร์ กรุ๊ป (Honour Group)…
บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด มอบประกันอุบัติเหตุจากกรุงไทย แอกซ่า ฟรี 30 ต้อนรับเทศกาลปีใหม่ ตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม - 31 ธันวาคม 2567…
พฤกษา โฮลดิ้ง ไม่หยุดยั้งที่จะสร้างสรรค์สังคมแห่งโอกาสที่เท่าเทียม เดินหน้าสู่ปีที่ 6 ของโครงการ “บ้านใส่ใจเพื่อคนพิการ By PRUKSA” โดยผนึกกำลังร่วมกับ โรงพยาบาลวิมุต และ อินโนโฮม คอนสตรัคชัน ในเครือ…
บาร์บีคิวพลาซ่า จับมือ วิตอะเดย์ สร้างปรากฏการณ์ใหม่ในวงการน้ำดื่มผสมวิตามิน ส่ง "วิตอะเดย์ กะหล่ำปลี วอเตอร์" รสชาติสุดว้าว พร้อมดึงพี่ GON ร่วมสร้างสีสัน เอาใจสายเฮลท์ตี้ แถมโปรโมชั่นสุดคุ้มชุดประหยัดหมู 2…
เคยไหม? เลื่อนฟีดโซเชียลมีเดียแล้วเจอคลิปโป๊ ๆ ของคนดัง หรือแม้แต่คนรู้จัก แต่เอะใจว่า...มันดูแปลก ๆ เหมือนไม่ใช่ตัวจริง นั่นอาจเป็นเพราะคุณกำลังเผชิญหน้ากับ "Deepfake Porn" ภัยร้ายยุค AI ที่กำลังระบาดหนักอยู่ในขณะนี้ Deepfake…
คณะกรรมาธิการยุโรปประกาศปรับ Meta Platforms เป็นเงิน 798 ล้านยูโร (ประมาณ 840 ล้านดอลลาร์) จากการละเมิดกฎหมายต่อต้านการผูกขาดของสหภาพยุโรป โดย Meta ถูกกล่าวหาว่าใช้ Facebook Marketplace…