Article & Review

รายงาน Women in the Boardroom พบความเท่าเทียมทางเพศในระดับผู้นำ มีความคืบหน้า แต่ยังต้องเร่งดำเนินการเพื่อบรรลุเป้าหมาย

ดีลอยท์ โกลบอล เปิดเผยรายงาน Women in the Boardroom: A Global Perspective ฉบับที่ 8 รายงานฉบับนี้ชี้ให้เห็นว่ามีผู้หญิงจำนวนน้อยกว่าหนึ่งในสี่ (ร้อยละ 23.3) ดำรงตำแหน่งคณะกรรมการทั่วโลก โดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.6 นับตั้งแต่รายงานฉบับล่าสุดที่เผยแพร่ในปี 2565

แม้จำนวนผู้หญิงที่ดำรงตำแหน่งในคณะกรรมการ ทั้งในระดับโลก และในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่ความเท่าเทียมทางเพศในตำแหน่งคณะกรรมการอาจไม่เกิดขึ้นก่อนปี 2581 นอกจากนี้หนทางไปสู่ความเท่าเทียมทางเพศในตำแหน่งประธานกรรมการหรือซีอีโอก็ยังไม่มีความชัดเจนนัก

เพื่อสร้างให้เกิดความเท่าเทียมทางเพศ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่างๆจำเป็นต้องให้ความสนใจและร่วมกันดำเนินการเพื่อทำให้ภาพคณะกรรมการบริหารขององค์กรสะท้อนภาพเดียวกันกับสังคมที่องค์กรดำเนินธุรกิจอยู่ และคณะกรรมการบริหารเองต้องมีความต่อเนื่องในการดำเนินการและในการตั้งคำถามที่ตรงประเด็น

รายงานฉบับล่าสุดได้ทำการศึกษาวิเคราะห์บริษัทมากกว่า 18,000 แห่งใน 50 ประเทศ โดยสำรวจผู้หญิงที่ดำรงตำแหน่งในคณะกรรมการบริษัท ตลอดจนข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับกระแสการเมือง สังคม และแนวโน้มของกฎหมายที่ส่งผลต่อจำนวนดังกล่าว “เหตุผลที่ความหลากหลายเป็นสิ่งสำคัญในธุรกิจนั้นชัดเจน: องค์กรที่คณะกรรมการมีความหลากหลายทางเพศแสดงให้เห็นว่ามีแนวโน้มที่จะมีผลประกอบการทางการเงินที่ดีขึ้น อย่างไรก็ตาม เห็นได้ชัดว่าจำเป็นต้องมีการดำเนินการเป็นรูปธรรมมากขึ้นเพื่อบรรลุเป้าหมายการสร้างความเท่าเทียมทางเพศในคณะกรรมการบริษัท เนื่องจากปัจจุบัน ผู้หญิงที่ดำรงตำแหน่งในคณะกรรมการบริหารขององค์กรต่างๆ ทั่วโลกยังมีจำนวนไม่มากพอ องค์กรและนักลงทุนจำเป็นต้องดำเนินการเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง เพื่อตระหนักถึงประโยชน์ที่จะได้รับจากการมีคณะกรรมการที่มีความหลากหลายทางเพศ” แอนนา มาร์กส์ ประธานกรรมการ ดีลอยท์ โกลบอล กล่าว

การส่งเสริมจากภาครัฐ

การดำเนินการของภาครัฐส่งผลให้เกิดความเท่าเทียมกันในระดับคณะกรรมการมากขึ้น จากรายงานของดีลอยท์ ห้าในหกประเทศที่มีจำนวนผู้หญิงที่ดำรงตำแหน่งในคณะกรรมการจำนวนมากที่สุด มีข้อบังคับทางกฎหมายที่กำหนดโควตาจำนวนผู้หญิงในตำแหน่งดังกล่าวในสัดส่วนต่างกันไป ตั้งแต่ประมาณร้อยละ 33 (ในประเทศเบลเยียมและเนเธอร์แลนด์) ไปจนถึงร้อยละ 40 (ในประเทศฝรั่งเศส นอร์เวย์ และอิตาลี) แต่การกำหนดโควตาไม่ได้เป็นเพียงเครื่องมือเดียวในการผลักดันความคืบหน้าเรื่องความเท่าเทียมทางเพศ โครงการที่ภาครัฐดำเนินอย่างต่อเนื่อง เช่น การใช้เป้าหมายและการเปิดเผยข้อมูล ก็มีส่วนผลักดันให้เกิดความคืบหน้าเช่นกัน

ตัวอย่างเช่น ในสหราชอาณาจักรและประเทศออสเตรเลีย ปัจจุบันมีผู้หญิงดำรงตำแหน่งในคณะกรรมการมากกว่าหนึ่งในสาม แม้ว่าจะไม่มีการกำหนดจำนวนว่ากรรมการแต่ละคนควรถือครองตำแหน่งมากน้อยเพียงใด แต่ข้อมูลในระดับประเทศแสดงให้เห็นว่าการผลักดันเพื่อส่งเสริมความหลากหลายทางเพศในคณะกรรมการไม่ได้เป็นสาเหตุให้เกิดประเด็น”การถือครองตำแหน่งมากเกินไป” ตามที่หลายคนอาจมีความกังวลเพียงพอที่จะทำให้การสร้างความเท่าเทียมกันประสบความสำเร็จได้ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย รวมถึงนักลงทุนเอง ยังต้องให้ความสำคัญกับการตั้งเป้าหมายเกี่ยวกับการสร้างความหลากหลายทางเพศ แม้ว่าจะมีประเด็นสำคัญอื่นๆ อีกมากมายที่นักลงทุนต้องให้ความสนใจก็ตาม

ผู้หญิงมีบทบาทในคณะกรรมการมากขึ้นอย่างต่อเนื่องในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พบว่าในแต่ละประเทศ ผู้หญิงมีบทบาทในคณะกรรมการเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยผู้หญิงที่ดำรงตำแหน่งในคณะกรรมการเพิ่มขึ้น จากร้อยละ 17.1 ในปี 2564 เป็นร้อยละ 19.9 ​​ในปี 2566 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.8

มาเลเซียมีจำนวนผู้หญิงที่ดำรงตำแหน่งในคณะกรรมการมากที่สุด (คิดเป็นร้อยละ 28.5 ) ซึ่งได้รับการผลักดันจากโครงการริเริ่มต่างๆ เช่น โครงการโควตา ” one woman on board ” ของบริษัทจดทะเบียน แม้ว่าบริษัทจดทะเบียนในมาเลเซียยังไม่บรรลุเป้าหมายที่ให้ผู้หญิงดำรงตำแหน่งในคณะกรรมการเป็นจำนวนร้อยละ 30 ตามที่กำหนดไว้ใน Malaysian Code on Corporate Governance แต่ก็มีความคืบหน้าอย่างมีนัยสำคัญในการให้ผู้หญิงมีบทบาทในคณะกรรมการของมาเลเซีย

ในส่วนของประเทศไทย ผู้หญิงมีบทบาทในคณะกรรมการร้อยละ 19 เป็นรองจากค่าเฉลี่ยทั่วโลกที่ร้อยละ 23.3 ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 19.9 ​​แต่สูงกว่าค่าเฉลี่ยในเอเชียแปซิฟิกที่ร้อยละ 14.8 กล่าวคือในแต่ละปีมีจำนวนผู้หญิงที่มีบทบาทในคณะกรรมการเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.2 แต่ยังเป็นจำนวนที่ต่ำกว่าในระดับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ข้อมูลดังกล่าวยังสอดคล้องกับจำนวนผู้หญิงที่ดำรงตำแหน่งประธานกรรมการในประเทศไทย ที่ในแต่ละปีมีจำนวนเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.2 สำหรับประเทศไทยมีผู้หญิงที่ดำรงตำแหน่งประธานคณะกรรมการอยู่ที่ร้อยละ 7.2 ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยในเอเชียแปซิฟิกที่ ร้อยละ 6.9 แต่ยังต่ำกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลกที่ร้อยละ 8.4

แม้ว่าจะมีแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงที่เห็นได้ชัดในระดับผู้นำส่วนใหญ่ แต่สำหรับหลายประเทศยังเผชิญกับความท้าทายอยู่ เช่น จำนวนผู้หญิงที่ดำรงตำแหน่งประธานเจ้าหน้าบริหารฝ่ายการเงินในประเทศไทยอยู่ที่ร้อยละ 43.4 ในปี 2566 ลดลงร้อยละ 2.4 จากปี 2565 ในทำนองเดียวกัน จำนวนผู้หญิงดำรงตำแหน่งประธานคณะกรรมการในมาเลเซีย (คิดเป็นร้อยละ 6.2) และผู้หญิงที่ดำรงตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหารในสิงคโปร์ (คิดเป็นร้อยละ 11.9) ในปี 2566 ยังลดลงร้อยละ 0.3 และ 1.2 ตามลำดับจากปี 2564 สิ่งนี้แสดงให้เห็นว่าจำเป็นต้องดำเนินการมากขึ้น เพื่อผลักดันให้เกิดความคืบหน้าในการสร้างความเท่าเทียมทางเพศในระดับผู้นำ

“เราเห็นความก้าวหน้าครั้งสำคัญไปสู่ความหลากหลายในสถานที่ทำงานในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่ผู้หญิงมีบทบาทในคณะกรรมการบริหารและที่ดำรงตำแหน่งผู้นำระดับอาวุโสที่มีเปอร์เซ็นต์เพิ่มขึ้น ไม่ว่าจะเป็นในบทบาทของประธานกรรมการหรือซีอีโอ ซึ่งเป็นสิ่งที่น่ายกย่อง แม้ว่าหลายประเทศในภูมิภาคนี้ไม่มีข้อกำหนดทางกฎหมายหรือโควตากำหนดจำนวน แต่แนวโน้มที่เพิ่มขึ้นนี้แสดงให้เห็นว่าความหลากหลายทางเพศในคณะกรรมการมีผลกระทบเชิงบวกอย่างเห็นได้ชัดมากขึ้น ซึ่งนับเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งที่องค์กรต่างๆ รับมือกับความท้าทายทางธุรกิจใหม่ๆ และเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง ดิฉันหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะได้เห็นการเปลี่ยนแปลงเชิงบวกและเร็วยิ่งขึ้นในภูมิภาคนี้” SEAH Gek Choo Boardroom Program Leader ดีลอยท์ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้และสิงคโปร์ กล่าว

บทบาทของผู้หญิงในตำแหน่งประธานกรรมการและซีอีโอยังไม่สามารถบรรลุได้ตามเป้าหมาย

แม้ว่าการกำหนดโควตาและการตั้งเป้าหมายอาจช่วยให้คณะกรรมการมีความหลากหลาย แต่ดูเหมือนว่าจะไม่ส่งผลในทางเดียวกันกับบทบาทของประธานกรรมการและซีอีโอ เปอร์เซ็นต์ของผู้หญิงที่ดำรงตำแหน่งประธานกรรมการทั่วโลกนั้นมีน้อยกว่าผู้หญิงที่ทำหน้าที่ในคณะกรรมการเกือบสามเท่า โดยมีเพียงร้อยละ 8.4 ของคณะกรรมการทั่วโลกที่มีผู้หญิงเป็นประธาน ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตัวเลขเฉลี่ยอยู่ที่เพียงร้อยละ 7.4

เมื่อกล่าวถึงตำแหน่งผู้บริหารระดับสูง บทบาทของผู้หญิงลดลงไปอีก โดยทั้งโลก มีซีอีโอเพียงร้อยละ 6 ที่เป็นผู้หญิง ซึ่งเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 1 จากรายงานฉบับก่อนหน้า นับเป็นเรื่องน่ายินดีที่ประเทศต่างๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีการรายงานว่าบทบาทผู้หญิงในตำแหน่งซีอีโอระหว่างปี 2564 ถึง 2566 มีเปอร์เซ็นต์เพิ่มขึ้น ยกเว้นสิงคโปร์ ในอัตราการเปลี่ยนแปลงในปัจจุบัน ความเท่าเทียมกันระดับโลกสำหรับซีอีโอจะไม่สำเร็จได้ตามเป้าหมายถึงก่อนปี 2111 หรือเกือบ 90 ปีนับจากนี้

เนื่องจากองค์กรหลายแห่งต้องการรับสมัครกรรมการที่มีประสบการณ์ในตำแหน่งซีอีโอ ตัวเลขเหล่านี้จึงไม่ได้แสดงถึงแนวโน้มเชิงบวกสำหรับแผนพัฒนา องค์กรต่างๆ ควรขยายข้อกำหนดด้านทักษะเพื่อเพิ่มความหลากหลายในคณะกรรมการ ปิดช่องว่างด้านทักษะที่สำคัญ และสร้างเส้นทางของผู้นำหญิงในอนาคต เพื่อให้เป้าหมายการสร้างความเท่าเทียมทางเพศในระดับผู้นำมีความคืบหน้าและพัฒนาต่อไปได้ในอนาคต

“การส่งเสริมให้มีเป้าหมายด้านความหลากหลายทางเพศสามารถช่วยเร่งการผลักดันให้เกิดความเท่าเทียมกันทางเพศได้ แม้ว่าเป้าหมายดังกล่าวจะสะท้อนเพียงแง่มุมเดียวของประเด็นที่มีความซับซ้อนก็ตาม ระบบนิเวศโดยรวม ทั้งภาคธุรกิจ ภาครัฐ ภาคประชาสังคม และบุคคล จำเป็นต้องให้ความสำคัญกับการผลักดันอย่างต่อเนื่องที่มุ่งสนับสนุนบทบาทของผู้หญิงทั้งที่บ้านและที่ทำงาน เป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่งที่จะต้องเพิ่มขีดความสามารถของผู้หญิงในการดำรงตำแหน่งผู้นำโดยการวางนโยบายการทำงานที่ยืดหยุ่นและสร้างโอกาสในการพัฒนาตัวเองผ่านโปรแกรมการฝึกอบรมและการให้คำปรึกษา” Gek Choo กล่าว

“ทุกวันนี้วาระการประชุมของคณะกรรมการมีเรื่องในการหารือมากกว่าที่เคยเป็นมา มีความท้าทายและประเด็นใหม่ๆ ที่คณะกรรมการจำเป็นต้องให้ความสำคัญเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากองค์กรต่างๆ มีเป้าหมายที่จะสร้างคณะกรรมการและผู้บริหารระดับสูงที่เท่าเทียมและมีความสมดุลมากขึ้น มีความหลากหลายทางความคิดมากขึ้น กรรมการจึงจำเป็นต้องให้ความสำคัญกับความเท่าเทียมทางเพศเพื่อผลักดันให้เกิดความคืบหน้า” แอนนา กล่าวเสริม

“ผู้นำธุรกิจในตลาดต่างๆ ควรมีความมุ่งมั่นที่จะร่วมมือกัน แบ่งปันประสบการณ์ทั้งที่เป็นความท้าทายและความสำเร็จ มีความกล้าที่จะจุดประเด็นหารือเรื่องที่มีความซับซ้อน และทำหน้าที่ของตนเพื่อช่วยเร่งรัดให้การสร้างความเท่าเทียมทางเพศในคณะกรรมการและผู้บริหารระดับสูงของโลกบรรลุตามเป้าหมาย” แอนนากล่าวสรุป

อ่านรายงานฉบับเต็มได้ที่นี่

TikTok กับเจ้าของใหม่ จะเป็นใครได้บ้าง?

supersab

Recent Posts

“โค้ก” ซีโร่ กลิ่นวานิลลา: เขย่าตลาดเครื่องดื่ม เติมความซ่าส์ หอมหวานลงตัว เอาใจ Gen Z

โค้ก โดยกลุ่มธุรกิจโคคา-โคล่า ในประเทศไทย สร้างความฮือฮาให้กับตลาดเครื่องดื่มอีกครั้ง ด้วยการเปิดตัว "โค้ก" ซีโร่ กลิ่นวานิลลา ความอร่อยใหม่ที่ผสานความซ่าส์อันเป็นเอกลักษณ์ของ "โค้ก" เข้ากับความหอมหวานละมุนละไมของวานิลลาได้อย่างลงตัว ที่สำคัญคือมาในสูตรไม่มีน้ำตาล ตอบโจทย์ผู้บริโภคที่ใส่ใจสุขภาพ โดยเฉพาะกลุ่ม Gen…

12 hours ago

Epson ประกาศแต่งตั้ง โยชิดะ จุนคิชิ ขึ้นแท่นผู้นำคนใหม่

บริษัท ไซโก้ เอปสัน คอร์ปอเรชั่น (Epson) ประกาศแต่งตั้ง โยชิดะ จุนคิชิ ขึ้นดำรงตำแหน่งประธานกรรมการและตัวแทนผู้อำนวยการ (President and Representative Director) และประธานเจ้าหน้าที่บริหารคนใหม่ (Chief…

12 hours ago

รฟม. ลุยตรวจเข้ม ลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมในการก่อสร้าง รถไฟฟ้าสายสีม่วง

การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) โดย กองสิ่งแวดล้อม ฝ่ายพัฒนาโครงการรถไฟฟ้า ลงพื้นที่ตรวจติดตามการดำเนินงานลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมในการก่อสร้าง ช่วงเวลากลางคืน การก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน - ราษฎร์บูรณะ (วงแหวนกาญจนาภิเษก) ตลอดแนวเส้นทางโครงการฯ โดยเริ่มตั้งแต่จุดก่อสร้าง Cut…

13 hours ago

LINE MAN MART ผนึกกำลัง Lotus’s และ Lotus’s go fresh ขยายบริการช้อปปิ้งออนไลน์สู่ 1,400 สาขา จัดเต็มส่วนลดสุดปังทุกสัปดาห์!

LINE MAN ประกาศความร่วมมือครั้งสำคัญกับ Lotus’s และ Lotus’s go fresh ขยายฐานบริการ LINE MAN MART ให้ครอบคลุมกว่า 1,400 สาขาทั่วประเทศ…

17 hours ago

พฤกษา จับมือ รพ.วิมุต มอบสิทธิพิเศษดูแลสุขภาพลูกบ้านตลอดปี 2568 ตอกย้ำผู้นำอสังหาฯ สร้างชุมชนสุขภาพดี

พฤกษา ผนึกกำลัง โรงพยาบาลวิมุต มอบสิทธิพิเศษสุดเอ็กซ์คลูซีฟ และกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพครบวงจรให้ลูกบ้านตลอดปี 2568 ภายใต้แนวคิด "สุขภาพดีเริ่มต้นที่บ้าน" จิตชญา ตู้จินดา รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานการตลาดองค์กรกลุ่ม บริษัท พฤกษา โฮลดิ้ง…

17 hours ago

HONOR Magic7 Pro 5G ยอดขายพุ่งทะยาน 2.4 เท่า สะท้อนความเชื่อมั่นเทคโนโลยี AI

ออเนอร์ (HONOR) ประกาศความสำเร็จครั้งสำคัญของสมาร์ทโฟนระดับแฟลกชิป HONOR Magic7 Pro 5G ที่สร้างยอดขายเติบโตสูงถึง 2.4 เท่า นับตั้งแต่เปิดให้พรีออเดอร์เมื่อวันที่ 11-21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2568…

17 hours ago