กทปส. สร้างความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาครัฐ ร่วมกับ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยศูนย์บริการวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผ่านโครงการทดลองการสื่อสารด้วยระบบ 5G สำหรับรถไร้คนขับ เพื่อศึกษาข้อมูลทางเทคนิค ข้อจำกัด และปัจจัยแวดล้อมที่อาจส่งผลต่อการตัดสินใจหรือการควบคุมรถ ทดสอบความสามารถในการตรวจจับ การบ่งชี้วัตถุของระบบตรวจจับของรถไร้คนขับ ทดสอบระบบสื่อสารภายใต้โครงข่าย 5G มาใช้งานระหว่างรถไร้คนขับในรูปแบบการติดต่อสื่อสาร C-V2X และพัฒนาและทดสอบ Use cases ของการนำเทคโนโลยี 5G
พร้อมนำข้อมูลจากการทดสอบมาใช้ในการกำหนดแผนและแนวทางข้อกำหนดเบื้องต้นของการใช้ของรถไร้คนขับ รวมถึงระบบสาธารณูปโภค เพื่อให้เกิดความปลอดภัยสูงสุดต่อผู้บริโภคและประชาชนผู้ใช้ท้องถนน โดยมุ่งหวังให้ความร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ ในการเสริมสร้างความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีเกี่ยวกับ Intelligent Transportation System ผ่านระบบ 5G ในการทดสอบเก็บข้อมูลการทำงานพื้นฐาน และความสามารถของระบบ Sensor ของ Autonomous Vehicle
โครงการทดลองการสื่อสารด้วยระบบ 5G สำหรับรถไร้คนขับ คาดหวังความร่วมมือกับผู้ให้บริการโทรคมนาคมทุกรายในการดำเนินงานร่วมกันในโครงการดังกล่าว เบื้องต้นได้รับความร่วมมือกับ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส (AIS) ในฐานะ ผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์มือถือ 5G เตรียมโครงสร้างพื้นฐานและอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง ตามจำเป็นในการทดสอบเชื่อมต่อเข้ากับ Core Network และการทดลอง C-V2X รวมทั้งให้ข้อมูลที่จำเป็นและสนับสนุนในการดำเนินการในโครงการ
–Rêver Automotive ทุ่ม 3,000 ล้าน ตั้งเป้าดันยอดขาย BYD ติด Top 5 ใน 5 ปี
ศ.ดร.สุพจน์ เตชวรสินสกุล คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า การเปิดตัวรถรับส่งผู้โดยสารไร้คนขับ ได้ร่วมกับหัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมโยธา วิศวกรรมเครื่องกล วิศวกรรมไฟฟ้า และวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ พร้อมตัวแทนจากกรรมการบริหารของคณะฯ ดำเนินการทดสอบความสามารถของรถรับส่งผู้โดยสารไร้คนขับในการตรวจจับวัตถุต่างๆ ขณะขับขี่แบบไร้คนขับ เพื่อนำไปพัฒนาการควบคุมรถรับส่งผู้โดยสารไร้คนขับในอนาคต ซึ่งรถประเภทนี้จะใช้รับส่งผู้โดยสารในช่วงต้นและท้ายของการเดินทาง (First-last mile) โดยเชื่อมต่อกับการเดินทางโหมดอื่นๆ เช่น รถไฟฟ้าขนส่งมวลชน รถเมล์และการเดินทางอื่นๆ โดยคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ มีความมุ่งหมายที่จะพัฒนาและนำรถรับส่งผู้โดยสารไร้คนขับมาให้บริการรับส่ง หรือเปิดให้บริการเรียกผ่านแอปไร้คนขับเพื่อช่วยแก้ปัญหาการจราจรในอนาคต
“โดย เทคโนโลยีรถไร้คนขับ ยานยนต์แห่งอนาคต เป็นหนึ่งใน 4 ส่วนประกอบสำคัญของยานยนต์สมัยใหม่ ที่ประกอบด้วย C-A-S-E กล่าวคือ Connected, Automated, Shared และ Electric vehicle ซึ่งถ้าเทียบกับส่วนประกอบอื่นแล้ว รถไร้คนขับต้องการความพร้อมและการผนวกรวมในระดับสูงสุด ของทั้งฮาร์ดแวร์ ซอฟ์ทแวร์และโครงสร้างพื้นฐานทางการสื่อสารและคมนาคม ดังนั้นภายใต้โครงการการทดลองการสื่อสารด้วยระบบ 5G สำหรับรถรับส่งโดยสารไร้คนขับนี้ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ จึงมีเป้าประสงค์เพื่อสร้างความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชนและสถาบันการศึกษา เพื่อมาร่วมวิจัยและทดสอบระบบรถไร้คนขับในระดับต่างๆ โดยที่ผ่านมาได้รับการสนับสนุนจาก กสทช. และ กทปส. ซึ่งในจุดเริ่มต้นนี้ทีมงานของโครงการเกิดจากความร่วมมือของคณาจารย์ภายในคณะวิศวฯจากภาควิชาวิศวกรรมโยธา วิศวกรรมเครื่องกล วิศวกรรมไฟฟ้า และภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ของคณะ”
ศ.ดร.สุพจน์ กล่าวเพิ่มเติมว่า อุบัติเหตุทางถนนมีโอกาสลดลงได้หากการพัฒนาเทคโนโลยีรถไร้คนขับประสบผลสำเร็จ การจัดทำการทดลองไม่ได้ช่วยแค่ควบคุมความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นเท่านั้น แต่การทดสอบนี้ยังเป็นการเพิ่มศักยภาพความปลอดภัยในการเดินทางด้วย ซึ่งการทดลองนี้อยู่ภายใต้การดูแลของศูนย์วิจัยยานยนต์และระบบขนส่งอัจฉริยะ (Smart MOB) เป็นศูนย์วิจัยบูรณาการแห่งแรกของคณะวิศวกรรมศาสตร์ ที่มีการศึกษาและพัฒนาด้านระบบขนส่งอัจฉริยะ ยานยนต์ไฟฟ้า ระบบความปลอดภัยทางถนน และการพัฒนาคุณภาพชีวิตด้านการเดินทางขนส่งของสังคมผู้สูงวัยมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี พ.ศ. 2556
“การทดลองครั้งนี้ว่า ศูนย์วิจัยยานยนต์และระบบขนส่งอัจฉริยะ (Smart Mobility Research Center) มุ่งหวังให้แพลทฟอร์มรถไร้คนขับที่ได้รับการพัฒนาขึ้นนี้เป็นแพลทฟอร์มกลางเพื่อให้นักวิจัยจากภาควิชาต่างๆ หรือแม้แต่จากคณะต่างๆ เข้ามามีส่วนร่วมใช้ประโยชน์ อันจะเป็นการขยายผลการทดสอบ use case ของรถไร้คนขับเพื่อให้เกิดความปลอดภัยสูงสุดต่อผู้บริโภคและผู้ใช้ท้องถนนในอนาคตต่อไป ซึ่งในการจัดงานครั้งนี้ยังได้มีการพูดคุยถึงแนวทางการทดสอบระบบรถไร้คนขับที่จะถูกขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีหลายส่วน ให้สามารถใช้ได้จริงในอนาคต โดยใช้ระบบสื่อสาร 5G มาใช้งานระหว่างรถไร้คนขับกับระบบอื่นๆ ด้วย” ศ.ดร.สุพจน์ กล่าวสรุป
Biztalk ประจำวันอาทิตย์ที่ 20 เมษายน 2568 ชวนคุยเรื่องการออกกฎระเบียบบังคับให้สายการบินใช้น้ำมันลดโลกร้อน (น้ำมันอากาศยานยั่งยืน= SAF) จะเริ่มใช้จริงได้เมื่อไหร่ มีอะไรที่ต้องพิจารณาบ้าง คุยกับ พลอากาศเอก มนัท ชวนะประยูร ผู้อำนวยการสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย…
ข่าวดีสำหรับคุณแม่! ไปรษณีย์ไทย จับมือ กรมอนามัย ยกระดับการส่งน้ำนมแม่ทั่วประเทศ ด้วยบริการ EMS ด่วนพิเศษ ฟรีค่าจัดส่ง ตอกย้ำสายใยรักจากอกแม่ สู่ลูกน้อยที่อยู่ห่างไกล หนุนเด็กแรกเกิดรับคุณค่าอาหารจากนมแม่เต็มที่ เริ่มแล้ววันนี้! บริษัท ไปรษณีย์ไทย…
Siam.AI Cloud สร้างชื่อเสียงให้ประเทศไทยบนเวทีระดับโลก โดยเข้าร่วมงาน NVIDIA GTC 2025 พร้อมขึ้นกล่าวในหัวข้อสำคัญ "Empower the Ecosystem with Sovereign Foundation Models"…
โครงการ ‘Dynamic Cities via Mobility Data หลากชีวิตในเมืองที่โลดแล่น’ ได้ถือกำเนิดขึ้น โดยเป็นการผนึกกำลังครั้งสำคัญระหว่าง ทรู คอร์ปอเรชั่น และ ศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UddC) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย…
vivo ประกาศอย่างเป็นทางการถึงการเตรียมเปิดตัว vivo V50 Lite สมาร์ทโฟนรุ่นใหม่ล่าสุดในตระกูล V Series ที่มาพร้อมจุดเด่นอันแข็งแกร่งภายใต้แนวคิด “แบตอึด จนขอท้า” หรือ “BlueVolt Battery So…
เอปสัน ประกาศเปิดตัวการประกวดภาพถ่ายพาโนรามาระดับนานาชาติ "Epson International Pano Awards" ครั้งที่ 16 อย่างเป็นทางการ พร้อมเชิญชวนช่างภาพทั้งมืออาชีพและมือสมัครเล่นจากทั่วโลก ส่งผลงานเข้าร่วมประชันฝีมือ เพื่อชิงรางวัลรวมมูลค่ากว่า 50,000 เหรียญสหรัฐ การประกวดครั้งนี้จัดขึ้นต่อเนื่องเป็นปีที่…
This website uses cookies.