Automotive

ซีบร้า เทคโนโลยีส์ ชี้ 60% ของผู้บริโภคในเอเชีย-แปซิฟิกมีแนวโน้มเลือกซื้อรถยนต์ไฮบริดในอนาคต

ซีบร้า เทคโนโลยีส์ เผยผลการสำรวจ Automotive Ecosystem Vision Study ที่ชี้ให้เห็นว่าผู้ผลิตยานยนต์อยู่ภายใต้แรงกดดันให้พร้อมรองรับความต้องการรถยนต์ไฟฟ้า (EVs) ที่เพิ่มขึ้นของผู้บริโภคในอนาคตอันใกล้ โดยผู้ผลิตยานยนต์ต้องวางแผนให้การเปลี่ยนไปผลิต EVs ซึ่งมีองค์ประกอบ และความต้องการที่แตกต่างจากรถยนต์สันดาปมาก ตั้งแต่วัตถุดิบไปจนถึงการประกอบขั้นสุดท้าย เป็นไปอย่างราบรื่นที่สุด ดังนั้นขั้นตอนสำคัญที่ต้องอาศัยเทคโนโลยี เช่น การเพิ่มระบบอัตโนมัติ การสร้างเทคโนโลยีสำหรับใช้ภายในองค์กร และการเพิ่มการเข้าถึงข้อมูล/สถานะของการผลิต และซัพพลายเชนที่อัปเดตอยู่ตลอดเวลา จึงเป็นสิ่งที่ผู้ผลิตยานยนต์ควรให้ความสนใจมากขึ้น

“กรุงศรี ออโต้” โชว์อินไซต์ผู้ใช้รถ EV 5 เซกเมนต์ ดันอีโคซิสเต็มเติบโตเต็มรูปแบบภายใน 3 ปี

แม้ปัจจุบันเศรษฐกิจจะผันผวน ผู้ผลิตยานยนต์ก็พร้อมที่จะลงทุนในนวัตกรรมทางเทคโนโลยี โดย 7 ใน 10 (74% ทั่วโลก, 69% ในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก) คาดว่าจะเพิ่มค่าใช้จ่ายด้านเทคโนโลยี และ 6 ใน 10 (67% ทั่วโลก, 63% ในเอเชีย-แปซิฟิก) วางแผนที่จะเพิ่มการใช้จ่ายด้านโครงสร้างพื้นฐานของการผลิตภายในปีพ.ศ. 2566

การสำรวจ Automotive Ecosystem Vision Study ดำเนินการโดยซีบร้า เทคโนโลยีส์ มีผู้ตอบแบบสำรวจทั้งหมด 1,336 คน ทั่วโลก ซึ่งมีทั้งผู้มีอำนาจตัดสินใจในอุตสาหกรรม ผู้จัดการด้านการขนส่ง และผู้บริโภค ในเอเชีย-แปซิฟิก มีผู้ตอบแบบสำรวจรวมทั้งหมด 350 คน ในประเทศอินเดีย จีนแผ่นดินใหญ่ ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้

ผู้บริโภคในเอเชีย-แปซิฟิกมากขึ้นจะหันมาเลือกซื้อ EVs ในไม่ช้า

ผลการสำรวจเผยให้เห็นว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงทางความชอบของผู้บริโภคในอนาคตอันใกล้ โดยผู้บริโภคมากกว่าครึ่ง (53% ทั่วโลก, 60% ในเอเชีย-แปซิฟิก) มีแนวโน้มจะเลือกซื้อรถยนต์ไฮบริด (HEV) แต่การตอบสนองต่อความต้องการ EVs ที่เพิ่มขึ้นนี้ก็ต้องพบกับความท้าทาย โดย 68% ของผู้มีอำนาจตัดสินใจในอุตสาหกรรมยานยนต์ทั่วโลก (60% ในเอเชีย-แปซิฟิก) ระบุว่าพวกเขาอยู่ภายใต้แรงกดดันให้ผลิตยานยนต์รุ่นต่อไป เช่น EVs ขณะที่อีก 75% (71% ในเอเชีย-แปซิฟิก) อยู่ภายใต้แรงกดดันให้ส่งมอบผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตร และปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อม และมีความยั่งยืนมากขึ้น

ผลการสำรวจยังชี้ให้เห็นว่าผู้บริโภคเจนเนอเรชั่นต่าง ๆ ก็ผลักดันให้ผู้ผลิตยานยนต์เร่งพัฒนานวัตกรรมทางเทคโนโลยี โดย 8 ใน 10 ระบุว่าความยั่งยืน และความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเป็นสิ่งสำคัญอันดับแรกในการตัดสินใจซื้อและเช่ารถยนต์ 87% ของผู้บริโภคกลุ่มมิลเลนเนียลให้ความสำคัญกับความยั่งยืนของรถยนต์ของตัวเอง ตามมาด้วยผู้บริโภคกลุ่มเจนเอ็กซ์ 78% และผู้บริโภคกลุ่มเบบี้บูมเมอร์ 76% ในเอเชีย-แปซิฟิก 85% ของผู้บริโภคให้ความสำคัญสอดคล้องกัน มีผู้บริโภคกลุ่มมิลเลนเนียล 92% ผู้บริโภคกลุ่มเจนเอ็กซ์ 83% และผู้บริโภคกลุ่มเบบี้บูมเมอร์ 72% ที่ให้ความสำคัญกับความยั่งยืนมากที่สุด

นอกจากนี้ผู้บริโภคก็มีส่วนในการเน้นการปรับแต่งแบบเฉพาะบุคคล (Personalisation) ให้มากขึ้น ผู้บริโภคเกือบ 4 ใน 5 ระบุว่าตัวเลือกการปรับแต่งแบบเฉพาะบุคคลเป็นหนึ่งในปัจจัยในการตัดสินใจซื้อรถยนต์ เช่นเดียวกับผู้จัดการด้านการขนส่ง 8 ใน 10 คน ที่ระบุว่าความยั่งยืน และการปรับแต่งแบบเฉพาะบุคคลเป็นหนึ่งในปัจจัยในการตัดสินใจซื้อรถยนต์ ผู้บริโภคในเอเชีย-แปซิฟิกเห็นด้วยกับความคิดเห็นนี้มากที่สุดเมื่อเทียบกับผู้บริโภคในภูมิภาคอื่น โดย 86% ให้ความสำคัญกับตัวเลือกการปรับแต่งแบบเฉพาะบุคคลในการตัดสินใจซื้อรถยนต์ และ 92% ของผู้จัดการด้านการขนส่งระบุเหมือนกัน

ขณะเดียวกันเกือบ 80% ของผู้มีอำนาจตัดสินใจในอุตสาหกรรมยานยนต์ทั่วโลก (77% ในเอเชีย-แปซิฟิก) ตระหนักดีว่าปัจจุบันผู้บริโภคคาดหวังตัวเลือกรถยนต์ที่มีความยั่งยืน และความเป็นส่วนตัวมากขึ้น แต่ราว 7 ใน 10 ก็ยอมรับว่าเป็นเรื่องยากที่จะตอบสนองต่อความต้องการการปรับแต่งที่เพิ่มขึ้น เหตุนี้ผู้ผลิตยานยนต์ 3 ใน 4 ทั่วโลกจึงระบุว่าสิ่งสำคัญสูงสุดคือการสร้างความร่วมมือเชิงกลยุทธ์กับบริษัทเทคโนโลยีสำหรับการผลิตรถยนต์รุ่นต่อไป ตัวเลขนี้ต่ำกว่าในเอเชีย-แปซิฟิกที่ 72% และ 64% ตามลำดับ

Tan Aik Jin, หัวหน้าฝ่ายการตลาดด้านโซลูชั่นแนวดิ่งประจำภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก, ซีบร้า เทคโนโลยีส์ กล่าวว่า “จากการสำรวจเราพบว่าผู้บริโภคอยากเห็นการส่งเสริมยานยนต์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้นในอนาคต อีกทั้งความนิยมรถยนต์ไฟฟ้าของผู้บริโภคเอง ทั้งในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและทั่วโลก ก็เพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ผู้มีอำนาจตัดสินใจในอุตสาหกรรมยานยนต์ต้องรุกลงทุนในเทคโนโลยีที่เหมาะสมให้มากขึ้น เพื่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานของการผลิตให้แข็งแกร่ง และสามารถตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าที่เพิ่มขึ้นนี้ได้ดียิ่งขึ้น”

ความไว้วางใจ และความโปร่งใสในการผลิตยานยนต์

ผู้บริโภคและผู้จัดการด้านการขนส่งต่างกำลังมองหาวิธีเพิ่มทัศนวิสัยในระบบนิเวศยานยนต์ เมื่อพิจารณาซื้อหรือเช่ารถยนต์ 81% ของผู้บริโภคทั่วโลก (85% ในเอเชีย-แปซิฟิก) และ 86% ผู้จัดการด้านการขนส่ง (92% ในเอเชีย-แปซิฟิก) ระบุว่าพวกเขาต้องการเข้าใจที่มาของวัสดุ และชิ้นส่วนรถยนต์ของตัวเอง ผู้บริโภคกลุ่มมิลเลนเนียลเป็นกลุ่มที่เรียกร้องความโปร่งใสมากขึ้นในการผลิตยานยนต์มากที่สุด โดยมากกว่า 8 ใน 10 (ทั้งทั่วโลก และในเอเชีย-แปซิฟิก) ระบุว่าการเข้าถึงข้อมูลของผู้ผลิต รู้ว่าวัสดุและชิ้นส่วนมาจากแหล่งที่มีความยั่งยืนหรือไม่ และการทำความเข้าใจขั้นตอนการผลิตตั้งแต่ต้นจนจบเป็นสิ่งสำคัญ

เมื่อได้รับรถยนต์แล้ว 88% ของผู้บริโภค (82% ในเอเชีย-แปซิฟิก) และ 86% ผู้จัดการด้านการขนส่ง (88% ในเอเชีย-แปซิฟิก) ต้องการทำความเข้าใจว่าข้อมูลจากรถยนต์ของตัวเองจะถูกนำไปใช้ในระบบนิเวศยานยนต์อย่างไร ในส่วนการรวบรวมข้อมูล 83% ของผู้บริโภค และ 84% ของผู้จัดการด้านการขนส่งคาดหวังว่าจะมีสิทธิครอบครองและควบคุมข้อมูลที่รถยนต์ของตัวเองสร้างขึ้น เช่นเดียวกับผู้บริโภค 86% และผู้จัดการด้านการขนส่ง 88% ในเอเชีย-แปซิฟิก

ทัศนวิสัยในซัพพลายเชนของยานยนต์

ผู้บริโภคส่วนใหญ่ (79% ทั่วโลก, 83% ในเอเชีย-แปซิฟิก) และผู้จัดการกองยานพาหนะ (81% ทั่วโลก, 84% ในเอเชีย-แปซิฟิก) ล้วนต้องการรับรู้ถึงความชัดเจนแบบครบวงจรของกระบวนการผลิต อย่างไรก็ตาม มีผู้มีอำนาจตัดสินใจในอุตสาหกรรมยานยนต์เพียง 3 ใน 10 รายเท่านั้นที่กล่าวว่า พวกเขาจะจัดลำดับความสำคัญของการเชื่อมต่อระบบข้อมูลแบบเรียลไทม์ (30% ในเอเชีย-แปซิฟิก) เพื่อให้สามารถเห็นภาพรวมในการดำเนินงานและเพิ่มการมองเห็นกระบวนการผลิตทั้งห่วงโซ่อุปทานในอีกห้าปีข้างหน้า (32% ในเอเชีย-แปซิฟิก)

Tan กล่าวเสริมว่า “การปรับเปลี่ยนการดำเนินงานให้มีความเป็นดิจิทัลผ่านการใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมอย่าง RFID (Radio Frequency Identification หรือ การระบุตัวตนด้วยคลื่นความถี่วิทยุ) หรือแม้กระทั่งอุปกรณ์พกพาไร้สาย (mobile device) ทำให้ผู้ผลิตยานยนต์สามารถมองเห็นภาพห่วงโซ่อุปทานของตนได้ชัดเจนยิ่งขึ้น อีกทั้งยังสามารถมั่นใจในความยั่งยืนจากการปฏิบัติตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ”

มากกว่าหนึ่งในสามของผู้ผลิตอุปกรณ์ดั้งเดิม(OEMs) จากทั่วโลกและในเอเชียแปซิฟิก ต่างออกความเห็นว่าการใช้เทคโนโลยีในกระบวนการผลิตจะมีส่วนช่วยในการปรับปรุงจัดการห่วงโซ่อุปทานได้เป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็นหุ่นยนต์เคลื่อนที่อัตโนมัติ (AMRs), การระบุตัวตนด้วยคลื่นความถี่วิทยุ (RFID), คอมพิวเตอร์มือถือแบบพกพาที่มีคุณสมบัติแข็งแรง ทนทาน(Rugged Handheld Mobile Computers) และเครื่องสแกนแบบพกพา (Scanner) รวมถึงแมชชีนวิชั่น (Machine Vision) ที่นำมาใช้ตรวจสอบคุณภาพของผลิตภัณฑ์ในโรงงาน จากการสำรวจแบบสอบถามพบว่าจำนวนกว่าหนึ่งในสามของบริษัทซัพพลายเออร์ต่าง ๆ ก็มีความเห็นเช่นเดียวกันในด้านการเทคโนโลยีมาเป็นตัวช่วย เช่น การใช้เครื่องพิมพ์สติกเกอร์บาร์โค้ดแบบพกพาและเครื่องพิมพ์สติกเกอร์แบบใช้ความร้อน (Thermal Printer), อุปกรณ์ Mobile Computer แบบสวมที่แขน หรือแม้แต่การใช้เทคโนโลยีในการระบุตำแหน่งของสิ่งของหรือบุคคล

ศิวัจน์ โรจนเต็มศักดิ์, ผู้จัดการประจำประเทศไทย, ซีบร้า เทคโนโลยีส์ กล่าวว่า “ปัจจุบันยอดอุปสงค์ในรถยนต์ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้เหล่าผู้ผลิตยานยนต์ต้องพร้อมก้าวข้ามอุปสรรคไปได้อย่างทันท่วงที ซีบร้า เทคโนโลยีส์เป็นบริษัทที่เหมาะสมที่สุดในการให้คำแนะนำและช่วยเหลือผู้ผลิตในการเพิ่มขีดความสามารถของการดำเนินงานอีกทั้งยังช่วยขจัดอุปสรรคที่มีระหว่างการผลิตได้อีกด้วย จากผลงานที่กว้างขวางและครอบคลุมของเรา ไม่ว่าจะเป็นระบบอัตโนมัติทางอุตสาหกรรม, เทคโนโลยีการระบุตำแหน่ง, ระบบสแกนที่ใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม แมชชีนวิชั่นสำหรับตรวจสอบคุณภาพผลิตภัณฑ์ และอื่น ๆ ในส่วนประเทศไทย นอกจากจะเป็นผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกแล้ว ก็ยังเป็นผู้นำด้านการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าเช่นกัน ด้วยนโยบาย 30@30 ของรัฐบาล และแผนที่เชิญชวนให้บริษัทต่าง ๆ ตั้งฐานการผลิตในประเทศไทย เพื่อกระตุ้นและขยายอัตราการผลิตรถยนต์ไร้มลพิษ หรือรถยนต์ไฟฟ้าให้ได้ถึง 30% ภายในปีค.ศ. 2030 จึงเป็นโอกาสอันดีของซีบร้า เทคโนโลยีส์ (ประเทศไทย) ที่จะนำเสนอเทคโนโลยีอันเหมาะสมซึ่งจำเป็นต่อการเพิ่มประสิทธิภาพขั้นสูงในการผลิตของเครื่องจักร และทำให้องค์กรสามารถบรรลุเป้าหมายในการผลิตยานยนต์ได้อย่างชาญฉลาดผ่านโซลูชั่นที่หลายหลาย เช่น DS3600-KD ultra-rugged scanner, คอมพิวเตอร์พกพา MC9300 ultra-rugged mobile touch computer, คอมพิวเตอร์ชนิดพกพาแบบหน้าจอสัมผัส รุ่น TC53, คอมพิวเตอร์ชนิดพกพาแบบหน้าจอสัมผัส รุ่น TC73, แท็บเล็ต รุ่น L10ax Rugged, แท็บเล็ต รุ่น RFD90 ultra-rugged UHF RFID sleds, เครื่องพิมพ์ฉลากระดับอุตสาหกรรม ZT411 industrial printer, RFID specialty labels, Workforce Connect, MotionWorks และ VisibilityIQ™ Foresight เป็นต้น”

supersab

Recent Posts

เซ็นทรัลพัฒนา ผนึก Edutainment และ Playland จัดแคมเปญ “The Little Campus 2024” ดันทราฟฟิกกลุ่มครอบครัว

เซ็นทรัลพัฒนา ผนึกกำลังกับพันธมิตรชั้นนำด้าน Edutainment กว่า 300 สถาบัน รวมถึง Playland สุดฮิต จัดแคมเปญ The Little Campus 2024 เปลี่ยนศูนย์การค้าเซ็นทรัลให้เป็นพื้นที่แห่งการเรียนรู้…

13 hours ago

เดนทิสเต้พาลิซ่าจัดงานในไทยอีกครั้ง กับ 3 กิจกรรมในงาน DENTISTE’ x LISA Exclusive After Party

เดนทิสเต้ เดินหน้านำ 3 กิจกรรมสุดยิ่งใหญ่เหนือใคร พาศิลปินระดับโลกชาวไทยอย่าง “ลิซ่า ลลิษา มโนบาล” ซึ่งเป็นหนึ่งในครอบครัวเดนทิสเต้ ในฐานะ Brand Ambassador ของประเทศไทย มาสร้างประสบการณ์สุดพิเศษให้กับแฟนๆ ชาวไทยผ่าน…

13 hours ago

เพอร์เฟค ปิดดีลขายที่ดิน 2 แปลง พร้อมออกหุ้นกู้ 2 ชุด ดอกเบี้ยสูง 7% และ 7.25%

พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค ปิดดีลขายที่ดิน 2 แปลง รับ 700 ล้านบาท พร้อมออกหุ้นกู้ 2 ชุด ดอกเบี้ยสูง 7% และ 7.25%…

13 hours ago

กทม. x สวทช. สสวท พัฒนาเยาวชน ในโรงเรียนภาษาที่สาม สู่นวัตกรยุค 4.0 ด้วย Digital Innovation Maker space นำร่องพื้นที่กรุงเทพมหานคร

กรุงเทพมหานคร (กทม.) โดยสำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร ร่วมกับ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดยศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่ชาติ (เนคเทค สวทช.) และ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) จัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติ Digital…

14 hours ago

รฟม. เผยครบรอบ 1 ปี นโยบายรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย ผลดีเกินคาด ทำยอดผู้โดยสารรถไฟฟ้า MRT และผู้ใช้บริการอาคารจอดแล้วจรเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง

นายวิทยา พันธุ์มงคล รักษาการแทน ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยว่า หลังจากที่ รฟม. ได้ดำเนินการตามนโยบายอัตราค่าโดยสารรถไฟฟ้าสูงสุด 20 บาท ซึ่งเป็นหนึ่งนโยบาย Quick Win “คมนาคม…

17 hours ago

เป็นเจ้าของสถานีชาร์จฯ ง่ายนิดเดียว ชมแพคเกจสุดพิเศษจาก กฟผ.ในงาน Bangkok EV Expo 2024 ที่บูท EV3/2

กฟผ. ร่วมออกบูท EGAT EV Business Solutions (บูท EV3/2) ในงาน Bangkok EV Expo 2024 เพื่อส่งต่อความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์ในการพัฒนาและการบริหารจัดการเครือข่ายสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า…

17 hours ago