EV

Gartner ชี้ปี 2566 คือช่วงเวลาสำคัญของรถยนต์ไฟฟ้าแบตเตอรี่ (BEVs)

การ์ทเนอร์ (Gartner) ชี้มีปัจจัยหลายประการที่ทำให้ปี 2566 กลายเป็นบททดสอบอย่างแท้จริงในการแก้ไขปัญหาของภาครัฐบาลและภาคอุตสาหกรรมยานยนต์ เพื่อผลักดันรถยนต์ไฟฟ้าแบตเตอรี่ (BEVs) ให้เดินไปข้างหน้า

เปโดร ปาเชโก รองประธานฝ่ายวิจัยของการ์ทเนอร์ กล่าวว่า “ปีนี้เป็นช่วงเวลาสำคัญอย่างยิ่งในการผลักดันยานยนต์ไฟฟ้าเต็มรูปแบบให้เดินหน้าได้ต่อ ด้วยราคาค่าไฟฟ้าที่พุ่งสูงขึ้นในยุโรปทำให้ต้นทุนการใช้งานรถยนต์ไฟฟ้า (BEV) น่าสนใจลดลง ประกอบกับในบางประเทศ เช่น สหราชอาณาจักร สวิตเซอร์แลนด์ และออสเตรเลีย ที่กำลังเริ่มจัดเก็บภาษีรถยนต์อีวี นอกจากนี้ช่วงต้นปี 2566 จีนยุติการอุดหนุนรถยนต์ไฟฟ้า รวมถึงยังมีปัจจัยด้านการวางโครงสร้างพื้นฐานสถานีชาร์จทั่วโลกที่พบว่ายังไม่ครอบคลุมเพียงพออย่างมาก และคุณภาพการให้บริการโดยเฉลี่ยก็ยังแย่”

เปิดแนวคิด Digital-First Company โอกาสใหม่แห่งการเติบโตทางธุรกิจ

นอกเหนือจากนี้ ยังมีปัจจัยราคาของวัตถุดิบที่ปรับเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เช่น ลิเธียมและนิกเกิลที่ทำให้ต้นทุนการผลิตรถ BEV สูงขึ้น ส่งผลให้ผู้ผลิตชิ้นส่วนแบบโออีเอ็ม (หรือ OEM) ลดช่องว่างด้านราคากับรถยนต์เครื่องยนต์สัปดาปได้ยากขึ้น ผลที่ตามมาคือยอดขายรถ BEV อาจเติบโตในระดับที่ต่ำกว่ามากหรือหยุดชะงักในบางตลาด ทำให้การลงทุนที่เกี่ยวข้องกับรถ BEV ใช้เวลานานขึ้นกว่าจะถึงจุดคุ้มทุน

ไมค์ แรมซี่ รองประธานฝ่ายวิจัยอีกคนของการ์ทเนอร์ กล่าวว่า “เราคาดว่าปัญหาการขาดแคลนในห่วงโซ่อุปทานของอุตสาหกรรมยานยนต์จะยังดำเนินต่อไปตลอดในปีนี้ ผู้ผลิตรถยนต์ยังไม่สามารถคาดการณ์ถึงจุดสิ้นสุดของสถานการณ์ขาดแคลนชิปเซมิคอนดักเตอร์หรือที่ลามไปสู่การผลิตรถยนต์ที่สะดุดตามมา ผู้ผลิตเหล่านี้ยังประสบปัญหาขาดแคลนวัตถุดิบหลักสำหรับแบตเตอรี่ในรถ BEV อันทำให้ราคาสินค้าโภคภัณฑ์พุ่งสูงขึ้น”

“การเปลี่ยนผ่านไปสู่ดิจิทัลของการจำหน่ายยานพาหนะยังคงเดินหน้าต่อ เพียงแต่ช้าลง ขณะที่สภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจกำลังท้าทายการขับเคลื่อนของตลาดรถยนต์ จากข้อจำกัดด้านอุปทานไปสู่ข้อจำกัดด้านอุปสงค์ โดยผู้ผลิตและผู้จำหน่ายรถยนต์จะมุ่งเน้นไปที่การเปลี่ยนไปสู่การจำหน่ายผ่านช่องทางออนไลน์ เพื่อลดต้นทุนในการจำหน่าย”

ในช่วงขาลงนี้กลับเป็นโอกาสอันดีของผู้บริหารไอที (CIOs) ในแวดวงยานยนต์ที่จะช่วยให้บริษัทสามารถเพิ่มส่วนแบ่งการตลาดด้วยการใช้เทคโนโลยีได้ ตัวอย่างเช่น ผู้ผลิตรถยนต์หลายรายกำลังพยายามเปลี่ยนไปเป็นบริษัทเทคโนโลยี แต่วัฒนธรรมองค์กรเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการแนวทางการขับเคลื่อนนี้ “นี่ยังเป็นจุดเริ่มต้นสำหรับการลดช่องว่างกับผู้ผลิตรถยนต์ดิจิทัล และยังสร้างรายได้ให้เติบโตผ่านการใช้เทคโนโลยี” ปาเชโก กล่าวเพิ่มเติม

มองไกลกว่าปี 2566

การ์ทเนอร์คาดการณ์ว่า ภายในปี 2569 มากกว่า 50% ของรถยนต์ไฟฟ้าที่จำหน่ายทั่วโลกจะเป็นแบรนด์จากประเทศจีน แรมซี่ กล่าวเพิ่มเติมว่า “มีบริษัทจีนมากกว่า 15 แห่งที่จำหน่ายรถอีวีและหลายรุ่นมีขนาดเล็กกว่าและมีราคาถูกกว่าคู่แข่งต่างชาติอย่างมาก ขณะที่แบรนด์ผู้ผลิตรถยนต์อื่น ๆ Tesla, VW และ GM กำลังจำหน่ายรถอีวีจำนวนมากในประเทศจีน และยังพบว่าเติบโตรวดเร็วกว่าบริษัทจากจีนอย่างมาก”

เนื่องจากความต้องการรถยนต์ไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นทั่วโลก บริษัทจีนหลายแห่งจึงอยู่ในสถานการณ์ที่ดีที่สามารถใช้ประโยชน์จากการเติบโตตลาด ด้วยการเข้าถึงแร่สำคัญ ๆ และกำลังการผลิตแบตเตอรี่ในประเทศจีนได้ การ์ทเนอร์แนะนำให้ผู้บริหารไอที (CIOs) ในอุตสาหกรรมยานยนต์ให้ความสำคัญกับรถยนต์ไฟฟ้า ผสานเข้ากับการวางแผนด้านห่วงโซ่อุปทานและซอฟต์แวร์การควบคุมการมองเห็น (Visibility Software) เพื่อช่วยตัดสินใจทางธุรกิจเกี่ยวกับแหล่งที่มาและมีการรับประกันที่ยืดหยุ่นของวัสดุหลักในการผลิตได้ดียิ่งขึ้น

นักวิเคราะห์ของการ์ทเนอร์ประเมินว่าภายในปี 2568 บริษัทเทคโนโลยีรายใหญ่จะเป็นเจ้าของระบบปฏิบัติการส่วนหนึ่งสำหรับรถยนต์ใหม่บนท้องถนนถึง 95%

บริษัทเทคโนโลยีรายใหญ่เริ่มเข้ามาแทนที่ผู้ผลิตอุปกรณ์ยานยนต์ (ระดับ Tier 1) ในฐานะผู้ให้บริการซอฟต์แวร์ในรถยนต์ (อาทิ Google Automotive Services และ CarPlay) และยังขยายเครือข่ายของตนเพื่อเคลมส่วนแบ่งการตลาดที่มากขึ้นในขอบเขตของระบบปฏิบัติการรถยนต์ (อาทิ ความร่วมมือระหว่าง Renault กับ Google หรือ ความร่วมมือของ VW กับ Microsoft) นอกจากนี้ ยักษ์ใหญ่ด้านเทคโนโลยีหลายรายยังเกี่ยวข้องโดยตรงกับการพัฒนา การผลิต และการจำหน่ายรถยนต์ อาทิ Foxconn, Huawei, Alibaba, Xiaomi, Tencent และ Sony ที่ล้วนเป็นตัวอย่างของเทรนด์ที่เกิดขึ้นนี้

“เป็นไปไม่ได้ที่ผู้ผลิต OEM หรือซัพพลายเออร์แบบดั้งเดิมจะประสบความสำเร็จแต่เพียงผู้เดียว อย่างน้อยแต่ละรายต้องร่วมมือกับยักษ์ใหญ่ด้านดิจิทัล หากพวกเขาต้องการรักษากำไรและเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันในอุตสาหกรรมนี้” ปาเชโก กล่าวสรุป

supersab

Recent Posts

Valera เตรียมเปิดตัวในไทย! ยกระดับการดูแลเส้นผมด้วย AI และนวัตกรรมจากสวิตเซอร์แลนด์

เตรียมพบกับการเปิดตัวสุดพิเศษ! Valera แบรนด์ชั้นนำจากสวิตเซอร์แลนด์ผู้เชี่ยวชาญด้านอุปกรณ์ดูแลเส้นผมและการ Grooming สำหรับผู้ชาย กำลังจะมาสร้างปรากฏการณ์ใหม่ในวงการความงามของไทย ด้วยการเปิดตัวผลิตภัณฑ์ที่มาพร้อมกับเทคโนโลยี AI สุดล้ำ ที่จะปฏิวัติวิธีการดูแลเส้นผมให้สะดวกสบายและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น พร้อมสัมผัสประสบการณ์การจัดแต่งทรงผมที่ทั้งเหนือชั้นและทันสมัยในทุกการใช้งาน ภายในเต็มไปด้วยกิจกรรมมากมาย ทั้งนวัตกรรมการดูแลเส้นผมระดับโลก ช่างผมมืออาชีพชั้นนำที่จะมาแบ่งปันเทคนิคการใช้ผลิตภัณฑ์ พร้อมกิจกรรมสุดพิเศษที่ไม่ควรพลาด!…

10 hours ago

AIS ขับเคลื่อนการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน ด้วยสินเชื่อสีเขียว Green Loan ยกระดับขีดความสามารถโครงข่าย 5G สู่ Green Network

AIS ตอกย้ำการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนที่มุ่งสร้างการเติบโตร่วมกันของผู้คน เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อมในโลกดิจิทัล พร้อมผนึกกำลังร่วมกับสถาบันทางการเงินชั้นนำลงนามรับการสนับสนุนสินเชื่อสีเขียวเพื่อสิ่งแวดล้อม (Green Loan) ครั้งแรกในอุตสาหกรรมโทรคมนาคมไทย มูลค่ารวม 2,000 ล้านบาท ระยะเวลา 7 ปี จาก…

10 hours ago

HPE ประกาศขยายระบบ ‘HPE Aruba Networking Central’ เดินหน้าการขับเคลื่อนด้วย AI มุ่งยกระดับประสบการณ์ผู้ใช้งานผ่านนวัตกรรมแห่งอนาคต

ฮิวเลตต์ แพคการ์ด เอนเตอร์ไพรส์ (Hewlett Packard Enterprise) ประกาศเดินหน้าขยายบริการ HPE Aruba Networking Central ซึ่งเป็นโซลูชันการจัดการเครือข่ายที่ขับเคลื่อนด้วย AI โดยเน้นความปลอดภัยเป็นสิ่งสำคัญ มาพร้อมด้วยข้อมูลและคุณสมบัติ…

11 hours ago

Prudential จับมือ Google Cloud ใช้ Generative AI ยกระดับการเคลมประกันสุขภาพให้รวดเร็วและราบรื่น

Google Cloud และ Prudential PLC (“Prudential”) ประกาศว่า Prudential จะนำ MedLM โมเดลพื้นฐานของ Google ที่ถูกปรับแต่งให้เหมาะกับการใช้งานในอุตสาหกรรมสุขภาพ มาใช้เพื่อเพิ่มความแม่นยำและประสิทธิภาพในการตัดสินใจการเคลมประกันสุขภาพ Prudential…

11 hours ago

ทีเอ็นกรุ๊ป เปิดตัว Venz ORBIT เครื่องฟอกอากาศสุดล้ำที่คว้ารางวัลระดับโลก iF Design Award 2023

บทีเอ็นกรุ๊ป ตอกย้ำความเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีเพื่อการอยู่อาศัย ด้วยการเปิดตัวเครื่องฟอกอากาศรุ่นใหม่ล่าสุด "Venz ORBIT" จากแบรนด์ Venz ที่ไม่เพียงแค่ฟอกอากาศให้บริสุทธิ์เท่านั้น แต่ยังมีดีไซน์ล้ำสมัย การันตีด้วยรางวัลระดับโลก iF Design Award 2023 ซึ่งสะท้อนถึงความลงตัวของทั้งดีไซน์และประสิทธิภาพการทำงาน…

11 hours ago

TU-RAC เตรียมความพร้อมครูไทย (ระดับประถมศึกษา) ในโลกยุคดิจิทัล เปิดหลักสูตรด้านการรู้เท่าทันสื่อ เพิ่มขีดความสามารถเด็กไทย ฉลาดทันสื่อ

สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษา แห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หรือ TU-RAC ร่วมกับกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ เปิดตัวโครงการหลักสูตรอบรมพัฒนาศักยภาพครูผู้สอนในหลักสูตรการรู้เท่าทันสื่อระดับประถมศึกษา และจัดฝึกอบรมทักษะการรู้เท่าทันสื่อ ที่ครอบคลุมสำหรับครูไทย เพื่อเตรียมความพร้อมครู และบุคลากรทางการศึกษาให้สามารถจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรฐานสมรรถนะด้านการรู้เท่าทันสื่อ และการใช้สื่อเทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อการเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์ของผู้เรียน ในระหว่างวันที่ 26-27 ตุลาคม…

11 hours ago