Business

Bluebik ส่ง บลูบิค ไททันส์ รุกตลาดไซเบอร์ซิเคียวริตี้เต็มสูบ

บริษัท บลูบิค กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) “Bluebik” หรือ BBIK เดินหน้าบุกตลาดไซเบอร์ซิเคียวริตี้ หลังบอร์ดอนุมัติจัดตั้งบริษัทย่อย บลูบิค ไททันส์ จำกัด เมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา พร้อมผนึกกำลังผู้เชี่ยวชาญด้านไซเบอร์ซิเคียวริตี้ที่มีประสบการณ์มากกว่า 15 ปี จากบริษัทที่ปรึกษาชั้นนำระดับโลก มาร่วมนำทัพให้บริการด้านความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์แบบครบวงจร หวังสร้างมาตรฐานดิจิทัล ทรัสต์ (Digital Trust) ให้องค์กรธุรกิจ เพื่อรองรับการทำดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชันที่ต้องทำควบคู่กับการยกระดับความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์

พชร อารยะการกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บลูบิค กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ BBIK กล่าวว่า ในปัจจุบันอุบัติการณ์ทางไซเบอร์ได้เพิ่มขึ้นอย่างทวีคูณ เนื่องจากเมื่อธุรกิจเข้าสู่โลกดิจิทัลมากขึ้น มีปริมาณข้อมูลในระบบเพิ่มขึ้น จึงดึงดูดผู้ไม่ประสงค์ดีที่ต้องการเข้ามาหาประโยชน์หรือโจมตีทางไซเบอร์ จนเกิดความเสียหายเป็นมูลค่ามหาศาลทั้งทางตรงและทางอ้อม โดยความเสียหายที่สามารถกู้คืนมาได้ยากที่สุด คือ ความเชื่อมั่นทางธุรกิจ (Digital Trust) โดยงบประมาณที่ใช้เพื่อแก้ไขความเสียหายที่เกิดขึ้นนั้นมากกกว่าการป้องกันหลายเท่า จึงจำเป็นต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญเข้ามาช่วยสร้างความเชื่อมั่นให้องค์กรและคู่ค้า เพื่อทำให้ธุรกิจมีความมั่นคงปลอดภัยและสามารถเติบโตได้อย่างไม่สะดุด

“แม้องค์กรส่วนใหญ่เริ่มหันมาให้ความสำคัญกับเรื่องนี้อย่างจริงจัง หลัง พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA) และ พ.ร.บ.การรักษาความปลอดภัยมั่นคงไซเบอร์มีผลบังคับใช้ แต่ยังมีธุรกิจอีกเป็นจำนวนมากที่ไม่ตระหนักว่าตนกำลังเผชิญความเสี่ยงทางไซเบอร์ และยังไม่ทราบว่าต้องดำเนินการป้องกันการถูกโจมตีอย่างไร ดังนั้นการใช้ผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์เช่น ‘บลูบิค’ จึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่สามารถเพิ่มความมั่นคงปลอดภัยให้กับธุรกิจได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน” พชร กล่าว

แคสเปอร์สกี้ เผยยอดฟิชชิ่งในอาเซียนครึ่งปีแรก สูงกว่ายอดปีก่อนทั้งปี

ทั้งนี้ แนวโน้มการเติบโตของธุรกิจไซเบอร์ซิเคียวริตี้สะท้อนผ่านคาดการณ์ของ Cybersecurity Venture ประเมินว่าค่าใช้จ่ายด้านความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ในช่วงปี 2564 – 2568 มีมูลค่ารวมสูงถึง 1.76 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ยปีละ 15% บลูบิคจึงมองเห็นโอกาสในการชิงส่วนแบ่งการตลาดในธุรกิจไซเบอร์ซิเคียวริตี้ซึ่งมีศักยภาพในการเติบโตสูง

พลสุธี ธเนศนิรัตศัย ผู้อำนวยการ บริษัท บลูบิค ไททันส์ จำกัด กล่าวว่า ปัจจุบันไซเบอร์ซิเคียวริตี้กำลังเป็นอีกหนึ่งโจทย์ความท้าทายของภาคธุรกิจ เนื่องจากจำนวนและแนวโน้มภัยคุกคามที่มีจำนวนเพิ่มมากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ รวมถึงผลกระทบทางธุรกิจที่ได้รับทราบจากหลายเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในช่วงที่ผ่านมาทั้งในและต่างประเทศ การบริหารจัดการด้านความมั่นคงปลอดภัยที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลจึงไม่อาจถูกมองว่าเป็นภาระหน้าที่ของหน่วยงานไอทีแต่เพียงฝ่ายเดียว หากแต่มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องได้รับการสนับสนุนและความร่วมมือจากทุกภาคส่วนในองค์กร ตั้งแต่ระดับผู้นำ ผู้บริหาร หน่วยงานธุรกิจ รวมไปถึงฝ่ายบุคคล ฝ่ายกฎหมาย ฝ่ายสื่อสารองค์กร และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางอื่นๆ ด้วยเหตุนี้ ‘บลูบิค ไททันส์’ จึงได้มีการออกแบบบริการที่ครอบคลุมตั้งแต่การวางแผนกลยุทธ์และกรอบการบริหารจัดการ การยกระดับมาตรการป้องกัน และการรับมือเหตุละเมิดความมั่นคงปลอดภัย เพื่อตอบสนองความต้องการดังกล่าวและทำให้แผนงานด้านไซเบอร์ซิเคียวริตี้ของลูกค้าสามารถบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้ผ่าน 4 บริการหลัก ดังต่อไปนี้

1) การวางแผนกลยุทธ์และกรอบการบริหารจัดการ (Business-Cybersecurity Alignment) วิเคราะห์บริบททางธุรกิจและความเสี่ยงทางไซเบอร์ โดยอ้างอิงมาตรฐานด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวาง เพื่อกำหนดแนวทางในการยกระดับความมั่นคงปลอดภัยในทุกระดับ ได้แก่ โครงสร้างการบริหารจัดการ นโยบาย กระบวนการ บุคลากรและเทคโนโลยี เพื่อตอบโจทย์ความต้องการทางธุรกิจและความเหมาะสมด้านทรัพยากรขององค์กร

2) การประเมินมาตรการควบคุมและป้องกัน (Critical Cyber Risk Remediation) ประเมินมาตรการควบคุมและป้องกันตามแนวปฏิบัติด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ที่ดี เพื่อระบุขอบเขตและเรื่องที่ควรได้รับการปรับปรุง ตั้งแต่ระดับนโยบาย กระบวนการ บุคลากรและเทคโนโลยี ซึ่งจะนำไปสู่การนำเสนอแนวทางในการยกระดับความมั่นคงปลอดภัยและการจัดลำดับความสำคัญ โดยพิจารณาความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นและผลกระทบต่อผู้ที่มีส่วนได้เสียทางธุรกิจ

3) การยกระดับมาตรการควบคุมและป้องกัน (Strengthened Security-by-Design Controls) เป็นการยกระดับความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ให้กับองค์กร ด้วยการออกแบบระบบการบริหารจัดการ การเลือกใช้เทคโนโลยีและโซลูชันที่เหมาะสมเฉพาะราย เพราะแต่ละองค์กรมีพื้นฐานระบบข้อมูลและปัจจัยความเสี่ยงไม่เหมือนกัน

4) การวางแผนและรับมือเหตุละเมิดความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ และบริการอื่นๆ (Cyber Response Readiness) เป็นการวางแผนรับมือเพื่อเตรียมความพร้อมก่อนเกิดเหตุภัยคุกคามทางไซเบอร์ และให้คำแนะนำในขณะเกิดเหตุการณ์โดยผู้เชี่ยวชาญในการระงับเหตุ ตลอดจนสืบสวนเพื่อหาสาเหตุของปัญหาที่เกิดขึ้น และกำหนดแนวทางเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเหตุซ้ำได้อีก

นอกจากบริการที่ปรึกษาด้านไซเบอร์ซิเคียวริตี้แล้ว บลูบิค ไททันส์ ยังจับมือกับพันธมิตรทางธุรกิจซึ่งเป็นบริษัทชั้นนำด้านไอทีระดับโลก เพื่อรองรับงานด้านการติดตั้งระบบ (Implementation) ไซเบอร์ซิเคียวริตี้ให้กับลูกค้า รวมถึงมีแผนขยายการให้บริการที่เกี่ยวกับ Cloud Security ในอนาคตอีกด้วย

“เมื่อภาคธุรกิจจำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีเพื่อสร้างข้อได้เปรียบและโอกาสเติบโตทางธุรกิจ แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้เช่นกันว่าโอกาสเหล่านี้มักมาพร้อมความเสี่ยง ดังนั้นทุกองค์กรโดยเฉพาะองค์กรที่กำลังทำหรือทำดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชันไปแล้ว องค์กรที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูล รวมถึงบริษัทที่ใช้ประโยชน์จากช่องทางออนไลน์ทุกรูปแบบ จำเป็นต้องเร่งวางแผนบริหารจัดการความเสี่ยงทางไซเบอร์อย่างรัดกุม เพราะความเสียหายที่เกิดจากภัยคุกคามทางนั้น นอกจากจะนำไปสู่ความสูญเสียด้านการเงินแล้ว ยังส่งผลต่อความน่าเชื่อถือขององค์กรจนอาจทำให้เกิดความเสียเปรียบในการแข่งขันในโลกเศรษฐกิจดิจิทัลที่กำลังทวีความรุนแรงมากขึ้นในปัจจุบัน” พลสุธี กล่าวทิ้งท้าย

supersab

Recent Posts

vivo V50 เปิดตัวแล้ว มาพร้อมกล้อง ZEISS 50MP ในราคาเริ่มต้น 15,999 บาท

เปิดตัว vivo V50 สมาร์ทโฟนรุ่นล่าสุดในตระกูล V Series ที่มาพร้อมคอนเซปต์ "ถ่ายที่รักอย่างโปร" ชูจุดเด่นกล้อง ZEISS ความละเอียด 50 ล้านพิกเซลรอบด้าน อัดแน่นด้วยฟีเจอร์ AI…

1 hour ago

LINE MAN เผยเทรนด์ “ชาไทย Specialty” แรงจัด! ยอดสั่งพุ่ง 81% ร้านใหม่ผุด 205%

กระแสชาไทย Specialty ฟีเวอร์! ข้อมูลจาก LINE MAN เผยให้เห็นถึงการเติบโตอย่างก้าวกระโดดของตลาด "ชาไทย Specialty" ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา ที่มียอดสั่งซื้อทะยาน 81% ร้านใหม่ตบเท้าเปิดตัวเพิ่มขึ้นถึง…

4 hours ago

China Unicom to Blanket 300+ Cities with 5G-Advanced by 2025, While Thailand Leads APAC’s 5G Revolution

China Unicom has launched its ambitious 5G-Advanced Action Plan, setting the stage for a significant…

6 hours ago

AIS ผนึกกำลังพันธมิตรภาครัฐ เดินหน้าจัดระเบียบสายสื่อสาร ถนนวิทยุ สร้างมหานครสวยงาม ปลอดภัย

AIS จับมือ การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.), กสทช., กรุงเทพมหานคร และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ระดมทีมวิศวกรเข้าดำเนินการจัดระเบียบสายสื่อสารบนเสาไฟฟ้าและนำลงใต้ดิน บริเวณถนนวิทยุ ตั้งแต่แยกวิทยุ ถึงแยกเพลินจิต ทั้งสองฝั่ง ตลอดแนวถนน การดำเนินงานในครั้งนี้ มุ่งเน้นไปที่ความปลอดภัยของประชาชนและการลดความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ…

6 hours ago

“Trumpism 2.0” กระแทกโลก! สกสว. ชี้ไทยต้องเร่งเครื่อง BCG Economy ดันนวัตกรรมรับมือ ตั้งเป้าปั้นไทยเป็นฮับเทคโนโลยีอาเซียน ดึงต่างชาติร่วมลงทุน

ในยุคที่ "Trumpism" กำลังเขย่าวงการโลกอีกครั้ง กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดย สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ได้จัดเวทีเสวนา “Trump 2.0 วิกฤตหรือโอกาสของระบบ ววน. ไทย” เพื่อวิเคราะห์ผลกระทบจากนโยบาย "America…

6 hours ago

องค์กร 61% กังวลความปลอดภัยคลาวด์ ฟอร์ติเน็ตแนะใช้แพลตฟอร์มรวมศูนย์-เสริมทักษะรับมือภัยคุกคามยุคใหม่

ฟอร์ติเน็ต เปิดเผยผลสำรวจล่าสุดจากรายงานสถานะความปลอดภัยระบบคลาวด์ประจำปี 2568 (2025 State of Cloud Security Report) ซึ่งจัดทำโดย Cybersecurity Insiders ชี้ให้เห็นว่า องค์กรส่วนใหญ่กำลังเผชิญกับความท้าทายในการรักษาความปลอดภัยบนคลาวด์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของการปฏิบัติตามกฎระเบียบและการปกป้องข้อมูล…

6 hours ago