ผ่านพ้นไปแล้วกับงาน AIS Business Digital Future 2024: DIGITAL INDUSTRY EVOLUTION Cross Collaboration Ecosystem เป็นอีกหนึ่งงานที่ภาคธุรกิจได้เห็นดิจิทัลโซลูชันใหม่ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อการขับเคลื่อนธุรกิจไปโลกยุคดิจิทัล และยังเป็นยุคที่มีความท้าทายในหลายด้านทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นความท้าทายด้านเศรษฐกิจ สงครามทางการค้า หรือความขัดแย้งระหว่างมหาอำนาจ ไม่เพียงเท่านั้น สิ่งที่สำคัญกว่าคือ ผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เป็นสิ่งที่คนทั่วโลกต้องหันมาให้ความสำคัญกับการทำธุรกิจมากขึ้น
ธนพงษ์ อิทธิสกุลชัย หัวหน้าคณะผู้บริหารกลุ่มลูกค้าองค์กร AIS กล่าวว่า ทุกธุรกิจต้องเริ่มมองว่าจะปรับเปลี่ยนการทำงานอย่างไร AIS เองมีความท้าทายคล้ายๆ กับทุกบริษัท ไม่ว่าจะเป็นการจัดการ Customer Experience รูปแบบใหม่ให้สอดคล้องกับพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปของลูกค้า ทำอย่างไรที่จะขับเคลื่อนธุรกิจให้มีความต่อเนื่อง และยืดหยุ่นในการปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมและการเปลี่ยนแปลงต่างๆ จะจัดการต้นทุนอย่างมีประสิทธิภาพได้อย่างไร รวมถึงการบริหารจัดการด้านความยั่งยืน หรือ ESG ซึ่งเป็นหัวข้อที่องค์กรทุกขนาดเริ่มสนใจเข้ามาจัดการและลงทุนกันมากขึ้น
จากปัจจัยทั้งหมดทำให้ AIS นำเสนอแนวคิดของการเป็น Ecosystem Economy เป็นตัวช่วยขับเคลื่อนธุรกิจไปด้วยกัน ผ่าน 3 องค์ประกอบใหญ่
เป็นภารกิจของ AIS ในการสร้างโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลเพื่อสนับสนุนลูกค้าหรือคู่ค้าให้เจริญเติบโตไปพร้อมกัน
ธนพงษ์ กล่าวว่า Digital Infrastructure ถือว่าเป็นปัจจัยพื้นฐาน ซึ่ง AIS ยังลงทุนต่อเนื่องด้าน Digital Infrastructure ไม่ว่าจะเป็น 5G ซึ่งปัจจุบันครอบคลุมพื้นที่มากที่สุด โดยเฉพาะในพื้นที่ EEC มี Coverage เต็ม 100% ซึ่งตอบโจทย์การทำธุรกิจทั้งการทำ Private Network ที่มีความปลอดภัยสูง การทำ Network Slicing ที่มีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ AIS ยังมี AIS Fibre ที่ตอบโจทย์ธุรกิจ เพิ่มความหากหลายในการเชื่อมต่อ
ด้าน AIS Cloud X เป็นโซลูชันที่ตอบโจทย์ความต้องการของตลาด ซึ่ง AIS มีแผนลงทุนสร้างดาต้าเซ็นเตอร์ในไทยขนาด 40 เมกะวัตต์ ร่วมกับ Gulf และ Singtel
และสุดท้ายคือ Paragon Platform ที่เชื่อมต่อเครือข่าย 5G, Fibre, Edge Computing, Cloud, และ Software Application ช่วยให้ลูกค้าทำ Digitization ได้ดีขึ้น
ไม่เพียงเท่านี้ AIS ยังเปิดตัว CPaaS (Communications Platform as a Services) ครั้งแรกในไทย เป็นระบบแพลตฟอร์มที่จะช่วยเพิ่มความสามารถการจัดการ Customer Experience จัดการการสื่อสารกับลูกค้าได้หลากหลายช่องทางไม่ว่าจะเป็น Voice, VDO หรือ Mobile
“CPaaS เป็นแพลตฟอร์มที่ได้รับการพัฒนาโดยกลุ่ม Biz Alliance เป็นกลุ่ม Telecom Operator 34 ราย ทั่วภูมิภาค เราจับมือในการสร้างโซลูชันเพื่อตอบสนองลูกค้า ปัจจุบัน Biz Alliance รองรับลูกค้ามากกว่า 1,000 ล้าน Subscribe เป็นระบบนิเวศที่ใหญ่มาก” ธนพงษ์ กล่าว
ธนพงษ์ กล่าวต่อว่า นอกจากการมี Communication Platform ที่ดีเข้าถึงลูกค้าได้อย่างทั่วถึงและหลายรูปแบบแล้ว ปัจจุบันคนยังมีความต้องการด้าน Mobility คือ ทำอย่างไรที่พนักงานสามารถทำได้งานได้ทุกที่ ทุกเวลา ไม่ว่าจะเป็นองค์กรขนาดใหญ่จนถึง SMEs ซึ่งก่อนเกิด COVID-19 ไม่มีใครคาดคิดว่าสิ่งเหล่านี้จะเกิดขึ้น ทำให้วันนี้ AIS ได้เปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ที่เรียกว่า AIS Cloud PC for Business โดยความร่วมมือกับ ZTE เป็นอุปกรณ์ที่มีขนาดเท่าฝ่ามือ สามารถพกพาไปที่ไหนก็ได้
โดยจุดเด่นหลัก ของ AIS Cloud PC for Business คือ
1.Working Flexibility สามารถทำงานที่ไหนก็ได้
2.ข้อมูลจะประมวลผลอยู่บนคลาวด์ หมายความว่าความปลอดภัยของข้อมูลต่างๆ จะถูกปกป้องอย่างดีในระบบคลาวด์
3.เป็นระบบ Subscription ไม่จำเป็นต้องลงทุนซื้อ PC หรือ Laptop ด้วยระบบ AIS Cloud PC ทำให้องค์กรขับเคลื่อนการทำงานได้อย่างดี
ธนพงษ์ กล่าวว่า สิ่งที่ AIS ให้ความสำคัญอย่างมาก คือ จะทำอย่างไรให้ธุรกิจยั่งยืน AIS เชื่อเสมอว่านอกจากการทำธุรกิจ สิ่งที่จะต้องโฟกัส นอกจากการตอบแทนผู้ถือหุ้นผ่านส่วนแบ่งทางการตลาด สิ่งที่ต้องทำควบคู่กันไปคือ การสร้างผลงานต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม AIS ให้ความสำคัญเรื่องความยั่งยืนเป็นอย่างมาก มีการจัดตั้ง SD Committee เพื่อประเมินและวางแผนที่จะผลักดันนโยบายด้านความยั่งยืน ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะเกิดขึ้นไม่ได้ ถ้าบริษัทไม่โฟกัสเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างธุรกิจ
ซึ่งปัจจุบันเทคโนโลยีที่เข้ามามีบทบาทอย่างมากกับการสร้างความยั่งยืนคือ ปัญญาประดิษฐ์ (AI) ที่จะเข้ามาเปลี่ยนความสามารถของคนให้ทำงานได้มากขึ้น ดีขึ้น และในครั้งนี้ AIS ได้จับมือกับ Microsoft เป็นพาร์ทเนอร์ในการนำ AI เข้ามาใช้พัฒนาการทำงานของคน
ธนวัฒน์ สุธรรมพันธุ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวถึงความร่วมมือในครั้งนี้ว่า Microsoft และ AIS ร่วมมือกันเพื่อจะผลักดันองค์กรให้เป็น AI First Organization โดยใช้ AI เข้ามาช่วยทำงานใน 3 ส่วนหลักคือ 1.นำมาช่วย Empower พนักงานให้มีคุณภาพมากขึ้น 2.นำมาปรับปรุงกระบวนการทำงานให้ดีขึ้น และ 3.นำมาเพิ่มประสบการณ์ลูกค้าให้ดีขึ้นผ่านการพัฒนาสินค้าและบริการ หรือแม้กระทั่งนำ AI มาปรับเปลี่ยนโมเดลธุรกิจให้ดีขึ้น
“ความร่วมมือของ Microsoft ซึ่งเป็นผู้นำด้าน AI ของโลก และ AIS ซึ่งเป็นผู้นำด้าน Digital Infrastructure ในไทย ผมเชื่อว่าความร่วมมือนี้จะช่วยสร้างผลกระทบได้อย่างมหาศาลให้กับทุกๆ คน” ธนวัฒน์ กล่าว
สำหรับความร่วมมือในครั้งนี้ AIS และ Microsoft ได้ร่วมมือกันเปิดบริการ Microsoft 365 Copilot for Enterprise ตั้งแต่วันที่ 1 พ.ย. ที่ผ่านมา และ Microsoft Teams Phone Operator Connect
สำหรับ Microsoft 365 Copilot for Enterprise มีจุดเด่นคือ การนำ Chat GPT ซึ่งเป็น Generative AI เข้ามาช่วยให้พนักงานทำงานได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ใช้เวลาในการหาและเตรียมข้อมูลน้อยลง ไม่ว่าจะเป็นตัวช่วยในการทำ Excel ที่สามารถสร้างตารางข้อมูลให้อย่างง่ายดาย หรือกับ PowerPoint ที่ช่วยสร้างพรีเซนต์ให้อัตโนมัติเพียงแค่ใส่คำสั่งเข้าไป
ขณะที่การใช้งาน Microsoft Teams เวลาประชุม AI จะช่วยจดบันทึกโดยแยกเสียงของแต่ละคนออกจากกัน ช่วยสรุปสาระสำคัญการประชุม และส่งข้อมูลไปให้กับคนที่ต้องทำงานต่อไปได้
ด้าน Microsoft Teams Phone Operator Connect โซลูชันนี้ AIS เปิดตัวเป็นรายแรกในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยนำความสามารถของ Microsoft Teams มาเชื่อมกับโครงสร้างพื้นฐานของ AIS ให้ลูกค้าสามารถโทรออกไปยังเบอร์บ้านหรือเบอร์มือถือก็ได้
อีกส่วนคือการนำ AI เข้ามาช่วยดูแลด้านบริการลูกค้าของ AIS ผ่านการนำ AI Voice Bot เข้ามาช่วยรับมือสายที่โทรเข้ามาของลูกค้า และยังช่วย Up sale สินค้าและบริการ ไปจนถึงการปิดการขายอีกด้วย
“AIS เริ่มทดลองใช้ AI Voice Bot แล้ว โดยเราทดสอบกับเอเย่นต์ ซึ่ง AI สามารถเก็บเงินได้เก่งกว่าเอเย่นต์ ในขณะที่ใช้ต้นทุนต่ำกว่า” ธนพงษ์ กล่าว
“AI Voice Bot จะช่วยให้เราสามารถทำ Hyper Personalization ให้ลูกค้าแบบ Fully Automated ในระดับบุคคล สามารถวิเคราะห์และนำสิ่งนี้มาพัฒนาบริการของเราได้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการเตือนลูกค้าว่าประกันจะหมดอายุ การเตือนลูกค้าว่าครบชำระรอบบิลต้องจ่ายแล้ว ซึ่งเรามี Use Case ในหลายประเทศใช้ AI Voice Bot เข้ามาช่วยพัฒนาการทำธุรกิจ” ธนพงษ์ กล่าวเพิ่มเติม
เป็นอีกไฮไลท์ที่สำคัญของ AIS ในการช่วยองค์กรในภาคอุตสาหกรรมต่างๆ ขับเคลื่อนธุรกิจ
สำหรับประเทศไทยหลายคนมองว่าเป็นประเทศเกษตรกรรม แต่จากข้อมูลจะเห็นว่า GDP ของไทยถูกขับเคลื่อนจากภาคการผลิตหรือ Manufacturing ถึง 34% ไม่กี่เดือนที่ผ่านมา ผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้า (EV) รายใหญ่เริ่มทยอยเข้ามาในไทย อันดับ 2 คือ ภาคบริการหรือ Services ที่ 27% ถูกขับเคลื่อนด้วยการท่องเที่ยวเป็นหลัก ต่อมาด้วย Commerce 18% ขณะที่ภาคเกษตรขับเคลื่อนแค่ 9% ของ GDP เท่านั้น และจากการเกิดดิสรัปชันของเทคโนโลยี จะเห็นว่ามีอุตสาหกรรมใหม่ๆ เกิดขึ้นมาเป็น New S-Curve ให้ประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็นด้าน ยานบนต์ อิเล็กทรอนิกส์ เฮลท์แคร์ รวมถึงการจัดหาบริการที่อาศัยเทคโนโลยีต่างๆ เข้ามามีบทบาทมากขึ้น
และการจัดงาน AIS Business Digital Future 2024: DIGITAL INDUSTRY EVOLUTION Cross Collaboration Ecosystem ในครั้งนี้ AIS ได้ยกตัวอย่างความสำเร็จของบริษัทที่อยู่ใน อุตสาหกรรมการผลิต – ธุรกิจขนส่งและโลจิสติกส์ – ธุรกิจผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์และค้าปลีก ที่ได้นำโซลูชันจาก AIS ไปช่วยพัฒนาการทำธุรกิจให้เป็นดิจิทัลไปอีกขั้นดังนี้
Siam Toyota Manufacturing
โรงงานผลิตเครื่องยนต์ และชิ้นส่วนเครื่องยนต์ ให้กับโรงงานประกอบรถยนต์ Toyota ทั้งในประเทศและส่งออกต่างประเทศ นำเทคโนโลยีเข้าไปช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต บริหารการใช้พลังงานให้มีประสิทธิภาพ เพื่อตอบสนองนโยบายความเป็นกลางทางคาร์บอน ส่งเสริมการใช้พลังงานสะอาด
และยังใช้ Automation และ IoT เชื่อมต่ออุปกรณ์ในโรงงานผลิตผ่านอินเตอร์เน็ต ซึ่งจำเป็นต้องวางโครงสร้างพื้นฐาน ทั้ง 5G ที่เป็นส่วนสำคัญในการเชื่อมต่อและจัดการข้อมูลอย่างรวดเร็ว
“เราร่วมมือกับ AIS นำ Energy Management Platform มาใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยติดตามและวิเคราะห์การใช้พลังงานได้แบบ Real Time” ณรงค์ชัย บัณฑิตวรภูมิ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ Siam Toyota Manufacturing กล่าว
Hutchison Ports Thailand
Hutchison Ports Thailand บริษัทที่ทำธุรกิจท่าเทียบเรือสินค้า ในการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน นำเทคโนโลยีที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ เน้นความปลอดภัยในการทำงาน โดยพัฒนา Smart Seaport โดยมีปั้นจั่นยกตู้สินค้าหน้าท่าและในลานตู้สินค้า ที่สามารถควบคุมจากระยะไกลหรือ Remote Control Operation และรถบรรทุกอัตโนมัติไร้คนขับ ซึ่งถือเป็นท่าเทียบเรือแห่งแรกของโลกที่นำรถบรรทุกประเภทนี้มาปฏิบัติงานในเส้นทางจราจรร่วมกับรถบรรทุกที่มีคนขับ และยังให้บริการระบบ Automatic Gate ทำให้รถบรรทุกตู้สินค้าผ่านเข้าออกได้โดยระบบอัตโนมัติ
“ระบบต่างๆ ทำงานบนโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล เราใช้ AIS 5G เข้ามาช่วยให้เราปรับปรุง เปลี่ยนแปลงการทำงาน สู่การเป็น World’s Leading Port Network” อาณัติ มัชฌิมา ประธานบริหารงานทั่วไป บริษัท ฮัทชิสัน พอร์ท (HPT) กล่าว
Central Pattana
เซ็นทรัลพัฒนา มุ่งมั่นจะสร้างสรรค์อนาคตที่ดีและยั่งยืน สร้างวิวัฒนาการของการทำธุรกิจและการใช้ชีวิต พัฒนาโมเดลธุรกิจที่เรียกว่า The Ecosystem for All โดยเชื่อมโยงทุกฝ่ายแบบไร้รอยต่อ ตั้งแต่ธุรกิจศูนย์การค้า ที่อยู่อาศัย โรงแรม และอาคารสำนักงาน
“AIS เป็นหนึ่งในพันธมิตรหลักที่สำคัญ ที่ช่วยผลักดันให้ศูนย์การค้าในเครือของเซ็นทรัลให้เป็นศูนย์การค้าที่ดี สร้างประสบการณ์ที่ดีกับลูกค้า โดย AIS ได้ร่วมพัฒนาและให้บริการโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลเพื่อการต่อยอดศูนย์การค้า ให้พร้อมรองรับต่อการเปลี่ยนแปลงเป็น Lifestyle Destination ที่สมบูรณ์แบบทั้งในวันนี้และในอนาคต” วัลยา จิราธิวัฒน์ กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ. เซ็นทรัลพัฒนา กล่าว
“AIS ภูมิใจที่ได้ให้บริการกับองค์กรชั้นนำ เราตั้งใจจะส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัลไทย ร่วมมือกับธุรกิจและพาร์ทเนอร์ในการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ประโยชน์ ทั้งนี้ AIS เชื่อว่าการทำ Cross Industries Collaboration ไม่ใช่เพื่อการเติบโตของธุรกิจเพียงอย่างเดียว แต่จะเป็นการสร้างความยั่งยืนให้กับธุรกิจในระยะยาวอีกด้วย” ธนพงษ์ กล่าวสรุป
นายจิรุตม์ วิศาลจิตร อธิบดีกรมการขนส่งทางบก (ขบ.) และนายอรรถวิท รักจำรูญ กรรมการฯ รักษาการแทนกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ขนส่ง จำกัด (บขส.) ลงพื้นที่สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (จตุจักร) หรือ…
บริษัท บางจาก ศรีราชา จำกัด (มหาชน) หรือ BSRC เปิดบ้านต้อนรับคณะสื่อมวลชนจากหลากหลายสำนักที่เดินทางมาเยี่ยมชมโรงกลั่นน้ำมันบางจาก ศรีราชา อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรม Press Visit “BSRC:…
บริษัท เอพี ไทยแลนด์ จำกัด (มหาชน) ผู้นำธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ไทย ภายใต้คำมั่นสัญญา “ชีวิตดีๆ ที่เลือกเองได้” โดย นายวิทการ จันทวิมล รองกรรมการผู้อำนวยการ สายงานกลยุทธ์องค์กรและการสร้างสรรค์ รับรางวัล…
Krungthai COMPASS มีมุมมองต่อยอดขายรถยนต์ไทยในปี 2567-68 อาจอยู่ในระดับต่ำที่ปีละ 0.6-0.61 ล้านคัน ลดลงจากค่าเฉลี่ยในอดีต (ปี 2564-66) เกือบ 25% โดยมีแรงกดดันหลักจาก 1) กำลังซื้อของผู้บริโภคที่แผ่วลง…
Huawei Cloud ผงาดขึ้นแท่นผู้นำระดับโลกในบริการคอนเทนเนอร์ คว้าอันดับ 1 ในรายงาน Omdia Universe: Cloud Container Management & Services, 2024-25 ตอกย้ำความเป็นเจ้าแห่งเทคโนโลยี…
ในยุคที่ผู้บริโภคใส่ใจในแบรนด์ที่สะท้อนรสนิยมและความสนใจของตัวเองมากขึ้น "Lifestyle Brand" หรือ "แบรนด์ไลฟ์สไตล์" จึงกลายเป็นกลยุทธ์สำคัญที่ช่วยสร้างความผูกพันอันแข็งแกร่งกับลูกค้า โดยนำเสนอมากกว่าแค่สินค้าหรือบริการ แต่เป็นการนำเสนอ "วิถีชีวิต" ที่ลูกค้าใฝ่ฝัน จากรายงาน Business of Fashion (BoF)…