Economy

บ้านสมเด็จโพลล์ เปิดผลสำรวจคนไทยกว่า 87% พร้อมเปย์ค่าสมาชิกดูคอนเทนต์ผ่าน OTT แต่ไม่วายเจอโฆษณาคั่นทั้งที่เสียตังค์ดู จี้ กสทช. คุมเข้มให้เกิดความเป็นธรรม

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สิงห์ สิงห์ขจร ประธานคณะกรรมการศูนย์สำรวจความคิดเห็นบ้านสมเด็จโพลล์ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับการให้บริการเนื้อหาวิดีโอโดยการสตรีมผ่านอินเทอร์เน็ต (OTT) โดยเก็บจากกลุ่มตัวอย่างจากประชาชนที่อาศัยอยู่ในจังหวัดกรุงเทพมหานคร จำนวนทั้งสิ้น 1,114 กลุ่มตัวอย่าง ระหว่างวันที่ 7 – 10 เมษายน 2567 พบว่า

กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ ร้อยละ 91.3 ใช้บริการเนื้อหาวิดีโอโดยการสตรีมผ่านอินเทอร์เน็ต (OTT) ในจำนวนนี้ใช้บริการแบบเสียค่าสมาชิก ร้อยละ 87.1 และใช้บริการ OTT​ มากกว่า 1 แพลตฟอร์ม ถึงร้อยละ 90.1

ส่วนการใช้บริการ OTT จากผู้ให้บริการที่เจ้าของเป็นบริษัทในประเทศไทย อันดับที่หนึ่ง คือ TRUEID ร้อยละ 49 อันดับที่สอง คือ AISPLAY ร้อยละ 44.3 อันดับที่สาม คือ 3 PLUS ร้อยละ 18 อันดับที่สี่ คือ MONOMAX ร้อยละ 13.3 และอันดับที่ห้า คือ Bugaboo inter ร้อยละ 8.4

ส่วนการใช้บริการ OTT​ จากผู้ให้บริการที่เจ้าของเป็นบริษัทอยู่ในต่างประเทศ อันดับที่หนึ่ง คือ Netflix ร้อยละ 67 อันดับที่สอง คือ Youtube ร้อยละ 48.7 อันดับที่สาม คือ Disney plus Hotstar ร้อยละ 15.3 อันดับที่สี่ คือ Viu ร้อยละ 13.3 และอันดับที่ห้า คือ iQIYI ร้อยละ 12.2

ปัจจุบันคนส่วนใหญ่ ร้อยละ 75.5 ยอมเสียค่าใช้จ่ายในการใช้บริการ OTT ในอัตราเดือนละ 1 – 500 บาทมากที่สุด โดยร้อยละ 65.8 คิดว่าค่าใช้จ่ายในการใช้บริการมีความเหมาะสม ขณะที่ร้อยละ 74.7 คิดว่าค่าใช้จ่ายที่เหมาะสมในการใช้บริการคือ 1 – 500 บาท ต่อเดือน

กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ที่ใช้บริการ OTT​ แบบเสียค่าสมาชิก ร้อยละ 73.8 คิดว่าไม่ควรมีโฆษณาคั่นในแพกเกจแบบเสียค่าสมาชิก และ 1 ใน 4 ของผู้ชม หรือประมาณร้อยละ 25.6​ เคยพบโฆษณาคั่นในแพกเกจแบบเสียค่าสมาชิก

สำหรับเหตุผลที่ผู้รับชมเลือกใช้บริการแพกเกจแบบเสียค่าสมาชิก

  • อันดับที่หนึ่ง คือ ต้องการรับชมเนื้อหาที่สนใจ ร้อยละ 72.2
  • อันดับที่สอง คือ ไม่ต้องการรับชมโฆษณา ร้อยละ 19.4
  • อันดับที่สาม คือ ต้องการติดตามดาราที่ชื่นชอบ ร้อยละ 6.8

กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ ร้อยละ 42.3 เห็นว่า ภาครัฐควรจัดเก็บภาษีจากผู้ให้บริการ OTT และร้อยละ 51 มองว่า ภาครัฐไม่ควรมีการกำกับเนื้อหา แต่ร้อยละ 70.2 เห็นว่าภาครัฐควรมีการกำกับราคาค่าสมาชิกของผู้ให้บริการ OTT โดยอยากให้ภาครัฐ กำหนดบทลงโทษกับผู้ให้บริการ​ OTT​ ที่ทำให้ประชาชนได้รับผลกระทบ อันดับที่หนึ่ง คือ จ่ายค่าปรับ ร้อยละ 76.4 อันดับที่สอง คือ ปิดการสตรีมผ่านอินเทอร์เน็ต ร้อยละ 42.1 อันดับที่สาม คือ ยึดใบอนุญาต ร้อยละ 1.9

ขณะที่ช่องทางร้องเรียนเมื่อผู้รับชมพบเห็นปัญหาในการใช้บริการ OTT อันดับที่หนึ่ง คือ คอลเซ็นเตอร์ของผู้ให้บริการ OTT ร้อยละ 54.4 , อันดับที่สอง คือ คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ) ร้อยละ 16 , อันดับที่สาม คือ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ  (กสทช) ร้อยละ 13.6 , อันดับที่สี่ คือ ไม่แน่ใจ ร้อยละ 6.6 และ อันดับที่ห้า คือ กองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บช.สอท.) และ สภาองค์กรของผู้บริโภค ร้อยละ 4.7

สำหรับการให้บริการเนื้อหาวิดีโอโดยการสตรีมผ่านอินเทอร์เน็ต (OTT) คือ การให้บริการเนื้อหาสื่อรายการโทรทัศน์ ภาพยนตร์ วีดิโอ ผ่านโครงข่ายอินเทอร์เน็ต การบริการผ่าน แพลตฟอร์ม และเป็นแบบin app purchase คือ การดาวน์โหลดแอปพลิเคชั่น แล้วมีการจ่ายค่าบริการเพิ่มเติม หรือ ที่บอกรับสมาชิกและเรียกเก็บเงินโดยแพลตฟอร์ม ในปัจจุบันมีผู้ใช้บริการเนื้อหาวิดีโอโดยการสตรีมผ่านอินเทอร์เน็ต (OTT) เป็นจำนวนมากเนื่องจากสามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคจากความสะดวกสบายในการรับฟังและรับชมได้ทุกที่ ทุกเวลา ผ่านหลากหลายอุปกรณ์ โดยผู้ให้บริการเนื้อหาวิดีโอโดยการสตรีมผ่านอินเทอร์เน็ต (OTT) มีทั้งที่จดทะเบียนบริษัทในประเทศไทยที่เสียภาษีให้กับประเทศแบบถูกต้อง และแบบที่ไม่ได้จดทะเบียนในประเทศไทยโดยเงินของคนไทยที่ใช้บริการไหลออกไปยังต่างประเทศ โดยที่ประเทศไทยไม่ได้รับภาษีจากการชำระค่าบริการนั้นๆ

ทั้งนี้ในปัจจุบัน พบว่า กสทช.มีอำนาจกำกับดูแลเฉพาะบริการไอพีทีวี (IPTV) หรือโทรทัศน์ผ่านอินเตอร์เน็ต แต่สำหรับการให้บริการ OTT นั้น กสทช. ยังไม่มีกฎหมายที่ชัดเจนมากำกับดูแลโดยเฉพาะ ทำให้เกิดปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการเนื้อหาวิดีโอโดยการสตรีมผ่านอินเทอร์เน็ต (OTT) ส่วนใหญ่ คือ ไม่สามารถควบคุมเนื้อหาที่เหมาะสม การกำหนดราคาที่เหมาะสมกับผู้บริโภค การมีโฆษณาคั่นในการรับชมผ่าน OTT แม้จะมีการชำระค่าสมาชิกก็หรือค่ารับชมแล้วก็ตาม เหล่านี้ คือปัญหาที่เกิดขึ้นกับผู้บริโภคที่ไม่ได้รับการคุ้มครองเท่าที่ควร รวมถึงความเหลื่อมล้ำจากการถูกกำกับดูแลและการเสียภาษี ระหว่างผู้ให้บริการ IPTV และผู้ให้บริการ OTT ทั้งๆ ที่ลักษณะและรูปแบบของการให้บริการมิได้แตกต่างกัน กสทช. ควรหาแนวทางกำกับดูแลกิจการ OTT ให้เป็นธรรมและเหมาะสมเพื่อประชาชน

Samsung จับมือ เซ็นทรัลพัฒนา และ ททท. ชู Galaxy AI Interpreter มอบประสบการณ์เที่ยวแบบใหม่ไร้ข้อจำกัดภาษา

supersab

Recent Posts

“อมตะ”เผยผลประกอบการ 9 เดือนปี 67 บุ๊กกำไร 1,460 ลบ.เพิ่ม 21%โชว์ศักยภาพทุกธุรกิจโตแกร่งนักลงทุนใน-ตปท.ตัดสินใจซื้อพื้นที่ต่อเนื่อง

นางสาวเด่นดาว โกมลเมศ ประธานเจ้าหน้าที่การเงิน บมจ.อมตะ คอร์ปอเรชัน หรือ AMATA เปิดเผยว่า ผลประกอบการในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2567 บริษัทมีรายได้รวมทั้งสิ้น 9,011 ล้านบาท…

47 minutes ago

Epson รุกตลาดโฮมโปรเจคเตอร์ ส่งโปรดักส์ไฮเอนด์รับตลาดแอปฯ เอนเตอร์เทนเมนต์โต พร้อมจัดงาน Epson Ultra Projectors Experience Day

เอปสัน (Epson) ประกาศรุกตลาดโฮมโปรเจคเตอร์ หลังแอปพลิเคชันด้านสปอร์ตเอนเตอร์เทนเมนต์เติบโตอย่างมากทั้งในกลุ่มธุรกิจและสำหรับความบันเทิงภายในบ้าน ล่าสุดจัดงาน Epson Ultra Projectors Experience Day ณ Solution Center อาคารปัน พร้อมเปิดตัวสินค้าใหม่ในกลุ่มโฮมโปรเจคเตอร์และโปรเจคเตอร์ความสว่างสูง…

9 hours ago

“พฤกษา” ฉลองยอดขายต่างชาติพุ่ง 114% จัดงาน “Agent Day” พร้อมเปิดตัวแคมเปญ Incentive ส่งท้ายปี

พฤกษา จัดงาน “Agent Day” เฉลิมฉลองยอดขายกลุ่มลูกค้าต่างชาติที่เติบโตอย่างแข็งแกร่ง จากความร่วมมือกับเอเจนต์ทั้งในไทยและต่างประเทศ สร้างยอดขายเติบโตกว่า 114% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา ซึ่งเป็นปีแรกที่ขยายตลาดไปยังโครงการที่อยู่อาศัยแนวราบและโครงการระดับลักชัวรี ระดับราคาเริ่มต้นที่ 15 ล้านบาท สร้างยอดขายรวมกว่า 2,300 ล้านบาท ตั้งเป้า…

10 hours ago

Samsung จัดแคมเปญ “Say it with Galaxy” เทคโอเวอร์ลานลิฟต์แก้ว เซ็นทรัลเวิลด์ ชวนส่งต่อความรู้สึก “คิดถึงเท่าจักรวาล” ผ่านจอยักษ์ 4 ชั้น

Samsung ส่งแคมเปญท้ายปี “Say it with Galaxy” ที่เปลี่ยนพื้นที่ Central Court (ลานลิฟต์แก้ว) เซ็นทรัลเวิลด์ให้กลายเป็น จักรวาลแห่งความคิดถึง ชวนทุกคนส่งต่อความรู้สึกดี ๆ ผ่านจอยักษ์สูงเทียบเท่าตึก…

18 hours ago

SiPH ร่วมกับ IBM ยกระดับระบบสารสนเทศพยาธิวิทยาด้วยความก้าวหน้าทางคอมพิวเตอร์ขั้นสูงและ AI

โรงพยาบาลศิริราชปิยมหาราชการุณย์ (SiPH) โรงพยาบาลภายใต้สังกัดคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ได้ประกาศความสำเร็จในการพัฒนาระบบสารสนเทศทางพยาธิวิทยา (Pathology information system, PIS) ด้วยเทคโนโลยีทางคอมพิวเตอร์ขั้นสูงและปัญญาประดิษฐ์ (AI) โดยร่วมมือกับ IBM (NYSE: IBM) พัฒนาระบบที่รวมการทำงานของห้องปฏิบัติการ…

19 hours ago

AIS – True จับมือ กสทช. ดีอี ปภ. จ.ภูเก็ต ทดสอบระบบเตือนภัยผ่านมือถือ “LIVE – Cell Broadcast Service” ที่ภูเก็ต

AIS และ True ร่วมกับสำนักงาน กสทช. กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) และกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) พร้อมกับจังหวัดภูเก็ต จัดการทดสอบเสมือนจริงระบบแจ้งเตือนภัยฉุกเฉินผ่านมือถือ หรือ Cell Broadcast Service (CBS) ที่จังหวัดภูเก็ต…

19 hours ago