แม้ว่าผู้บริโภคจะเริ่มกลับไปจับจ่ายใช้สอยที่ร้านค้ามากขึ้น แต่พฤติกรรมการช้อปออนไลน์ที่เกิดขึ้นระหว่างการแพร่ระบาดก็ยังได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่อง อย่างที่เห็นได้จากการพึ่งพามือถือในการเข้าถึงกลุ่มลูกค้า
โดยในงานวิจัยใหม่ล่าสุดโดย Meta ชี้ว่า 67% ของนักช้อปชาวไทยที่ซื้อสินค้าในช่วงท้ายปีค้นพบผลิตภัณฑ์ใหม่ภายในร้านค้า ในขณะที่กว่า 74% บอกว่าพวกเขาค้นพบสินค้าใหม่ ๆ ทางมือถือ โดยคนกลุ่ม Gen Z และ Millennials ค้นพบสินค้าใหม่ทางมือถือเป็นหลัก คิดเป็นจำนวนกว่า 76% เพิ่มขึ้น 3% จากปีก่อนหน้า ในขณะที่การสำรวจชี้ว่านักช้อปชาวไทย 7 ใน 10 คน บอกว่าจะใช้เงินไปกับการซื้อสินค้ามากขึ้นหรือเท่าเดิมกับปีก่อนหน้า
–ช้อปปี้ จัดงาน ‘Shopee Brand Conference 2022’ ลุยยกมาตรฐานร้านค้าและแบรนด์ธุรกิจออนไลน์
ในงานวิจัย Seasonal Holidays Study ล่าสุดจาก Meta เกี่ยวกับทัศนคติและพฤติกรรมการช้อปช่วงสิ้นปี ซึ่งได้สำรวจกลุ่มตัวอย่างกว่า 18,000 คนจาก 12 ตลาดในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ซึ่งรวมไปถึง 1,509 คนจากประเทศไทยในช่วงเดือนธันวาคมปี 2564 ชี้ให้เห็นถึงห้าเทรนด์การช้อปของผู้บริโภคในช่วง Mega Sale Days สิ้นปี ที่จะช่วยให้ธุรกิจต่าง ๆ สามารถใช้โอกาสจากเทศกาลลดราคาได้มากที่สุด
- เทศกาล Mega Sale Days ช่วยให้เกิดการค้นพบและเลือกซื้อสินค้าใหม่ ๆ
โดยยังคงเป็นช่วงเวลาที่ได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่องสำหรับนักช้อป ทั้งนี้ 88% ของนักช้อปประจำช่วงสิ้นปีในประเทศไทยที่ตอบแบบสำรวจเผยว่าพวกเขามีการซื้อสินค้าในช่วง Mega Sale Days94% ของนักช้อปช่วงสิ้นปี มีโอกาสที่จะเลือกซื้อสินค้าแบรนด์ใหม่ ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในหมวดหมู่สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ (45%) เครื่องแต่งกายและแฟชั่น (43%) และอาหาร (41%) โดย 72% ของนักช้อปบอกว่าชอบที่ได้ค้นพบไอเท็มในความสนใจที่ก่อนหน้านี้พวกเขาไม่ได้มองหา ซึ่งกว่า 81% ของนักช้อปโซเชียลระบุว่าพวกเขาค้นพบสินค้าใหม่ ๆ ผ่านเทคโนโลยีของ Meta - พฤติกรรมนักช้อปออนไลน์ปรับเปลี่ยนไปตามแต่ละช่วงวัน Mega Sale Days
โดยในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก วัน Mega Sale Days เกิดขึ้นในทุกเดือนตลอดทั้งปี โดยที่เทศกาล 12.12 และ 11.11 เป็นเทศกาลลดราคาที่ได้รับความนิยมที่สุด โดยมีนักช้อปช่วงสิ้นปีเลือกซื้อสินค้าในวันดังกล่าวกว่า 94% และ 90% ตามลำดับ ซึ่งต่างมีหมวดหมู่สินค้าที่ได้รับความนิยมเป็นพิเศษโดยเทศกาล 12.12 เน้นไปที่การเตรียมตัวรับเทศกาลหยุดยาวช่วงสิ้นปี ซึ่งนักช้อปเลือกซื้อสินค้าจากหมวดหมู่หลักอย่างเครื่องแต่งกายและแฟชั่น (39%) และสุขภาพและความงาม (28%) ในขณะที่เทศกาล 11.11 สินค้าขายดีมักมาจากหมวดหมู่เครื่องแต่งกายและแฟชั่น (42%) ไปจนถึงสุขภาพและความงามและเครื่องใช้ในครัวเรือน (31% ทั้งสองหมวดหมู่) - คนกลุ่ม Gen Z และ Millennials หันมาช้อปผ่านแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียมากขึ้น
การสำรวจพบว่าเกือบ 80% ของกลุ่มตัวอย่างค้นพบและเลือกซื้อสินค้าผ่านแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย โดย 69% ของจำนวนนี้มักเป็นคนในกลุ่ม Gen Z และ Millennials ซึ่งกว่า 87% ของนักช้อปโซเชียลมักค้นพบสินค้าใหม่ระหว่างเลือกซื้อสินค้าออนไลน์อยู่เสมอ และมีโอกาส 1.1 เท่าที่จะซื้อสินค้าผ่านมือถือมากกว่าคนที่ไม่ได้ช้อปสินค้าทางโซเชียลมีเดีย ซึ่งกว่า 91% ของนักช้อปโซเชียลเคยซื้อสินค้าที่ค้นพบจากโฆษณาแบบเฉพาะเจาะจง (Personalized Ad) และ 66% มีโอกาสที่จะเชื่อใจแบรนด์ที่พาร์ทเนอร์กับครีเอเตอร์และอินฟลูเอนเซอร์ที่พวกเขาไว้วางใจด้วย - ประสบการณ์การช้อปที่เน้นความบันเทิงและสร้างการมีส่วนร่วม ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าในวัน Mega Sale Days
โซเชียลมีเดียคือแรงกระตุ้นสำคัญที่ทำให้ผู้คนค้นพบสินค้า ไม่ว่าจะผ่านเครือข่ายส่วนตัวหรือการแนะนำจากเพื่อน (69%) คอนเทนต์สปอนเซอร์ (63%) หรือคอนเทนต์วิดีโอ (53%) โดย 87% ของนักช้อปโซเชียลเคยดูหรือเปิดรับต่อการดูอีเวนต์ไลฟ์ขายของออนไลน์ และพร้อมจะขยับจากการรับรู้สินค้าสู่การตัดสินใจซื้อในไลฟ์เดียว ส่วนการใช้เทคโนโลยี Augmented Reality (AR) ก็ส่งผลต่อการเลือกซื้อของนักช้อปเช่นกัน ซึ่งกว่า 78% เชื่อว่าเครื่องมือ AR ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อของพวกเขา - นักช้อปหันมาส่งข้อความโต้ตอบกับธุรกิจแบบทันทีและให้ความสำคัญกับคุณค่าของ
แบรนด์มากขึ้น
ในช่วงสิ้นปีที่แล้ว 74% ของนักช้อปชาวไทยเคยส่งข้อความหาธุรกิจร้านค้า โดยระบุว่าความสะดวก รวมถึงการพูดคุยและได้รับการตอบรับทันทีจากคนจริง ๆ เป็นสาเหตุหลักของการเลือกส่งข้อความคุยกับธุรกิจร้านค้า ส่วนคุณค่าของแบรนด์ก็เป็นปัจจัยสำคัญสำหรับนักช้อปไทย โดย 58% จะเลือกซื้อสินค้าจากแบรนด์ที่ทุกคนสามารถเข้าถึงได้ และ 44% เลือกแบรนด์ที่รับผิดชอบต่อสังคม ในขณะที่ 43% ให้ความสำคัญกับจริยธรรมและคุณธรรมในการดำเนินธุรกิจ
“แบรนด์สามารถเริ่มวางแผนให้ร้านค้าของตัวเองถูกค้นพบและกระตุ้นให้เกิดการตัดสินใจซื้อก่อนเทศกาล Mega Sale Days และพิจารณาปัจจัยเรื่อง Discovery Commerce อย่างการสร้างจุดเชื่อมต่อที่สามารถพบเจอกับลูกค้าบนพื้นที่ที่พวกเขาอยู่” แพร ดํารงค์มงคลกุล Country Director ของ Facebook ประเทศไทย จาก Meta กล่าว
4 วิธีที่จะสร้างการมีส่วนร่วมกับกลุ่มเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ จาก Facebook ประเทศไทย
1.แบรนด์ควรคำนึงถึงกลยุทธ์บน โซเชียลมีเดียและการเข้าถึงเนื้อหาผ่านโทรศัพท์มือถือ (mobile-first) รวมถึงการสร้างประสบการณ์โฆษณาแบบเฉพาะเจาะจง
2.นักช้อปต้องสามารถเข้าถึงแบรนด์ได้โดยตรงผ่านการส่งข้อความโต้ตอบแบบทันที
3.แบรนด์ควรสร้างการมีส่วนร่วมที่เพิ่มความใกล้ชิดมากยิ่งขึ้นผ่านเทคโนโลยี AR ไม่ว่าจะเป็นการช้อปปิ้งแบบไลฟ์หรือผ่านครีเอเตอร์ที่ได้รับความไว้วางใจ
4.แบรนด์ควรมองหาวิธีในการสื่อสารคุณค่าและเป้าหมายของตัวเองอย่างสร้างสรรค์ยิ่งขึ้น”