ดีอีเอส ร่วมกับ กระทรวงเทคโนโลยีและการสื่อสารแห่งสปป.ลาว ลงนามด้านไปรษณีย์ โทรคมนาคม และไอที รองรับการพัฒนาดิจิทัล และอีคอมเมิร์ซ ระยะเวลา 8 ปี

ดีอีเอส ร่วมกับ กระทรวงเทคโนโลยีและการสื่อสารแห่งสปป.ลาว ลงนามด้านไปรษณีย์ โทรคมนาคม และไอที รองรับการพัฒนาดิจิทัล และอีคอมเมิร์ซ ระยะเวลา 8 ปี

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) ร่วมลงนามบันทึกความเข้าใจ (Memorandum of Understanding หรือ MoU) ว่าด้วยความร่วมมือด้านไปรษณีย์ โทรคมนาคม เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารและเทคโนโลยีดิจิทัล กับ ศ.ดร. บ่อเวียงคำ วงดาลา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีและการสื่อสารแห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) เพื่อส่งเสริมการค้า การแลกเปลี่ยนด้านเทคนิค รวมถึงการพัฒนาในด้านเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ส่งเสริมการพัฒนา ด้านไปรษณีย์ โทรคมนาคม เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และเทคโนโลยีดิจิทัล บนพื้นฐานของความ เท่าเทียม ต่างตอบแทนและผลประโยชน์ร่วมกัน เพื่อพัฒนาความสัมพันธ์และความร่วมมือในระยะยาว อย่างยั่งยืน ภายใต้กฎหมายและระเบียบของผู้เข้าร่วมทั้งสองฝ่าย โดยมีระยะเวลาความร่วมมือ 8 ปี แบ่งเป็นบันทึกความเข้าใจจะมีผลบังคับใช้ในวันที่มีการลงนาม และจะมีผลบังคับใช้เป็นระยะเวลา 5 ปี โดยจะมีการขยายเวลาอัตโนมัติออกไปอีก 3 ปี

ชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) กล่าวว่า “ความร่วมมือของทั้งสองกระทรวง ในด้านไปรษณีย์ โทรคมนาคม เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และเทคโนโลยีดิจิทัลจะช่วยกระชับความเป็นหุ้นส่วนที่ดีระหว่างราชอาณาจักรไทยและสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และจะส่งเสริมความร่วมมือด้านการลงทุน การพัฒนาด้านเทคนิค การขยายตลาด และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ในด้านไปรษณีย์ โทรคมนาคม เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และเทคโนโลยีดิจิทัลด้วย”

ศ.ดร.บ่อเวียงคำ วงดาลา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีและการสื่อสารแห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) กล่าวว่า การลงนามความร่วมมือไปรษณีย์โทรคมนาคม เทคโนโลยีการสื่อสารสารสนเทศ และเทคโนโลยีดิจิทัลของทั้งสองประเทศในครั้งนี้ จะมีส่วนช่วยในการเสริมสร้างความสัมพันธ์และความร่วมมือระหว่างกระทรวงระหว่างกัน เพื่อเป็นประโยชน์ให้กับประชาชนลาวและไทยต่อไปในอนาคต

กระทรวงดิจิทัลฯ – ดีป้า เปิดตัวโครงการรถโรงเรียนรุ่นใหม่เด็กปลอดภัย ลดความสูญเสีย คลายความกังวลผู้ปกครอง ด้วยรถรับส่งนักเรียนอัจฉริยะ

ชัยวุฒิ กล่าวต่อไปอีกว่า กรอบความร่วมมือของทั้งสองฝ่าย จะมีการร่วมกันกำหนด แนวปฏิบัติในการกำกับดูแล และนโยบายด้านไปรษณีย์ โทรคมนาคม เทคโนโลยีสารสนเทศและการ สื่อสาร และเทคโนโลยีดิจิทัล รัฐบาลดิจิทัล เศรษฐกิจดิจิทัล เมืองอัจฉริยะ ทักษะด้านดิจิทัล ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ การส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมไอซีที โทรคมนาคม และดิจิทัล ได้แก่ ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ ดิจิทัล คอนเทนต์ (Digital content) และการบริการที่เกี่ยวข้องโครงสร้างพื้นฐานด้านบรอดแบนด์

ดีอีเอส ร่วมกับ กระทรวงเทคโนโลยีและการสื่อสารแห่งสปป.ลาว ลงนามด้านไปรษณีย์ โทรคมนาคม และไอที รองรับการพัฒนาดิจิทัล และอีคอมเมิร์ซ ระยะเวลา 8 ปี

และการพัฒนาการให้บริการ นวัตกรรมด้านไอซีทีและเทคโนโลยีดิจิทัล เช่น การจัดทำข้อมูลขนาดใหญ่ (Big data), อินเทอร์เน็ตเพื่อสรรพสิ่ง (Internet of Things – IoT) และ คลาวด์คอมพิวติ้ง (Cloud computing) โอกาสด้านดิจิทัล เช่น การรู้เท่าทันดิจิทัล (Digital literacy) การใช้เทคโนโลยีดิจิทัลส่งเสริมโอกาสและ ศักยภาพของประชาชน (Digital inclusion) และการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (e – Commerce)

การวิจัย พัฒนา และนวัตกรรมในด้านไปรษณีย์ โทรคมนาคม เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และ เทคโนโลยีดิจิทัล การแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ รวมถึงความร่วมมือและความช่วยเหลือในด้านการพัฒนา ทรัพยากรมนุษย์ ส่งเสริมและอำนวยความสะดวกให้แก่วิสาหกิจเพื่อสร้างความร่วมมือด้านไปรษณีย์ โทรคมนาคม เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และเทคโนโลยีดิจิทัลสาขาอื่น ๆ

การลงนามเอ็มโอยู ยังจะมีแลกเปลี่ยนข้อมูลเกี่ยวกับความสำเร็จ ความก้าวหน้า และแผนการพัฒนาในด้านไปรษณีย์ โทรคมนาคม เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และเทคโนโลยีดิจิทัลมีการแลกเปลี่ยนการเยือน การประชุม และการหารือ รวมถึงแลกเปลี่ยนผู้เชี่ยวชาญและผู้แทนที่เกี่ยวข้องมีการดำเนินโครงการความร่วมมือ (Joint projects) ในด้านไปรษณีย์ โทรคมนาคม เทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร และเทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานและศักยภาพในด้านต่าง ๆ ร่วมกันของทั้งสองประเทศ

อย่างไรก็ตาม ความร่วมยังมีการอำนวยความสะดวกให้แก่ธุรกิจสตาร์ทอัพ ในด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และเทคโนโลยี ดิจิทัล มีจัดนิทรรศการ โครงการฝึกอบรม ประชุมเชิงปฏิบัติการ และสัมมนารวมถึงรูปแบบความร่วมมืออื่นๆ ในด้านไปรษณีย์ โทรคมนาคม เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และ เทคโนโลยีดิจิทัล ตามที่ตกลงร่วมกันด้วย

“สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวและประเทศไทย เป็นประเทศเพื่อนบ้านที่มีสัมพันธภาพและ. มีความสัมพันธ์อันดีระหว่างกันมาเป็นระยะเวลานาน ความร่วมมือกันในครั้งนี้ยังขยายไปสู่ความร่วมมือทางด้าน ไอที ดิจิทัล การค้าในรูปแบบของการซื้อขายสินค้าอีคอมเมิร์ซไร้พรมแดน การรักษาความปลอดภัยบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ความร่วมมือในการพัฒนาบุคลากร ซึ่งจะทำให้การทำงานร่วมกันเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเพิ่มศักยภาพในการพัฒนาทางด้านไปรษณีย์ เทคโนโลยีและความก้าวหน้าทางด้านนวัตกรรมใหม่ร่วมกันด้วย ความร่วมมือที่เกิดขึ้น สามารถสร้างประโยชน์ให้กับภาครัฐ เอชนและประชาชนในการพัฒนาเศรษฐกิจ ไปรษณีย์ โทรคมนาคมและไอทีของทั้งสองประเทศให้เกิดความมั่งคง ความปลอดภัยในโลกยุคดิจิทัลอย่างยั่งยืนและเกิดประโยชน์สูงสุด” ชัยวุฒิ กล่าวทิ้งท้าย

Scroll to Top