Economy

สกสว. พร้อมหนุนนโยบายกระทรวงเกษตรฯ อัปเกรดงานวิจัย-เกษตรมูลค่าสูงพร้อมอวด 2 สินค้าเกษตรตัวท็อปเมืองเชียงราย ใช้นวัตกรรมอัพเลเวล “โปรดักส์ไฮเอนด์”

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม หรือ สกสว. เดินหน้าส่งเสริมเกษตรกรรมไทยสู่สินค้าที่มีมูลค่าสูง และก้าวสู่การเป็นซอฟต์พาวเวอร์ผ่านงานวิจัยและการใช้นวัตกรรม พร้อมร่วมเปิด “การแสดงผลงานวิจัยและนวัตกรรม “Innovation for Sustainable Local Development: นวัตกรรมเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน ครั้งที่ 2 Soft power กับการขับคลื่อนเศรษฐกิจสร้างสรรค์ : วิถีถิ่นเชียงราย ศิลปะ ดนตรี กวี วิจัย” กิจกรรมนำเสนอผลงานวิจัย นวัตกรรม และสร้างการรับรู้ Soft power อัตลักษณ์ศิลปะวัฒนธรรมท้องถิ่นของจังหวัดเชียงราย ภายใต้การดำเนินงานของชุมชนในพื้นที่และมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) (สวก.) และ สกสว. โดยการจัดสรรงบประมาณผ่านกองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กองทุนส่งเสริม ววน.) โดยมีร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานเปิดงาน นอกจากนี้ยังโชว์ตัวอย่าง 2 แนวทางการพัฒนาเกษตรที่ช่วยสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรมากขึ้น ได้แก่ การพัฒนาเพื่อเพิ่มผลผลิตและสร้างมูลค่าใหม่แก่กาแฟแบบครบวงจรในพื้นที่ปางขอน จังหวัดเชียงราย และการสร้างผลิตภัณฑ์ต้นแบบเนื้อเทียมจากหัวปลีอรรถประโยชน์สูงสำหรับใช้เป็นวัตถุดิบในการประกอบอาหาร

รศ.ดร.ปัทมาวดี โพชนุกูล ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กล่าวว่า สกสว. เป็นหน่วยงานกลางของประเทศที่มีหน้าที่ในการจัดทำนโยบาย แผนยุทธศาสตร์ และกรอบงบประมาณด้าน ววน. รวมถึงบริหารระบบงบประมาณด้าน ววน. ผ่านการจัดสรรงบประมาณจากกองทุนส่งเสริม ววน. ให้กับหน่วยงานในระบบ โดยจัดสรรในรูปแบบงบประมาณแบบวงเงินรวม (Block Grant) เพื่อเสริมสร้างศักยภาพตามพันธกิจของหน่วยงาน ให้แก่ กระทรวง กรม มหาวิทยาลัย ทั้งในและนอกกระทรวง อว. รวม 190 หน่วยงาน ทั้งนี้ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย เป็นหนึ่งในจำนวนนี้ และการดำเนินงานที่ผ่านมา มีผลการวิจัยที่สามารถนำพัฒนาต่อยอดยกระดับการพัฒนา และนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์มากกว่า 20 โครงการ

โดยตัวอย่างที่เห็นได้ชัด เช่น การพัฒนาเพื่อเพิ่มผลผลิตและสร้างมูลค่าใหม่แก่กาแฟแบบครบวงจรในพื้นที่ปางขอน จังหวัดเชียงราย โดย ผ.ศ.ดร.สมฤทัย ตันมา และคณะ ซึ่งได้มีการพัฒนา เพิ่มผลผลิตและสร้างมูลค่าใหม่แก่กาแฟแบบครบวงจร ซึ่งนักวิจัยได้พัฒนารายงานสภาพดินจากแหล่งปลูกกาแฟบ้านปางขอนเพื่อเปรียบเทียบดินปลูกกาแฟจากสวนผสมผสานและสวนเชิงเดี่ยว และการเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์กาแฟด้วยการสร้างระบบ AI ข้อมูลรสชาติเฉพาะสายพันธุ์ของกาแฟด้วยจมูกอิเล็กทรอนิกส์ต้นแบบ เพื่อจัดทำระบบฐานข้อมูล AI เพื่อส่งเสริมเอกลักษณ์เฉพาะกลิ่นแต่ละชนิดสายพันธ์จากพื้นที่การปลูกกาแฟต่างๆ ของจังหวัดเชียงราย เป็นผลิตภัณฑ์เมล็ดกาแฟ GI สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ โดยมีผลิตภัณฑ์ต้นแบบ ในแบรนด์สินค้า “เชียงอาย” อีกทั้งสร้างผลิตภัณฑ์ต้นแบบกาแฟคาเฟอีนต่ำจากพื้นที่ปางขอน ในชื่อแบรนด์สินค้า “Little Caffeine” ที่มีปริมาณคาเฟอีนลดลงร้อยละ 93.12 และยังคงสารสำคัญและรสชาติของเมล็ดกาแฟเอาไว้ในเมล็ดได้รวมถึง การสร้างผลิตภัณฑ์ต้นแบบเนื้อเทียมจากหัวปลีอรรถประโยชน์สูงสำหรับใช้เป็นวัตถุดิบในการประกอบอาหาร และจำหน่ายในเชิงพาณิชย์ โดย ผศ.ดร.สมฤทัย ต้นมา และห้างหุ้นส่วนจำกัด มาดี ฟู๊ด อินโนเวชั่นจ.เชียงราย ซึ่งใช้หัวปลีเป็นวัตถุดิบหลักที่อุดมไปด้วยเส้นใย โปรตีน มาพัฒนาเป็นเนื้อเทียมที่ประกอบไปด้วยสารอาหารสำคัญที่ช่วยบำรุงและเพิ่มคุณค่าสารอาหารในน้ำนมแม่ เช่น สารต้านอนุมูลอิสระ แคลเซียม โพแทสเซียม แมกนีเซียม สังกะสี ทองแดง อีกทั้งยังมีแคลอรี่และไขมันต่ำ และช่วยยกระดับภูมิคุ้มกันในร่างกาย เป็นต้น

“ทั้งสองนวัตกรรมถือเป็นความสำเร็จที่สอดรับกับนโยบายของร้อยเอกธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่มุ่งส่งเสริมให้ภาคการเกษตรเป็นรากฐานสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศไทย เนื่องจากประเทศไทยเป็นแหล่งผลิตอาหารเลี้ยงประชากรทั้งในประเทศและส่งออกไปยังต่างประเทศ สร้างรายได้ให้กับประเทศเป็นมูลค่ามหาศาลในแต่ละปี โดยจากข้อมูลการส่งออกสินค้าเกษตรของไทยปี 2566 มีมูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตรและผลิตภัณฑ์เฉลี่ยอยู่ที่ 923,551 ล้านบาท สัดส่วนผลิตภัณฑ์มวลรวม (GDP) ประมาณร้อยละ 8.5 ของ GDP ทั้งประเทศ และมีเนื้อที่ทางการเกษตร 147.7 ล้านไร่ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 46.1 ของเนื้อที่ทั้งประเทศ อีกทั้งมีสัดส่วนแรงงานภาคเกษตรประมาณร้อยละ 46.4 ของจำนวนแรงงานทั้งประเทศ และที่สำคัญภาคเกษตรเป็นแหล่งวัตถุดิบหรือต้นน้ำของอุตสาหกรรมต่าง ๆ ดังนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะประสานความร่วมมือกับทุกภาคส่วน โดยเฉพาะหน่วยงานด้านการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ขับเคลื่อนการทำงานและบูรณาการทำงานร่วมกัน เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันด้วยการสนับสนุนเทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อสร้างสินค้าเกษตรมูลค่าสูงต่อไป”

รศ.ดร.ปัทมาวดี กล่าวเสริมว่า การนำแนวคิดซอฟต์พาวเวอร์มากระตุ้นสินค้าทางการเกษตรถือเป็นอีกนโยบายที่มีความสำคัญ เนื่องจากเกษตรกรรมเป็นต้นทุนทางวัฒนธรรมที่กระจายอยู่ทั่วประเทศ มีความเชื่อมโยงกับกิจกรรมต่าง ๆ เช่น การท่องเที่ยว การเป็นวัตถุดิบหลักต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมอาหาร การนำมาพัฒนาเป็นบริการและสินค้าสร้างสรรค์ ฯลฯ ซึ่งการเพิ่มมูลค่าต้นทุนของประเทศที่มีมาอย่างยาวนานนี้จำเป็นต้องใช้วิจัย และนวัตกรรมเข้ามาเกี่ยวข้อง เพื่อทำให้การแข่งขันและการเติบโตเป็นไปอย่างรวดเร็ว พร้อมปรับแนวคิดให้เกษตรกรที่ถือเป็นผู้เล่นหลักในอุตสาหกรรมนี้ให้เปลี่ยนวิถีเดิม ๆ มาสู่วิธีการที่ทันสมัยขึ้น

ไปรษณีย์ไทย ชวนอุดหนุน มะยงชิดสุโขทัย สด หวาน กรอบ ส่งตรงจากสวน สั่งซื้อได้แล้ววันนี้ที่ ThailandPostMart

supersab

Recent Posts

Valera เตรียมเปิดตัวในไทย! ยกระดับการดูแลเส้นผมด้วย AI และนวัตกรรมจากสวิตเซอร์แลนด์

เตรียมพบกับการเปิดตัวสุดพิเศษ! Valera แบรนด์ชั้นนำจากสวิตเซอร์แลนด์ผู้เชี่ยวชาญด้านอุปกรณ์ดูแลเส้นผมและการ Grooming สำหรับผู้ชาย กำลังจะมาสร้างปรากฏการณ์ใหม่ในวงการความงามของไทย ด้วยการเปิดตัวผลิตภัณฑ์ที่มาพร้อมกับเทคโนโลยี AI สุดล้ำ ที่จะปฏิวัติวิธีการดูแลเส้นผมให้สะดวกสบายและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น พร้อมสัมผัสประสบการณ์การจัดแต่งทรงผมที่ทั้งเหนือชั้นและทันสมัยในทุกการใช้งาน ภายในเต็มไปด้วยกิจกรรมมากมาย ทั้งนวัตกรรมการดูแลเส้นผมระดับโลก ช่างผมมืออาชีพชั้นนำที่จะมาแบ่งปันเทคนิคการใช้ผลิตภัณฑ์ พร้อมกิจกรรมสุดพิเศษที่ไม่ควรพลาด!…

2 hours ago

AIS ขับเคลื่อนการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน ด้วยสินเชื่อสีเขียว Green Loan ยกระดับขีดความสามารถโครงข่าย 5G สู่ Green Network

AIS ตอกย้ำการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนที่มุ่งสร้างการเติบโตร่วมกันของผู้คน เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อมในโลกดิจิทัล พร้อมผนึกกำลังร่วมกับสถาบันทางการเงินชั้นนำลงนามรับการสนับสนุนสินเชื่อสีเขียวเพื่อสิ่งแวดล้อม (Green Loan) ครั้งแรกในอุตสาหกรรมโทรคมนาคมไทย มูลค่ารวม 2,000 ล้านบาท ระยะเวลา 7 ปี จาก…

2 hours ago

HPE ประกาศขยายระบบ ‘HPE Aruba Networking Central’ เดินหน้าการขับเคลื่อนด้วย AI มุ่งยกระดับประสบการณ์ผู้ใช้งานผ่านนวัตกรรมแห่งอนาคต

ฮิวเลตต์ แพคการ์ด เอนเตอร์ไพรส์ (Hewlett Packard Enterprise) ประกาศเดินหน้าขยายบริการ HPE Aruba Networking Central ซึ่งเป็นโซลูชันการจัดการเครือข่ายที่ขับเคลื่อนด้วย AI โดยเน้นความปลอดภัยเป็นสิ่งสำคัญ มาพร้อมด้วยข้อมูลและคุณสมบัติ…

3 hours ago

Prudential จับมือ Google Cloud ใช้ Generative AI ยกระดับการเคลมประกันสุขภาพให้รวดเร็วและราบรื่น

Google Cloud และ Prudential PLC (“Prudential”) ประกาศว่า Prudential จะนำ MedLM โมเดลพื้นฐานของ Google ที่ถูกปรับแต่งให้เหมาะกับการใช้งานในอุตสาหกรรมสุขภาพ มาใช้เพื่อเพิ่มความแม่นยำและประสิทธิภาพในการตัดสินใจการเคลมประกันสุขภาพ Prudential…

3 hours ago

ทีเอ็นกรุ๊ป เปิดตัว Venz ORBIT เครื่องฟอกอากาศสุดล้ำที่คว้ารางวัลระดับโลก iF Design Award 2023

บทีเอ็นกรุ๊ป ตอกย้ำความเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีเพื่อการอยู่อาศัย ด้วยการเปิดตัวเครื่องฟอกอากาศรุ่นใหม่ล่าสุด "Venz ORBIT" จากแบรนด์ Venz ที่ไม่เพียงแค่ฟอกอากาศให้บริสุทธิ์เท่านั้น แต่ยังมีดีไซน์ล้ำสมัย การันตีด้วยรางวัลระดับโลก iF Design Award 2023 ซึ่งสะท้อนถึงความลงตัวของทั้งดีไซน์และประสิทธิภาพการทำงาน…

3 hours ago

TU-RAC เตรียมความพร้อมครูไทย (ระดับประถมศึกษา) ในโลกยุคดิจิทัล เปิดหลักสูตรด้านการรู้เท่าทันสื่อ เพิ่มขีดความสามารถเด็กไทย ฉลาดทันสื่อ

สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษา แห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หรือ TU-RAC ร่วมกับกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ เปิดตัวโครงการหลักสูตรอบรมพัฒนาศักยภาพครูผู้สอนในหลักสูตรการรู้เท่าทันสื่อระดับประถมศึกษา และจัดฝึกอบรมทักษะการรู้เท่าทันสื่อ ที่ครอบคลุมสำหรับครูไทย เพื่อเตรียมความพร้อมครู และบุคลากรทางการศึกษาให้สามารถจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรฐานสมรรถนะด้านการรู้เท่าทันสื่อ และการใช้สื่อเทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อการเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์ของผู้เรียน ในระหว่างวันที่ 26-27 ตุลาคม…

3 hours ago