มูลค่าการส่งออกของไทยเดือนมิถุนายน 2022 อยู่ที่ 26,533 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัว 11.9%YOY (เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า) เร่งขึ้นจากเดือนพฤษภาคมที่ 10.5% และนับเป็นการขยายตัวต่อเนื่องติดต่อกันเป็นเดือนที่ 16 หากหักทองคำการส่งออกในเดือนนี้จะขยายตัวได้ 11.5% ชะลอตัวจากเดือนก่อนหน้าที่ 12.5% หากเมื่อพิจารณาการส่งออกเดือนมิถุนายนเทียบกับเดือนพฤษภาคมแบบปรับฤดูกาลจะพบว่าการส่งออกของไทยขยายตัวจากเดือนก่อนหน้าที่ 2.3% MOM_sa แต่หากไม่รวมทองคำจะทรงตัวจากเดือนก่อนหน้า ในภาพรวมส่งออกไทยในครึ่งแรกของปี 2022 ขยายตัวได้ดีที่ 12.7% และหากหักทองคำขยายตัวที่ 10.5%
สินค้าเกษตรยังขยายตัวดีต่อเนื่องและคอมพิวเตอร์กลับมาขยายตัวอีกครั้งในรอบ 4 เดือน
ในภาพรวมการส่งออกรายสินค้าพบว่าแม้ส่วนใหญ่ยังขยายตัวได้ แต่มีบางหมวดสำคัญที่หดตัวหรือชะลอตัวลง โดย
(1) สินค้าเกษตรขยายตัวได้ดีต่อเนื่องที่ 21.7% เร่งตัวขึ้นเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้าที่ 21.5% โดยได้รับอานิสงส์ทั้งด้านปริมาณผลผลิตในไทยที่ดีตามปริมาณน้ำฝนและน้ำในเขื่อนที่เพียงพอและการสนับสนุนจากภาครัฐ และด้านราคาจากการชะงักของอุปทานสินค้าเกษตรในตลาดโลกจากสงครามในยูเครน และมาตรการห้ามการส่งออกสินค้าเกษตรและอาหารในบางประเทศ โดยสินค้าที่เป็นปัจจัยหนุนสำคัญในเดือนนี้ ได้แก่ ผลไม้สด แช่เย็น แช่แข็งและแห้ง ข้าว และยางพารา
(2) สินค้าอุตสาหกรรมเกษตรขยายตัวได้ดีที่ 28.3% ชะลอตัวลงเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้าที่ 32.7% โดยสินค้าที่เป็นปัจจัยหนุนสำคัญในเดือนนี้ ได้แก่ ไขมันและน้ำมันจากพืชและสัตว์ น้ำตาลทราย อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป ผลไม้กระป๋องและแปรรูป ไก่แปรรูป และอาหารสัตว์เลี้ยง
(3) สำหรับสินค้าอุตสาหกรรมขยายตัว 6.7% เร่งตัวจากเดือนก่อนหน้าที่ 4.2% โดยมีสินค้าที่เป็นปัจจัยหนุนสำคัญ ได้แก่ สินค้ากลุ่มอากาศยานและทองคำ ซึ่งไม่ได้สะท้อนภาพการส่งออกที่แท้จริง ตามมาด้วยผลิตภัณฑ์อะลูมิเนียม เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ เป็นต้น โดยเฉพาะคอมพิวเตอร์ที่กลับมาขยายตัวถึง 19.1% และเป็นการกลับมาขยายตัวได้ครั้งแรก ในรอบ 3 เดือน สะท้อนถึงปัญหาขาดแคลนชิปที่ยังยืดเยื้อเริ่มมีสัญญาณที่ดีขึ้นในช่วงที่ผ่านมา อย่างไรก็ดี รถยนต์และส่วนประกอบยังคงเป็นสินค้าฉุดการส่งออกของไทย จากอุปสงค์โดยรวมของโลกที่ชะลอตัวจากความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจ
(4) สินค้าแร่และเชื้อเพลิงที่ยังขยายตัวได้ดีที่ 73.7% เร่งตัวจากเดือนก่อนหน้าที่ 65.3% ทั้งนี้การส่งออกเชื้อเพลิงของไทยอาจชะลอตัวลงในเดือนถัดไปจากราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกและค่าการกลั่นที่ปรับตัวลดลงตามความกังวลว่าเศรษฐกิจในประเทศสำคัญหลายประเทศจะเข้าสู่ภาวะถดถอย
ส่งออกรายตลาดกระจุกตัวในอาเซียนและอินเดีย หลายตลาดสำคัญเริ่มส่งสัญญาณชะลอตัว
ด้านการส่งออกรายตลาดพบว่าการส่งออกไปอาเซียนและอินเดียเป็นตลาดหนุนสำคัญ โดยขยายตัวได้สูงที่สุดในรอบ 6 และ 12 เดือน ถึง 35.6% และ 77.7% ตามลำดับ มูลค่าการส่งออกไปยังสปป.ลาวและเมียนมายังคงขยายตัวได้ดีในเดือนมิถุนายนที่ 10% และ 15.4% ตามลำดับ จากเดือนก่อนหน้าที่ 29.8% และ 12%
โดย EIC คาดว่าปัญหาการขาดแคลนเงินทุนสำรองระหว่างประเทศในสปป.ลาวและเมียนมาจะมีผลกระทบต่อการส่งออกของไทยอย่างจำกัด เนื่องจากการส่งออกน้ำมันสำเร็จรูป ซึ่งเป็นสินค้าส่งออกหลัก ยังได้อานิสงส์จากราคาน้ำมันในตลาดโลกที่สูงขึ้นและอุปสงค์ที่ฟื้นตัว นอกจากนี้ การค้าชายแดนบางส่วนจะใช้เงินบาทในการชำระและมีการทำข้อตกลงจ่ายเงินล่วงหน้าไว้แล้ว ซึ่งจะลดผลกระทบจากปัญหาดังกล่าว
–พาณิชย์ ลุยเอาผิดผู้ค้า 623 รายขายสินค้าออนไลน์ไม่แสดงราคา
–รฟม.อัพเดทการผู้ยื่นร่วมลงทุน รถไฟฟ้าสายสีส้มมีผู้มายื่นข้อเสนอการร่วมลงทุน จำนวนทั้งสิ้น 2 ราย
ทั้งนี้ความเสี่ยงต่อการส่งออกไทยจะมาจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจสปป.ลาวและเมียนมา และมาตรการห้ามนำเข้าสินค้า เช่น รถยนต์ในเมียนมา ซึ่งจะเป็นความเสี่ยงต่อการส่งออกไทยในระยะต่อไป ในขณะที่การส่งออกไปจีน ญี่ปุ่นและฮ่องกง เป็นตลาดฉุดสำคัญ โดยเฉพาะมูลค่าการส่งออกไปจีนในเดือนนี้กลับมาหดตัวอีกครั้งที่ -2.7% หลังจากกลับมาขยายตัวได้ 3.8% ในเดือนก่อนหน้า และหดตัว -7.3% ในเดือนเมษายน สะท้อนถึงความกังวลของเศรษฐกิจที่ยังซบเซาโดยเฉพาะภาคอสังหาริมทรัพย์และความเสี่ยงในการปิดเมืองอีกครั้ง
รวมถึงภาวะเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวอาจทำให้การนำเข้าวัตถุดิบการผลิตของจีนชะลอตัวลง ทั้งนี้ในระยะถัดไปหากพิจารณาถึงระดับราคาสินค้าที่ยังขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ปริมาณนำเข้าโดยรวมของจีนและปริมาณการส่งออกของไทยไปจีนอาจลดลง สอดคล้องกับการส่งออกไปสหรัฐฯ ที่ขยายตัวต่ำสุดในรอบ 14 เดือน จากความกังวลของความเสี่ยงเศรษฐกิจถดถอยที่เพิ่มสูงขึ้น และการส่งออกไปยุโรป (EU28) ที่ได้รับผลกระทบจากสงครามโดยตรงจากอุปทานด้านพลังงานและเป็นตลาดส่งออกสำคัญของไทยในเดือนนี้ขยายตัวได้ 5.8% ชะลอตัวจาก 7.7% ในเดือนก่อนหน้า การส่งออกไปรัสเซียและยูเครนยังคงหดตัวต่อเนื่องในระดับสูงที่ 52.7% และ 86.3% แต่ไม่ได้มีนัยต่อเศรษฐกิจไทยมากเนื่องจากเป็นตลาดส่งออกขนาดเล็กของไทย
มูลค่าการนำเข้าขยายตัวมากกว่าการส่งออก ส่งผลให้ดุลการค้าขาดดุล
ด้านมูลค่านำเข้าในเดือนมิถุนายนขยายตัว 24.5% เร่งตัวจากเดือนก่อนหน้าที่ 24.2% จากราคาพลังงานและสินค้าโภคภัณฑ์ที่ปรับตัวสูงขึ้นจากสงครามในยูเครน การขยายตัวของอุปสงค์ในประเทศ และความต้องการผลิตเพื่อการส่งออกโดยในเดือนนี้สินค้าเชื้อเพลิงขยายตัว 124.8% สินค้าทุนขยายตัว 8.7% สินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูปขยายตัว 11.6% สินค้าอุปโภคบริโภคขยายตัว 6.7%
ในขณะที่สินค้ายานพาหนะและอุปกรณ์การขนส่งหดตัว -18.5% ในด้านดุลการค้าเดือนนี้ขาดดุล -1,529.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ทำให้ในช่วงครึ่งแรกของปี 2022 มูลค่าการนำเข้าขยายตัว 21% และมีดุลการค้าขาดดุล -6,255.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในระยะถัดไปคาดดุลการค้าจะขาดดุลลดลงจากราคาพลังงานที่มีแนวโน้มลดลงในช่วงท้ายปี
ส่งออกระยะถัดไปมีความเสี่ยงมากขึ้นจากแนวโน้มเศรษฐกิจโลกชะลอตัว
ส่งออกไทยขยายตัวได้ดีในช่วงครึ่งแรกของปีและคาดว่าจะยังคงขยายตัวได้ต่อเนื่องในช่วงที่เหลือของปีจากอานิสงส์เงินบาทที่มีแนวโน้มอ่อนค่า ทำให้หลายกลุ่มสินค้าได้รับประโยชน์โดยเฉพาะสินค้าที่พึ่งพาปัจจัยการผลิตนำเข้าน้อยและพึ่งพาตลาดต่างประเทศสูง
แต่หากพิจารณาถึงองค์ประกอบของการขยายตัวในช่วงที่ผ่านมาพบว่าการขยายตัวมาจากปัจจัยด้านราคามากขึ้น จากการขาดแคลนสินค้าเกษตรในตลาดโลก และระดับราคาสินค้าส่งออกที่อยู่ในระดับสูง โดยในระยะถัดไปที่ภาวะเศรษฐกิจโลกมีความเสี่ยงชะลอตัวเพิ่มขึ้น สอดคล้องกับข้อมูลดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคการผลิต (Global Manufacturing PMI) ที่อยู่ในระดับที่ต่ำที่สุดในรอบ 22 เดือน และดัชนีคำสั่งซื้อจากต่างประเทศ (Export orders) ที่อยู่ในระดับหดตัวติดต่อกัน 4 เดือน
ในช่วงครึ่งปีหลัง EIC คาดการณ์ว่าการส่งออกของไทยจะชะลอตัวลงโดยเฉพาะจากด้านปริมาณ ตามกำลังซื้อของประเทศผู้นำเข้า ทั้งจากปัจจัยเงินเฟ้อที่เร่งตัวสูงขึ้นทั่วโลกส่งผลให้ธนาคารกลางในหลายประเทศจำเป็นต้องนำเอามาตรการการเงินที่ตึงตัวมาใช้เร็วและแรงมากขึ้น
ตลาดจีนที่ยังมีความเสี่ยงจากการนำมาตรการควบคุมโรคที่เข้มข้นมาใช้ใหม่และจากการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจในประเทศ ตลาดยุโรปที่มีความเสี่ยงจากภาวะสงคราม ตลาดสปป.ลาวและเมียนมาที่มีความเสี่ยงด้านเสถียรภาพภายในประเทศ ความผันผวนในตลาดการเงินของศรีลังกาและปากีสถานที่อาจกระทบต่อไปยังประเทศกำลังพัฒนาอื่น
รวมถึงปัญหาการชะงักของอุปทานที่ยังคงมีอยู่และอาจส่งผลกระทบต่อเนื่องไปจนถึงปี 2023 กระทบต่อไปยังสินค้าขั้นปลายต่าง ๆ โดยเฉพาะรถยนต์ แม้แรงกดดันด้านราคาเซมิคอนดักเตอร์และราคาวัตถุดิบต่าง ๆ จะเริ่มส่งสัญญาณ
ดีขึ้นก็ตาม
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) ออกโรงเตือนเศรษฐกิจไทยปี 2568 สุ่มเสี่ยงเผชิญความผันผวนรุนแรงจากสถานการณ์ภูมิรัฐศาสตร์โลกที่เปราะบาง โดยเฉพาะนโยบายกีดกันทางการค้าของสหรัฐฯ ภายใต้การนำของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ที่กลับมาประกาศขึ้นภาษีนำเข้าจากทั่วโลก รวมถึงการเก็บภาษีตอบโต้สินค้าไทยในอัตราสูงถึง 37% สร้างแรงกดดันต่อภาคส่งออกและเศรษฐกิจโดยรวมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ รศ.ดร.จุฑาทิพย์ จงวนิชย์ นักวิชาการด้านเศรษฐศาสตร์…
CARSOME Group Inc. (CARSOME) แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซซื้อขายรถยนต์มือสอง ประกาศความร่วมมือระยะยาวกับ Google Cloud และ Searce เพื่อเสริมสร้างรากฐานทางเทคโนโลยีและผลักดันการเติบโตของธุรกิจอย่างต่อเนื่อง ความร่วมมือครั้งนี้ CARSOME จะใช้ประโยชน์จากบริการแพลตฟอร์มชั้นนำของ Google…
TRYX เปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ล่าสุด "PANORAMA SE" ซึ่งเป็นผลต่อยอดจากความสำเร็จของชุดระบายความร้อนด้วยน้ำรุ่นเรือธงอย่าง PANORAMA โดยนำเอาเทคโนโลยีหน้าจอโค้ง AMOLED อันล้ำสมัยมาสู่ผู้ใช้งานในวงกว้างยิ่งขึ้น พร้อมมอบประสบการณ์การใช้งานระดับพรีเมียมในราคาที่เข้าถึงได้ง่ายกว่าเดิม PANORAMA SE มาพร้อมกับโซลูชันการระบายความร้อน ASETEK Adela…
เนื่องในโอกาสวันสุขภาพโลกประจำปี 2025 ภายใต้แนวคิด "เริ่มต้นที่ดี เพื่ออนาคตที่สดใส" มหาวิทยาลัยเซนต์จอร์จ (SGU) ตอกย้ำบทบาทสำคัญในการเตรียมความพร้อมบุคลากรทางการแพทย์รุ่นใหม่ให้สามารถเผชิญหน้ากับความท้าทายด้านสุขภาพที่ซับซ้อนในระดับโลก SGU มุ่งมั่นในการมอบความรู้และประสบการณ์จริงอันเข้มข้นแก่นักศึกษาแพทย์ เพื่อเป็นรากฐานสำคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนาทางการแพทย์อย่างมีนัยสำคัญในเวทีโลก ด้วยเครือข่ายศิษย์เก่ากว่า 23,000 คนทั่วโลก ศิษย์เก่าของ…
บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ AIS ตอกย้ำความเป็นผู้นำเทคโนโลยี 5G อย่างแท้จริง ด้วยการคว้ารางวัลอันทรงเกียรติระดับโลก GTI Awards สาขา…
IdeasLabs ผู้เชี่ยวชาญด้าน MarTech Solution เผยเทรนด์การตลาดดิจิทัลปี 2568 ชี้ "คลิปวิดีโอสั้น" บนแพลตฟอร์ม TikTok, Instagram Reels และ YouTube Shorts…
This website uses cookies.