Economy

เผยรายชื่อเมืองรองที่ควรส่งเสริมการท่องเที่ยวแบบค้างคืน เน้นสร้าง Fanbase – แลกเปลี่ยนวัฒนธรรม- เพิ่มโอกาสพัฒนาท้องถิ่น

อีกหนึ่งยุทธศาสตร์การส่งเสริมการท่องเที่ยวในเมืองรองที่น่าสนใจจากผลการศึกษาที่จัดทำขึ้นโดยดีแทค คณะสถาปัตยกรรมศาตร์ จุฬาฯ และบุญมีแล็บ ในโครงการส่งเสริมการท่องเที่ยวในเมืองรองผ่านการวิเคราะห์ข้อมูลการเคลื่อนที่ (mobility data) คือ การส่งเสริมการท่องเที่ยวแบบค้างคืนเพื่อสร้างประสบการณ์ใหม่ (Experience-based overnight tourism) ในเมืองรอง

ผศ.ดร.ณัฐพงศ์ พันธ์น้อย อาจารย์ประจำภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อธิบายว่า ใน “การพักค้าง” เป็นดัชนีหนึ่งในการวัดความสำเร็จของการท่องเที่ยว เมืองที่มีผู้พักค้างมากถือเป็นเมืองที่มีความสำเร็จด้านการท่องเที่ยว เพราะการพักค้างทำให้เกิดการใช้จ่ายในพื้นที่มากกว่าการเดินทางแบบเช้าไปเย็นกลับ เพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจเชิงการท่องเที่ยวให้แก่จังหวัด

นอกจากนี้ การพักค้างยังเป็นการสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อสังคม เพิ่มโอกาสให้นักท่องเที่ยวมีกิจกรรมร่วมและปฏิสัมพันธ์กับคนในท้องถิ่น ยิ่งพักค้างหลายวันยิ่งมีโอกาสได้เรียนรู้และแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมมากยิ่งขึ้น จะเห็นได้ว่าการพัฒนาการท่องเที่ยวแบบค้างคืนเพื่อประสบการณ์ใหม่นั้น มีเป้าหมายในการสร้างฐานแฟนคลับ (Fanbase) ของเมืองนั้นๆ ก่อให้เกิดการท่องเที่ยวที่เน้น “คุณภาพ” กล่าวคือ ทำให้เกิดการเดินทางมาท่องเที่ยวซ้ำ นักท่องเที่ยวอาจมีการอุดหนุนสินค้าอื่นๆ แม้จะกลับมายังภูมิลำเนาแล้ว และนี่คือความสำคัญของการพัฒนาการท่องเที่ยวแบบพักค้างที่จะนำมาสู่ “ความยั่งยืน” ทางเศรษฐกิจเชิงการท่องเที่ยวในระยะยาว

ขนส่งทางบก เผยความคืบหน้ารับรอง แอปพลิเคชันสำหรับรถยนต์รับจ้างผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ ล่าสุดรับรองแอป “โรบินฮู้ด” และ “แกร็บ” แล้ว

“การท่องเที่ยวไม่ได้มีมิติทางด้านเศรษฐกิจเท่านั้น แต่ยังส่งผลต่อมิติทางสังคมโดยเฉพาะการแลกเปลี่ยนเรียนรู้วัฒนธรรมและประสบการณ์ (Experience and Cultural Exchange) ซึ่งนี่คือผลกระทบเชิงบวกที่การท่องเที่ยวสามารถส่งมอบให้กับท้องถิ่น” ผศ.ดร.ณัฐพงศ์ กล่าว

3 เทรนด์การท่องเที่ยวแบบพักค้าง

ในปัจจุบันจะเห็นว่า มีผู้ประกอบการจำนวนหนึ่งพยายามพัฒนาการท่องเที่ยวแบบค้างคืนในรูปแบบการสร้างประสบการณ์ใหม่เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวให้เดินทางมาเยือน ซึ่งพบว่ามีแนวโน้มในการออกแบบการท่องเที่ยวแบบค้างคืนมีแนวโน้มที่สำคัญอยู่ 3 ประการ ได้แก่

  1. การพัฒนารูปแบบการพักค้างที่แปลกใหม่ ตัวอย่างเช่นการพัฒนาที่พักแบบ car camping  ที่พักแบบ glamping  ที่พักแบบบ้านต้นไม้  เป็นต้น
  2. การจัดการกิจกรรมภายในที่พักที่มีเอกลักษณ์ ที่พักหลายแห่งพยายามจัดให้มีกิจกรรมที่น่าสนใจเพื่อให้บริการกับผู้มาพักแรม เช่น การสอนทำอาหารโดยเชฟชื่อดังในที่พัก  การจัดที่กิจกรรมโยคะส่งเสริมสุขภาพยามเช้า  การร่วมกับเจ้าของที่พักในการออกเรือจับปลาหรือเก็บเกี่ยวผลผลิตทางการเกษตร เป็นต้น
  3. การส่งเสริมการทำกิจกรรมร่วมกับชุมชน ในปัจจุบันมีผู้ประกอบการโรงแรมและที่พักที่ร่วมมือกับชุมชนรอบข้างเพื่อจัดกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้นักท่องเที่ยวได้ทำความรู้จักวิถีชีวิตและวัฒนธรรมในชุมชน  ตัวอย่างเช่นโรงแรม Once Again Hostel ในเกาะรัตนโกสินทร์ที่ร่วมมือกับชุมชนรอบข้างจัดโปรแกรมเรียนรู้ประวัติศาสตร์ความเป็นมาในพื้นที่ หรือกรณีของโรงแรม The Tamarind Village ในเชียงใหม่ที่มีการจัดทัวร์เดินชมวัดและโบราณสถานรอบๆ โรงแรม

การสร้างประสบการณ์ใหม่ให้กับผู้เข้าพักนับเป็นปัจจัยสำคัญในการดึงดูดการท่องเที่ยวแบบพักค้าง ดังเห็นได้จากในปัจจุบันเว็บไซต์ Airbnb ได้จัดโครงการ Airbnb experiences เพื่อเปิดโอกาสให้โฮสต์เจ้าของที่พักได้นำเสนอกิจกรรมที่จะสร้างประสบการณ์สุดพิเศษแก่ผู้มาพักแรม ทั้งในรูปแบบกิจกรรมการเรียนรู้วิถีชีวิตแบบคนท้องถิ่น และกิจกรรมแชร์ความรู้ความสามารถของโฮสต์ให้กับผู้เข้าพัก เช่น การสอนทำเครื่องหนังอิตาลี  การทำขนมปัง  การนั่งสมาธิ เป็นต้น

อัตลักษณ์ที่งดงามและที่พักที่ได้มาตรฐาน คือ กุญแจสำคัญ

ผลการสำรวจโดยคณะผู้วิจัยจากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยพบว่า นักท่องเที่ยวชาวไทยที่ต้องการเดินทางมาเรียนรู้ประสบการณ์ใหม่ในท้องถิ่นมักให้ความสำคัญกับทัศนียภาพ อาหาร สินค้า และกิจกรรมที่สะท้อนอัตลักษณ์ของพื้นที่ได้เป็นอย่างดี  นอกจากนั้น ในการเลือกที่พักนักท่องเที่ยวโดยส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับคุณภาพของที่พัก ความใกล้ชิดกับธรรมชาติ ความเป็นส่วนตัว และการให้บริการของโฮสต์เจ้าของที่พัก  ดังนั้นการส่งเสริมการพัฒนาการท่องเที่ยวแบบพักค้างเพื่อสร้างประสบการณ์ใหม่ในจังหวัดเมืองรองต้องอาศัยความร่วมมือของภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชนในการร่วมกันรักษาดูแลทรัพยากรทั้งทางธรรมชาติและวัฒนธรรมในพื้นที่ให้คงไว้ซึ่งความงามและคุณค่า มีการสร้างข้อตกลงในการพัฒนาพื้นที่อย่างสมดุล และร่วมกันรณรงค์ให้ผู้ประกอบการและประชาชนในพื้นที่ร่วมกันพัฒนาสินค้าและการบริการที่ได้มาตรฐาน สะท้อนอัตลักษณ์และคุณค่าของพื้นที่อย่างแท้จริง

“การสร้างความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชนในพื้นที่ ในการรักษาอัตลักษณ์และคุณค่าของเมือง ไปพร้อมกับการพัฒนากิจกรรมการท่องเที่ยว สินค้า บริการ และที่พักในท้องถิ่นให้มีคุณภาพ ลดการสร้างผลกระทบต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อม นั้นเป็นกุญแจสำคัญในการดึงดูดการท่องเที่ยวแบบค้างคืนและเพิ่มเวลาการอยู่ในพื้นที่ของนักท่องเที่ยว  อีกทั้งยังเป็นหนทางในการพัฒนาการท่องเที่ยวเมืองรองให้เกิดความยั่งยืน”  ผศ.ดร.ณัฐพงศ์ กล่าวทิ้งท้าย

ติดตามเรื่องราวฉบับเต็มได้ที่ https://dtacblog.co/overnight-trips/

supersab

Recent Posts

รฟม. เผยครบรอบ 1 ปี นโยบายรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย ผลดีเกินคาด ทำยอดผู้โดยสารรถไฟฟ้า MRT และผู้ใช้บริการอาคารจอดแล้วจรเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง

นายวิทยา พันธุ์มงคล รักษาการแทน ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยว่า หลังจากที่ รฟม. ได้ดำเนินการตามนโยบายอัตราค่าโดยสารรถไฟฟ้าสูงสุด 20 บาท ซึ่งเป็นหนึ่งนโยบาย Quick Win “คมนาคม…

2 hours ago

เป็นเจ้าของสถานีชาร์จฯ ง่ายนิดเดียว ชมแพคเกจสุดพิเศษจาก กฟผ.ในงาน Bangkok EV Expo 2024 ที่บูท EV3/2

กฟผ. ร่วมออกบูท EGAT EV Business Solutions (บูท EV3/2) ในงาน Bangkok EV Expo 2024 เพื่อส่งต่อความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์ในการพัฒนาและการบริหารจัดการเครือข่ายสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า…

2 hours ago

ลุ้น! สุดยอดซีอีโอแห่งปี “CEO ECONMASS Awards 2024” จากสมาคมผู้สื่อข่าวเศรษฐกิจ วันที่ 30 ต.ค.นี้

สมาคมผู้สื่อข่าวเศรษฐกิจ จับมือกับ “กกร.-สคร.-ม.หอการค้าไทย” จัดงาน 'CEO ECONMASS Awards 2024' สุดยอดผู้นำองค์กร ประจำปี 2567 โดยนายกรัฐมนตรี “แพทองธาร ชินวัตร”  เป็นผู้มอบรางวัลในครั้งนี้…

2 hours ago

YouTube เปิดตัว YouTube Shopping ในประเทศไทย

YouTube ประกาศเปิดตัวโปรแกรมแอฟฟิลิเอต YouTube Shopping ในประเทศไทยอย่างเป็นทางการ โดยเริ่มต้นด้วยการร่วมมือกับแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ Shopee โดยโปรแกรมใหม่นี้จะช่วยเปิดโอกาสให้ครีเอเตอร์สามารถรับค่าคอมมิชชันเมื่อผู้ชมซื้อสินค้าที่ครีเอเตอร์แนะนำ พร้อมมอบประสบการณ์การช็อปปิ้งที่ราบรื่นและสะดวกสบายให้กับผู้ชม และเป็นอีกหนึ่งช่องทางในการเพิ่มรายได้ให้กับครีเอเตอร์ และในขณะเดียวกัน ผู้ชมก็สามารถค้นพบและเลือกซื้อสินค้าที่พวกเขาชื่นชอบได้อย่างง่ายดาย ซึ่งจะช่วยยกระดับประสบการณ์การช็อปปิ้งของผู้ใช้งานทั่วประเทศ ประเทศไทยนับเป็นประเทศที่ 4…

3 hours ago

UOB จับมือ DHL Express ก้าวสู่เป้าหมายลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนจากการขนส่งทางอากาศ

ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย ประกาศเข้าร่วมโครงการ GoGreen Plus ของดีเอชแอล ซึ่งเป็นการสะท้อนความร่วมมือที่แน่นแฟ้นยิ่งขึ้นระหว่างสองบริษัท โดยยูโอบีมุ่งมั่นที่จะลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนทางอ้อม (Scope 3) ที่ไม่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมการเงิน และผลักดันวาระการพัฒนาอย่างยั่งยืนของธนาคารให้ก้าวหน้าไปอีกขั้น ความร่วมมือนี้เปิดโอกาสให้ยูโอบีใช้เชื้อเพลิงการบินที่ยั่งยืน (SAF) ในการขนส่งด่วนระหว่างประเทศทางอากาศผ่านบริการ…

3 hours ago

vivo ประกาศท้าชนทุกสเปก เปิดตัว Y200 5G ในราคาเริ่มต้น 9,999 บาท พร้อมวางจำหน่าย Watch 3 นาฬิกาอัจฉริยะรุ่นแรกในไทยอย่างเป็นทางการ

vivo ประกาศเปิดตัว Y200 5G สมาร์ทโฟนรุ่นใหม่ล่าสุดจากตระกูล Y Series ที่ได้พรีเซนเตอร์นักแสดงสาวสวย ‘ญดา-นริลญา กุลมงคลเพชร’ มาเป็นตัวแทนพาผู้ใช้งานไปพิสูจน์ความแกร่งของน้องเล็กทนทานเหนือระดับภายใต้แนวคิด ‘สุดทน! ท้าชนทุกสเปก’ โดดเด่นด้วยมาตรฐานทนน้ำทนฝุ่น IP64…

3 hours ago