ซีอีโอ เพย์ โซลูชั่น (ภาวุธ พงษ์วิทยภานุ) เปิดข้อมูลไทยขาดดุลดิจิทัลปีละ 2 แสนล้านบาท เทียบเท่ากับการส่งออกข้าวไทยถึง 2 ปี ชี้สถานการณ์น่าห่วง เพราะพฤติกรรมผู้ใช้งานจ่ายเงินซื้อบริการดิจิทัลเพิ่มขึ้นทุกปี จี้ภาครัฐเร่งทำข้อมูลการขาดดุลบริการดิจิทัลที่ชัดเจน ส่งเสริมผู้ประกอบการไทยให้พัฒนาเทคโนโลยีเพื่อลดการขาดดุล
ภาวุธ พงษ์วิทยภานุ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เพย์ โซลูชั่น จำกัด เปิดเผยถึงสถานการณ์ขาดดุลบริการดิจิทัลของประเทศไทย ที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง หลังจากที่ผู้บริโภคชาวไทยหันมาใช้บริการดิจิทัลแพลตฟอร์ม ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้ให้บริการจากต่างประเทศเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเฉลี่ยปีละ 15-20% สาเหตุมาจากการปรับตัวของผู้ให้บริการ โดยเปลี่ยนจากที่เคยให้ผู้บริโภคซื้อสิทธิ์ในการใช้ซอฟท์แวร์ เป็นการสมัครสมาชิกจ่ายรายเดือนแทน ทำให้คนเข้าถึงการใช้งานได้มากขึ้น คาดว่าคนไทย จะมีค่าใช้จ่ายในการซื้อบริการดิจิทัลแบบสมัครสมาชิก เฉลี่ยคนละ 2-3 พันบาทต่อปี
โดยประเมินว่าคนไทยที่ใช้บริการออนไลน์ทั่วไป ซึ่งมีอยู่กว่า 50 ล้านคนทั่วประเทศ ในจำนวนนี้หากมีผู้จ่ายเงินสมัครสมาชิกซื้อบริการดิจิทัล ราว 10-20 ล้านคน จะเป็นเงินมหาศาล แต่ปัญหาคือเงินที่ผู้บริโภคจ่ายออกไปเพื่อซื้อบริการดิจิทัลเหล่านี้ จะถูกส่งตรงไปยังผู้ให้บริการในต่างประเทศ โดยที่ไทยไม่ได้รับประโยชน์ แม้กรมสรรพากรจะออกกฎหมายเรียกเก็บภาษีบริการดิจิทัล หรือ E-Service Tax สำหรับผู้ให้บริการที่มีรายได้ 1.8 ล้านบาทขึ้นไป ต้องจ่ายภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% ก็ตาม แต่เงินส่วนใหญ่ก็ยังถูกส่งไปต่างประเทศ เพราะภาษีที่เรียกเก็บจะถูกผลักภาระให้ผู้บริโภคจ่ายผ่านราคาบริการที่เพิ่มขึ้น
ข้อมูลที่น่าสนใจพบว่า ในปี 2566 คนไทยจ่ายเงินซื้อบริการดิจิทัลจากผู้ให้บริการที่ขึ้นทะเบียน 177 ราย คิดเป็นมูลค่ากว่า 96,000 ล้านบาท ในจำนวนนี้กรมสรรพากรสามารถจัดเก็บภาษี E-Service ได้ที่ 6,700 ล้านบาทเท่านั้น แต่ในสถานการณ์จริง ยังมีผู้ให้บริการดิจิทัลอีกเป็นพันรายที่ยังไม่มาขึ้นทะเบียน เมื่อประเมินแล้วมูลค่าการซื้อบริการดิจิทัลจากผู้ให้บริการทั้งที่ขึ้นทะเบียนและยังไม่ขึ้นทะเบียน รวมแล้วจะไม่ต่ำกว่าปีละ 2 แสนล้านบาท เทียบเท่ากับการส่งออกข้าวไทยถึง 2 ปี หรือใกล้เคียงกับเม็ดเงินที่ใช้ในการนำเข้าน้ำมันในแต่ละปี ที่น่าเป็นห่วงคือเม็ดเงินจำนวน 2 แสนล้านบาทนี้ ยังไม่ถูกนำไปคำนวณการขาดดุลของประเทศ เพราะไม่เคยมีการรวมบริการดิจิทัลเข้าไป ขณะที่หลายประเทศ เช่น ญี่ปุ่น มีการนำเรื่องบริการดิจิทัลเข้าไปคำนวณแล้ว
นอกจากนี้ยังมีข้อมูลเกี่ยวกับใช้เงินซื้อโฆษณาบนแพลตฟอร์มดิจิทัล ของสมาคมสื่อโฆษณาดิจิทัล ที่เปิดเผยว่าในแต่ละปี มีการจ่ายเงินซื้อโฆษณาบนแพลตฟอร์มเกฟซบุ๊ก ปีละกว่า 8 พันล้านบาท แต่เฟซบุ๊ก (ประเทศไทย) รายงานตัวเลขรายได้เพียง 400 กว่าล้านบาทเท่านั้น ยังมีส่วนต่างอีก 7 พันกว่าล้านบาทที่ถูกส่งตรงไปยังผู้ให้บริการในต่างประเทศ , ส่วนการซื้อโฆษณาบนแพลตฟอร์ม กูเกิล เฉลี่ยปีละ 5-6 พันล้านบาท แต่กูเกิล(ประเทศไทย) มีรายได้ 1,366 ล้านเท่านั้น เช่นเดียวกับ ติ๊กตอก ที่มีการซื้อโฆษณาปีละ 2 พันล้านบาท แต่ติ๊กตอก (ประเทศไทย) รายงานรายได้เพียง 786 ล้านบาท เมื่อนำเม็ดเงินที่สมาคมสื่อโฆษณาดิจิทัล ซื้อโฆษณาบน 3 แพลตฟอร์มดังกล่าวมารวมกัน จะพบว่า มีเม็ดเงินซื้อโฆษณา ที่ถูกส่งตรงไปต่างประเทศมากถึงปีละ 14,371 ล้านบาท และหากไม่ทำอะไร ประเทศไทยจะต้องเจอกับภาวะขาดดุลดิจิทัลเพิ่มขึ้นอีก จากแนวโน้มการเติบโตของเศรษฐกิจดิจิทัล
ทั้งนี้ ภาวุธ ยังเสนอว่า รัฐบาลต้องเริ่มจัดทำข้อมูลการขาดดุลบริการดิจิทัลที่ชัดเจน ว่าแต่ละมีมีการขาดดุลจริง ๆ เท่าไหร่ และอยู่ที่บริการด้านใดบ้าง เพื่อที่จะวางแผนในการสนับสนุน ส่งเสริมผู้ประกอบการไทยให้พัฒนาเทคโนโลยีเพื่อลดการขาดดุล , เพิ่มการส่งออกสินค้าดิจิทัลของไทยไปยังต่างประเทศ หรือ ดึงบริษัทที่ให้บริการดิจิทัล มาตั้งโรงงานในไทย เพื่อลดการขาดดุลดังกล่าว
เคยไหม? เลื่อนฟีดโซเชียลมีเดียแล้วเจอคลิปโป๊ ๆ ของคนดัง หรือแม้แต่คนรู้จัก แต่เอะใจว่า...มันดูแปลก ๆ เหมือนไม่ใช่ตัวจริง นั่นอาจเป็นเพราะคุณกำลังเผชิญหน้ากับ "Deepfake Porn" ภัยร้ายยุค AI ที่กำลังระบาดหนักอยู่ในขณะนี้ Deepfake…
คณะกรรมาธิการยุโรปประกาศปรับ Meta Platforms เป็นเงิน 798 ล้านยูโร (ประมาณ 840 ล้านดอลลาร์) จากการละเมิดกฎหมายต่อต้านการผูกขาดของสหภาพยุโรป โดย Meta ถูกกล่าวหาว่าใช้ Facebook Marketplace…
ข่าวดีสำหรับสาวก Apple! MacBook Pro ลำโพงเสีย ซ่อมง่าย จ่ายน้อยกว่าเดิม เมื่อ Apple ประกาศเปลี่ยนวิธีการซ่อมแซม ไม่ต้องเปลี่ยน Top Case ทั้งชุด ลดภาระค่าใช้จ่ายให้ผู้ใช้…
LINE ประเทศไทย จัดงานสัมมนา "Food & Beverage Industry Insights" เจาะลึกเทรนด์ธุรกิจอาหารและเครื่องดื่มยุคใหม่ เผย 4 กลยุทธ์สำคัญ พร้อมโซลูชันครบวงจร ช่วยผู้ประกอบการไทยเติบโตอย่างยั่งยืน ท่ามกลางสมรภูมิการแข่งขันที่ดุเดือด…
Thai SmartLynx สายการบินเช่าเหมาลำ เดินหน้ารุกตลาดไทยเต็มสูบ ประกาศเตรียมนำเข้าเครื่องบิน Airbus A320 ลำแรก ต้นปี 2568 รับอานิสงส์ท่องเที่ยวฟื้นตัว ตั้งเป้าช่วยสายการบินไทยเพิ่มศักยภาพ รับนักท่องเที่ยวทะลุ 40 ล้านคน…
เสียวหมี่ (Xiaomi) เดินหน้ารุกตลาด AIoT ในประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง ส่งท้ายปีด้วยการเปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ 3 รุ่นรวด นำทัพโดยหุ่นยนต์ทำความสะอาดอัจฉริยะ Xiaomi Robot Vacuum X20 Max, กล้องวงจรปิดความละเอียดสูง…