CEA เชิดชูนักสร้างสรรค์ตัวอย่าง ขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย ครั้งแรกกับงานประกาศรางวัล Creative Excellence Awards 2023 (CE Awards)

CEA เชิดชูนักสร้างสรรค์ตัวอย่าง ขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย ครั้งแรกกับงานประกาศรางวัล Creative Excellence Awards 2023 (CE Awards)

สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (CEA) จัดพิธีมอบรางวัลความเป็นเลิศทางความคิดสร้างสรรค์ หรือ Creative Excellence Awards (CE Awards) ครั้งแรก เพื่อเชิดชูและส่งเสริมบุคคล ชุมชน ผู้ประกอบการ หน่วยงาน องค์กร หรือสถาบัน ต่าง ๆ ที่สร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์หรือบริการ เครื่องมือ หรือกระบวนการ โดยนำความคิดสร้างสรรค์ มาประยุกต์ใช้ในการสร้างให้เกิดคุณค่า (Value Creation) ที่ก่อให้เกิดผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจ สังคมหรือสิ่งแวดล้อมเพื่อต่อยอดไปสู่การเติบโตอย่างยั่งยืนของประเทศ โดยได้รับเกียรติจาก นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เป็นประธานมอบรางวัลให้กับนักสร้างสรรค์จำนวน 28 รางวัล

สุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน กล่าวว่า เวทีประกาศรางวัล Creative Excellence Awards จะเป็นปฐมบทใหม่ของการเฉลิมฉลองให้แก่ศักยภาพและความคิดสร้างสรรค์ของคนไทย ที่ “ความคิดสร้างสรรค์” ไม่ได้อยู่แค่ในบริบทของศิลปะหรือความสวยงามเท่านั้น แต่ยังเป็น “กระบวนการเชื่อมโยงและตกผลึกองค์ความรู้ใหม่ ๆ” ซึ่งมีพลังในการจุดประกายและขับเคลื่อนผู้คนในการสร้างสรรค์สิ่งต่าง ๆ ให้เกิดขึ้นจริง ไม่ว่าจะเพื่อประโยชน์ต่อตนเอง ธุรกิจ ผู้คน ชุมชน สังคม หรือประเทศชาติ นับเป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่ช่วยยกระดับเศรษฐกิจสร้างสรรค์ของประเทศไทยได้อย่างเป็นรูปธรรม

BOI สานความสัมพันธ์การลงทุนไทย-สหรัฐอเมริกา

ดร.อรรชกา สีบุญเรือง ประธานกรรมการสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ได้กล่าวว่า พันธกิจของ CEA นั้นมุ่งผลักดันความคิดสร้างสรรค์ให้สามารถขับเคลื่อนองคาพยพระบบเศรษฐกิจในระดับประเทศ ผ่านการสร้างเศรษฐกิจสร้างสรรค์ที่แข็งแกร่ง พร้อมส่งออกศักยภาพของต้นทุนทางวัฒนธรรมและความคิดสร้างสรรค์ไทยไปสู่การสร้างการรับรู้ในระดับนานาชาติ หรือ Soft Power จึงเป็นเหตุผลให้เราได้จัดให้มีงานมอบรางวัล Creative Excellence Awards หรือ CE Awards ขึ้นเป็นปีแรกนี้ ซึ่งเราหวังเป็นอย่างยิ่งว่า รางวัลนี้ยังจะช่วยกระตุ้นนักสร้างสรรค์ไทยได้พัฒนาผลงานในทุกมิติที่สร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจหรือคุณค่าทางสังคม เพื่อขับเคลื่อนความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจและสังคม

สำหรับเกณฑ์การให้รางวัล ผลงานนั้นจะต้องมีคุณลักษณะที่เป็นไอเดียที่แปลกใหม่ สามารถสร้างคุณค่าและมูลค่าเพิ่มได้ รวมถึงยังต้องก่อให้เกิดประโยชน์และผลกระทบเชิงบวกต่อเศรษฐกิจและสังคม ซึ่งทั้งหมดนี้จะเข้าสู่กระบวนการคัดเลือก เริ่มต้นด้วย Creative Data Intelligence โดยใช้ระบบ Mandala AI จากการดึงข้อมูลจาก Social Listening ผ่าน Keyword ต่างๆ จนได้ผลงานตามเกณฑ์ที่กำหนดทั้งหมด 374 ผลงาน จากนั้นจึงเข้าสู่ Verification Screening การคัดกรองจากทีมคณาจารย์และนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยทั้งหมด 8 แห่ง จนเหลือ 196 ผลงาน และได้ใช้กระบวนการ In/Out ตามเกณฑ์คัดเลือกของคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิหลากหลายสาขาจนกลายเป็น 168 ผลงาน สุดท้ายผลงานทั้งหมดที่คัดเลือกแล้วได้เข้าสู่กระบวนการ Discussion & Vote หารือและโหวตโดยคณะกรรมการซึ่งประกอบด้วยตัวแทนองค์กรชั้นนำที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมของประเทศจนได้ออกมาเป็น 28 ผลงานสร้างสรรค์แห่งปี

“สำหรับรางวัล CE Awards จะจัดขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกปี ซึ่งไม่ได้เป็นเพียงเครื่องการันตีศักยภาพความสำเร็จของผู้ที่ได้รับรางวัลเท่านั้น แต่ยังเป็นเหมือนสัญลักษณ์และการแสดงออกเรื่องวิสัยทัศน์แห่งความเข้าใจในการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในโลก อีกทั้งยังช่วยในการจุดประกายพลังแห่งความคิดสร้างสรรค์อันหลากหลาย พร้อมบ่มเพาะระบบนิเวศ สภาพแวดล้อมที่เอื้อให้ความคิดสร้างสรรค์ให้เติบโต และยั่งยืนต่อไปในอนาคต” ดร.อรรชกา สีบุญเรือง กล่าวสรุป

รางวัล Creative Excellence Awards หรือ CE Awards ได้รับเกียรติจาก นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน มาเป็นประธานในการมอบรางวัล โดยมีผลงานที่ได้รับรางวัลทั้งหมด 28 รางวัล แบ่งเป็น 3 ประเภท 15 สาขา อันได้แก่

ประเภทที่ 1 Creative City Awards จำนวน 5 รางวัล

รางวัลการพัฒนาย่าน สถานที่ชุมชน หรือเมือง รวมทั้งกิจกรรมที่ดึงเอกลักษณ์เฉพาะตัว เชื่อมโยงกับเรื่องราวของย่าน ผู้คน หรือธุรกิจดั้งเดิม ผสานกับความคิดสร้างสรรค์หรือนวัตกรรม เพื่อสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจและพัฒนาให้ตอบโจทย์คนในพื้นที่และผู้มาเยือนในมิติต่าง ๆ ทั้งสังคม เศรษฐกิจ และความยั่งยืน

1.1 Creative City Festival Award

ผู้รับรางวัล : Awakening Bangkok โดย Time Out Bangkok

1.2 Creative City Branding Award

ผู้รับรางวัล: ถนนสายไม้บางโพ โดย คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และชุมชนประชานฤมิตร

1.3 Creative City Cultural Asset Award จำนวน 2 รางวัล

ผู้รับรางวัล:

1.Phuket Peranakan Festival โดย จังหวัดภูเก็ต, องค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ต และสมาคมเพอรานากันประเทศไทย

2.เยาวเล่น โดย เครือข่ายสาธารณะ (SATARANA)

1.4 Creative City Regeneration Award จำนวน 2 รางวัล

ผู้รับรางวัล :

1.คลองแม่ข่า โดย จังหวัดเชียงใหม่ เทศบาลนครเชียงใหม่

2.Pattani Decoded โดย Melayu Living

1.5 Creative City Advocacy Award จำนวน 3 รางวัล

ผู้รับรางวัล :

1. จริงใจ Farmers Market เชียงใหม่ โดย กลุ่มเซ็นทรัล

2. River City Bangkok โดย Chaophaya Development Corporation Limited

3. โรงสีแดง หับ โห้ หิ้น โดย ภาคีคนรักเมืองสงขลาสมาคม

ประเภทที่ 2 Creative Business Awards แบ่งเป็น 2 กลุ่ม จำนวน 6 รางวัล

กลุ่มที่ 1 : Sustainability Awards รางวัลสำหรับผลิตภัณฑ์หรือบริการหรือโครงการ ที่ให้ความสำคัญกับการออกแบบหรือกระบวนการผลิต ที่เน้นความยั่งยืนและคำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม โดยนำความคิดสร้างสรรค์มาใช้เพื่อตอบโจทย์ความยั่งยืน

2.1 Creative Sustainable Product Award (For Large Enterprise)

ผู้รับรางวัล : ดอยคำ ICE POP บริษัท ดอยคำผลิตภัณฑ์อาหาร จำกัด

2.2 Creative Sustainable Product Award (For SME & Community) จำนวน 2 รางวัล

ผู้รับรางวัล :

1. Moreloop บริษัท มอร์ลูป จำกัด

2. CARECHOICE บริษัท ด.เด็กกินผัก จำกัด

2.3 Creative Sustainable Project Award (For Large Enterprise) จำนวน 2 รางวัล

ผู้รับรางวัล :

1. โครงการ เชฟชุมชนชวนกินถิ่นระยอง(ฮิ) บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน)

2. reBOX บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด และบริษัท เอสซีจีแพคเกจจิ้ง จัดกัด (มหาชน)

2.4 Creative Sustainable Project Award (For SME & Community) จำนวน 2 รางวัล

ผู้รับรางวัล :

1.NAMSAI กลุ่มผลิตภัณฑ์แปรรูปจากตอซังข้าว ต.หนองน้ำใส จ.พระนครศรีอยุธยา

2.ดอนพุด โมเดล ชุมชนอำเภอดอนพุด จังหวัดสระบุรี

กลุ่มที่ 2 : Value Creation Awards รางวัลของการใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการสร้างคุณค่าเพิ่มในเชิงธุรกิจ ผ่านผลิตภัณฑ์หรือบริการ หรือโครงการ โดยเป็นการผสมผสานระหว่างมิติทางเศรษฐกิจและมิติความยั่งยืนอย่างลงตัว

2.5 Value Creation Award จำนวน 2 รางวัล

ผู้รับรางวัล:

1. THAI FIGHT Hotel บริษัท ไทยไฟท์ จำกัด

2. Siam Diamond บริษัท ท๊อปฟู้ดส์ซัพพลาย จำกัด

2.6 Cross-Sector Collaboration Award จำนวน 3 รางวัล

ผู้รับรางวัล :

1. LUMPINEE BOXING STADIUM ศูนย์พัฒนากีฬากองทัพบก (มวยไทยลุมพินี) และบริษัท อินเด็กซ์ ครีเอทีฟ วิลเลจ จำกัด (มหาชน)

2. Guss Damn Good บริษัท กัสส์ แดมน์ กู๊ด จำกัด

3. Q-CHANG X ช้าการช่าง โดยมูลนิธิกระจกเงา บริษัท เน็กซเตอร์ดิจิตอล แอนด์โซลูชั่น จำกัด และโครงการจ้างวานข้า มูลนิธิกระจกเงา

ประเภทที่ 3 Creative Social Impact Awards จำนวน 4 รางวัล

รางวัลสำหรับการนำความคิดสร้างสรรค์ไปประยุกต์ใช้ เพื่อแก้ไขหรือคลี่คลายประเด็นต่าง ๆ ทางสังคม (Social) อีกทั้งช่วยลดผลกระทบที่จะเกิดขึ้นหรือคาดว่าจะเกิดขึ้นให้น้อยลง

3.1 Creative Community Engagement Award จำนวน 3 รางวัล

ผู้รับรางวัล :

1.Traffy Fondue (ทราฟฟี่ ฟองดูว์) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และกรุงเทพมหานคร

2. Yindii (ยินดี) MR.Louis-Alban Batard-Dupre (มิสเตอร์ หลุยส์ อัลบาน บาทาด) Co-Founder & CEO

3. Agri-Map กรมพัฒนาที่ดิน และศูนย์เทคโนโลยีอีเลกทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค)

3.2 Creative Well-Being Award  จำนวน 2 รางวัล

ผู้รับรางวัล :

1. Khee ผู้พัฒนาแอพพลิเคชั่น khee

2. Vulcan Coalition บริษัท วัลแคน โคอะลิชั่น จำกัด

3.3 Creative for Elderly Award

ผู้รับรางวัล: Joy Ride บริษัท วีล ออฟ จอย จำกัด

3.4 Creative Education Award

ผู้รับรางวัล: ยังเเฮปปี้ “เเพลตฟอร์มสังคมความสุขของคนวัยเก๋า” บริษัท ยังแฮปปี้ จำกัด

Scroll to Top