นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ ในฐานะเลขานุการคณะกรรมการการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ.2542 เปิดเผยว่า ปี 2567 มีการอนุญาตให้คนต่างชาติเข้ามาลงทุนประกอบธุรกิจในประเทศไทย ภายใต้พระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542 จำนวน 954 ราย โดยเป็นการลงทุนผ่านช่องทางการขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว 227 ราย และการขอหนังสือรับรองการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว (ผ่านช่องทางการลงทุนตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน หรือได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และการใช้สิทธิตามสนธิสัญญาหรือความตกลงระหว่างประเทศ) 727 ราย เงินลงทุนรวมทั้งสิ้น 228,106 ล้านบาท โดยปี 2567 ชาวต่างชาติที่เข้ามาลงทุนประกอบธุรกิจในประเทศไทยสูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่
อันดับ 1 ญี่ปุ่น 254 ราย 27% ของจำนวนธุรกิจต่างชาติในไทย เงินลงทุน 121,190 ล้านบาท ในธุรกิจ อาทิ
– ธุรกิจบริการทางวิศวกรรมและเทคนิค เช่น การให้บริการทดสอบทางเทคนิคเกี่ยวกับการทำงานของเครื่องยนต์และการใช้พลังงานของยานยนต์ไฟฟ้าของลูกค้า เป็นต้น
– ธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ โดยเป็นการจัดหาจัดซื้อวัตถุดิบ ชิ้นส่วน และส่วนประกอบสำหรับอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น ยานยนต์ และอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น เพื่อค้าส่งในประเทศ
– ธุรกิจขายอาหารและเครื่องดื่ม
– ธุรกิจบริการพัฒนาดิจิทัลคอนเทนต์ / พัฒนาซอฟต์แวร์
– ธุรกิจบริการรับจ้างผลิตสินค้า อาทิ แม่พิมพ์ ชิ้นส่วนโลหะ ชิ้นส่วนยานพาหนะ ชิ้นส่วนพลาสติกสำหรับอุตสาหกรรมต่างๆ
อันดับ 2 สิงคโปร์ 137 ราย 14% ของจำนวนธุรกิจต่างชาติในไทย เงินลงทุน 22,485 ล้านบาท ในธุรกิจ อาทิ
– บริการทางวิศวกรรมและเทคนิคด้านต่างๆ เช่น การออกแบบทางวิศวกรรม และการวางระบบโครงสร้างการผลิต เป็นต้น
– ธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ โดยเป็นการจัดซื้อสินค้า วัตถุดิบ และชิ้นส่วนสำหรับอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น อุตสาหกรรมการแพทย์ เป็นต้น เพื่อค้าส่งในประเทศ
– ธุรกิจบริการขุดเจาะปิโตรเลียม
– ธุรกิจบริการพัฒนาซอฟต์แวร์
– ธุรกิจบริการรับจ้างผลิตสินค้า (อาทิ ไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ ชิ้นส่วนยานพาหนะ ผลิตภัณฑ์โลหะ บรรจุภัณฑ์พลาสติก)
อันดับ 3 จีน 123 ราย 13% ของจำนวนธุรกิจต่างชาติในไทย เงินลงทุน 19,547 ล้านบาท ในธุรกิจ อาทิ
– ธุรกิจบริการติดตั้ง ทดสอบ ซ่อมแซม บำรุงรักษาระบบสายพานที่ใช้สำหรับโครงการก่อสร้างโรงงานผลิตและประกอบรถยนต์ไฟฟ้า
– ธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ โดยเป็นการจัดซื้อสินค้า วัตถุดิบ และชิ้นส่วน สำหรับอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น เพื่อค้าส่งในประเทศ
– ธุรกิจบริการพัฒนาซอฟต์แวร์
– ธุรกิจบริการทำเทคนิคด้านภาพสำหรับภาพยนตร์
– ธุรกิจบริการรับจ้างผลิตสินค้า (แม่พิมพ์ แบตเตอรี่ความจุสูง เครื่องใช้ไฟฟ้า ชิ้นส่วนยานพาหนะ)
อันดับ 4 สหรัฐอเมริกา 121 ราย 13% ของจำนวนธุรกิจต่างชาติในไทย เงินลงทุน 24,675 ล้านบาท ในธุรกิจ อาทิ
– ธุรกิจบริการทางวิศวกรรมและเทคนิค เช่น การติดตั้ง บำรุงรักษา แก้ไข และปรับแต่งเว็บไซต์ เป็นต้น
– ธุรกิจค้าปลีกสินค้า (อาทิ อาหารและเครื่องดื่มสำเร็จรูป เครื่องจักร เครื่องมือ เครื่องกล ชิ้นส่วน อุปกรณ์ และอะไหล่ที่ใช้ในงานอุตสาหกรรม ยา อาหารเสริมเพื่อสุขภาพ เครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์)
– ธุรกิจโฆษณา
– ธุรกิจขายอาหารและเครื่องดื่ม
– ธุรกิจบริการรับจ้างผลิตสินค้า อาทิ พวงมาลัยรถยนต์ ลูกอม ขนมขบเคี้ยว หมากฝรั่ง อาหารสำเร็จรูป Electro Magnetic Product แบตเตอรี่ลิเทียมไอออน
อันดับ 5 ฮ่องกง 69 ราย 7% ของจำนวนธุรกิจต่างชาติในไทย เงินลงทุน 15,281 ล้านบาท ในธุรกิจ อาทิ
– ธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ โดยเป็นการจัดหาจัดซื้อวัตถุดิบ ชิ้นส่วนและส่วนประกอบสำหรับอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น อุตสาหกรรมสิ่งพิมพ์ สิ่งทอ ยานยนต์ และเครื่องกีฬา เป็นต้น เพื่อค้าส่งในประเทศ
– ธุรกิจบริการออกแบบทางวิศวกรรม ก่อสร้าง ติดตั้ง ทดสอบการใช้งานระบบ การซ่อมแซม บำรุงรักษาแผงโซล่าเซลล์
– ธุรกิจบริการศูนย์กระจายสินค้าด้วยระบบที่ทันสมัย
– ธุรกิจบริการพัฒนาซอฟต์แวร์
– ธุรกิจบริการรับจ้างผลิตสินค้า อาทิ แม่พิมพ์ อะไหล่และส่วนประกอบรถยนต์ ชิ้นส่วนสำหรับผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ ชุดแบตเตอรี่ความจุสูง
การเข้ามาลงทุนประกอบธุรกิจของชาวต่างชาติในไทยช่วงที่ผ่านมา โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมข้างต้น
มีส่วนช่วยในการถ่ายทอดเทคโนโลยีอันเป็นองค์ความรู้เฉพาะด้านจากประเทศผู้เข้ามาลงทุนให้แก่คนไทย เช่น
องค์ความรู้เกี่ยวกับการขุดเจาะปิโตรเลียม องค์ความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีนวัตกรรมเครื่องมือแพทย์ องค์ความรู้เกี่ยวกับการทดสอบคุณภาพของวัตถุดิบสำหรับผลิตชิ้นส่วนรถยนต์และรถจักรยานยนต์ องค์ความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีการออกแบบระบบไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ในโครงการรถไฟฟ้า เป็นต้น
เมื่อเทียบกับปี 2566 พบว่า ปี 2567 มีการอนุญาตให้คนต่างชาติเข้ามาลงทุนประกอบธุรกิจในไทยเพิ่มขึ้นจากปี 2566 จำนวน 287 ราย (43%) (ปี 2567 อนุญาต 954 ราย / ปี 2566 อนุญาต 667 ราย) และมีมูลค่าการลงทุนเพิ่มขึ้น 100,574 ล้านบาท (79%) (ปี 2567 ลงทุน 228,106 ล้านบาท/ ปี 2566 ลงทุน 127,532 ล้านบาท) ขณะที่มีการจ้างงานคนไทยจากนักลงทุนที่ขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวลดลง 1,805 ราย (26%) (ปี 2567 จ้างงาน 5,040 คน / ปี 2566 จ้างงาน 6,845 คน) โดยจำนวนนักลงทุนที่เข้ามาลงทุนสูงสุดและนำเงินเข้ามาลงทุนสูงสุดทั้งปี 2567 และ 2566 คือ นักลงทุนชาวญี่ปุ่น (ปี 2567 นักลงทุน 254 ราย เงินลงทุน 121,190 ล้านบาท / ปี 2566 นักลงทุน 137 ราย เงินลงทุน 32,148 ล้านบาท)
อธิบดีอรมน กล่าวต่อว่า สำหรับการลงทุนในพื้นที่ EEC ปี 2567 มีนักลงทุนต่างชาติสนใจเข้าลงทุนในพื้นที่ EEC จำนวน 301 ราย คิดเป็น 32% ของจำนวนนักลงทุนต่างชาติที่ได้รับอนุญาตในปี 2567 เพิ่มขึ้นจากปี 2566 จำนวน 167 ราย (124%) (ปี 2567 ลงทุน 301 ราย / ปี 2566 ลงทุน 134 ราย) และมีมูลค่าการลงทุนในพื้นที่ EEC จำนวน 56,490 ล้านบาท คิดเป็น 25% ของเงินลงทุนทั้งหมด เพิ่มขึ้นจากปี 2566 จำนวน 17,877 ล้านบาท (46%) (ปี 2567 เงินลงทุน 56,490 ล้านบาท / ปี 2566 เงินลงทุน 38,613 ล้านบาท) โดยเป็นนักลงทุนจาก *ญี่ปุ่น 103 ราย ลงทุน 20,593 ล้านบาท *จีน 72 ราย ลงทุน 12,107 ล้านบาท *ฮ่องกง 20 ราย ลงทุน 5,698 ล้านบาท และประเทศอื่นๆ 106 ราย ลงทุน 18,092 ล้านบาท โดยธุรกิจที่ลงทุนในพื้นที่ EEC อาทิ
– ธุรกิจบริการทางวิศวกรรม โดยเป็นการออกแบบทางวิศวกรรมสำหรับอุตสาหกรรมยานยนต์
เฉพาะเดือนธันวาคม 2567 มีการอนุญาตให้คนต่างชาติประกอบธุรกิจในประเทศไทย จำนวน 70 ราย เป็นการลงทุนผ่านช่องทางการขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว 25 ราย และ การขอหนังสือรับรองการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว (ผ่านช่องทางการลงทุนตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน หรือได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และการใช้สิทธิตามสนธิสัญญาหรือความตกลงระหว่างประเทศ) 45 ราย เงินลงทุนทั้งสิ้น 14,142 ล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นคนต่างชาติจากสิงคโปร์ ญี่ปุ่น และฮ่องกง ตามลำดับ มีการจ้างงานคนไทย 1,369 คน รวมถึงมีการถ่ายทอดเทคโนโลยีอันเป็นองค์ความรู้เฉพาะด้านโดยตรงจากประเทศผู้เข้ามาลงทุนให้แก่คนไทย เช่น องค์ความรู้เกี่ยวกับระบบการบริหารจัดการ สำหรับขนส่งสินค้าทางอากาศ องค์ความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีอัดฉีดซีเมนต์นอกชายฝั่ง องค์ความรู้เกี่ยวกับระบบเทเลมาตกส์ (Telematics) และองค์ความรู้เกี่ยวกับการทำ Digital Advertising เป็นต้น
ไปรษณีย์ไทย รุกตลาดท่องเที่ยว เปิดตัวบริการใหม่ "Travel Lite by Thailand Post" อำนวยความสะดวกนักท่องเที่ยวให้เดินทางตัวเปล่า หมดกังวลเรื่องสัมภาระ สามารถฝากเก็บและรับ-ส่งกระเป๋าเดินทางและสัมภาระต่างๆ ได้ง่ายดาย ในราคาเริ่มต้นเพียง 100 บาท…
ตลาดการเงินทั่วโลกตกอยู่ในภาวะผันผวนอย่างหนัก หลังประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์แห่งสหรัฐอเมริกา ประกาศมาตรการเรียกเก็บภาษีสินค้านำเข้าจากนานาประเทศแบบไม่ทันตั้งตัว ส่งผลให้นักลงทุนทั่วโลกเทขายหุ้นด้วยความกังวลต่อผลกระทบทางเศรษฐกิจที่อาจตามมา เหตุการณ์เริ่มต้นขึ้นใน "วันปลดแอก" (2 เมษายน 2568) เมื่อผู้นำสหรัฐฯ ประกาศขึ้นภาษีนำเข้าครั้งใหญ่ในรอบศตวรรษ โดยกำหนดอัตราภาษีขั้นต่ำ 10% สำหรับสินค้าจากทุกประเทศที่ส่งเข้ามายังสหรัฐฯ…
ไปรษณีย์ไทย จับมือกับ บริษัท เทคซอส ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) อย่างเป็นทางการ เพื่อร่วมกันพัฒนาและต่อยอดเทคโนโลยีและข้อมูล สู่บริการใหม่ "Data-as-a-Service" หวังสร้างโอกาสทางธุรกิจและยกระดับประสบการณ์ผู้ใช้บริการในแวดวงโลจิสติกส์ พิธีลงนามจัดขึ้น ณ อาคารภาณุรังษีไปรษณียาคาร สำนักงานใหญ่…
กสทช. เร่งเครื่องโอเปอเรเตอร์ เปิดใช้งานระบบ Cell Broadcast เต็มสูบ รองรับทั้ง Android และ iOS หวังแจ้งเตือนภัยพิบัติประชาชนได้ทันท่วงที แม้ระบบกลางของ ปภ. ยังไม่พร้อม ไตรรัตน์…
ฟูจิฟิล์ม (ประเทศไทย) เปิดตัว instax mini 41 กล้องอนาล็อกรุ่นใหม่ล่าสุด ที่ผสานดีไซน์สุดคลาสสิกเข้ากับความทันสมัยได้อย่างลงตัว พร้อมฟังก์ชันที่ใช้งานง่าย ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ของคนรุ่นใหม่ที่ชื่นชอบการถ่ายภาพและมองหากล้องที่เป็นมากกว่าแค่เครื่องมือ แต่ยังเป็น "ไอเทมแฟชั่นที่ต้องมี" สานต่อความสำเร็จของ instax mini 40 กล้องรุ่นยอดนิยม instax…
ทรู คอร์ปอเรชั่น เผยข้อมูลเชิงลึกเทศกาลสงกรานต์ 2568 ชี้คนไทยและนักท่องเที่ยวต่างชาติร่วมเฉลิมฉลองอย่างคึกคักทั่วประเทศ พร้อมเผยการเดินทางข้ามภูมิภาคเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะภาคอีสาน เหนือ และใต้ เผยเครือข่ายอัจฉริยะ AI ยกระดับประสิทธิภาพ 5G และ 4G…
This website uses cookies.