ท่ามกลางสถานการณ์เศรษฐกิจโลกที่เผชิญความไม่แน่นอนสูง และมีโอกาสเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยในบางประเทศ จากราคาพลังงานที่ผันผวน อัตราเงินเฟ้อที่ปรับตัวสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ ทิศทางอัตราดอกเบี้ยทั่วโลกรวมถึงไทยที่เร่งตัวขึ้นเพื่อสกัดเงินเฟ้อ ความขัดแย้งระหว่างรัสเซีย-ยูเครนที่ยังยืดเยื้อ ความตึงเครียดของมหาอำนาจเศรษฐกิจโลกระหว่างสหรัฐอเมริกา-จีนที่เพิ่มขึ้น การปรับขึ้นของค่าจ้างแรงงาน เหล่านี้ล้วนเป็นปัจจัยกระทบต่อภาคธุรกิจโดยเฉพาะเอสเอ็มอี ธนาคารไทยพาณิชย์ ได้จัดงานสัมมนา “SME OF THE FUTURE อนาคต SMEs ไทยไปต่ออย่างไรดี เพื่อเตรียมความพร้อมให้กับเอสเอ็มอีให้พร้อมรับมือกับปัจจัยเสี่ยงและความท้าทายในแง่มุมต่างๆ และช่วยเป็นแนวทางในการปรับกลยุทธ์ให้เหมาะสมกับโลกธุรกิจในอนาคตที่กำลังจะมาถึง
ดร.สมประวิณ มันประเสริฐ รองผู้จัดการใหญ่ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มงาน Economic Intelligence Center (EIC) ธนาคารไทยพาณิชย์ ฉายภาพรวมเศรษฐกิจโลกในงานสัมมนาครั้งนี้ โดยระบุว่า แม้เศรษฐกิจโลกจะมีความไม่แน่นอนสูงจากปัจจัยลบดังกล่าวข้างต้น แต่ยังมีความย้อนแย้งในหลายมิติ เช่น ภาคการผลิตโลกโดยรวมยังดี สวนทางกับความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่ปรับตัวลดลงต่อเนื่อง เศรษฐกิจโลกที่เริ่มส่งสัญญาณชะลอตัวโดยเฉพาะในสหรัฐฯ สวนทางกับตลาดแรงงานที่ยังแข็งแกร่ง ขณะที่ประเทศไทย การจับจ่ายใช้สอยในประเทศเริ่มเห็นสัญญาณฟื้นตัวจากการผ่อนคลายมาตรการควบคุมโรคและการเปิดประเทศ แต่ยังมีปัจจัยเสี่ยงภายนอกเข้ามากระทบเศรษฐกิจในประเทศ เป็นต้น โดยความย้อนแย้งดังกล่าวนี้สะท้อนว่า เศรษฐกิจโลกกำลังยืนอยู่บน “รอยต่อของการเปลี่ยนแปลงระหว่างดีกับไม่ดี”
–DITP อวดโฉมสมุนไพรไทย เพิ่มมูลค่า ตอบโจทย์ BCG Model
ขณะที่ในระยะยาว แม้สถานการณ์การระบาดของโควิด-19 จะเริ่มคลี่คลาย แต่ธุรกิจในโลกจากนี้จะเกิดการเปลี่ยนแปลงในเชิงโครงสร้างตามพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป เช่น รูปแบบการผลิต การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี เป็นผลให้ผู้ประกอบการต้องเร่งปรับตัวรับมือกับปัญหาทั้งจากปัญหาเศรษฐกิจเฉพาะหน้า และปัญหาเชิงโครงสร้างในระยะยาว เพราะต่อให้เศรษฐกิจกลับมาสู่ภาวะปกติมากขึ้น แต่ไม่ได้หมายความว่าสินค้าจะกลับมาขายดี โดยเฉพาะผู้ผลิตที่ปรับตัวไม่ทัน
“ในสหรัฐอเมริกา ภาคแรงงานยังเข้มแข็ง ญี่ปุ่นแม้อัตราการติดเชื้อโควิด19 สูง แต่ภาคส่งออกและการบริโภคยังดี ส่วนประเทศที่น่าเป็นห่วงคือ ยุโรป และจีน ถามว่าประเทศไหนจะเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอย ยุโรปน่าจะมาก่อน อังกฤษน่าจะเป็นประเทศแรก เนื่องจากเผชิญกับราคาพลังงานที่ปรับตัวสูงขึ้น และส่อจะขาดแคลนก๊าซธรรมชาติ เป็นผลพวงจากความขัดแย้งรัสเซีย-ยูเครน ขณะที่ยอดขายและการผลิตสินค้าในยุโรปปรับตัวลดลง และจีนที่มรสุมเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทั้งจากนโยบายซีโร่โควิดที่กระทบต่อภาคการผลิต ต่อเนื่องมาถึงกำลังซื้อของคนจีนเริ่มหายไประดับหนึ่ง ลามมาเกิดปัญหาในภาคอสังหาริมทรัพย์”
อย่างไรก็ตาม แม้หลายประเทศจะประสบปัญหา แต่ ดร.สมประวิณ วิเคราะห์ว่า “อาเซียน” ยังเป็นตลาดที่น่าสนใจ ได้รับผลกระทบไม่มากจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก เนื่องจากขนาดของกำลังซื้อที่เพิ่มสูงขึ้นจากเศรษฐกิจที่เริ่มฟื้นตัวดีขึ้นในปีนี้ โดยเห็นว่าการเพิ่มอัตราการค้าร่วมกันระหว่างอาเซียน จะเป็นแนวทางลดผลกระทบเศรษฐกิจโลกที่ดี เช่นเดียวกับเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มฟื้นตัวต่อเนื่อง จากจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เพิ่มขึ้น โดยคาดว่าจะแตะ 10 ล้านคนในปี 2565 ส่งผลให้รายได้ในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องปรับตัวสูงขึ้น ช่วยเพิ่มกำลังซื้อในประเทศ ขณะที่ภาคส่งออกไทยดีขึ้นในบางสินค้าในบางประเทศ โดยเฉพาะการส่งออกไปยังอาเซียน แต่ในระยะถัดไปการส่งออกจะถูกขับเคลื่อนด้วยราคาสินค้าที่ปรับตัวสูงขึ้นมากกว่าในเชิงปริมาณ สะท้อนกำลังซื้อทั่วโลกที่ลดลง แต่สินค้าราคาแพงขึ้น
โดยมีคำแนะนำให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีรับมือความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจโลก และการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างผ่าน 3 กลยุทธ์ ได้แก่
1.การรักษาระดับการเติบโตและบริหารความเสี่ยงธุรกิจ ด้วยการลดต้นทุนที่ไม่จำเป็น เน้นการปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้พลังงานและบริหารวัตถุดิบ เพิ่มความยืดหยุ่นในการทำธุรกิจให้ปรับตัวรับวิกฤตได้อย่างรวดเร็ว ดูแล balance sheet โดยลดสินค้าคงคลัง ลดหนี้ และดูแลความเสี่ยงให้ครอบคลุมทุกด้าน ได้แก่ การ Hedging เพื่อลดความผันผวนของราคาวัตถุดิบ และสร้างความมั่นคงและความยืดหยุ่นของซัพพลายเชนผ่านการบริหารความเสี่ยงของคู่ค้า รวมถึงการบริหารสินค้าคงคลัง
2.การยึดหลักลูกค้าเป็นศูนย์กลาง ได้แก่ เน้นการเพิ่มทางเลือกให้ลูกค้าในภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว ติดตามพฤติกรรมผู้บริโภคและแนวโน้ม new normal อย่างใกล้ชิด การวิเคราะห์ข้อมูลให้เข้าใจความต้องการลูกค้า การนำเสนอสินค้าและบริการให้กับผู้บริโภคในรูปแบบใหม่ๆ และการสร้าง Customer journey เพื่อช่วยให้ลูกค้าเปลี่ยนผ่านไปสู่โลกดิจิทัลได้เร็วขึ้น
3.การทรานส์ฟอร์มธุรกิจให้หลากหลายและลงทุนธุรกิจแห่งอนาคต โดยปรับโมเดลธุรกิจให้สอดคล้องกับพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปของผู้บริโภคและสอดคล้องกับสภาวะตลาด หันไปลงทุนในธุรกิจด้านอื่นๆ เพื่อลดการพึ่งพารายได้จากช่องทางเดียว การลงทุนในเทคโนโลยีที่เหมาะสมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตและการบริหารจัดการ การลงทุนเพิ่มประสิทธิภาพด้านพลังงาน จัดทำแผน retain และ reskill พนักงานให้สอดรับกับการเข้ามาของเทคโนโลยีและเทรนด์ใหม่ๆ และมองหาโอกาสในการควบรวมธุรกิจ เป็นต้น
โค้ก โดยกลุ่มธุรกิจโคคา-โคล่า ในประเทศไทย สร้างความฮือฮาให้กับตลาดเครื่องดื่มอีกครั้ง ด้วยการเปิดตัว "โค้ก" ซีโร่ กลิ่นวานิลลา ความอร่อยใหม่ที่ผสานความซ่าส์อันเป็นเอกลักษณ์ของ "โค้ก" เข้ากับความหอมหวานละมุนละไมของวานิลลาได้อย่างลงตัว ที่สำคัญคือมาในสูตรไม่มีน้ำตาล ตอบโจทย์ผู้บริโภคที่ใส่ใจสุขภาพ โดยเฉพาะกลุ่ม Gen…
บริษัท ไซโก้ เอปสัน คอร์ปอเรชั่น (Epson) ประกาศแต่งตั้ง โยชิดะ จุนคิชิ ขึ้นดำรงตำแหน่งประธานกรรมการและตัวแทนผู้อำนวยการ (President and Representative Director) และประธานเจ้าหน้าที่บริหารคนใหม่ (Chief…
การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) โดย กองสิ่งแวดล้อม ฝ่ายพัฒนาโครงการรถไฟฟ้า ลงพื้นที่ตรวจติดตามการดำเนินงานลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมในการก่อสร้าง ช่วงเวลากลางคืน การก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน - ราษฎร์บูรณะ (วงแหวนกาญจนาภิเษก) ตลอดแนวเส้นทางโครงการฯ โดยเริ่มตั้งแต่จุดก่อสร้าง Cut…
LINE MAN ประกาศความร่วมมือครั้งสำคัญกับ Lotus’s และ Lotus’s go fresh ขยายฐานบริการ LINE MAN MART ให้ครอบคลุมกว่า 1,400 สาขาทั่วประเทศ…
พฤกษา ผนึกกำลัง โรงพยาบาลวิมุต มอบสิทธิพิเศษสุดเอ็กซ์คลูซีฟ และกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพครบวงจรให้ลูกบ้านตลอดปี 2568 ภายใต้แนวคิด "สุขภาพดีเริ่มต้นที่บ้าน" จิตชญา ตู้จินดา รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานการตลาดองค์กรกลุ่ม บริษัท พฤกษา โฮลดิ้ง…
ออเนอร์ (HONOR) ประกาศความสำเร็จครั้งสำคัญของสมาร์ทโฟนระดับแฟลกชิป HONOR Magic7 Pro 5G ที่สร้างยอดขายเติบโตสูงถึง 2.4 เท่า นับตั้งแต่เปิดให้พรีออเดอร์เมื่อวันที่ 11-21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2568…