HERE Technologies ผู้นำแพลตฟอร์มเทคโนโลยีและข้อมูล Location Data เปิดเผยผลการศึกษาใหม่ APAC On The Move นำเสนอข้อมูลเชิงลึกที่ได้รับจากผู้เชี่ยวชาญด้านการขนส่งและลอจิสติกส์ (Transportation and Logistics หรือ T&L) ทั่วทั้งภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก เกี่ยวกับแนวโน้มและแนวทางปฏิบัติด้านเทคโนโลยีในปัจจุบันที่กำลังเปลี่ยนโฉมห่วงโซ่อุปทาน การจัดการยานพาหนะ และการจัดการด้านลอจิสติกส์
สาระสำคัญในรายงาน APAC On the Move 2023 เป็นรายละเอียดการติดตามสินทรัพย์แบบ End-To-End และเผยให้เห็นการมองเห็นและติดตามสถานะการขนส่ง (Visibility Shipments) นั้นยังเป็นความท้าทายสำคัญของธุรกิจลอจิสติกส์มาตลอดสามปีตั้งแต่เกิดการระบาด บริษัทลอจิสติกส์ไทยตอบแบบสอบถามระบุว่าความท้าทายในการนำเทคโนโลยีมาปรับใช้เป็นอุปสรรคใหญ่ที่สุดของการเดินหน้าไปสู่เป้าหมายในการติดตามและจัดการความเคลื่อนไหวของข้อมูลในห่วงโซ่อุปทานแบบเรียลไทม์ (Real-Time End-To-End Supply Chain Visibility) นอกเหนือจากจะมีแรงจูงใจในการปรับปรุงประสิทธิภาพการดำเนินงานก็ตาม
อุตสาหกรรมลอจิสติกส์ของประเทศไทยกำลังเติบโต โดยในปี พ.ศ. 2566 เติบโตเป็นอันดับ 34 จาก 139 ประเทศ ในดัชนีชี้วัดประสิทธิภาพลอจิสติกส์ (Logistics Performance Index หรือ LPI) ของธนาคารโลก[[i]]บ่งชี้ถึงประสิทธิภาพและคุณภาพในบริการลอจิสติกส์ที่ค่อนข้างสูง ซึ่งประเทศไทยยังคงรักษาอันดับผู้นำ โดยทำคะแนน LPI อยู่ใน 11 อันดับแรกของของประเทศกลุ่มรายได้ปานกลางระดับสูง (Upper-Middle-Income) ในปี พ.ศ. 2566 และยังอยู่ในอันดับต้นย้อนหลังไปสี่ปี ในปี พ.ศ. 2561, พ.ศ. 2559, พ.ศ.2557 และ พ.ศ. 2555[1] ด้วยโครงสร้างพื้นฐานด้านลอจิสติกส์ที่แข็งแกร่ง ประกอบกับความมุ่งมั่นของกระทรวงคมนาคมของประเทศไทยที่ตั้งเป้าพัฒนาศักยภาพอุตสาหกรรมลอจิสติกส์ไทยให้กลายเป็นศูนย์กลางด้านลอจิสติกส์สำคัญในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
สรุปสาระสำคัญจากการศึกษาของ HERE Technologies APAC On The Move 2023 มีดังนี้:
พันธมิตรเทคโนโลยีและการนำเทคโนโลยีไปใช้เป็นความท้าทายสำคัญ
มากกว่า 1 ใน 5 ของบริษัทในประเทศไทย (22%) ระบุว่าความท้าทายในการหาพันธมิตรและ/หรือซัพพลายเออร์ที่เหมาะสม และการคำนวณผลตอบแทนของการลงทุนเป็นอุปสรรคที่ใหญ่ที่สุดในการดำเนินการใช้เทคโนโลยี นอกจากนั้นต้นทุนก็ยังเป็นเรื่องต้องกังวล (17%) เช่นกัน
บริษัทลอจิสติกส์ในประเทศไทยต้องการโซลูชันพร้อมใช้ ติดตั้งง่ายค่าใช้จ่ายไม่สูง ใช้เวลาไม่นาน และไม่ต้องใช้ทีมงานจำนวนมากกับการยกเครื่องระบบใหม่ทั้งหมด จากการศึกษาของ HERE ความท้าทายในการผสานรวมซอฟต์แวร์เข้ากับโครงสร้างพื้นฐานที่มีอยู่ (20%) ต้นทุนของ Internet of Things -IoT สูง (15%) และการขาดบุคลากรที่มีทักษะเพื่อใช้และจัดการโซลูชันการติดตาม (14%) ล้วนเป็นอุปสรรคหลักในการติดตามสินทรัพย์ลอจิสติกส์และการตรวจสอบการจัดส่ง/สินค้า
บริษัทลอจิสติกส์ไทยยังพึ่งพาการติดตามแบบแมนนวล
การระบาดใหญ่ของโควิดเผยช่องโหว่ของการเข้าถึงและติดตามข้อมูลด้วยตนเองในห่วงโซ่อุปทานทั่วโลก อย่างไรก็ตาม ประมาณ 50% ของบริษัทลอจิสติกส์ไทยกำลังใช้ซอฟต์แวร์การติดตามสินทรัพย์และตรวจสอบการจัดส่งร่วมกับการป้อนข้อมูลแบบแมนนวลสำหรับติดตามสินทรัพย์ การจัดส่ง และตู้สินค้า
กระบวนการแบบแมนนวลมีโอกาสทำให้เกิดช่องโหว่สูงและยังสร้างความเปราะบางภายในห่วงโซ่อุปทาน แสดงให้เห็นว่าบริษัทจำนวนมากยังไม่มีโครงสร้างพื้นฐานที่ยืดหยุ่น ในขณะที่โซลูชันการติดตามแบบเรียลไทม์และอัตโนมัติ มอบโอกาสในการเร่งสร้างนวัตกรรมและรับมือกับการหยุดชะงักได้ทันท่วงที
ใช้เทคโนโลยีระบุตำแหน่งเพื่อเพิ่มการมองเห็นและเพิ่มประสิทธิภาพ
องค์การอนามัยโลกจัดอันดับประเทศไทยมีอัตราการเสียชีวิตจากการจราจรทางถนนสูงสุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ติดอันดับ 9 ของโลก อุตสาหกรรมลอจิสติกส์ในประเทศไทยอาศัยภาคการขนส่งทางถนนเป็นหลัก คิดเป็นสัดส่วนมากกว่า 80% ของตลาดลอจิสติกส์ทั้งหมด[[ii]] ดังนั้นจึงเป็นเรื่องง่ายที่บริษัทลอจิสติกส์ไทยจะให้ความสำคัญกับการมองเห็นและติดตามข้อมูลเพิ่มขึ้น รวมทั้งการเพิ่มประสิทธิภาพเมื่อต้องใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีระบุตำแหน่ง
รายงานเปิดเผยว่า 37% ของผู้ตอบแบบสอบถามระบุว่าการใช้เทคโนโลยีระบุตำแหน่งมีความจำเป็นต่อการเพิ่มความปลอดภัยของผู้ขับขี่ เป็นแรงจูงใจหลักสำหรับบริษัทต่าง ๆ ในการซื้อโซลูชันการติดตามทรัพย์สินด้านลอจิสติกส์ ขณะที่ 33% ระบุว่า ช่วยเพิ่มความสะดวกสบายในการติดตามยานพาหนะแบบเรียลไทม์และการรายงานข้อมูล และอีก 30% ระบุว่าเทคโนโลนี้ยังมีความจำเป็นต่อการปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานขับรถและพนักงานซ่อมบำรุง
เทคโนโลยีในอนาคตช่วยเพิ่มศักยภาพไปสู่การเป็น Logistics Hub
บริษัทลอจิสติกส์สามารถตัดสินใจได้อย่างรอบคอบด้วยการติดตามสถานะแบบเรียลไทม์และข้อมูลด้วยเทคโนโลยี IoT การศึกษายืนยันว่าบริษัทลอจิสติกส์ส่วนใหญ่ในประเทศไทยใช้เทคโนโลยี IoT อยู่แล้ว โดยใช้ในแอปพลิเคชัน IoT สำหรับการจัดการสินค้าคงคลัง (20%) การจัดการยานพาหนะ (18%) และการจัดการห่วงโซ่อุปทานและการขนส่งสินค้าแบบควบคุมอุณหภูมิ (18%) เป็นที่นิยมมากที่สุดในบรรดาบริษัทลอจิสติกส์ของไทย
เมื่อมองไปในอนาคต พบว่าเกือบ 1 ใน 4 ของบริษัทลอจิสติกส์ในประเทศไทยกำลังวางแผนที่จะลงทุนในโดรน (41%) ปัญญาประดิษฐ์และแมชชีนเลิร์นนิ่ง (32%) และบล็อกเชน (32%) เพื่อก้าวไปสู่การเป็นศูนย์กลางด้านลอจิสติกส์ เทคโนโลยีเหล่านี้ภาคธุรกิจลอจิสติกส์ระบุว่ามีประโยชน์ต่อการพัฒนาปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงานของพนักงาน (36%) สร้างความได้เปรียบในการแข่งขันในตลาด (34%) และเพิ่มรายได้ (32%)
Google และ Sphere Entertainment Co. ประกาศความร่วมมือครั้งสำคัญในการนำเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) สุดล้ำมาสร้างสรรค์โปรเจกต์ "The Wizard of Oz at Sphere" มอบประสบการณ์การรับชมภาพยนตร์สุดคลาสสิกในรูปแบบที่ไม่เคยมีมาก่อนบนจอ…
LINE MAN ประกาศความร่วมมือครั้งสำคัญกับ Domino’s Pizza แบรนด์พิซซ่าระดับโลก เดินหน้าขยายสาขากว่า 10 แห่งทั่วหัวเมืองหลัก พร้อมมอบบริการเดลิเวอรีสุดพิเศษเฉพาะบน LINE MAN เท่านั้นในช่วงเปิดตัวสาขาใหม่ ตอกย้ำความแข็งแกร่งของทั้งสองแบรนด์ในการยกระดับประสบการณ์ความอร่อยให้เข้าถึงผู้บริโภคทุกพื้นที่ทั่วประเทศ พร้อมจัดโปรโมชันสุดคุ้มที่ไม่เคยมีมาก่อน…
กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) ภายใต้การนำของ นายประเสริฐ จันทรรวงทอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงฯ เร่งเครื่องปราบปรามอาชญากรรมออนไลน์ที่เกี่ยวข้องกับ "บุหรี่ไฟฟ้า" อย่างต่อเนื่อง โดยล่าสุดได้ดำเนินการปิดกั้นโซเชียลมีเดีย เพจ และเว็บไซต์ ที่เกี่ยวข้องกับการซื้อ-ขาย และลักลอบนำเข้าแล้วกว่า 10,000…
Booking.com เปิดเผยข้อมูลล่าสุดที่ชี้ให้เห็นว่า "ทะเล" ยังคงเป็นจุดหมายปลายทางยอดนิยมอันดับต้น ๆ ในประเทศไทยที่นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติต่างให้ความสนใจค้นหามากที่สุดในช่วงเทศกาลสงกรานต์ที่กำลังจะมาถึงระหว่างวันที่ 12-16 เมษายน 2568 จากการวิเคราะห์ข้อมูลการค้นหาบนแพลตฟอร์ม พบว่า 5 จุดหมายปลายทางที่ชาวไทยค้นหาเพิ่มขึ้นมากที่สุดเมื่อเทียบกับสงกรานต์ปี 2567 ได้แก่…
Biwin ประกาศศักดาความเป็นผู้นำในอุตสาหกรรมโซลูชันการจัดเก็บข้อมูลและหน่วยความจำ พร้อมรับมือยุคดิจิทัลที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูลอย่างเต็มกำลัง โดยนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่ครอบคลุมทุกความต้องการของภาคธุรกิจอย่างครบวงจร ด้วยอัตราการเติบโตที่รวดเร็ว Biwin ได้ก้าวขึ้นเป็นบริษัทชั้นนำในตลาดโซลูชันหน่วยความจำและอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลอย่างโดดเด่น ผลิตภัณฑ์ของ Biwin ครอบคลุมตั้งแต่ SSD และ DRAM สำหรับผู้ใช้งานทั่วไป ไปจนถึงโซลูชันระดับองค์กร…
เดลต้า อีเลคโทรนิคส์ (ประเทศไทย) ประกาศความสำเร็จครั้งสำคัญ ด้วยการผลิตเพาเวอร์ซัพพลายเซิร์ฟเวอร์ระดับไฮเอนด์ ขนาด 5,500 วัตต์ ที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน 80 PLUS® Ruby เป็นรุ่นแรกของโลก ซึ่งเป็นมาตรฐานสูงสุดด้านประสิทธิภาพพลังงานสำหรับดาต้าเซ็นเตอร์ สะท้อนศักยภาพการผลิตในประเทศไทยสู่เวทีโลก…
This website uses cookies.