depa เผยผลสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นอุตสาหกรรมดิจิทัล ไตรมาส 2 ปรับตัวดีขึ้นจากไตรมาสแรกและยังคงอยู่ในระดับเชื่อมั่น โดยมีสาเหตุมาจากภาวะเศรษฐกิจของประเทศโดยภาพรวมปรับตัวดีขึ้นจากการเติบโตของภาคการท่องเที่ยวและการบริโภคภาคเอกชน รวมถึงนโยบายเปิดประเทศของจีนที่ส่งผลให้ต้นทุนการดำเนินธุรกิจลดลง แต่ความไม่แน่นอนทางการเมืองส่งผลให้ผู้ประกอบการและคู่ค้าหลายรายชะลอแผนธุรกิจชี้ผู้ประกอบการคาดหวังให้ภาครัฐปรับแนวทางการส่งเสริมอุตสาหกรรมให้ชัดเจน ผลักดันให้เข้าถึงแหล่งทุน เร่งสร้างกำลังคนดิจิทัลเข้าสู่ตลาดแรงงาน และออกมาตรการจูงใจบุคลากรด้านเทคโนโลยีดิจิทัลศักยภาพสูงจากต่างประเทศให้เข้ามาทำงานในประเทศไทยเพิ่มขึ้น
สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล หรือ depa เผยผลการสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นอุตสาหกรรมดิจิทัล (Digital Industry Sentiment Index) ไตรมาส 2 ประจำปี 2566 ใน 5 กลุ่มอุตสาหกรรมย่อย ประกอบด้วย กลุ่มอุตสาหกรรมฮาร์ดแวรและอุปกรณ์อัจฉรยะ (Hardware and Smart Device) กลุ่มอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ (Software) กลุ่มอุตสาหกรรมบริการด้านดิจิทัล (Digital Service) กลุ่มอุตสาหกรรมดิจิทัลคอนเทนต์ (Digital Content) และกลุ่มอุตสาหกรรมโทรคมนาคม (Telecommunication) โดยดัชนีความเชื่อมั่นฯ อยู่ที่ระดับ 54.1 ปรับตัวดีขึ้นจากระดับ 54.0 ของไตรมาสแรกและยังคงอยู่ในระดับเชื่อมั่นต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่สอง โดยปัจจัยด้านปริมาณการผลิตฯด้านการจ้างงาน และด้านต้นทุนประกอบการปรับตัวสูงขึ้น ขณะที่ปัจจัยด้านผลประกอบการ ด้านคำสั่งซื้อฯ และด้านการลงทุนเพื่อประกอบการปรับตัวลงเล็กน้อยจากไตรมาสที่ผ่านมา
ผศ.ดร.ณัฐพล นิมมานพัชรินทร์ ผู้อำนวยการใหญ่ depa เปิดเผยว่า ปัจจัยบวกที่ส่งผลต่อดัชนีความเชื่อมั่นอุตสาหกรรมดิจิทัลประกอบด้วยภาวะเศรษฐกิจของประเทศโดยภาพรวมมีแนวโน้มที่ดีขึ้นจากการเติบโตของภาคการท่องเที่ยวและการบริโภคภายในประเทศ ส่งผลให้กำลังซื้อภาคเอกชนปรับตัวสูงขึ้น พร้อมกันนี้ นโยบายการเปิดประเทศของจีนยังส่งผลให้ต้นทุนการผลิตของกิจการในประเทศลดลง โดยเฉพาะราคาชิปและชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ในทางกลับกัน ปัจจัยฉุดรั้งคือ ความไม่แน่นอนทางการเมืองและการจัดตั้งรัฐบาล ซึ่งผู้ประกอบการมีความกังวลอยู่ไม่น้อย โดยผู้ประกอบการและคู่ค้าหลายรายชะลอแผนธุรกิจเพื่อรอดูท่าทีการประกาศนโยบายของรัฐบาลใหม่
หากแยกตามรายอุตสาหกรรมจะพบว่า เกือบทุกกลุ่มอุตสาหกรรมมีดัชนีความเชื่อมั่นฯ สูงกว่าระดับ 50 ไม่ว่าจะเป็น กลุ่มอุตสาหกรรมฮาร์ดแวร์และอุปกรณ์อัจฉริยะ อยู่ที่ระดับ 54.6 กลุ่มอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ อยู่ที่ระดับ 56.9 กลุ่มอุตสาหกรรมบริการด้านดิจิทัล อยู่ที่ระดับ 52.1 และ กลุ่มอุตสาหกรรมดิจิทัลคอนเทนต์ อยู่ที่ระดับ 52.4 ขณะที่ กลุ่มอุตสาหกรรมโทรคมนาคม กลับมีดัชนีความเชื่อมั่นฯ ต่ำกว่าระดับ 50 โดยอยู่ที่ 46.8 ในไตรมาสนี้
“ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมดิจิทัลไทยคาดหวังให้ภาครัฐปรับแนวทางการส่งเสริมอุตสาหกรรมให้ชัดเจนช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนในประเทศและต่างประเทศ ส่งเสริมการเข้าถึงตลาดภาครัฐ และประเด็นสำคัญคือ การพัฒนากำลังคนดิจิทัลเข้าสู่ตลาดแรงงาน รวมถึงการออกมาตรการจูงใจบุคลากรด้านเทคโนโลยีดิจิทัลศักยภาพสูง (Talent) จากต่างประเทศให้เข้ามาทำงานในประเทศไทยเพิ่มขึ้น” ผู้อำนวยการใหญ่ depa กล่าว
วิทยุไร้สาย ทรู คอร์ปอเรชั่น โดย นายกนกศักดิ์ นิ่มนวลรัตน์ หัวหน้าฝ่ายส่วนราชการและสาธารณูปโภค นำทีมวิศวกรพื้นที่ร่วมปฏิบัติการสนับสนุน การไฟฟ้านครหลวง (MEA) โดย นายวิลาศ เฉลยสัตย์ ผู้ว่าการฯ พร้อมด้วย…
HMD ประเทศไทย ประกาศเปิดตัวสมาร์ทโฟนรุ่นใหม่ล่าสุด 2 รุ่น ได้แก่ HMD CREST 5G และ HMD AURA2 ที่มาพร้อมสเปคจัดเต็ม ในราคาที่ใครๆ ก็เป็นเจ้าของได้…
ท่ามกลางสถานการณ์ฝุ่น PM2.5 ที่ทวีความรุนแรงและส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนชาวไทย LINE ประเทศไทย ในฐานะผู้นำแพลตฟอร์มดิจิทัลที่เข้าถึงผู้คนกว่า 56 ล้านรายทั่วประเทศ ได้ประกาศความร่วมมือกับกรมควบคุมมลพิษ ในการยกระดับบริการแจ้งเตือนค่าฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 ผ่าน LINE ALERT Official…
เสียวหมี่ประกาศวันเปิดตัวสมาร์ทโฟนแฟลกชิปรุ่นใหม่ ‘Xiaomi 15 Series’ โดยเปิดตัวพร้อมกันทั่วโลก (Global Launch) ในวันที่ 2 มีนาคม 2568 และจะเปิดตัวอย่างเป็นทางการในประเทศไทย (Thailand Launch) ในวันที่ 3 มีนาคม 2568 แฟนๆ เสียวหมี่และผู้ที่สนใจห้ามพลาด สำหรับสเปค Xiaomi 15 Ultra ที่ถูกเปิดเผยผ่าน gsmarena…
เรียลมี (realme) เตรียมเปิดตัวเทคโนโลยีกล้องถ่ายภาพสุดล้ำที่งาน "Mobile World Congress 2025 (MWC 2025)" ซึ่งจะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 3-6 มีนาคม นี้ ณ กรุงบาร์เซโลนา…
บริษัท โรงแรมเซ็นทรัลพลาซา จำกัด (มหาชน) ผู้ให้โรงแรมและรีสอร์ทในเครือเซ็นทารา "Centara" หรือ (CENTEL) เผยประกาศผลประกอบการปี 2567 ธุรกิจโรงแรมหรูโกอินเตอร์ ขยายฐานลูกค้าต่างชาติ อาหารไทยรสเลิศครองใจคนทั่วโลก ดันกำไรพุ่งทะยาน 40%…