กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือดีพร้อม (DIPROM) เสริมศักยภาพการขายบนช่องทางไฮบริดให้ผู้ประกอบการไทยผ่านโครงการ DIPROM Marketeer เติม 5 ทักษะสำคัญให้ผู้ประกอบการสู่นักขายมือทอง โดยตั้งเป้ามีผู้เข้าอบรมไม่น้อยกว่า 1,000 คน มีกิจการเข้าสู่แพลตฟอร์ม DIPROM Marketplace 1,000 ร้านค้า และสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจไม่น้อยกว่า 100 ล้านบาท นอกจากนี้ ยังแนะ 3 ทักษะดิจิทัลสำหรับผู้ประกอบการ ได้แก่ ทักษะด้านการสตรีมมิง หรือการนำเสนอสินค้าด้วยวิดีโอคอนเทนท์ หรือการไลฟ์สด ทักษะการใช้อินฟลูเอนเซอร์ และการทำการสื่อสารที่ต่อเนื่องเพื่อให้สินค้าหรือบริการเข้าถึงผู้บริโภคได้มากขึ้น
–กรมทางหลวงชนบท ซ่อมสร้างถนนสาย ฉช.4039 จ.ฉะเชิงเทรา
ใบน้อย สุวรรณชาตรี อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือดีพร้อม (DIPROM) กล่าวว่า ช่องทางการบริโภคและการเข้าถึงบริการต่าง ๆ ได้ถูกปรับไปสู่รูปแบบออนไลน์เพิ่มมากขึ้น ทำให้ในปัจจุบันการจัดจำหน่ายสินค้าของหลาย ๆ ธุรกิจไม่อาจอยู่ได้แค่เพียงในช่องทางออฟไลน์ ซึ่งผู้ประกอบการจำเป็นจะต้องปรับตัวไปสู่การดำเนินธุรกิจแบบไฮบริด หรือการใช้ช่องทางออนไลน์ – ออฟไลน์ควบคู่กัน อย่างไรก็ตามการปรับตัวไปสู่รูปแบบดังกล่าวก็ยังพบว่ามีผู้ประกอบการบางรายที่ยังขาดทักษะในด้านต่าง ๆ ประกอบกับดีพร้อม ได้ขานรับนโยบายจาก ดร.ณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ในการสนับสนุนให้อุตสาหกรรมไทยเติบโตได้ด้วยช่องทางดิจิทัล จึงเร่งเดินหน้าโครงการการพัฒนาช่องทางตลาดออนไลน์ หรือ DIPROM Marketeer ต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 เพื่อส่งเสริมการเข้าถึงและพัฒนาศักยภาพการจัดจำหน่ายสินค้าและบริการแบบออฟไลน์ – ออนไลน์ให้เกิดขึ้น
สำหรับ “ดีพร้อม มาร์เก็ตเทีย” ในปี 2566 ได้ดำเนินการผ่าน 5 กลไก โดยครอบคลุมตั้งแต่การวางแผนการตลาดไปจนถึงการขายสินค้า ได้แก่
1. DIPROM Training การจัดฝึกอบรมด้านการตลาดดิจิทัล เพื่อส่งเสริมให้ผู้ประกอบการเข้าถึงช่องทางจำหน่ายออนไลน์
2. DIPROM Marketing Area จัดตั้งพื้นที่สนับสนุนการค้าออนไลน์ เพื่อใช้เป็นพื้นที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้การทำการตลาด อาทิ การถ่ายภาพสินค้า การสร้างเนื้อหาที่ดึงดูดใจลูกค้า การไลฟ์สดเพื่อขายสินค้า
3. DIPROM Go online การให้คำปรึกษาแนะนำด้านการตลาดจากทีมดีพร้อม ผ่านบริการ DIPROM Go ซึ่งเป็นเสมือนเพื่อนคู่คิดธุรกิจออนไลน์
4. DIPROM Marketplace หรือตลาดดีพร้อม ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มช่องทางจำหน่ายสินค้าออนไลน์ มีระบบการจัดทำบัตรสมาชิกเพื่อให้เป็นมาตรฐานและน่าเชื่อถือสำหรับลูกค้า ซึ่งปัจจุบันมีสมาชิกกว่า 20,000 ราย ทั่วประเทศ
5. DIPROM Practice การจัดงานอุตสาหกรรมแฟร์ จากออนไลน์สู่ออฟไลน์ เพื่อเป็นเวทีการทดสอบตลาดหลังจากผู้ประกอบการได้รับคำแนะนำด้านการตลาดมาแล้ว โดยงานจะจัดขึ้นในวันที่ 8 – 10 มีนาคม 2566 ณ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ภายใต้ชื่องาน อุตสาหกรรมแฟร์ ชิม ช้อป แชร์ DIPROM Marketplace Festival เป็นการจัดงานในรูปแบบผสมผสานการจำหน่ายสินค้าในพื้นที่ และ live สด เพื่อสร้างช่องทางจำหน่ายแบบออนไลน์ด้วย
โดยดีพร้อม ตั้งเป้าหมายมีผู้เข้าอบรมด้านการตลาดออนไลน์ไม่น้อยกว่า 1,000 คน ผู้ที่ได้รับคำปรึกษาเชิงลึก 1,000 คน และมีกิจการเข้าสู่แพลตฟอร์ม DIPROM Marketplace 1,000 ร้านค้า ซึ่งจะสามารถพัฒนาผู้ประกอบการที่มีความรู้ความเข้าใจการทำตลาดดิจิทัลและสามารถขยายเครือข่ายผู้ประกอบการให้เข้มแข็ง เกิดการพัฒนาขึ้นในแต่ละชุมชน ซึ่งคาดว่าจะสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจไม่น้อยกว่า 100 ล้านบาท
ใบน้อย กล่าวเพิ่มเติมว่า การส่งเสริมระบบนิเวศด้านดิจิทัลและความก้าวหน้าในด้านอินเทอร์เน็ตเป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้ประทศไทยเติบโตด้านอีคอมเมิร์ซสูงสุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และทำให้ไทยเป็นตลาดสำหรับผู้ที่ต้องการขยายฐานผู้บริโภคผ่านแพลตฟอร์มต่าง ๆ ดังนั้น นอกจากการเข้าสู่ช่องทางออนไลน์ยังมีการปรับตัวในการดำเนินธุรกิจอื่น ๆ ที่ผู้ประกอบการจะต้องให้ความสำคัญเพิ่มเติมได้แก่
-ทักษะด้านการสตรีมมิง หรือการนำเสนอสินค้าด้วยคอนเทนท์ หรือการไลฟ์สด เนื่องจากปัจจุบันผู้ใช้อินเทอร์เน็ตให้ความนิยมดูวิดีโอต่าง ๆ ผ่านช่องทางออนไลน์เทียบเท่าการรับชมโทรทัศน์ทั้งการรีวิวสินค้า รายการประเภทให้ความบันเทิง การขายของของแม่ค้าออนไลน์ ฯลฯ ซึ่งรับชมทั้งรูปแบบไลฟ์สดและรับชมย้อนหลัง โดยผู้ประกอบการควรเลือกการนำเสนอในรูปแบบที่มีความจริงใจ พร้อมทั้งให้สาระปนความสนุกและนำเสนอการขายโดยที่ผู้ชมไม่รู้สึกว่าถูกยัดเยียด รวมถึงต้องหมั่นนำเสนอแบบต่อเนื่อง
-การใช้อินฟลูเอนเซอร์ หรือกลุ่มผู้นำทางความคิด ซึ่งปัจจุบันมีบทบาทต่อการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภค และเป็นอีกเครื่องมือที่สำคัญที่ผู้ประกอบการควรเลือกใช้ในการบอกต่อกับกลุ่มเป้าหมายของสินค้าและบริการ อย่างไรก็ตาม กลยุทธ์ในการเลือกใช้อินฟลูเอนเซอร์ควรเลือกจากผู้ที่มีการเผยแพร่เนื้อหาต่าง ๆ บนหลากหลายช่องทาง มีตัวตน – คาแรคเตอร์ในการนำเสนอที่ชัดเจน รวมทั้งทำให้ผู้บริโภครู้สึกเป็นส่วนหนึ่งและสนุกกับการขายของ
-การสื่อสารที่ต่อเนื่อง ซึ่งเป็นการใช้แพลตฟอร์มต่าง ๆ ในการสร้างปฏิสัมพันธ์กับกลุ่มเป้าหมายและผู้บริโภค อาทิ การตอบคอมเมนท์ในวิดีโอของสินค้า การทำคอนเทนท์ภาพ – บทความสั้นในช่วงเทศกาลสำคัญหรือตามกระแสข่าวที่เกิดขึ้นรายวัน เพื่อให้ผู้บริโภครู้สึกว่าสินค้าหรือบริการเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวัน และทำให้ธุรกิจสามารถพบเห็นได้ในระยะเวลาที่ต่อเนื่อง
โค้ก โดยกลุ่มธุรกิจโคคา-โคล่า ในประเทศไทย สร้างความฮือฮาให้กับตลาดเครื่องดื่มอีกครั้ง ด้วยการเปิดตัว "โค้ก" ซีโร่ กลิ่นวานิลลา ความอร่อยใหม่ที่ผสานความซ่าส์อันเป็นเอกลักษณ์ของ "โค้ก" เข้ากับความหอมหวานละมุนละไมของวานิลลาได้อย่างลงตัว ที่สำคัญคือมาในสูตรไม่มีน้ำตาล ตอบโจทย์ผู้บริโภคที่ใส่ใจสุขภาพ โดยเฉพาะกลุ่ม Gen…
บริษัท ไซโก้ เอปสัน คอร์ปอเรชั่น (Epson) ประกาศแต่งตั้ง โยชิดะ จุนคิชิ ขึ้นดำรงตำแหน่งประธานกรรมการและตัวแทนผู้อำนวยการ (President and Representative Director) และประธานเจ้าหน้าที่บริหารคนใหม่ (Chief…
การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) โดย กองสิ่งแวดล้อม ฝ่ายพัฒนาโครงการรถไฟฟ้า ลงพื้นที่ตรวจติดตามการดำเนินงานลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมในการก่อสร้าง ช่วงเวลากลางคืน การก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน - ราษฎร์บูรณะ (วงแหวนกาญจนาภิเษก) ตลอดแนวเส้นทางโครงการฯ โดยเริ่มตั้งแต่จุดก่อสร้าง Cut…
LINE MAN ประกาศความร่วมมือครั้งสำคัญกับ Lotus’s และ Lotus’s go fresh ขยายฐานบริการ LINE MAN MART ให้ครอบคลุมกว่า 1,400 สาขาทั่วประเทศ…
พฤกษา ผนึกกำลัง โรงพยาบาลวิมุต มอบสิทธิพิเศษสุดเอ็กซ์คลูซีฟ และกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพครบวงจรให้ลูกบ้านตลอดปี 2568 ภายใต้แนวคิด "สุขภาพดีเริ่มต้นที่บ้าน" จิตชญา ตู้จินดา รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานการตลาดองค์กรกลุ่ม บริษัท พฤกษา โฮลดิ้ง…
ออเนอร์ (HONOR) ประกาศความสำเร็จครั้งสำคัญของสมาร์ทโฟนระดับแฟลกชิป HONOR Magic7 Pro 5G ที่สร้างยอดขายเติบโตสูงถึง 2.4 เท่า นับตั้งแต่เปิดให้พรีออเดอร์เมื่อวันที่ 11-21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2568…