ไปรษณีย์ไทย ย้ำแนวทางสำคัญก่อนส่งสิ่งของสู่ปลายทางยุโรปตามมาตรการคุมเข้มของ European Commission

ไปรษณีย์ไทย ย้ำแนวทางสำคัญก่อนส่งสิ่งของสู่ปลายทางยุโรปตามมาตรการคุมเข้มของ European Commission

บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด แนะผู้ส่งสินค้าไปสวิตเซอร์แลนด์ นอร์เวย์ และสหภาพยุโรป 27 ประเทศ กรอกข้อมูลการฝากส่งให้ครบถ้วน ประกอบด้วย ชื่อ-ที่อยู่ของผู้ส่งและผู้รับ เบอร์โทรศัพท์ อีเมล รายละเอียดสิ่งของบรรจุภายใน เพื่อให้พัสดุถึงปลายทางอย่างรวดเร็ว ตามมาตรการของคณะกรรมาธิการยุโรป (European Commission) ที่ใช้ระบบบริหารจัดการความเสี่ยงสำหรับสินค้าส่งผ่าน และ/หรือนำเข้าประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปทางอากาศ (Import Control System 2 : ICS2) โดยไปรษณีย์ไทยพร้อมอำนวยความสะดวกให้ผู้ส่งของบริการจ่าหน้าออนไลน์ผ่านเว็บไซต์ https://dpostinter.thailandpost.com สะดวก ปลอดภัย ของถึงเร็ว ไม่มีสะดุด

Bangkok Airways พร้อมกลับมาเปิดให้บริการเส้นทางบินระหว่าง สมุย – ฮ่องกง 3 เที่ยวบิน / สัปดาห์ เริ่ม 1 ก.ค. นี้

ดร.ดนันท์ สุภัทรพันธุ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด เปิดเผยว่า ไปรษณีย์ไทยขอความร่วมมือลูกค้าที่ส่งสิ่งของไปต่างประเทศ กรอกข้อมูลการฝากส่งสิ่งของให้ครบถ้วน เพื่อให้สิ่งของสามารถส่งถึงรวดเร็วตรงเวลาโดยเฉพาะปลายทางสวิตเซอร์แลนด์ นอร์เวย์ และสหภาพยุโรป 27 ประเทศ ได้แก่ ออสเตรีย เบลเยียม เดนมาร์ก ฟินแลนด์ ฝรั่งเศส เยอรมนี กรีซ ไอร์แลนด์ อิตาลี ลักเซมเบิร์ก เนเธอร์แลนด์ โปรตุเกส สเปน สวีเดน โครเอเชีย ไซปรัส เช็ก เอสโตเนีย ฮังการี ลัตเวีย ลิทัวเนีย มอลตา โปแลนด์ สโลวีเนีย สโลวาเกีย โรมาเนีย และบัลแกเรีย เพื่อให้สอดรับมาตรการของคณะกรรมาธิการยุโรป (European Commission) ที่กำหนดให้มีการบังคับใช้ระบบบริหารจัดการความเสี่ยงสำหรับสินค้าส่งผ่านและ/หรือนำเข้าประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปทางอากาศ(Import Control System 2 : ICS2) ปลายทางดังกล่าว ตั้งแต่วันนี้ เป็นต้นไป เพื่อประเมินความเสี่ยงด้านความปลอดภัยของสิ่งของทุกชิ้นก่อนส่งออกจากไทย โดยศุลกากรปลายทางจะตรวจสอบข้อมูลการฝากส่งสิ่งของจากข้อมูลแจ้งศุลกากรล่วงหน้าทางอิเล็กทรอนิกส์ (ITMATT) อาทิ ชื่อ-ที่อยู่ของผู้ส่งและผู้รับ เบอร์โทรที่ติดต่อได้ รายละเอียดสิ่งของบรรจุภายในน้ำหนักสุทธิของสิ่งของจำนวนสิ่งของมูลค่าสิ่งของอีเมล เป็นต้น ซึ่งจะช่วยให้สามารถประเมินความเสี่ยงด้านความปลอดภัยของสิ่งของได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ทั้งนี้ หากศุลกากรปลายทางประเมินข้อมูลเรียบร้อยแล้วและพบว่าข้อมูลสิ่งของไม่ครบถ้วนสมบูรณ์หรือมีความผิดพลาด เช่น ชื่อ-ที่อยู่ผู้ส่งและผู้รับไม่ครบถ้วน รายละเอียดสิ่งของบรรจุภายในไม่ตรงตามที่ส่ง สิ่งของที่อาจถูกกักและไม่อนุญาตให้ส่งออกจากไทย เจ้าหน้าที่ไปรษณีย์ไทยจะต้องติดต่อขอข้อมูลเพิ่มเติมจากผู้ส่งตามเบอร์โทรที่ได้ให้ไว้ ก่อนส่งรายงานไปยังศุลกากรปลายทางให้ประเมินข้อมูลสิ่งของอีกครั้ง

อย่างไรก็ตาม เพื่อป้องกันสิ่งของถูกกักและรอการอนุญาตจากศุลกากรปลายทางจนเกิดความล่าช้าในการขนส่ง ผู้ส่งจะต้องจ่าหน้า/กรอกรายละเอียดต่างๆบนใบรับฝากหรือใบแจ้งศุลกากรให้ครบถ้วน ด้วยตัวอักษรภาษาอังกฤษตัวเลขอารบิก ประกอบด้วย ชื่อ-ที่อยู่ของผู้ส่งและผู้รับ เบอร์โทรที่ติดต่อได้ รายละเอียดสิ่งของบรรจุภายในน้ำหนักจำนวนสิ่งของมูลค่าสิ่งของแยกแต่ละรายการ(ระบุเป็นสกุลเงินตามข้อมูลอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศ) พิกัดศุลกากร อีเมล (ถ้ามี) ซึ่งการระบุเบอร์โทรศัพท์และอีเมลที่ติดต่อได้ของผู้ส่งและผู้รับมีความสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่ง ให้ไปรษณีย์ไทยสามารถติดต่อผู้ส่งได้โดยเร็วหากเกิดกรณีสิ่งของถูกกักเพื่อขอข้อมูลเพิ่มเติม

สำหรับผู้ฝากส่งสิ่งของจำนวนมากหรือต้องการความสะดวกทำจ่าหน้าสิ่งของพร้อมเลข Tracking อัตโนมัติไปรษณีย์ไทยได้พัฒนาระบบทำจ่าหน้าสิ่งของออนไลน์ และนำร่องให้บริการพิมพ์จ่าหน้าจากระบบออนไลน์ที่ไปรษณีย์ 78 แห่ง ครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศ อาทิ หลักสี่ จตุจักร ภาษีเจริญ พระนครศรีอยุธยา พัทยา ระยอง นครราชสีมา ยโสธร ร้อยเอ็ด เชียงใหม่ เชียงราย ตาก สมุทรสาคร ภูเก็ต หาดใหญ่ เป็นต้น เพื่อให้สามารถทำจ่าหน้า

สิ่งของฝากส่งต่างประเทศได้ง่ายๆจากที่อยู่ผู้ส่งโดยใส่ข้อมูลจ่าหน้า/รายละเอียดต่างๆบนใบรับฝากหรือใบแจ้งศุลกากรได้เองผ่านทาง https://dpostinter.thailandpost.com ซึ่งข้อมูลการจ่าหน้าจะถูกบันทึกเข้าระบบของศุลกากรโดยตรงช่วยลดปัญหาการนำเข้าข้อมูลสิ่งของที่ไม่ถูกต้อง หรือผิดพลาดได้อีกด้วย อนึ่ง ผู้ใช้บริการสามารถตรวจสอบสถานะสิ่งของส่งระหว่างประเทศได้ทางแอปพลิเคชัน Line@thailandpost หรือสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ THP Contact Center 1545

Scroll to Top