EIC คาดการณ์เศรษฐกิจโลกปี 2022
การฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกในปี 2022 ขยายตัวต่อเนื่องในช่วงตันปี แต่มีแนวโน้มชะลอตัวลงในครึ่งปีหลัง และการฟื้นตัวในแต่ละภูมิภาคจะมีความแตกต่างกันน้อยลง
การเติบโตทางเศรษฐกิจ
-การฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกแม้จะมีแนวโน้มชะลอลง แต่ยังเป็นการฟื้นตัวในเกณฑ์ดี เพราะจะได้รับปัจจัยสนับสนุนจากอัตราการฉีตวัคซีนที่สูงขึ้นทั่วโลก โดยเฉพาะในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา (EMs) อีกทั้ง ยังได้รับแรงสนับสนุนจาก
ภาคการคลัง แม้ขนาดจะปรับลดลงมาจากปี 2021
-การฟื้นตัวในแต่ละภูมิภาคจะมีความแตกต่างกันน้อยลง โดย EMs-Asia มีแนวโน้มฟื้นตัวในอัตราเร่งจากการเปิดเมืองได้
-ขณะที่เศรษฐกิจ AEs และ EMs-LATAM มีแนวโน้มชะลอตัวลง ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการที่กลุ่มประเทศดังกล่าวได้ทยอยฟื้นตัวได้ดีไปแล้วในปี 2021
อัตราเงินเฟ้อ
-ด้วย Supply-chain disruption ประกอบกับการขาดแคลนแรงงาน ราคาพลังงานและราคาที่อยู่อาศัยในบางประเทศปรับเพิ่มขึ้นเร็วจึงทำให้อัตราเงินเฟ้อในช่วงที่ผ่านมาปรับสูงขึ้นเร็ว
-คาดว่าอัตราเงินเฟ้อจะทยอยปรับลดลงในปี 2022 จากปัญหาอุปทานคอขวดที่คาดว่าจะทยอยคลี่คลายลงตั้งแต่ปี 2022 เป็นตันไป
-ในระยะยาวคาดว่าอัตราเงินเฟ้อจะมีแนวโน้มอยู่ในระตับสูงกว่าระตับ pre-pandemic เนื้องจากโครงสร้างราคาและตลาดแรงงานมีแนวโน้มเปลี่ยนแปลงไป
ทิศทางนโยบายการเงิน
Fed – ไต้ประกาศ QE tapering อย่างเป็นทางการในการประชุม FOMC เมื่อเดือน พ.ย. โดยได้เริ่มลดการเข้าซื้อสินทรัพย์ครั้งแรกแล้วในเดือน พ.ย. 2021 เป็นจำนวน 1:5 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐต่อเดือน
ECB มีแนวโน้มจะลดปริมาณการซื้อสินทรัพย์ผ่าน PEPP ในไตรมาส 4 ปี 2021 โดยคาดว่า PEPP จะสิ้นสุดลงในเดือนมี.ค. 2022
PBOC – ไต้ประกาศปรับลด Reserve Requirement Ratio สำหรับธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ลง 0.5% มาอยู่ที่ 84% ในเดือน ธ.ค. 2021 แต่มื แนวโน้มจะยังคงอัตราตอกเบี้ยนโยบายในปี 2022 และจะมุ่งเนันการปรับโครงสร้างของเศรษฐกิจและการสนับสนุนสภาพคล่องเฉพาะกลุ่มเพื่อสนับสนุน เศรษฐกิจในวงกว้าง
-AIS เตือนนักช้อปออนไลน์ ระวังกลโกงจากมิจฉาชีพช่วงเทศกาล 12.12
-SKYLLER เปิดตัว HighSight ระบบโดรนอัตโนมัติ ตั้งเป้าสร้างรายได้ 100 ล้านบาทในปี 2565
การเติบโตของเศรษฐกิจปี 2020 2021
ปัจจัยสนับสนุน
-การเปิดเมืองของ EMs Asia หลังสถานการณ์การแพร่ระบาดปรับตัวดีขึ้น
-Pent up demand และอัตราการออมใน AEs ที่สูง
-ค่าแรงที่เพิ่มขึ้นจะสนับสนุนการบริโภคภาคเอกชนให้ขยายตัวต่อเนื่อง
ปัจจัยเสี่ยง
-ความไม่แน่นอนจากการแพร่ระบาดของไวรัสสายพันธุ์ Omicron
-Supply chain digruption ทั้งในภาควัตถุดิบและแรงงานที่อาจยืดเยื้อกว่าคาด ส่งผลให้เงินเฟ้อเพิ่มสูงขึ้นเร็วต่อเนื่อง
-ภาวะการเงินอาจตึงตัวขึ้นเร็วหากนักลงทุนเปลี่ยนมุมมอง หรือธนาคารกลางปรับนโยบายฉับพลัน
EIC คาดการณ์เศรษฐกิจไทย ปี 2021-2022
EIC ปรับเพิ่มคาดการณ์เศรษฐกิจไทยปี 2021 เติบโตที่ 1.1% จากเดิม 0.7% จากโมเมนตัมการฟื้นตัวที่เร็วขึ้นของเศรษฐกิจภายในประเทศหลังการเปิดเมืองและเปิดประเทศ ส่วนปี 2022 EIC คาดเศรษฐกิจจะเติบโตที่ 3.2% จากเดิม 3.4% โดยจะเป็นการฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไปจากทั้งอุปสงค์ภายในและภายนอกประเทศ โดยมีการระบาดของสายพันธุ์ Omicron เป็นประเด็นที่ต้องจับตามอง
Key forecasts
เศรษฐกิจไทยปี 2021 มีโมเมนตัมการฟื้นตัวที่เร็วขึ้นของเศรษฐกิจภายในประเทศหลังการเปิดเมืองและเปิดประเทศ ส่วนปี 2022 เศรษฐกิจมีแนวโน้มฟื้นตัวต่อเนื่องจากทั้งอุปสงค์กายในและภายนอกประเทศ แต่การฟื้นตัวในภาพรวมจะยังเป็นไปอย่างช้า ๆ จากผลของร่องรอยแผลเป็นเศรษฐกิจในช่วงสองปีที่ผ่านมา ทั้งในด้านรายได้ครัวเรือนจากตลาดแรงงานที่ชบเขา และการะหนี้ที่อยู่ในระดับสูง
อัตราดอกเบี้ยนโยบาย (ณ สิ้นปี)
คาด ธปท. จะคงอัตราตอกเบี้ยนโยบายที่ 0.5% ตลอดปี 2021 และ 2022 โดยโอกาสลดดอกเบี้ยมีน้อยลงเนื่องจากเศรษฐกิจไทยได้ผ่านจุดต่ำสุดไปแล้ว ทั้งนี้การขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายครั้งแรกนำจะทำไต้อย่างเร็วที่สุดในช่วงครึ่งแรกของปี 2023
อัตราแลกเปลี่ยน (ณ สิ้นปี) (THB/USD)
เงินบาท ณ สิ้นปี 2022 มีแนวโน้มแข็งค่าขึ้นสู่ระดับ 32-33 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย ดุลบัญชีเดินสะพัดที่มีแนวโน้มขาดดุลลตลง และเงินทุนไหลเช้า ทั้งนี้เงินบาทอาจแข็งค่าขึ้นไม่มากเนื่องจากค่าเงินดอลลาร์สหรัฐมีแนวโน้มแข็งค่าในปี 2022 เช่นกัน
ปัจจัยบวก
-ภาคส่งออกมีแนวโน้มขยายตัวได้ ตามเศรษฐกิจโลกที่จะฟื้นตัวตามความคืบหน้าในการฉีดวัคซีนโดยเฉพาะประเทศกำลังพัฒนา
-ความคืบหน้าในการฉีดวัคชีนในประเทศ รวมถึงประสิทธิภาพของยารักษา COVID-19 และการผ่อนคลายมาตรการการเดินทางข้ามประเทศ จะทำให้กิจกรรมเศรษฐกิจและนักท่องเที่ยวต่างชาติปรับตัวดีขึ้น
-ในระยะสั้นที่จะมีแรงส่งจากการใช้จ่ายที่มาจาก pent-up demand ของกลุ่มผู้มีกำลังซื้อ
ปัจจัยลบ
-แผลเป็นเศรษฐกิจจากปี 2021 ได้แก่ การปิดกิจการที่เพิ่มขึ้น แรงงานตกงานเพิ่มขึ้น รายได้ที่ลดลง และประชาชนมีหนี้สูง และการชะลอโครงการของภาครัฐจะเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เศรษฐกิจฟื้นตัวช้า
-การระบาดรอบใหม่ในหลาย ๆ ประเทศที่อาจรุนแรง ส่งผลเสียต่อภาคเศรษฐกิจในประเทศ
ปัจจัยเสี่ยง
-การระบาด COVID-19 ทั้งในไทยและต่างประเทศที่อาจกลับมารุนแรงอีกครั้งจากการผ่อนคลายมาตรการต่าง ๆ โดยเฉพาะหากมีการกลายพันธุ์ของไวรัสที่ลดประสิทธิภาพวัคชีนลง โดยประเด็นที่ต้องจับตามองเป็นพิเศษคือการระบาดของสายพันธุ์ Omicron
-ผลของแผลเป็นเศรษฐกิจที่อาจมีมากกว่าคาดจนกระทบต่อความสามารถในการชำระหนี้ของภาคครัวเรือนและภาคธุรกิจในวงกว้าง
-การเร่งตัวของอัตราเงินเฟ้อตามราคาพลังงานที่ปรับสูงชื้นและปัญหาคอขวดอุปทานโลก ซึ่งอาจมีความรุนแรง หรือยืดเยื้อมากกว่าคาด จนกระทบต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในหลายประเทศทั่วโลก
-เศรษฐกิจจีนที่มีความเสี่ยงจากวิกฤติพลังงานและภาคอสังหาริมทรัพย์
-ความเหลื่อมล้ำที่สูงขึ้นที่อาจนำไปสู่ปัญหาเสถียรภาพทางการเมือง