ท่ามกลางกระแสการเปลี่ยนแปลงของโลกที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจากปัจจัยหลายๆอย่าง อาทิ การเติบโตของเทคโนโลยี สถานการณ์โควิด – 19 ตลอดจนวิกฤตการณ์ภาวะโลกร้อน ที่เป็นตัวแปรสำคัญที่ทำให้วิถีชีวิตของคนทั่วโลกเปลี่ยนแปลงไปทั้งในด้านความคิดและทัศนคติในการดำเนินชีวิต เช่นเดียวกับภาคธุรกิจที่ต่างต้องปรับตัวเพื่อให้องค์กรของตนเองอยู่รอด ผ่านแนวคิดในการดำเนินธุรกิจที่ต้องหันมาคำนึงถึงหลักสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (Environment, Social and Governance) หรือที่เรียกกันว่า ESG ซึ่งปัจจุบันได้กลายเป็นหนึ่งในเทรนด์ที่ผู้ประกอบการทั่วโลกให้ความสนใจ และนำมาปรับใช้เพื่อขยายขีดความสามารถในการแข่งขัน พร้อมช่วยสร้างคุณค่าและการเติบโตให้กับองค์กรในระยะยาวได้
–ซีพีแรม ชวนร่วมงาน THAIFEX – Anuga Asia 2023 “Beyond Food Experience”
ในขณะเดียวกัน บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด ผู้ให้บริการสื่อสารและขนส่งแห่งชาติที่อยู่เคียงข้างคนไทยมากว่า 140 ปี สะท้อนให้เห็นถึงความสามารถในการดำเนินงานที่ถูกปรับเปลี่ยนให้เข้ากับยุคสมัยและความเป็นไปของโลกอยู่เสมอมากไปกว่านั้นด้วยความตั้งใจที่จะสร้างเครือข่ายการเติบโตที่ยั่งยืนเพื่อคนไทย ไปรษณีย์ไทยจึงได้จับมือกับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการและกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพร่วมเสวนาESGDay: Networking for Sustainable Growth แชร์มุมมองการดำเนินธุรกิจให้เติบโตควบคู่ความยั่งยืนทั้ง 3 มิติ พร้อมดึงเครือข่ายองค์กรชั้นนำทั้งภาครัฐและเอกชนกว่า 50 หน่วยงานร่วมงาน เพื่อเตรียมความพร้อมในการขับเคลื่อนแนวคิด ESG ในประเทศไทย
ดร.ดนันท์ สุภัทรพันธุ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด เผยมุมมองเกี่ยวกับการดำเนินธุรกิจด้วยหลัก ESG ซึ่งเป็นเคล็ดลับที่สร้างองค์กรให้ยั่งยืนมากว่า 140 ปี ว่า “ไปรษณีย์ไทยเรามอง ESG เป็นหลักพื้นฐานของการดำเนินธุรกิจ โดยหน้าที่หลักของไปรษณีย์ไทยคือเป็นผู้ส่งสารของคนไทยทุกคนและทุกพื้นที่อย่างเท่าเทียม ดังนั้นสิ่งสำคัญคือการดูแลบุคลากรให้มีความเชื่อมั่นและมีทัศนคติที่ดีต่อองค์กร รวมทั้งนโยบาย การบริหารจัดการ และการให้บริการของเราให้ความสำคัญกับประโยชน์ของประชาชนเป็นหลัก เพราะเราเชื่อว่าปัจจัยเหล่านี้จะสามารถสร้างความยั่งยืนให้กับองค์กรได้”
“ในบทบาทของการเป็นผู้นำด้านโลจิสติกส์ และเป็นผู้เปิดเส้นทางต่างๆ ให้กับคนไทย ไปรษณีย์ไทย จึงได้มีการจัดกิจกรรม ESG Day : Networking for Sustainable Growth ขึ้น เพื่อให้องค์กรธุรกิจเครือข่ายได้มีโอกาสชี้นำแนวทางการทำธุรกิจอย่างมีธรรมาภิบาล – ความยั่งยืน โดยในส่วนของไปรษณีย์ไทยเรามีนโยบาย “กรีนโลจิสติกส์” ที่เป็นการสร้างประสิทธิภาพการขนส่งควบคู่ไปกับการสร้างด้านสิ่งแวดล้อมที่ดีให้ความสำคัญตั้งแต่การสร้างความตระหนักรู้ของคนในองค์กร การยกระดับส่วนงานต่างๆ ให้สอดรับกับสถานการณ์ทางด้านสิ่งแวดล้อม การพัฒนานวัตกรรมและเครื่องมือที่จำเป็นสำหรับการให้บริการภาคธุรกิจ – ประชาชน อีกทั้งยังมุ่งมั่นนำเทคโนโลยีในด้านการสื่อสารและขนส่งเพื่อสนับสนุนแนวคิดเศรษฐกิจ BCG (Bio-Circular-Green Economy Model ) ของรัฐบาล”
ดร. ดนันท์ อธิบายให้เห็นภาพโดยยกตัวอย่างช่วงสถานการณ์โรคระบาดที่ส่งผลกระทบต่อภาคธุรกิจต่างๆ รวมไปถึงในภาคการส่งออก ไปรษณีย์ไทยจึงใช้จุดแข็งขององค์กรมาช่วยแก้ปัญหานี้ “ช่วงนั้นพี่น้องเกษตรกรต่างก็ประสบปัญหาปริมาณผลผลิตล้นตลาด เนื่องจากประเทศคู่ค้าต่างลดปริมาณการนำเข้าผลผลิตทางการเกษตรและลดการเดินทางมาท่องเที่ยวและอุดหนุนผลไม้ในไทย ไปรษณีย์ไทยจึงได้ออกมาตรการช่วยกระจายสินค้าสู่ผู้บริโภคทั่วประเทศผ่านโครงการต่างๆ ซึ่งหากมองในแง่ของการทำธุรกิจโลจิสติกส์ก็ถือว่าเราเองก็สามารถสร้างความถี่ในการใช้บริการขนส่งของเราได้เช่นกัน ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่า หากองค์กรทำประโยชน์ให้กับสังคมไม่ว่ารูปแบบไหน ผลดีก็จะกลับสู่องค์กรของเราอย่างแน่นอน”
ดร.ภากร ปีตธวัชชัย กรรมการและผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) กล่าวว่า ปัจจุบันนักลงทุนทั่วโลกต่างให้ความสนใจกับองค์กรที่มีแผนการดำเนินงาน ESG โดยนักลงทุนจะนำข้อมูลเหล่านี้มาเป็นเครื่องมือสำหรับการประเมินผลการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนของผู้ประกอบการเพื่อการตัดสินใจก่อนลงทุนกับธุรกิจนั้นๆ ด้วยเหตุนี้ ตลท.จึงมุ่งเน้นภารกิจเพิ่มคุณค่าตลาดทุนพร้อมกับการเพิ่มขีดความสามารถของผู้ประกอบการไทย เพื่อดึงดูดนักลงทุนทั่วโลกให้เข้ามาลงทุนในประเทศไทย ด้วยเครื่องมือสนับสนุนที่หลากหลาย เช่น หลักสูตรอบรม คู่มือ แนวปฏิบัติ การประเมินผลการดำเนินงานด้าน ESG การให้คำปรึกษาแก่ธุรกิจในมิติต่างๆ พร้อมกับสร้างแพลตฟอร์มอำนวยความสะดวกในการทำ ESG ผ่านโครงการต่าง ๆ อาทิ โครงการ Care the Bear, Care the Wild และ Care the Whale เพื่อช่วยให้บริษัทจดทะเบียนในประเทศไทยสามารถดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนได้ง่ายยิ่งขึ้น ทั้งในเรื่องการวัดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกขององค์กร การบริหารการจัดการขยะและของเสียขององค์กร รวมถึงช่วยจัดหาพื้นที่ในการเข้าไปช่วยฟื้นฟูป่าไม้ในประเทศไทยที่ ตลท. มีเครือข่ายในการจัดการให้ มีการรวบรวมข้อมูลอย่างเป็นระบบและวัดผลออกมาเป็นรายงานประจำปีอย่างชัดเจนเพื่อให้องค์กรนั้นนำไปเปิดเผยต่อนักลงทุนได้
ดร.ศรีกัญญา ยาทิพย์ เลขาธิการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) เผยมุมมองในฐานะนักลงทุนว่า “กบข. ให้ความสำคัญกับหลักการ ESG เป็นอย่างมาก โดยคำนึงอยู่เสมอว่าการลงทุนของเราอาจสร้างผลกระทบต่อสังคมได้ทุกเมื่อหากไม่ได้ตรวจสอบ เราจึงนำหลัก ESG มาใช้เป็นกรอบในการพิจารณาก่อนการลงทุนอยู่เสมอเพื่อลดความเสี่ยงที่จะเกิดปัญหาในอนาคต และในอีกแง่ ESG ยังสามารถสร้างโอกาสและเพิ่มการเติบโตให้กับการลงทุนในอนาคตอีกด้วย ยกตัวอย่างเช่น หากบริษัทที่เราเข้าไปลงทุนเห็นโอกาสว่าตลาดยานยนต์ EV กำลังโต และหันมาปรับสายการผลิตให้เป็น EV ก็จะส่งผลให้เงินที่เราเข้าไปลงทุนนั้นเติบโตไปด้วยเช่นกัน นอกจากนี้ ในฐานะที่เป็นนักลงทุนเรายังมีศักยภาพมากพอที่จะช่วยผลักดันและส่งเสริมองค์กรต่าง ๆ ให้หันมาดำเนินธุรกิจตามหลัก ESG ได้เช่นกัน”
การทำงานของภาครัฐ ซึ่งเกี่ยวข้องกับประโยชน์ของประชาชนโดยตรง จึงไม่สามารถละทิ้งหลัก ESG ได้เลย ธีรยุทธ แก้วสิงห์ ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านพิทักษ์สิทธิและเสรีภาพ กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กล่าวว่า “หน่วยงานภาครัฐมีระเบียบการทำงานที่สอดคล้องกับการทำ ESG อยู่แล้ว หากไม่ปฏิบัติตามจะถือว่าบกพร่องในการทำงาน โดยภาครัฐมี 3 เสาหลักที่ต้องยึดเป็นแนวทางปฏิบัติงาน เสาที่ 1 คือ Protect หรือการคุ้มครองประชาชนไม่ให้ถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนในการประกอบกิจการ โดยต้องมีการออกนโยบายมากำกับการดำเนินงานไม่ให้คนในองค์กรถูกละเมิด เสาที่ 2 คือ Respect โดยการประกอบกิจการต่าง ๆ ต้องคำนึงถึงเรื่องของสิทธิมนุษยชน ต้องเคารพและแสดงความรับผิดชอบจนนำไปสู่เสาที่ 3 คือ Remedy หากเกิดการละเมิด รัฐจะเข้ามาช่วยเหลือและเยียวยาผลกระทบที่เกิดขึ้น โดยภาครัฐได้เชื่อมโยงแนวทางดังกล่าวสู่แผนปฏิบัติการระดับชาติว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน (National Action Plan on Business and Human Rights: NAP) ซึ่งต้องการขับเคลื่อนทั้ง4 มิติ ได้แก่ 1. ด้านแรงงาน เน้นการคุ้มครองสิทธิของแรงงานทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน 2. ด้านชุมชน ที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม โดยส่งเสริมความเสมอภาคและโอกาสในการเข้าถึงทรัพยากรและการบริการของภาครัฐอย่างเท่าเทียม 3. ด้านนักปกป้องสิทธิมนุษยชน ที่เกิดขึ้นเพื่อสร้างกลไกการคุ้มครองนักปกป้องสิทธิมนุษยชน และด้านสุดท้าย คือด้านการลงทุนระหว่างประเทศและบรรษัทข้ามชาติ เพื่อให้มีกลไกตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนนอกอาณาเขต เกิดการปกป้อง คุ้มครอง เยียวยาเช่นเดียวกับประชาชนในประเทศ”
ด้วยความร่วมมือจากทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาชน และผู้ประกอบการทั้งรายเล็กและรายใหญ่ ล้วนส่งเสริมให้ ESG ในประเทศไทยกำลังมุ่งไปสู่มาตรฐานที่เป็นสากลยิ่งขึ้น เนื่องจากต้องอาศัยทั้งภาคกำกับ การออกนโยบาย มาตรการ ตลอดจนการลงมือปฏิบัติเพื่อสร้างร่วมกันสร้างให้และพัฒนาเศรษฐกิจไทย ให้เติบโตอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน
บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด มอบประกันอุบัติเหตุจากกรุงไทย แอกซ่า ฟรี 30 ต้อนรับเทศกาลปีใหม่ ตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม - 31 ธันวาคม 2567…
พฤกษา โฮลดิ้ง ไม่หยุดยั้งที่จะสร้างสรรค์สังคมแห่งโอกาสที่เท่าเทียม เดินหน้าสู่ปีที่ 6 ของโครงการ “บ้านใส่ใจเพื่อคนพิการ By PRUKSA” โดยผนึกกำลังร่วมกับ โรงพยาบาลวิมุต และ อินโนโฮม คอนสตรัคชัน ในเครือ…
บาร์บีคิวพลาซ่า จับมือ วิตอะเดย์ สร้างปรากฏการณ์ใหม่ในวงการน้ำดื่มผสมวิตามิน ส่ง "วิตอะเดย์ กะหล่ำปลี วอเตอร์" รสชาติสุดว้าว พร้อมดึงพี่ GON ร่วมสร้างสีสัน เอาใจสายเฮลท์ตี้ แถมโปรโมชั่นสุดคุ้มชุดประหยัดหมู 2…
เคยไหม? เลื่อนฟีดโซเชียลมีเดียแล้วเจอคลิปโป๊ ๆ ของคนดัง หรือแม้แต่คนรู้จัก แต่เอะใจว่า...มันดูแปลก ๆ เหมือนไม่ใช่ตัวจริง นั่นอาจเป็นเพราะคุณกำลังเผชิญหน้ากับ "Deepfake Porn" ภัยร้ายยุค AI ที่กำลังระบาดหนักอยู่ในขณะนี้ Deepfake…
คณะกรรมาธิการยุโรปประกาศปรับ Meta Platforms เป็นเงิน 798 ล้านยูโร (ประมาณ 840 ล้านดอลลาร์) จากการละเมิดกฎหมายต่อต้านการผูกขาดของสหภาพยุโรป โดย Meta ถูกกล่าวหาว่าใช้ Facebook Marketplace…
ข่าวดีสำหรับสาวก Apple! MacBook Pro ลำโพงเสีย ซ่อมง่าย จ่ายน้อยกว่าเดิม เมื่อ Apple ประกาศเปลี่ยนวิธีการซ่อมแซม ไม่ต้องเปลี่ยน Top Case ทั้งชุด ลดภาระค่าใช้จ่ายให้ผู้ใช้…