Economy

IMD เผยขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทยดีขึ้น 5 อันดับ มาอยู่ที่ 25 จาก 67 เขตเศรษฐกิจทั่วโลก

สมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย หรือ ทีเอ็มเอ (TMA) เผยผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศโดย World Competitiveness Center ของ International Institute for Management Development หรือ IMD สวิตเซอร์แลนด์ (IMD – WCC) ประจำปี 2567 โดยปีนี้ ประเทศไทยมีอันดับดีขึ้นถึง 5 อันดับ มาอยู่ในอันดับที่ 25 จากทั้งหมด 67 เขตเศรษฐกิจที่มีการจัดอันดับ โดยปีนี้ IMD – WCC ได้มีการเพิ่มเขตเศรษฐกิจที่จัดอันดับอีก 3 เขตเศรษฐกิจ คือ กาน่า ไนจีเรีย และเปอร์โตริโก้ รวมเป็น 67 เขตเศรษฐกิจ

จากปัจจัยหลักที่ IMD ใช้ในการจัดอันดับรวม 4 ด้าน มี 2 ปัจจัยที่ไทยมีอันดับดีขึ้นในปีนี้คือ สมรรถนะทางเศรษฐกิจ (Economic Performance) ที่ดีขึ้นถึง 11 อันดับ มาอยู่ที่อันดับ 5 และประสิทธิภาพของภาคธุรกิจที่ดีขึ้น 3 อันดับ จากอันดับที่ 23 เป็นอันดับที่ 20 ในปีนี้ ในขณะที่ ด้านประสิทธิภาพของภาครัฐและโครงสร้างพื้นฐาน มีอันดับคงเดิมในอันดับที่ 24 และ 43 ตามลำดับ

ทั้งนี้ อันดับที่ดีขึ้นในด้านสมรรถนะทางเศรษฐกิจมาจากประเด็นด้านการค้าระหว่างประเทศ (International Trade) ที่ดีขึ้นถึง 23 อันดับมาอยู่อันดับที่ 6 ในปีนี้ อันเนื่องมาจากประเด็นด้านการท่องเที่ยวที่สัดส่วนของรายได้จากการท่องเที่ยวต่อ GDP (Tourism receipts) และการส่งออกด้านบริการ (Export of commercial services) รวมถึงดุลบัญชีเดินสะพัดมีอันดับที่ดีขึ้นเป็นอย่างมาก

ในขณะที่ด้านระดับราคาและค่าครองชีพ (Prices) ดีขึ้น 10 อันดับจากปีที่แล้ว นอกจากนี้ ปัจจัยด้านประสิทธิภาพของภาคธุรกิจ (Business Efficiency) มีอันดับดีขึ้นเล็กน้อย จากอันดับที่ 23 ในปี 2566 เป็นอันดับที่ 20 ในปี 2567 จากตัวชี้วัดด้านการบริหารจัดการ (Management Practices) ที่ตัวชี้วัดเกี่ยวกับความกลัวความล้มเหลวของผู้ประกอบการ (Entrepreneurial fear of failure) และกิจกรรมของผู้ประกอบการขั้นต้น (Total early-stage Entrepreneurial Activity) มีค่าและอันดับที่ดีขึ้น ซึ่งเป็นสัญญาณที่ดีถึงผลของความพยายามของทุกภาคส่วนในการผลักดันเรื่องนี้

อย่างไรก็ตาม ยังมีประเด็นที่น่าเป็นห่วงในด้านผลิตภาพในภาพรวมที่มีอันดับลดลงจากอันดับที่ 38 เป็น 42 โดยเป็นผลจากอันดับที่ลดลงของผลิตภาพในเกือบทุกภาคอุตสาหกรรม

นอกจากนั้น ยังมีปัจจัยที่มีอันดับไม่เปลี่ยนแปลง ได้แก่ ประสิทธิภาพของภาครัฐ (Government Efficiency) และโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure) ที่อยู่ในอันดับที่ 24 และ 43 เช่นเดียวกับปี 2566 ในด้านประสิทธิภาพของภาครัฐ ถึงแม้ว่าอันดับในภาพรวมจะอยู่ในระดับดีพอสมควร แต่ยังคงมีประเด็นที่ยังอยู่ในอันดับต่ำและควรให้ความสนใจได้แก่ กรอบการบริหารภาครัฐ (Institutional Framework) กฎหมายด้านธุรกิจ (Business Legislation) และประเด็นด้านสังคม (Societal Framework) ในขณะที่ด้านโครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งเป็นปัจจัยที่ไทยยังอยู่ในอันดับต่ำมาโดยตลอด ถึงแม้อันดับในด้านสาธารณูปโภค สาธารณูปการ (Basic Infrastructure) และโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยี (Technology Infrastructure) อยู่ในระดับปานกลาง แต่โครงสร้างพื้นฐานที่เป็นพื้นฐานสำคัญในการพัฒนาด้านอื่น ๆ ได้แก่ สาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม การศึกษา และวิทยาศาสตร์ ยังคงอยู่ในอันดับที่ค่อนข้างต่ำ คือ อันดับที่ 55 54 และ 40 ตามลำดับ

ในระดับอาเซียน ผลการจัดอันดับของ IMD ในปีนี้มีประเด็นที่พิจารณาเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากเป็นปีแรกที่ลำดับความสามารถในการแข่งขันของเขตเศรษฐกิจในอาเซียนที่ได้รับการจัดอันดับรวม 5 เขตเศรษฐกิจมีการเปลี่ยนแปลงอย่างน่าสนใจ โดยสิงคโปร์ ซึ่งอยู่ในกลุ่มเขตเศรษฐกิจที่มีอันดับความสามารถสูงสุด 1 ใน 5 ของการจัดอันดับของ IMD และเป็นอันดับ 1 ของอาเซียนมาโดยตลอด มีอันดับดีขึ้นจากอันดับ 4 ในปี 2566 มาอยู่อันดับที่ 1 ของโลกในปีนี้ และนับเป็นครั้งแรกที่ไทยและอินโดนีเซียได้ขยับขึ้นมาเป็นอันดับที่ 2 และ 3 ของอาเซียนโดยมีอันดับความสามารถในการแข่งขันในอันดับที่ 25 และ 27 ตามลำดับ ในขณะที่มาเลเชียมีอันดับลดลงจากอันดับที่ 27 เป็นอันดับที่ 34 และฟิลิปปินส์ยังคงอยู่ในอันดับที่ 52 เช่นเดียวกับปี 2566 ซึ่งอินโดนีเซียนับเป็นเขตเศรษฐกิจที่น่าจับตามองเป็นอย่างยิ่งเนื่องจากมีอันดับดีขึ้นอย่างก้าวกระโดดในระยะที่ผ่านมา และดีขี้นถึง 7 อันดับในปี 2567

จากปัจจัยด้านประสิทธิภาพของภาครัฐ (Government Efficiency) ประสิทธิภาพของภาคธุรกิจ (Business Efficiency) ละสมรรถนะทางเศรษฐกิจ (Economic Performance) ที่มีอันดับดีขึ้นถึง 8 6 และ 5 อันดับจากปี 2566 โดยประเด็นที่เป็นปัจจัยดึงดูด คือ พลวัตของเศรษฐกิจ (Dynamism of the economy) ความสามารถในการแข่งขันด้านต้นทุน (Cost competitiveness) และความมั่นคงทางการเมือง (Policy stability & predictability)
เมื่อมองภาพรวมในระดับโลก เขตเศรษฐกิจที่มีอันดับความสามารถในการแข่งขันสูงที่สุด 5 อันดับแรกในปี 2567 ได้แก่ สิงคโปร์ สวิตเซอร์แลนด์ เดนมาร์ก ไอร์แลนด์ และฮ่องกง โดยเขตเศรษฐกิจที่ได้รับการจัดอยู่ในกลุ่มที่มีอันดับสูงสุดของปี 2567 ส่วนใหญ่ยังคงเป็นเขตเศรษฐกิจขนาดเล็กเช่นเดียวกับปีก่อนหน้า ซึ่ง IMD-WCC แสดงความ

คิดเห็นว่าผลดังกล่าวสะท้อนว่า ความสามารถในการแข่งขันไม่ได้ขึ้นอยู่กับขนาดของเขตเศรษฐกิจ และยังได้ตั้งข้อสังเกตว่าตลาดเกิดใหม่ (Emerging markets) มีการพัฒนาศักยภาพด้านการนวัตกรรม ดิจิทัล และความหลากหลายเศรษฐกิจได้เท่าทันกับเขตเศรษฐกิจที่พัฒนาแล้ว ดังตัวอย่างของ จีน อินเดีย บราซิล อินโดนีเซีย และตุรกี ที่กลายเป็น ผู้เล่นที่สำคัญในด้านการลงทุน นวัตกรรม และภูมิรัฐศาสตร์ในปัจจุบัน และสร้างโอกาสใหม่ๆ (New opportunities) และตลาด สำหรับธุรกิจและผู้บริโภค รวมถึงความเสี่ยงและความไม่แน่นอนใหม่ ๆ ที่ทำให้ทั้งรัฐบาลและธุรกิจที่สนใจตลาดเกิดใหม่เหล่านี้ต้องศึกษาและทำความเข้าใจให้มากขึ้น

BizTalk NEWS

Recent Posts

Best Friend Brand กลยุทธ์ธุรกิจที่เปลี่ยนแบรนด์กลายมาเป็นเพื่อนแท้

ในยุคที่การแข่งขันทางธุรกิจสูงขึ้นเรื่อยๆ การสร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่งกลายเป็นสิ่งสำคัญที่ขาดไม่ได้ แต่การสร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่งในยุคนี้ ไม่ใช่แค่การโฆษณาหรือสร้างภาพลักษณ์สวยหรูอีกต่อไป ลูกค้าในยุคนี้ฉลาดขึ้น มองขาดขึ้น และต้องการมากกว่าแค่สินค้าหรือบริการที่ดี Best Friend Brand จึงเป็นหนึ่งในกลยุทธ์ที่ธุรกิจควรศึกษา ลูกค้าต้องการ "มิตรภาพ" ตลอดหลายทศวรรษที่ผ่านมา หลายบริษัทมุ่งเน้นไปที่การสร้างผลกำไรสูงสุด…

21 hours ago

เที่ยวแบบเดิมๆ เชยแล้ว! Booking.com เผย 9 เทรนด์ท่องโลกสุดล้ำ ฉีกทุกกฎปี 2568

ใครว่าเศรษฐกิจแย่แล้วเที่ยวไม่ได้? Booking.com ชี้เทรนด์ท่องเที่ยวปี 2568 มาแรง! คนรุ่นใหม่แห่ใช้ AI วางแผนทริป เบบี้บูมเมอร์ท้าชนวัยลุยทริปสุดเหวี่ยง แม้สภาวะเศรษฐกิจและโลกร้อนจะยังเป็นปัญหาคาใจ แต่ Booking.com เผยผลสำรวจสุดฮอต พบคนไทยพร้อมเที่ยว! นิยามใหม่ของการเดินทางกำลังจะเปลี่ยนไป…

21 hours ago

ฟูจิฟิล์ม จับมือ สีมาคอร์ปฯ นำร่องตรวจมะเร็งเต้านม พื้นที่ห่างไกล ชูเทคโนโลยีญี่ปุ่น-ลดเหลื่อมล้ำ

"มะเร็งเต้านม" ยังคงเป็นภัยเงียบที่คร่าชีวิตผู้หญิงไทยอย่างต่อเนื่อง ล่าสุด ฟูจิฟิล์ม ผนึกกำลัง สีมาคอร์ปอเรท เดินหน้าโครงการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมให้แก่ผู้หญิงในพื้นที่ห่างไกล ณ โรงพยาบาลปราสาท จ.สุรินทร์ โดยนำเทคโนโลยี “INNOMUSE” ที่รวมเครื่องแมมโมแกรมและอัลตราซาวด์สุดล้ำจากญี่ปุ่น มาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการวินิจฉัยโรค หวังเพิ่มโอกาสการรักษาให้หายขาด…

21 hours ago

“เซ็นทรัล เชียงราย” เนรมิต “ต้นคริสต์มาสหมอกพันวา” งานคราฟต์มาสเตอร์พีซหนึ่งเดียวในไทย! ดึงนักท่องเที่ยวทั่วโลก สัมผัสเสน่ห์ล้านนา กระตุ้นเศรษฐกิจช่วงไฮซีซั่น

เชียงราย - เซ็นทรัลพัฒนา จัดใหญ่ "เทศกาลสีสันกาสะลอง 2024" ครั้งที่ 4 เนรมิต "ต้นคริสต์มาสหมอกพันวา" สูง 15 เมตร ประดับประดาด้วยดอกไม้เมืองหนาว 9…

21 hours ago

LINE ดูดวง บุกตลาด “ทริปทำบุญ” เอาใจสายมูยุคดิจิทัล เปิดประสบการณ์ใหม่ “ไหว้พระเสริมดวง” ครบวงจรบนแพลตฟอร์มออนไลน์

LINE ดูดวง เดินหน้าขยายบริการเอาใจสายมูยุคดิจิทัล เปิดตัว "ทริปทำบุญ" บริการใหม่ล่าสุดที่ผสานโลกออนไลน์และออฟไลน์เข้าด้วยกันอย่างลงตัว ชูจุดเด่น "ครบ จบ ในที่เดียว" ตั้งแต่การดูฤกษ์ยาม การเดินทาง พิธีกรรม ไปจนถึงเคล็ดลับเสริมดวงชะตาจากนักพยากรณ์ชื่อดัง ตอบโจทย์วิถีชีวิตคนรุ่นใหม่ที่ต้องการความสะดวก…

21 hours ago

29 พ.ย.นี้ บขส.กลับมาเปิดเดินรถระหว่าง ไทย–กัมพูชา 2 เส้นทาง กรุงเทพฯ – เสียมราฐ และ กรุงเทพฯ – พนมเปญ

นายอรรถวิท รักจำรูญ กรรมการฯ รักษาการแทน กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ขนส่ง จำกัด (บขส.) และ เนี๊ยะ ออกญา ซาว วีรักษ์ (Neak…

1 day ago