ผลสำรวจสถานการณ์เด็กและสตรีในประเทศไทยล่าสุด ซึ่งจัดทำโดยสำนักงานสถิติแห่งชาติร่วมกับองค์การยูนิเซฟ แสดงให้เห็นความก้าวหน้าด้านเด็กและสตรีหลายด้าน เช่น อัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ล้วนที่เพิ่มขึ้น อัตราการคลอดในวัยรุ่นและการลงโทษเด็กด้วยวิธีรุนแรงที่บ้านลดลง แต่ในขณะเดียวกันก็ชี้ให้เห็นถึงแนวโน้มที่น่ากังวลด้านพัฒนาการของเด็กปฐมวัย การศึกษา ภาวะโภชนาการของเด็ก และการแต่งงานก่อนวัยอันควร
การสำรวจสถานการณ์เด็กและสตรีในประเทศไทย หรือ MICS (Multiple Indicators Cluster Survey) ถือเป็นการสำรวจระดับประเทศที่ครอบคลุมกลุ่มตัวอย่างประชากรเด็กและสตรีที่ใหญ่ที่สุด โดยจัดทำขึ้นทุก 3 ปี และมีการเก็บข้อมูลที่เกี่ยวกับเด็กและสตรีในด้านต่าง ๆ กว่า 130 ตัวชี้วัด เช่น สุขภาพ พัฒนาการ การศึกษา และการคุ้มครองเด็ก การสำรวจ MICS ครั้งล่าสุดนี้เก็บข้อมูลจาก 34,000 ครัวเรือนทั่วประเทศระหว่างเดือนมิถุนายนถึงตุลาคม 2565 ซึ่งเป็นช่วงที่ประเทศไทยเริ่มผ่อนคลายมาตราการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19
–ดีอีเอส เตรียมดัน Go Cloud First พร้อมตั้ง Center Fraud Registry ลดการโกงดิจิทัล
ดร.ปิยนุช วุฒิสอน ผู้อำนวยการสำนักงานสถิติแห่งชาติ กล่าวว่า “การสำรวจสถานการณ์เด็กและสตรีในประเทศไทย พ.ศ. 2565 นับเป็นการจัดทำครั้งที่ 5 ของประเทศไทย ผลสำรวจสะท้อนให้เห็นความเป็นอยู่ของเด็กและสตรีในมิติต่าง ๆ ซึ่งเป็นประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับผู้กำหนดนโยบายและหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง ในการออกแบบนโยบายหรือมาตรการเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของเด็กและสตรีในประเทศไทย นอกจากนี้ การสำรวจนี้นับเป็นแหล่งข้อมูลสำคัญอีกแหล่งที่ช่วยในการติดตามความก้าวหน้าของการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs)”
ผลสำรวจพบว่า อัตราการคลอดในวัยรุ่นของประเทศไทยลดลงจาก 23 คนต่อ 1,000 คนในปี 2562 เหลือ 18 คนต่อ 1,000 คนในปี 2565 ขณะที่อัตราของเด็กอายุ 1-14 ปีที่เคยถูกลงโทษด้วยวิธีรุนแรงที่บ้านก็ลดลงอย่างต่อเนื่องจากร้อยละ 75 ในปี 2558 เหลือร้อยละ 58 และร้อยละ 54 ในปี 2562 และ 2565 ตามลำดับ นอกจากนี้ ผลสำรวจในปี 2565 ยังพบว่าผู้ชายและผู้หญิงจำนวนมากขึ้นมีทัศนคติไม่ยอมรับความรุนแรงในครอบครัว
ผลสำรวจยังชี้ให้เห็นถึงความก้าวหน้าด้านการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในประเทศไทย โดยในปี 2565 มีทารกอายุไม่เกิน 6 เดือนร้อยละ 29 ที่ได้กินนมแม่ล้วนในช่วง 6 เดือนแรก เมื่อเทียบกับเพียงร้อยละ 14 ในปี 2562 นอกจากนี้ยังพบว่ามีแม่จำนวนมากขึ้นที่ให้นมลูกอย่างต่อเนื่องจนถึง 1 ปีและ 2 ปี
อย่างไรก็ตาม ผลสำรวจครั้งนี้ก็สะท้อนแนวโน้มที่น่ากังวลด้านการศึกษาและพัฒนาการของเด็กเมื่อเทียบกับผลสำรวจครั้งก่อนซึ่งจัดทำก่อนการแพร่ระบาดของโควิด-19 โดยพบว่าอัตราการเข้าเรียนหลักสูตรปฐมวัยของเด็กอายุ 3-4 ปีลดลงจากร้อยละ 86 ในปี 2562 เหลือเพียงร้อยละ 75 ในปี 2565 นอกจากนี้ อัตราการเข้าเรียนสุทธิของเด็กอายุ 5 ปี (เมื่อเริ่มปีการศึกษา) ลดลงจากร้อยละ 99 เหลือเพียงร้อยละ 88 และอัตราของเด็กปฐมวัยที่มีความพร้อมในการเข้าโรงเรียน ไม่ว่าจะเป็นด้านร่างกาย สมอง สังคม อารมณ์ และภาษา ก็ลดลงจากร้อยละ 99 เหลือเพียงร้อยละ 94 เช่นกัน
ผลสำรวจครั้งนี้ยังชี้ให้เห็นว่าอัตราของเด็กวัยประถมศึกษาที่ไม่ได้เข้าเรียนเพิ่มขึ้นในช่วงการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 โดยเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 1 ในปี 2562 เป็นร้อยละ 4 ในปี 2565 นอกจากนี้ อัตราการไม่ได้เข้าเรียนในชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นก็เพิ่มขึ้นเช่นกัน โดยเพิ่มจากร้อยละ 3 ในปี 2562 เป็นร้อยละ 5 ในปี 2565 ในขณะที่อัตราการไม่ได้เข้าเรียนยังคงสูงสุดในกลุ่มเด็กวัยชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 15 ในปี 2565
นอกจากนี้ ผลสำรวจยังชี้ให้เห็นแนวโน้มที่น่ากังวลด้านการใช้เวลาของเด็กในการเล่นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ซึ่งเพิ่มขึ้นในช่วงการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 และอาจส่งผลเสียต่อพัฒนาการของเด็ก ผลสำรวจในปี 2565 พบว่า ร้อยละ 62 ของเด็กอายุน้อยกว่า 5 ปีเล่นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ในจำนวนนี้ เด็กร้อยละ 13 ใช้เวลาเล่นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เฉลี่ย 3 ชั่วโมงต่อวันหรือนานกว่านั้น เมื่อเทียบกับร้อยละ 8 ในปี 2562
ในขณะที่การเข้าถึงและการใช้เวลาเล่นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ของเด็กเพิ่มขึ้น ผลสำรวจกลับชี้ว่ามีเด็กจำนวนน้อยลงที่ใช้เวลาอ่านหนังสือที่บ้าน และมีเด็กถึง 6 ใน 10 คนที่มีหนังสือสำหรับเด็กอยู่ที่บ้านไม่ถึง 3 เล่ม ในขณะเดียวกัน ก็พบว่า มีพ่อแม่ผู้ปกครองจำนวนน้อยลงที่ทำกิจกรรมเพื่อกระตุ้นการเรียนรู้และพัฒนาการของเด็ก โดยในปี 2565 มีพ่อเพียงร้อยละ 31 เท่านั้นที่ทำกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้กับลูกที่บ้าน เมื่อเทียบกับร้อยละ 34 ในปี 2562
ผลสำรวจครั้งนี้ยังชี้ให้เห็นว่า ทักษะพื้นฐานด้านการอ่านและการคิดเลขของเด็ก ๆ ก็มีแนวโน้มแย่ลงในช่วงการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 โดยในปี 2565 มีเด็กในวัยเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 และ 3 น้อยกว่าครึ่งหนึ่ง (ร้อยละ 47) ที่มีทักษะด้านการอ่านขั้นพื้นฐาน ซึ่งลดลงจากร้อยละ 52 ในปี 2562 และมีเพียงร้อยละ 40 เท่านั้นที่มีทักษะพื้นฐานด้านการคำนวณ เมื่อเทียบกับร้อยละ 47 ในปี 2562
คยองซอน คิม ผู้อำนวยการองค์การยูนิเซฟ ประเทศไทย กล่าวว่า “แม้ว่าช่วงวิกฤตที่สุดของโควิด-19 ได้ผ่านพ้นไปแล้ว แต่การแพร่ระบาดยังคงส่งผลกระทบต่อความเป็นอยู่และพัฒนาการของเด็ก ๆ ข้อมูลจากการสำรวจสถานการณ์เด็กและสตรีในประเทศไทยปี 2565 ยืนยันถึงผลกระทบที่รุนแรงและต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านการศึกษา วิกฤตดังกล่าวได้ส่งผลต่อพัฒนาการของเด็กและทำให้เด็กจำนวนมากต้องเลิกเรียนกลางคัน ดังนั้น ประเทศไทยมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องลงทุนกับการศึกษา ระบบสาธารณสุข และระบบคุ้มครองทางสังคมที่มีประสิทธิภาพ เพื่อปิดช่องว่างและทำให้มั่นใจได้ว่าเด็กทุกคนจะใช้ชีวิตได้อย่างเต็มศักยภาพและช่วยประเทศให้บรรลุเป้าหมายที่รุ่งเรืองและยั่งยืนสำหรับทุกคน”
ดาวน์โหลดรายงานผลสำรวจสถานการณ์เด็กและสตรีในประเทศไทย 2565 ฉบับสมบูรณ์และฉบับสรุป ได้ที่
AIS จับมือ OPPO เปิดตัว OPPO Find X8 Series สมาร์ทโฟนแฟลกชิป รุ่นล่าสุด ในราคาเริ่มต้นเพียง 18,999 บาท พร้อมมอบข้อเสนอสุดพิเศษให้กับลูกค้า AIS…
ออเนอร์ กรุ๊ป เปิดตัวโครงการคอนโดมิเนียมสุดหรู "Once Wongamat" บนทำเลทองวงศ์อมาตย์ ชูจุดเด่นการออกแบบที่ผสานความหรูหรา และความยั่งยืนเข้าไว้ด้วยกันอย่างลงตัว พร้อมสิ่งอำนวยความสะดวกครบครัน ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ กลุ่มลูกค้าไฮเอนด์ ออเนอร์ กรุ๊ป (Honour Group)…
บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด มอบประกันอุบัติเหตุจากกรุงไทย แอกซ่า ฟรี 30 ต้อนรับเทศกาลปีใหม่ ตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม - 31 ธันวาคม 2567…
พฤกษา โฮลดิ้ง ไม่หยุดยั้งที่จะสร้างสรรค์สังคมแห่งโอกาสที่เท่าเทียม เดินหน้าสู่ปีที่ 6 ของโครงการ “บ้านใส่ใจเพื่อคนพิการ By PRUKSA” โดยผนึกกำลังร่วมกับ โรงพยาบาลวิมุต และ อินโนโฮม คอนสตรัคชัน ในเครือ…
บาร์บีคิวพลาซ่า จับมือ วิตอะเดย์ สร้างปรากฏการณ์ใหม่ในวงการน้ำดื่มผสมวิตามิน ส่ง "วิตอะเดย์ กะหล่ำปลี วอเตอร์" รสชาติสุดว้าว พร้อมดึงพี่ GON ร่วมสร้างสีสัน เอาใจสายเฮลท์ตี้ แถมโปรโมชั่นสุดคุ้มชุดประหยัดหมู 2…
เคยไหม? เลื่อนฟีดโซเชียลมีเดียแล้วเจอคลิปโป๊ ๆ ของคนดัง หรือแม้แต่คนรู้จัก แต่เอะใจว่า...มันดูแปลก ๆ เหมือนไม่ใช่ตัวจริง นั่นอาจเป็นเพราะคุณกำลังเผชิญหน้ากับ "Deepfake Porn" ภัยร้ายยุค AI ที่กำลังระบาดหนักอยู่ในขณะนี้ Deepfake…