ทั้งธุรกิจและนักช้อปต่างมีความแข็งแกร่งในโลกออกไลน์ด้วยการใช้ประโยชน์สูงสุดจากโอกาสของอีคอมเมิร์ซท่ามกลางกระแสการเปิดประเทศและรับมือความท้าทายเศรษฐกิจมหภาค
จากรายงานของ “Shopee Serves: Building Resilience with Technology,” เผยว่านักช้อปในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ประหยัดเงินได้มากถึง 1.7 พันล้านเหรียญสหรัฐ (ราว 58,000 ล้านบาท) จากการซื้อสินค้าประเภทของใช้จำเป็นและสินค้าอุปโภคบริโภคผ่านแคมเปญโปรโมชั่นประจำเดือนของช้อปปี้ และประหยัดได้มากยิ่งขึ้นเมื่อซื้อของผ่านแคมเปญที่ช้อปปี้จัดทำร่วมกับร้านค้าและแบรนด์ต่าง ๆ ทั้งนักช้อปและธุรกิจต่าง ๆ สามารถเข้าถึงอีคอมเมิร์ซได้ผ่านช้อปปี้ โดยปีที่ผ่านมามีผู้ใช้ใหม่ที่มาจากพื้นที่ต่างจังหวัดที่ยังเข้าถึงบริการได้น้อยเพราะอยู่นอกเมืองหลวงหรือเมืองใหญ่ในสัดส่วนสูงถึง 85% ยิ่งไปกว่านั้น ยังมีผู้ขายรายใหม่จาก 200 พื้นที่ก้าวเข้าสู่โลกออนไลน์ผ่านช้อปปี้ ที่สำคัญ ช้อปปี้ยังยกระดับกิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมขององค์กร (CSR) ร่วมกับพันธมิตรเพื่อชุมชนที่ให้ความช่วยเหลือและสนับสนุนโดยมีผู้เข้าร่วมกิจกรรมมากถึง 600,000 คนในปี 2565
–เศรษฐกิจไทยสูญเงินราว 8.25 หมื่นล้าน จากวิกฤติซัพพลายเชน
เทอเรนซ์ แพง ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของช้อปปี้ กล่าวว่า “ในปีที่ผ่านมา เรายังคงเดินหน้าสนับสนุนชุมชนต่าง ๆ ของเราในขณะที่พวกเขาพยามประคองตัวในสภาพแวดล้อมที่ท้าทายด้วยความมุ่งมั่นและตระหนักถึงต้องการของทั้งผู้ซื้อและผู้ขายช้อปปี้ช่วยให้ผู้ใช้งานประหยัดเงินในชีวิตประจำวัน ในขณะเดียวกันช่วยให้ผู้ขายเข้าถึงโอกาสทางธุรกิจต่างๆทั้งในแง่การเชื่อมต่อและมีส่วนร่วมกับผู้บริโภคที่ยังไม่เคยเข้าถึงแต่อยู่ในระบบนิเวศของเรา เราซาบซึ้งที่ทุกภาคส่วนไว้วางใจเรา รวมทั้งเรายังเดินหน้ามุ่งมั่นที่จะเสริมแกร่งให้ชุมชนของเราอย่างต่อเนื่องตลอดในอีกหนึ่งปีข้างหน้า”
แม้จะเผชิญความท้าทายทางสังคมและเศรษฐกิจ แต่ผู้คนและภาคธุรกิจต่างพบคุณค่าและโอกาสเพิ่มเติมจากโลกออนไลน์โดยมีช้อปปี้เป็นผู้ช่วยสำคัญ ในการสร้างคุณค่าและโอกาสใหม่ ๆ ให้แก่ผู้ใช้งานทุกคนมาโดยตลอด:
สร้างคุณค่าแก่ผู้ใช้งาน: นักช้อปสามารถประหยัดเงินได้มากถึง 1.7 พันล้านเหรียญสหรัฐ (ราว 58,000 ล้านบาท) จากการซื้อของใช้จำเป็นและสินค้าอุปโภคบริโภคผ่านช้อปปี้ในช่วงโปรโมชั่นประจำเดือน รวมถึง “แคมเปญช้อปปี้ ช้อปดีมีคืน” ในประเทศไทย และดีลพิเศษจากแบรนด์ต่าง ๆ ซึ่งช่วยให้นักช้อปรับมือกับค่าครองชีพที่สูงขึ้นได้
ชนกานต์ คำนนท์ นักช้อปตัวยงของช้อปปี้ที่ใช้งานแอปฯมาตั้งแต่ปี 2562 กล่าวว่า “ถ้าพูดถึงแอปช้อปปิ้งออนไลน์ ก็จะนึกถึงช้อปปี้เป็นอันดับแรกเพราะเป็นแอปที่มีความสดใส ใช้งานง่ายและเป็นมิตรกับผู้ใช้ ที่สำคัญยังมีดีลเด็ดและสินค้าหลากหลาย เวลาช้อปปี้ปล่อยแคมเปญใหม่ทีไร ก็จะคอยมาดูดีลและโปรโมชั่นที่พิเศษกว่าเดิมจากช้อปปี้ ร้านค้าและแบรนด์พันธมิตร เพื่อประหยัดเงินขึ้นอีก อีกอย่างคือช้อปปี้มีบริการชำระเงินที่สะดวกอย่าง ShopeePay รวมถึงยังมีฟีเจอร์ SpayLater ซึ่งอำนวยความสะดวกด้านการผ่อนชำระได้ดีมาก สำหรับจิน รู้สึกว่าช้อปปี้เหมาะกับผู้ใช้งานหลากหลายประเภทไม่ว่าจะเป็นการช้อปปิ้ง กิน ดื่มและบริการชำระเงิน แถมยังมีความบันเทิงมากมายเพื่อเติมเต็มความสุขให้ผู้ใช้ เรียกได้ว่าผู้ใช้งานสามารถทำทุกอย่างผ่านแอปช้อปปี้เพียงแอปเดียวได้เลย และถ้ามีโอกาส ก็อยากลองผันตัวไปเป็นผู้ประกอบการบนช้อปปี้ด้วยเพราะตัวเองสนใจเรื่องผลิตภัณฑ์ความงามและผลิตภัณฑ์ดูแลผิวที่ทำจากส่วนผสมออร์แกนิค ปัจจุบัน ผู้บริโภคเองก็ให้ความสำคัญต่อการดูแลสุขภาพมากขึ้น ซึ่งเชื่อว่าช้อปปี้สามารถช่วยสนับสนุนให้ผู้ประกอบการเติบโตได้อย่างยั่งยืน”
บ่มเพาะโอกาสใหม่แก่ผู้ขาย: ผู้ขายท้องถิ่นหลายล้านรายในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ขับเคลื่อนการเติบโตของตนเองบนโลกออนไลน์โดยมีช้อปปี้เป็นผู้ช่วยสำคัญในการหาลูกค้าใหม่และสานความผูกพันกับลูกค้าที่จงรักภักดี ในประเทศไทย ช้อปปี้ได้เปิดตัว ‘Shopee International Platform (SIP)’ เพื่อช่วยให้ธุรกิจห้างร้านในประเทศไทยมีโอกาสมากขึ้นท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วบนโลกออนไลน์ช้อปปี้รู้สึกเป็นเกียรติที่กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศให้ความไว้วางใจและมอบโอกาสให้ได้ร่วมงานกับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ไทยผ่านแพลตฟอร์มดังกล่าว ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของพันธกิจการพัฒนาระบบช้อปปี้อย่างต่อเนื่องด้วยวัตถุประสงค์ที่จะสนับสนุนผู้ขายไทยอย่างมีประสิทธิภาพตลอดจนขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัลในประเทศไทยอย่างยั่งยืน
สุภิญญา เพิ่มพูนพานิช ผู้ขายบนแพลตฟอร์มช้อปปี้และเจ้าของแบรนด์ Beyond Ordinary Wellbeing กล่าวว่า ”สำหรับเรามองว่าโปรแกรม SIP มอบโอกาสที่ดีมากให้แก่ผู้ขายในตลาดไทย นับเป็นประโยชน์อย่างยิ่งที่ธุรกิจไทยสามารถค้าขายในต่างแดนได้โดยไม่ต้องไปเปิดหน้าร้านที่ต่างประเทศจริง SIP เป็นผู้เปิดทางให้มีการค้าข้ามพรมแดนเกิดขึ้นได้ทั้งที่เราประกอบการอยู่ในบ้านเกิด ลงทุนขั้นต่ำแต่ได้ประสิทธิผลสูง โดยจากประสบการณ์ของเราเชื่อมั่นว่าช้อปปี้เองมีระบบหลังบ้านที่แข็งแกร่ง ดูแลครบถ้วนทั้งด้านระบบการชำระเงิน ระบบบริการจัดการคลังสินค้า ระบบโลจิสติกส์ในต่างประเทศ การให้บริการลูกค้าและการอำนวยความสะดวกการจัดกิจกรรมการตลาดหรือโปรโมชั่นเพื่อดึงดูดลูกค้าในตลาดต่างแดนเป้าหมาย มั่นใจว่า SIP จะช่วยให้เราเจาะตลาดอาเซียนหรือแม้แต่ตลาดโลกและคว้าโอกาสอีกมากมายได้ในอนาคต”
เศรษฐกิจดิจิทัลของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้พัฒนาอย่างรวดเร็วในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 เพราะผู้คนจำนวนมากเปิดรับเทคโนโลยีใหม่ ๆ เข้าสู่ชีวิตกันมากขึ้นในช่วงเวลาดังกล่าว ช้อปปี้ไม่เพียงช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายและเสริมแกร่งตลอดจนส่งเสริมปรับตัวทางธุรกิจของวิสาหกิจขนาดกลาง ขนาดย่อมและขนาดย่อย (SMEs) เท่านั้น หากแต่ยังเปิดทางให้ผู้คนจำนวนมากทำธุรกรรมออนไลน์เป็นครั้งแรกในปี 2565 ด้วย
ในช่วงปี 2565 ช้อปปี้ใช้แพลตฟอร์มและทรัพยากรของตนเองเพื่อประโยชน์ของชุมชนที่ต้องการความช่วยเหลือ
ช้อปปี้มุ่งมั่นกับพันธกิจเพื่อสังคมตลอดปี 2565 ด้วยมุ่งหมายจะสร้างสังคมไทยยั่งยืน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับ ShopeeTogether 2022 CSR ได้ที่ https://www.youtube.com/watch?v=9ZwKC3vJwcc
เซ็นทรัลพัฒนา รายงานผลประกอบการไตรมาส 3 ปี 2567 ทำรายได้รวม 12,284 ล้านบาท กำไรสุทธิ 4,126 ล้านบาท ผนึก 'ฮิลตัน' เปิดตัวโรงแรมใหม่ "ฮิลตัน…
นายธีรยุทธ ศักดิ์วิลาสตระกูล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ กลุ่มทรัพยากรบุคคล รักษาการรองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานทรัพยากรบุคคลบริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) หรือ NT เข้ารับมอบใบรับรอง CAC Certified จาก นายทศพร รัตนมาศทิพย์ กรรมการ CAC ในงาน CAC Certification Ceremony ครั้งที่ 2/2024 ภายใต้แนวคิด…
ไปรษณีย์ไทย เดินหน้ากระตุ้นเศรษฐกิจอีคอมเมิร์ซและการค้าระหว่างประเทศจากไทยสู่เวียดนาม โดยมุ่งใช้ 3 เส้นทางการขนส่งที่สำคัญ ได้แก่ เส้นทางอากาศ เส้นทางภาคพื้น และทางราง พร้อมจับมือการไปรษณีย์เวียดนามพัฒนาบริการไปรษณีย์ภายใต้กรอบความร่วมมือของการไปรษณีย์อาเซียน (ASEANPOST) เดินหน้ายกระดับอีคอมเมิร์ซของทั้ง 2 ประเทศ เตรียมนำสินค้าเมดอินไทยแลนด์และเวียดนาม…
งานวิจัยล่าสุดจากแพลตฟอร์มดิจิทัลด้านการท่องเที่ยวอโกด้าเผยว่า กฎหมายสมรสเท่าเทียมของไทยจะช่วยดึงดูดนักท่องเที่ยวต่างชาติเพิ่มขึ้น 4 ล้านคนต่อปี และสร้างรายได้จากการท่องเที่ยวเกือบ 2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี ภายใน 2 ปีหลังจากที่กฎหมายมีผลบังคับใช้ งานวิจัยเรื่องผลกระทบทางเศรษฐกิจจากกฎหมายสมรสเท่าเทียมต่ออุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของไทย ซึ่งจัดทำโดยอโกด้าร่วมกับบริษัท Access Partnership ได้ประเมินถึงโอกาสทางเศรษฐกิจที่ประเทศไทยจะได้รับจากการบังคับใช้กฎหมายสมรสเพศเดียวกันในวันที่ 22 มกราคม 2568 โดยประเทศไทยเป็นประเทศแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่รับรองกฎหมายนี้ และเป็นประเทศที่สามในเอเชีย รองจากไต้หวันในปี 2562 และเนปาลเมื่อปีที่แล้ว กฎหมายดังกล่าวจะเปิดโอกาสให้ประเทศไทยดึงดูดนักท่องเที่ยว LGBTQIA+ ทั่วโลก ซึ่งมีมูลค่ากว่า 200 พันล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี รายงานยังได้คาดการณ์ผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจที่จะแพร่กระจายไปสู่เศรษฐกิจไทยในวงกว้างจากการบังคับใช้กฎหมายนี้ โดยคาดว่าใน 2 ปี จะมีนักท่องเที่ยวต่างชาติเพิ่มขึ้น 4 ล้านคนต่อปี ซึ่งจะสร้างผลกระทบเชิงบวกอย่างมากดังนี้ เพิ่มรายรับจากการท่องเที่ยวจะเพิ่มขึ้นประมาณ 2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี โดยกระจายไปยังหลายภาคส่วน…
บริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ได้รับการประเมินด้านความยั่งยืนระดับสูงสุดในอุตสาหกรรม Oil & Gas Refinery and Marketing จากการประเมินของ S&P Global…
• ราคาจำหน่ายอย่างเป็นทางการของ ‘ฮอนด้า เอชอาร์-วี อี:เอชอีวี ใหม่’ มาพร้อมราคาแนะนำช่วงเปิดตัว 899,000 บาท* ในรุ่น e:HEV E จำนวนจำกัด เพื่อให้เป็นเจ้าของได้ง่ายขึ้น โดยมาพร้อมข้อเสนอรับฟรีประกันภัย…